กีฬาเฟสปิก 1999
กีฬาเฟสปิกเกมส์ 1999 การแข่งขันกีฬาเฟสปิก ครั้งที่ 7 จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร และ จังหวัดปทุมธานี ราชอาณาจักรไทย ระหว่างวันที่ 10 - 16 มกราคม พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)
เมืองเจ้าภาพ | กรุงเทพมหานคร/จังหวัดปทุมธานี ไทย |
---|---|
คำขวัญ | ความเสมอภาค เป็นหนึ่งเดียวในโลก (Equality in One World) |
ประเทศเข้าร่วม | 34 |
นักกีฬาเข้าร่วม | 2,258 |
กีฬา | 17 ชนิด |
พิธีเปิด | 10 มกราคม ค.ศ. 1999 |
พิธีปิด | 16 มกราคม ค.ศ. 1999 |
ประธานพิธี | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา (พิธีเปิด) |
ผู้จุดคบเพลิง | พนม ลักษระพริ้ม (นักกีฬาว่ายน้ำ) และ จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ (นักแสดงรับเชิญ) |
สนามกีฬาหลัก | สนามกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (พิธีเปิด และ พิธีปิด) |
การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การดำเนินการ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คำขวัญ และ สัญลักษณ์
แก้ความเสมอภาคเป็นหนึ่งเดียวในโลก
แก้"ความเสมอภาคเป็นหนึ่งเดียวในโลก" หรือ "Equality in One World" คำขวัญประจำการแข่งขันกีฬาเฟสปิกกมส์ ครั้งที่ 7 เป็นวลีที่สะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ที่สนับสนุนและส่งเสริม "ปรัชญาของการแข่งขันกีฬา" อย่างชัดเจนที่สุด หัวใจของปรัชญากีฬา คือ การรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย รู้รักสามัคคี มีน้ำใจ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดภาพรวมของมิตรภาพ ซึ่งจะไม่มีอุปสรรคใดๆ มาขวางกั้นไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ต่างกัน และ ควมบกพร่องทางร่างกาย เมื่อทุกคนเข้าสู่เฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 ทุกคนจะถูกหล่อหลอมให้เข้าสู่แนวร่วมเดียวกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในที่สุด
สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ
แก้สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของการแข่งขันเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 มีสัญลักษณ์เป็นรูป คนพิการนั่งบนรถเข็นภายใต้หลังคาทรงไทย พร้อมด้วยสี 5 สี อันได้แก่ แดง เหลือง ฟ้า เขียว และดำ อันแสดงออกถึงความหมายดังนี้
- สี 5 สี หมายถึง ความร่วมมือของประเทศสมาชิกในสหพันธ์เฟสปิกที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้
- หลังคาทรงไทย แสดงถึง รูปทรงที่มีลักษณะเฉพาะของบ้านเรือนไทย อันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
- คนพิการที่นั่งอยู่บนรถเข็น แสดงถึงความพยายามของนักกีฬาที่จะบรรลุเป้าหมายอันสำคัญสู่ความสำเร็จ
สัญลักษณ์กีฬา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เหรียญรางวัล
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สนามแข่งขัน
แก้สนามกีฬาหลัก
แก้ธรรมศาสตร์ รังสิต
แก้- สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต (พิธีเปิด-ปิด, กรีฑา, ฟุตบอล)
- ยิมเนเซี่ยม 1 (วีลแชร์ บาสเก็ตบอล, บอคเซีย, ยกน้ำหนัก)
- ยิมเนเซี่ยม 2 (แบตมินตัน)
- ยิมเนเซี่ยม 3 (วอลเลย์บอลนั่ง)
- ยิมเนเซี่ยม 4 (ฟันดาบ)
- ยิมเนเซี่ยม 5 (เทเบิลเทนนิส)
- ยิมเนเซี่ยม 6 (โกลบอล)
- ยิมเนเซี่ยม 7 (ยูโด)
- ลาน 2 (ยิงธนู)
- สนามเทนนิส (วีลแชร์ เทนนิส)
- ศูนย์กีฬาทางน้ำ (กีฬาทางน้ำ)
- หมู่บ้านนักกีฬา
- ศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ (IBC)
- ศูนย์สื่อมวลชน (MPC)
หัวหมาก
แก้- สนามยิงปืน (ยิงปืน)
พิธีเปิด - ปิดการแข่งขัน
แก้พิธีเปิด
แก้พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 จัดขึ้นในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2542 ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นองค์ประธานในพิธี ในการนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และ หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล โดยเสด็จด้วย
การแสดงพิธีเปิด
แก้ในการแสดงพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 ได้สานต่อแนวคิดจาก คำขวัญของการแข่งขันคือ "ความเสมอภาค เป็นหนึ่งเดียวในโลก" ซึ่งหมายถึงบนโลกนี้มีทั้งผู้พิการและคนที่ร่างการแข็งแรงรวมกัน และหากร่วมกันยินดีให้กับความเสมอภาค ก็จะช่วยสร้างสรรค์ให้โลกนี้ดีขึ้นได้ โดยประสานแนวคิด ความเสมอภาค เข้ากับ วัฒนธรรมไทย ผ่านรูปแบบของ ภาพ, เสียง และ ภาษาที่ต้องการจะสื่อสารให้คนทุกชาติและคนพิการเข้าใจเป็นหนึ่งเดียวกัน ผ่านการแสดงทั้งหมด 5 องก์ คือ[1]
- องก์ที่ 1 - Spirit of Thailand (ใช้ผู้แสดง 1,500 คน)
- องก์ที่ 2 - Games of Grace (ใช้ผู้แสดง 1,297 คน)
- องก์ที่ 3 - The Dignity Flame (ใช้ผู้แสดง 552 คน)
- องก์ที่ 4 - Visions of Victory (ใช้ผู้แสดง 1,940 คน)
- องก์ที่ 5 - Shining Glory : Equality in One World (ใช้ผู้แสดง 6,120 คน)
พิธีปิด
แก้พิธีปิดการแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 จัดขึ้นในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2542 ณ ราชมังคลากีฬาสถาน โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร(พระยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เป็นองค์ประธานในพิธี ในการนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และ หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล(พระยศในขณะนั้น) โดยเสด็จด้วย
การแสดงพิธีปิด
แก้ในการแสดงพิธีปิดการแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 ธีมสำคัญในส่วนนี้คือ "การส่งต่อความเสมอภาคอันเป็นหนึ่งเดียวในโลกนี้ให้เป็นนิรันดร์" ผ่านมหกรรมการแสดงแสง สี เสียง ทั้งหมด 5 องก์ คือ[1]
- องก์ที่ 1 - ไชโย เชียร์โร
- องก์ที่ 2 - Memory of Love
- องก์ที่ 3 - The Eternal Flame
- องก์ที่ 4 - FESPIC Hope
- องก์ที่ 5 - Flowing Forever : Equality in One World
การแข่งขัน
แก้ชนิดกีฬา
แก้เฟสปิกเกมส์ในครั้งนี้ บรรจุชนิดกีฬาทั้งหมด 17 ประเภท
ตารางการแข่งขัน
แก้ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน
แก้ตารางสรุปเหรียญรางวัล
แก้* เจ้าภาพ (ไทย)
ลำดับที่ | ประเทศ | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | จีน (CHN) | 205 | 90 | 45 | 340 |
2 | ไทย (THA)* | 65 | 73 | 82 | 220 |
3 | ออสเตรเลีย (AUS) | 34 | 37 | 23 | 94 |
4 | เกาหลีใต้ (KOR) | 31 | 26 | 24 | 81 |
5 | ฮ่องกง (HKG) | 29 | 18 | 18 | 65 |
6 | ญี่ปุ่น (JPN) | 27 | 30 | 26 | 83 |
7 | Chinese Taipei (TPE) | 16 | 17 | 19 | 52 |
8 | นิวแคลิโดเนีย (NCL) | 14 | 8 | 2 | 24 |
9 | Macau (MAC) | 8 | 7 | 4 | 19 |
10 | พม่า (MYA) | 6 | 14 | 18 | 38 |
11 | อินเดีย (IND) | 6 | 7 | 7 | 20 |
12 | ศรีลังกา (SRI) | 3 | 3 | 4 | 10 |
13 | ตองงา (TGA) | 3 | 1 | 1 | 5 |
14 | เวียดนาม (VIE) | 2 | 2 | 5 | 9 |
15 | ฟีจี (FIJ) | 2 | 1 | 7 | 10 |
16 | Wallis et Futuna (WLF) | 2 | 1 | 5 | 8 |
17 | อินโดนีเซีย (INA) | 2 | 0 | 1 | 3 |
18 | มาเลเซีย (MAS) | 1 | 10 | 9 | 20 |
19 | สิงคโปร์ (SIN) | 1 | 4 | 1 | 6 |
20 | นิวซีแลนด์ (NZL) | 1 | 2 | 3 | 6 |
21 | ฟิลิปปินส์ (PHI) | 1 | 2 | 1 | 4 |
22 | ภูฏาน (BHU) | 1 | 1 | 2 | 4 |
วานูวาตู (VAN) | 1 | 1 | 2 | 4 | |
24 | มองโกเลีย (MGL) | 1 | 1 | 0 | 2 |
25 | คาซัคสถาน (KAZ) | 1 | 0 | 3 | 4 |
26 | นาอูรู (NRU) | 1 | 0 | 1 | 2 |
27 | กัมพูชา (CAM) | 0 | 3 | 1 | 4 |
28 | ปากีสถาน (PAK) | 0 | 2 | 0 | 2 |
29 | ปาปัวนิวกินี (PNG) | 0 | 1 | 0 | 1 |
รวม (29 ประเทศ) | 464 | 362 | 314 | 1140 |
ในการแข่งขันเฟสปิกเกมส์ครั้งนี้ นักกีฬาไทยสามารถทำผลงานได้ทั้งหมด เหรียญ แบ่งเป็น
- เหรียญทอง จำนวน 65 เหรียญ จาก ชนิดกีฬา ได้แก่
- เหรียญเงิน จำนวน 37 เหรียญ จาก ชนิดกีฬา ได้แก่
- เหรียญทองแดง จำนวน 82 เหรียญ จาก ชนิดกีฬา ได้แก่
การตลาด
แก้สัญลักษณ์นำโชค
แก้แมวไทย (สีสวาด) กำลังถือคบเพลิง นั่งอยู่บนรถเข็นในลักษณะเคลื่อนที่
ของที่ระลึก
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สื่อประชาสัมพันธ์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สิทธิการออกอากาศ
แก้โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
เพลงประจำการแข่งขัน
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เกร็ดการแข่งขัน
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผู้สนับสนุน
แก้- ปตท.
- การบินไทย
- ไทยเบฟเวอเรจ (เบียร์ช้าง, คาร์ลสเบิร์ก)
- ฟุตบอลไทย (FBT)
- ออตโต บ๊อก เซาท์ อีสต์ เอเซีย
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้เชิงอรรถ
แก้บรรณานุกรม
แก้หนังสืออ่านเพิ่ม
แก้- กีฬาเฟสปิก ครั้งที่ 7 - จากนิตยสาร สารคดี
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- กีฬาเฟสปิก ครั้งที่ 7 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | กีฬาเฟสปิก 1999 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
กีฬาเฟสปิก 1994 (ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน) |
การแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ (10 มกราคม - 16 มกราคม ค.ศ. 1999) |
กีฬาเฟสปิก 2002 (ปูซาน เกาหลีใต้) |