คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (อังกฤษ: National Olympic Committee; อักษรย่อ: NOC) เป็นองค์กรผู้มีอำนาจระดับประเทศ ในกระบวนการโอลิมปิกระดับนานาชาติ ภายใต้การควบคุมโดย คณะกรรมการโอลิมปิกสากล นอกจากนั้น คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติทั้งหลาย ยังมีหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาการของนักกีฬา และการฝึกอบรมผู้ฝึกสอน ตลอดจนเป็นเจ้าหน้าที่การกีฬาระดับชาติภายในภูมิภาคของตน

สมาชิกสมาคมคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ทวีปแอฟริกาแสดงด้วยสีดำ ทวีปอเมริกาแสดงด้วยสีแดง ทวีปเอเชียแสดงด้วยสีเหลือง ทวีปยุโรปแสดงด้วยสีเขียว และทวีปโอเชียเนียแสดงด้วยสีฟ้า

ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) มีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ซึ่งผู้แทนของทั้งประเทศเอกราช และดินแดนปกครองพิเศษต่างๆ รวมทั้งหมด 206 ชุด โดยในบรรดาสมาชิกสหประชาชาติ 193 ประเทศ มีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติทั้งหมด 197 ประเทศ[ต้องการอ้างอิง] รวมทั้งดินแดนอื่นอีก 9 แห่งดังต่อไปนี้

ระดับทวีป แก้

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติทั้งหลาย ล้วนเป็นสมาชิกของ สมาคมคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (Association of National Olympic Committees; ANOC) และยังแบ่งออกเป็นสมาคมระดับทวีปอีก 5 แห่งด้วย

ทวีป สมาคม จำนวนเอ็นโอซี เอ็นโอซีแรกสุด (พ.ศ.) เอ็นโอซีล่าสุด (พ.ศ.)
สมาคมคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติแอฟริกา 54   อียิปต์ (2453)   ซูดานใต้ (2558)
องค์การกีฬาแพนอเมริกัน 41   สหรัฐ (2437)   ดอมินีกา (2536)
  เซนต์คิตส์และเนวิส (2536)
  เซนต์ลูเชีย (2536)
สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย 44[3]   ญี่ปุ่น (2455)   ติมอร์-เลสเต (2546)
คณะกรรมการโอลิมปิกยุโรป 50   ฝรั่งเศส (2437)   คอซอวอ (2557)
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติโอเชียเนีย 17   ออสเตรเลีย (2438)   ตูวาลู (2550)

รายชื่อคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ เรียงลำดับตามปีพุทธศักราชที่ไอโอซีให้การรับรอง แก้

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อตามลำดับเวลา ของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติจาก 204 ประเทศ ซึ่งคณะกรรมการโอลิมปิกสากลให้การรับรอง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) คณะกรรมการของหลายประเทศในจำนวนนี้ ก่อตั้งขึ้นมาแล้วหลายปีก่อนจะให้การรับรอง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งมีการรับรองโดยทันทีเมื่อก่อตั้งขึ้น สำหรับคณะกรรมการโอลิมปิกของรัฐในอดีตซึ่งทุกวันนี้ไม่มีอยู่ จะแสดงด้วยตัวเอน

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่ไม่ได้การรับรอง แก้

คณะกรรมการโอลิมปิกและกีฬาแห่งมาเก๊า ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) และมีความพยายามที่จะลงทะเบียนกับไอโอซีมาโดยตลอด แต่ยังคงไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันในโอลิมปิก ภายใต้ชื่อ   มาเก๊าของจีน อย่างไรก็ตาม ยังได้เข้าแข่งขันในกีฬาพาราลิมปิก เช่นเดียวกับ   หมู่เกาะแฟโร ที่มีการรับรองคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งชาติ[5]

ประเทศอื่นๆ ที่คณะกรรมการโอลิมปิกยังไม่ให้การรับรอง ประกอบด้วย   คาตาโลเนีย[6]   ยิบรอลตา[7]   เฟรนช์โปลินีเซีย[8]   นีอูเอ[9]   โซมาลิแลนด์[10]   นิวแคลิโดเนีย[11]   เคอร์ดิสถาน[12]   ไซปรัสเหนือ[13]   อับคาเซีย[14]   ชาวอเมริกันพื้นเมือง[15][16]  หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา   แองกวิลลา   มอนต์เซอร์รัต และ   หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส[17]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Executive Board concludes first meeting of the new year". olympic.org ("Official website of the Olympic movement"). 13 January 2011. สืบค้นเมื่อ 13 January 2011.
  2. "Curtain comes down on 123rd IOC Session". Olympic.org.
  3. โอซีเอให้การรับรองคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ 45 ประเทศ แต่ไอโอซีไม่ให้การรับรอง คณะกรรมการโอลิมปิกและกีฬาแห่งมาเก๊า และนักกีฬาจากมาเก๊าไม่ได้สิทธิเข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
  4. "The Olympic Committee of Serbia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-20. สืบค้นเมื่อ 2012-07-17.
  5. "Ítróttasamband Føroya | Just another WordPress weblog". Isf.fo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-10. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
  6. Freedom for Catalonia?: Catalan Nationalism, Spanish Identity and the Barcelona Olympic Games (Cambridge Cultural Social Sciences) (9780521586153): John Hargreaves: Books. Amazon.com. Retrieved on 2009-10-24.
  7. "www.andalucia.com". www.andalucia.com. สืบค้นเมื่อ 2012-06-20.
  8. Article: Miss Tahiti 2003 stripped of her title. | AccessMyLibrary - Promoting library advocacy. AccessMyLibrary (2005-06-03). Retrieved on 2009-10-24.
  9. SportingPulse Homepage for Niue Island Sports Association and National Olympic Committee เก็บถาวร 2013-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Sportingpulse.com. Retrieved on 2009-10-24.
  10. "Website ka wasaaradda Dhalinyaradda Iyo Ciyaaraha Somaliland - Homepage". Somalilandolympics.org. 2010-01-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-18. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
  11. "New Caledonia National Olympic Committee". SportingPulse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-02. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
  12. "Dispaly Article". Kurdishglobe.net. 2010-01-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
  13. "Embargo! Time to end the unjust embargoes against the people of North Cyprus". Embargoed.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-30. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
  14. The ABC Republic: Abkhazia Attempts to Invent Itself - SPIEGEL ONLINE - News - International. Spiegel.de. Retrieved on 2009-10-24.
  15. "Native Americans seek recognition". Nativevoices.org. 2006-02-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-28. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
  16. "Jim Thorpe's Sons Bolster Native American Olympic Dream : Fri, 10 Jul 2009 : eNewsChannels". Enewschannels.com. 2009-07-10. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
  17. "CANOC Members". canoc.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-02. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้