กีฬาพาราลิมปิก
กีฬาพาราลิมปิก (อังกฤษ: Paralympic Games) เป็นการแข่งขันกีฬาสำหรับคนพิการหลายประเภทจากทั่วโลก โดยอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล (International Paralympic Committee; IPC) โดยในปัจจุบัน กีฬาพาราลิมปิกจะจัดขึ้น หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสิ้นสุดลง และประเทศเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกครั้งนั้น ก็จะเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกด้วย
กีฬาพาราลิมปิก |
องค์กร |
คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล • คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งชาติ • สัญลักษณ์ • กีฬา • ผู้ร่วมแข่งขัน • ตารางเหรียญรางวัล • ผู้ได้รับเหรียญรางวัล • พิธีการ • |
การแข่งขัน |
พาราลิมปิกฤดูร้อน พาราลิมปิกฤดูหนาว |
ประวัติ
แก้ในปี ค.ศ. 1948 ดอกเตอร์ลุดวิก กูทมัน ศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลสโตก แมนเดวิลล์ ได้มีแนวคิดจัดการแข่งขันกีฬาขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและใจ ของทหารผ่านศึกชาวอังกฤษ จากสงครามโลกครั้งที่ 2[1] และจัดแข่งขันอีกครั้งในปี ค.ศ. 1952 ที่อังกฤษเช่นกัน แต่ครั้งนี้มีทหารผ่านศึกชาวดัตช์ เข้าร่วมการแข่งขันด้วย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นการแข่งขันกีฬาคนพิการ ในระดับนานาชาติครั้งแรกของโลก
นับแต่นั้นมา ก็มีการแข่งขันระดับนานาชาติ เป็นกิจจะลักษณะต่างกรรมต่างวาระ มาเป็นระยะๆ จนถึงปี ค.ศ. 1960 ที่กรุงโรมของอิตาลี กีฬาคนพิการนานาชาติ ก็ปรับระบบเข้ามาสู่การเป็น “กีฬาโอลิมปิกคนพิการ” ด้วยการจัดในเมืองเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ในปีเดียวกันเป็นครั้งแรก แต่แนวความคิดดังกล่าวก็ประสบปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาค่าใช้จ่ายบานปลายของเมืองเจ้าภาพโอลิมปิก ทำให้กีฬาคนพิการนานาชาติ ต้องแยกไปแข่งขันเองต่างหาก ตามหัวเมืองอื่นๆ ที่มีความพร้อม และเป็นไปได้มากกว่า
จนถึงปี ค.ศ. 1988 แนวความคิดดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ในที่สุด เมื่อคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และสหพันธ์กีฬาคนพิการนานาชาติ (ปัจจุบันคือ คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล) ร่วมกันขอความร่วมมือให้เจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพกีฬาพาราลิมปิก ควบคู่ไปในปีเดียวกัน ทั้งเกมฤดูร้อน ทั้งเกมฤดูหนาว กล่าวได้ว่า กีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 8 ที่กรุงโซลของเกาหลีใต้ เมื่อปี ค.ศ. 1988 เป็นการเริ่มต้นกีฬาพาราลิมปิกอย่างเป็นทางการ
สัญลักษณ์และธงพาราลิมปิกเกมส์
แก้สัญลักษณ์ของพาราลิมปิกเกมส์ เป็นแถบโค้งสีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว สามแถบคล้องกัน สำหรับธงพาราลิมปิกเกมส์ เป็นพื้นสีขาว มีสัญลักษณ์พาราลิมปิกอยู่กลางผืนธง ทั้งสองเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2546 และใช้กับการแข่งขันครั้งที่ 12 เมื่อปี พ.ศ. 2547 เป็นคราวแรก
การจัดการแข่งขัน
แก้คำขวัญ | Spirit in Motion |
---|---|
ก่อตั้ง | 18 กันยายน พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960; 64 ปีมาแล้ว) |
จัดขึ้นทุก | 4 ปี |
ครั้งล่าสุด | ฤดูร้อน: ครั้งที่ 17 ที่ปารีส ฝรั่งเศส ฤดูหนาว: ครั้งที่ 12 ที่พย็องชัง เกาหลีใต้ |
วัตถุประสงค์ | กีฬาคนพิการระดับนานาชาติ |
สำนักงานใหญ่ | คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล นครบอนน์, เยอรมนี |
ประธาน | แอนดรูว พาร์สัน |
เว็บไซต์ | คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล |
หมายเหตุ | แบ่งเป็นพาราลิมปิกฤดูร้อน และพาราลิมปิกฤดูหนาว |
พาราลิมปิกฤดูร้อน
แก้ฤดูร้อน | |||
---|---|---|---|
ปี | ครั้ง | เมื่อง | ประเทศ |
1960 | I | โรม | อิตาลี |
1964 | II | โตเกียว | ญี่ปุ่น |
1968 | III | เทลอาวีฟ | อิสราเอล |
1972 | IV | ไฮเดิลแบร์ค | เยอรมนี |
1976 | V | โทรอนโต | แคนาดา |
1980 | VI | อาร์นเฮม | เนเธอร์แลนด์ |
1984 | VII | สโตก แมนเดวิลล์ นิวยอร์ก |
อังกฤษ สหรัฐอเมริกา |
1988 | VIII | โซล | เกาหลีใต้ |
1992 | IX | บาร์เซโลนา | สเปน |
1996 | X | แอตแลนตา | สหรัฐ |
2000 | XI | ซิดนีย์ | ออสเตรเลีย |
2004 | XII | เอเธนส์ | กรีซ |
2008 | XIII | ปักกิ่ง | จีน |
2012 | XIV | ลอนดอน | อังกฤษ |
2016 | XV | รีโอเดจาเนโร | บราซิล |
2020 | XVI | โตเกียว | ญี่ปุ่น |
2024 | XVII | ปารีส | ฝรั่งเศส |
2028 | XVIII | ลอสแอนเจลิส | สหรัฐอเมริกา |
2032 | XIX | บริสเบน | ออสเตรเลีย |
พาราลิมปิกฤดูหนาว
แก้ฤดูหนาว | |||
---|---|---|---|
ปี | ครั้ง | เมือง | ประเทศ |
1976 | I | เอิร์นเชิลส์วีก | สวีเดน |
1980 | II | เกลโล | นอร์เวย์ |
1984 | III | อินส์บรุค | ออสเตรีย |
1988 | IV | อินส์บรุค | ออสเตรีย |
1992 | V | ทิกเนส แอลเบิร์ท | ฝรั่งเศส |
1994 | VI | แฮมเมอร์ | นอร์เวย์ |
1998 | VII | นะงะโนะ | ญี่ปุ่น |
2002 | VIII | ซอลต์เลก | สหรัฐอเมริกา |
2006 | IX | ตูริน | อิตาลี |
2010 | X | แวนคูเวอร์ | แคนาดา |
2014 | XI | โซชิ | รัสเซีย |
2018 | XII | พย็องชัง | เกาหลีใต้ |
2022 | XIII | ปักกิ่ง | จีน |
2026 | XIV | มิลาน เปซโซ | อิตาลี |