โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: ทรท., ทีวีพูล; อังกฤษ: The Television Pool of Thailand - TPT., T.V.Pool) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 โดยสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย 6 ช่องคือ ททบ.5 ช่อง 7 เอชดี ช่อง 3 เอชดี ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี เอ็นบีที และไทยพีบีเอส เพื่อทำงานร่วมกันในการรายงานข่าวสดเกี่ยวกับกิจกรรมพิเศษเช่นพระราชพิธี กิจกรรมภาครัฐบาล คำประกาศ แถลงการณ์ คำปราศรัยในโอกาสต่างๆ และการแข่งขันกีฬาเช่นโอลิมปิกเกมส์ เอเชียนเกมส์ ซีเกมส์ และฟุตบอลโลก[1][2][3]
ประเทศ | ไทย |
---|---|
ก่อตั้ง | 20 ธันวาคม 1968 |
สถานีโทรทัศน์ | |
พื้นที่ฉาย | ประเทศไทย |
ประเทศ | ประเทศไทย |
การก่อตั้งแก้ไข
เมื่อปี พ.ศ. 2518 ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ในขณะนั้น ได้แก่สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ของอสมท ในปัจจุบัน), สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ของกองทัพบก ได้ประชุมร่วมกันและมีมติว่าควรจะได้รวมตัวกันขึ้น เพื่อปรึกษาหารือ และดำเนินการจัดการในเรื่องต่าง ๆ อันจะเกิดประโยชน์ร่วมกันกับทุกสถานีฯ จึงก่อตั้งองค์กรชื่อว่า โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ปีดังกล่าว โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยผู้อำนวยการของช่องโทรทัศน์ทั้ง 4 เป็นกรรมการ และมอบให้ผู้อำนวยการของ ททบ.5 เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่ก่อตั้ง ต่อมาสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวร นับแต่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ต่อมามีช่องโทรทัศน์เข้าเป็นสมาชิกสมทบคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และไทยพีบีเอส (เดิมคือสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี) และต่อมามีสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช. เข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มเติมอีก 21 ช่อง รวมทั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาที่เข้ามาในภายหลัง รวมเป็น 28 ช่อง ก่อนจะลดลงเหลือ 19 ช่องในเวลาต่อมาจากการคืนใบอนุญาตและปิดสถานีลง
วัตถุประสงค์แก้ไข
- ร่วมมือในการถ่ายทอด และรับการถ่ายทอด ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รายการสำคัญระดับชาติ เช่น พระราชพิธี พิธีสำคัญทางศาสนา พิธีสำคัญทางทหาร กิจกรรมสำคัญของภาครัฐบาล หรืองานสำคัญระหว่างประเทศ รวมทั้งการแข่งขันกีฬานัดสำคัญ อาจจะถ่ายทอดออกอากาศทุกสถานี หรือถ่ายทอดบางสถานีเท่านั้น แล้วแต่จะเห็นควร
- เป็นผู้ประสานงาน ในการตกลงค่าลิขสิทธิ์ต่าง ๆ จากการถ่ายทอดตามข้อ 1 เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ชมได้รับชมการถ่ายทอด (กีฬา) ทั้งภายในและต่างประเทศ ที่มีคุณภาพ และระดับราคาที่เหมาะสม
- เป็นสื่อกลางระหว่างสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
- พิจารณาขจัดปัญหา และข้อขัดแย้งต่าง ๆ ของแต่ละสถานี โดยจะไม่ก้าวก่ายการบริหารภายในของแต่ละสถานี
- ร่วมมือสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างสถานีโทรทัศน์ โดยพยายามยกระดับมาตรฐานให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น
สถานีโทรทัศน์ที่เป็นสมาชิกแก้ไข
ในปัจจุบันแก้ไข
- สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เอชดี ช่อง 33
- สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ช่อง 1
- สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี ช่อง 35
- สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ช่อง 30
- สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 2
- สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ช่อง 3
- ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16
- ทรูโฟร์ยู ช่อง 24
- ช่องวัน 31
- จีเอ็มเอ็ม 25
- อมรินทร์ทีวี ช่อง 34
- เนชั่นทีวี ช่อง 22
- นิว 18
- ไทยรัฐทีวี ช่อง 32
- ช่อง 8 ช่อง 27
- ช่องเวิร์คพอยท์ ช่อง 23
- โมโน 29
- พีพีทีวี เอชดี ช่อง 36
- สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา ช่อง 10
- ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก
- สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
- เอ็นบีทีเวิลด์
- เอแอลทีวี
- สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
- สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องต่าง ๆ ในไทย
ในอดีตแก้ไข
- สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ภายหลังเปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี) (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 - 14 มกราคม พ.ศ 2551)
- สปริงนิวส์ ช่อง 19
- ไบรต์ทีวี ช่อง 20
- สปริง 26
- วอยซ์ทีวี ช่อง 21
- เอ็มคอตแฟมิลี ช่อง 14
- ช่อง 3 เอสดี ช่อง 28 และ ช่อง 3 แฟมิลี ช่อง 13
รายชื่อผู้บรรยายแก้ไข
ปัจจุบันแก้ไข
- สายสวรรค์ ขยันยิ่ง (ถ่ายทอดสดทั่วไป)
- สาธิต กรีกุล (ถ่ายทอดสดกีฬา)
- ดร.รุ่งทิพย์ โชตินภาลัย (ภาคภาษาอังกฤษ)
- กันตชาติ เกษมสันต์ ณ อยุธยา
- อุรัสยาน์ เพชรสดศิลป์ (สกุลเดิม สุขะตุงคะ)
- ประพาศ ศกุนตนาค
- วินธัย สุวารี
- ณิศารัช อมะรักษ์
- รัตน์มณี กังวาลไกล
- นาวาเอกวสันต์ คงสิริ (ร.น.) (ถ่ายทอดสดทั้งทั่วไปและทหาร)
- ยงยุทธ มัยลาภ (ภาคภาษาอังกฤษ)
- กฤษดา นวลมี
- ช่อฟ้า เหล่าอารยะ
- จิรนันท์ เขตพงศ์
- นิลาวัลย์ พาณิชย์รุ่งเรือง (สกุลเดิม: ทองไล้)
- ธีรวัฒน์ พึ่งทอง
- เกียรติยา ธรรมวิภัชน์
- พรอัปสร นิลจินดา
- สุพัชรินทร์ โพธิ์ทองนาค
- ริเสาวภา ฤกษนันทน์
ในอดีตแก้ไข
- อภิญญา เจริญวงศ์
- ชาญชัย กายสิทธิ์
- ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์ (ชื่อและนามสกุลเดิม: อรปรียา หุ่นศาสตร์)
- ญาดา ยมกานนท์
- ประภัทร์ ศรลัมพ์
- รัตน์มณี กังวาลไพร (สกุลเดิม: มณีรัตน์)
- ทวินันท์ คงคราญ
- ศุภรัตน์ นาคบุญนำ
- ประไพพัสร์ โขมพัตร
- ศศินา วิมุตตานนท์
- ศตกมล วรกุล
- เอกชัย นพจินดา
- พิษณุ นิลกลัด
- อาคม มกรานนท์
- พลากร สมสุวรรณ
- สุนทรี อรรถสุข
- กรรณิกา ธรรมเกษร
- แอนดรูว์ บิ๊กส์ (ภาคภาษาอังกฤษ)
การดำเนินงานแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การถ่ายทอดกีฬาแก้ไข
ก่อนการก่อตั้งโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยนั้น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 เคยร่วมกันถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติมาแล้ว คือเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 (ปัจจุบันคือซีเกมส์) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ 9 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 หลังจากนั้นโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยดำเนินการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติร่วมกันมาจนถึงปัจจุบัน