ร้อยเอก นายแพทย์ ยงยุทธ มัยลาภ (เกิด 1 มิถุนายน พ.ศ. 2501) เป็น กรรมการ[1]มูลนิธิสุรเกียรติ์ - ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย[2] อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ และรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[3] อดีตคณะโฆษกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) และผู้ประกาศข่าวช่อง 5

ยงยุทธ มัยลาภ
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
10 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550
(0 ปี 358 วัน)
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
ถัดไปไชยา ยิ้มวิไล
ดำรงตำแหน่ง
16 กันยายน พ.ศ. 2557 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
(0 ปี 240 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าธีรัตถ์ รัตนเสวี
ถัดไปวิลาศ อรุณศรี (ผู้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกฯ)
พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด(โฆษกฯ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มิถุนายน พ.ศ. 2501 (66 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสชลดา ศิวแดนจันทร์
พิชญา พิบูลเวช

ประวัติ

แก้

ยงยุทธ มัยลาภ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ปริญญาตรีแพทยศาสตรบัณฑิต และวุฒิบัตรสาขาเวชศาสตร์เขตร้อนคลินิก จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2530 ตามลำดับ

การทำงาน

แก้

ยงยุทธ มัยลาภ ทำงานเป็นแพทย์ ประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ใช้เวลาว่างในการเป็นผู้ประกาศข่าว พิธีกรรายการโทรทัศน์ ทางช่อง 5 จนได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขาผู้อ่านข่าวดีเด่นชาย ปี พ.ศ. 2537 รางวัลเมขลา (รายการคลินิกวันหยุด) รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2544

ด้านการเมือง เคยสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 5 สังกัดพรรคนำไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และเคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[4] ต่อมาได้เข้ามารับตำแหน่ง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และได้ลาออกจาตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 โดยให้เหตุผลว่าไม่อยากเป็นที่ครหากรณีการถือครองหุ้น[5] จากนั้นจึงได้เข้าไปเป็นที่ปรึกษาสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลพญาไท 2[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้เข้ารับตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นครั้งที่สอง ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[7] ต่อมาเขาได้ขอลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากปัญหาสุขภาพ

นอกจากนั้นแล้วยงยุทธ มัยลาภ ยังเคยทำงานเป็นผู้ประกาศข่าว ประจำสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) และเคยเป็นประธานและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดี.เอ็ม.อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด อีกด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ฐานข้อมูลประวัติย่อ
  2. ฐานข้อมูลคู่สมรส
  3. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑o๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง[ลิงก์เสีย]
  4. ยงยุทธ มัยลาภ ตัวเต็งโฆษกรัฐบาล[ลิงก์เสีย]
  5. รัฐบาลขิงแก่ กับ แฟชั่นไขก๊อก เพราะพิษหุ้น! อีกบททดสอบความสั่นครอน[ลิงก์เสีย]
  6. "ข้อมูลแพทย์โรงพยาบาลพญาไท 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-22. สืบค้นเมื่อ 2010-08-03.
  7. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๒๗ ราย ๑. พลเอก วิลาศ อรุณศรี ฯลฯ)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2022-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๘๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๔, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
ก่อนหน้า ยงยุทธ มัยลาภ ถัดไป
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี    
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(10 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550 (สมัยที่ 1)
16 กันยายน พ.ศ. 2557 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 (สมัยที่ 2))
  ไชยา ยิ้มวิไล
ธีรัตถ์ รัตนเสวี     พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด