สายสวรรค์ ขยันยิ่ง

สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ชื่อเล่น หนิง (เกิด 14 ตุลาคม พ.ศ. 2514) เป็นผู้ประกาศข่าวและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีมานานกว่า 10 ปี และสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี และหลังจากสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีปิดตัวลงได้ไม่นาน เธอก็ได้มาเป็นผู้ประกาศข่าวเช้าในรายการ จมูกมด ของทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในระยะหนึ่ง ต่อมาเธอได้เซ็นสัญญาเป็นผู้ประกาศข่าว ของทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ปัจจุบัน เธอทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชนอิสระ

สายสวรรค์ ขยันยิ่ง
เกิดสายสวรรค์ ขยันยิ่ง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2514 (52 ปี)
อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่าคณะนาฏศิลป์และดุริยางค์ ภาควิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาชีพผู้ประกาศข่าว
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน
ตัวแทนเอ็นบีที 2 เอชดี
(2536-2539)
ไอทีวี (2539-2550)
ช่อง 7 เอชดี (2551)
ช่อง 3 เอชดี (2551-2565)
ททบ.5 เอชดี (2566 - ปัจจุบัน)
มีชื่อเสียงจากเวทีคนเก่ง
ค่ำทันข่าว
Lightning Talk
ชั่วโมงสร้างสุข
Family Weekend
เรื่องเด่นเย็นนี้ เสาร์ - อาทิตย์
เที่ยงวันทันเหตุการณ์
เล่าเรื่องไทยๆ กับสายสวรรค์ ขยันยิ่ง
เรื่องเล่าข่าวดีกับสายสวรรค์

สายสวรรค์ ศึกษาระดับประถมศึกษา โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ระดับมัธยมศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ระดับปริญญาตรี คณะนาฏศิลป์และดุริยางค์ ภาควิชา/สาขา นาฏศิลป์ไทย สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มงานแรกเป็นครูสอนนาฏศิลป์ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาเป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 11 (ท้องถิ่น) แล้วจึงทำงานเป็นผู้ประกาศข่าวทางไอทีวี เมื่อปี 2540 ต่อมาทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์และเป็นผู้ดำเนินรายการ เมืองไทยเช้านี้, วาไรตี้ข่าวภาคเช้า จนได้เป็นผู้ประกาศข่าวภาคเที่ยงและภาคค่ำ และเป็นผู้จัดการแผนกผู้ประกาศที่ไอทีวี และเป็นพิธีกรรายการ คืนนี้กับสายสวรรค์[1]

ต่อมา เธอมาทำงานกับทางช่อง 3 และเคยผลิตรายการ Lightning Talk กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ที่ทำให้เธอได้รับรางวัลพิธีกรหญิงดีเด่น ประเภทพิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการ จากงานประกาศรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 31 ประจำปี 2559[2] และเธอยังเคยเป็นผู้บรรยายโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โดยบรรยายในพระราชพิธีสำคัญ ๆ เช่น เมื่อคราวพระราชพิธีสรงน้ำศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี, พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[3] สายสวรรค์ได้รับรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 4 สาขาผู้บรรยายรายการโทรทัศน์ยอดเยี่ยม จากรายการสารคดีเฉลิมพระเกียรติ 70 ปี รัชกาลที่ 9 ตอน "รอยยิ้มจากหยาดเหงื่อ" ช่อง 3[4]

ผลงาน แก้

พิธีกร แก้

โทรทัศน์

  • พ.ศ. 2566 : เรื่องเล่าข่าวดีกับสายสวรรค์ ทุกวันพุธ-ศุกร์ เวลา 20.30-21.00 น. ทางททบ.5 เอชดี (เริ่มวันที่ 8 มกราคม 2566-)

ออนไลน์

  • พ.ศ. 2565 : เล่าเรื่องไทยๆ กับสายสวรรค์ ขยันยิ่ง ทางช่อง YouTube
  • พ.ศ. 256 : ทางช่อง YouTube:Saisawan Khayanying

รางวัล แก้

  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประเภทผู้ดำเนินรายการหญิงดีเด่น ปี 2559
  • รางวัลนาฏราช ประเภทผู้ประกาศข่าวดีเด่น จากรายการเรื่องเด่นเย็นนี้เสาร์-อาทิตย์ ปี 2556
  • รางวัลชนะเลิศ โครงการ ITV Award 1997 ประเภทผู้ประกาศข่าวหญิง ปี 2540
  • รางวัลพระราชทานประเภทผู้อ่านข่าวที่ใช้ภาษาไทยดีเด่นทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ จากกรมประชาสัมพันธ์ ปี 2544-46
  • รางวัล Star Entertainment Award ปี 2545 ประเภทผู้ประกาศข่าวหญิงดีเด่น ของสมาคมนักข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย
  • รางวัลพระราชทานประเภทผู้อ่านข่าวที่ใช้ภาษาไทยดีเด่นทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ จากกรมประชาสัมพันธ์
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประเภทผู้ประกาศข่าวหญิงดีเด่น จากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย
  • รางวัลพระราชทาน "เทพทอง" ประเภทบุคคลดีเด่น ด้านวิทยุโทรทัศน์ ปี 2546
  • รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 4 สาขาผู้บรรยายรายการโทรทัศน์ยอดเยี่ยม จากรายการสารคดีเฉลิมพระเกียรติ 70 ปี รัชกาลที่ 9 ตอน "รอยยิ้มจากหยาดเหงื่อ" ช่อง 3

ฯลฯ

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้