อาคม มกรานนท์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อาคม มกรานนท์ (3 กันยายน พ.ศ. 2474[1] - ) นักร้อง พิธีกรรายการโทรทัศน์ นักแสดง อดีตสมาชิกวุฒิสภา มีผลงานที่น่าจดจำ คือเป็นพิธีกรรายการ "นาทีทอง" และ "ประตูดวง" รายการที่มีผู้ชมสูงสุดทางสถานีโทรทัสน์สีกองทัพบกช่อง 7ในขณะนั้น
อาคม มกรานนท์ ม.ว.ม. | |
---|---|
เกิด | 3 กันยายน พ.ศ. 2474 นิคม มกรานนท์ |
อาชีพ | ผู้ประกาศข่าว นักแสดง พิธีกร สมาชิกวุฒิสภา |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2495 - ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | พิธีกรรายการ "นาทีทอง" และ "ประตูดวง" โฆษกการรัฐประหารในประเทศไทย 8 ครั้ง |
เป็นผู้ประกาศข่าวทางโทรทัศน์ รุ่นแรก ๆ ของเมืองไทยและเป็นโฆษกประกาศการรัฐประหารในประเทศไทย ถึง 8 ครั้ง
ประวัติ
แก้อาคมเป็นบุตรของนายขำ มกรานนท์[2] เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2474 มีชื่อเดิมว่า"นิคม มกรานนท์" ศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 11953) รุ่นเดียวกับแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ เมื่อจบม.7จากโรงเรียนอัสสัมชัญ อาคมมีอายุครบเกณฑ์ทหารจึงสมัครเข้าโรงเรียนพลตำรวจ ฝึกหัดอยู่ 8 เดือนจึงถูกส่งตัวให้เข้าประจำการที่สำนักงานเลขานุการกรมตำรวจต่อจึงลาออกด้วยเหตุผลบางประการมาทำงานที่โคคา-โคล่าอยู่ระยะหนึ่ง
ต่อมากรมประชาสัมพันธ์ได้ประกาศรับสมัครสอบพนักงานกระจายเสียงอาคมจึงลองสมัครดูปรากฏว่าสอบผ่านได้เข้ารับราชการที่กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ประกาศวิทยุภาคทดลองและเลื่อนเป็นผู้ประกาศวิทยุแห่งประเทศไทยประกอบกับเล่นละครวิทยุและร้องเพลงเล่นๆอยู่กับวงดนตรีสุนทราภรณ์ จนเมื่อไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหมตั้งขึ้นอาคมก็ได้เป็นโฆษกชายคนแรกในวันเปิดสถานี และเป็นผู้อ่านข่าวประจำการสลับกับสรรพสิริ วิริยศิริ และสมชาย มาลาเจริญ
งานบันเทิง
แก้ขณะที่รับราชการอยู่กรมประชาสัมพันธ์ได้ร่วมร้องเพลงกับวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์หรือวงดนตรีสุนทราภรณ์บ้างเป็นครั้งคราว บางทีก็ทำหน้าที่เป็นผู้บรรยายเรื่องประกอบละครเพลง ต่อมาได้มีโอกาสแสดงละครทางวิทยุให้กับคณะแก้วฟ้าเรื่องคำสาบานและเรื่องเพื่อน บทประพันธ์ของวิม อิทธกุลและเรื่องอื่นๆตามมาโดยเรื่องที่ภูมิใจที่สุด คือบท รอ.เรือง จากเรื่องล่องไพร ของน้อย อินทนนท์
หลังจากไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหมตั้งขึ้น อาคมได้เข้าเป็นผู้อ่านข่าวประจำการอยู่ช่อง 4 บางขุนพรหมอยู่สักระยะ คุณจำนง รังสิกุลได้ชักชวนให้มาแสดงละครเรื่องกากีในบทนาฏ กุเวรแทนคุณชลิต สุเสวีที่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตนับว่าเป็นละครเรื่องแรกในชีวิตของคุณอาคม จากนั้นมีผลงานอื่นๆตามมาหลายเรื่องเช่น พระเอกในเรื่องล่องไพร,บทลูกชายนักมวยของ สมจินต์ ธรรมทัต ,กัณฑรีย์ นาคประภาในละครเรื่องเสือเก่า ,บทเจ้าชายอริยวัต คู่กับ รวงทอง ทองลั่นทม ในจุฬาตรีคูณ และบทคุณเปรม คู่กับ สุธัญญา ศิลปเวทิน ใน สี่แผ่นดินนับว่าคุณเปรมคนแรกของเมืองไทย ก่อนย้ายไปทำงานกับทีวีช่อง 7 สี รับหน้าที่พิธีกรรายการเกมโชว์นาทีทอง ในช่วงเที่ยงวันอาทิตย์ และประตูดวง ช่วงเย็นวันอาทิตย์ซึ่งทั้งสองรายการมียอดผู้ชมที่สูง ภายหลังได้ลาออกเพื่อรับตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
งานการเมือง
แก้ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 เป็นโฆษกของรัฐบาล[3] ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ต่อมาใน พ.ศ. 2519 ก่อนช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา เข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองร่วมกับฝ่ายรัฐบาลทหาร เป็นโฆษกของชมรมวิทยุเสรี ทางสถานีวิทยุยานเกราะ ที่ออกอากาศโจมตีฝ่ายนักศึกษา ร่วมกับ พ.ท.อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และอุทิศ นาคสวัสดิ์ อีกทั้งยังเป็นพิธีกรรายงานสนทนาประสาชาวบ้าน ร่วมกับนายสมัคร สุนทรเวช[4]
เนื่องจากเคยเป็นนักแสดง และผู้ประกาศข่าวที่มีชื่อเสียงเป็นคุ้นหน้าคุ้นตา ในการรัฐประหารทุกครั้ง จึงมักถูกฝ่ายก่อการเชิญตัวเป็นผู้อ่านประกาศแถลงการณ์ จนเป็นที่กล่าวขานว่า อาคม มกรานนท์อ่านประกาศให้กับฝ่ายใด ฝ่ายนั้นมักจะเป็นผู้ชนะ จนได้รับฉายาว่า"โฆษกคณะปฏิวัติ" เช่นเดียวกับ พลตรีประพาศ ศกุนตนาค โดยเริ่มอ่านครั้งแรกคือ การรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2500 ขณะมีอายุได้แค่ 25 ปี
ผลงานการแสดง
แก้ละครโทรทัศน์
แก้- กากี (ไม่ทราบปี) ช่อง 4 บางขุนพรหม
- ภาพยนตร์โทรทัศน์กำไลหยก (2500) ช่อง 7 ขาวดำ
- ซากุระโรย (ไม่ทราบปี) ช่อง 4 บางขุนพรหม
- เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2503) ช่อง 4 บางขุนพรหม
- สี่แผ่นดิน (2504) ช่อง 4 บางขุนพรหม
- เสือเก่า (ไม่ทราบปี) ช่อง 4 บางขุนพรหม
- เกิดเป็นหญิง (2506) ช่อง 4 บางขุนพรหม
- จุฬาตรีคูณ (ไม่ทราบปี) ช่อง 7ขาวดำ
- กุหลาบสีเลือด (2510) ช่อง 4 บางขุนพรหม
- ละครสั้น"มอม" (2540) ช่อง 5
ภาพยนตร์
แก้- เห่าดง (2501)
- เจ็ดแหลก (2501)
- สวรรค์หาย (2501)
- วนาลี (2502)
- สี่คิงส์ (2502)
- สิบสองมือปืน /นักสู้ (2502)
- ชาติสมิง (2502)
- ดวงชีวัน (2503)
- ตุ๊กตาผี (2503)
- ฟูแมนจู (2503)
- รอยไถ (2503)
- สุดชีวิต (2503)
- เสือเฒ่า (2503)
- ไอ้ค้างคาว (2503)
- ฉุยฉาย (2505)
- สิงห์กองปราบ (2505)
- ศึก 5 เสือ (2506)
- เจ็ดประจัญบาน (2506)
- Panic in Bangkok (1963) ร่วมกับ สิงห์ มิลินทราศรัย
- นกน้อย (2507)
- ผู้พิชิตมัจจุราช (2507)
- Crocodile River (1964) ร่วมกับ เยาวเรศ นิศากร ,มนัส บุณยเกียรติ
- อรัญญิก (2508)
- ลมหวน (2508)
- ชุมทางรัก (2509)
- นกเอี้ยง (2509)
- ลมกรด (2509)
- แสงเทียน (2509)
- เปลวสุริยา (2509)
- สะท้านป่า (2509)
- กู่การะเวก (2510)
- มดแดง (2510)
- บ้าบิ่นบินเดี่ยว (2510)
- บุหรงทอง (2510)
- อีรวง (2514)
- ตะวันตกดิน (2518)
พิธีกร
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "กนก รัตน์วงศ์สกุล, ชีวิตรื่นรมย์ 29 กันยายน พ.ศ. 2549". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-29. สืบค้นเมื่อ 2007-11-12.
- ↑ "ข่าวสารวงการ พระเครื่อง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-04. สืบค้นเมื่อ 2007-11-12.
- ↑ "131011 ThaiPBS สัจจะวิถี 40ปี 14ตุลา E04 (ตอนจบ)". ไทยพีบีเอส. 12 October 2013. สืบค้นเมื่อ 1 May 2014.
- ↑ 2519.net
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย)เล่ม ๑๐๖ ตอน ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ หน้า ๑
- ↑ "ราชกิจานุเบกษา 17 ธันวาคม 2525 แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2020-11-28.