โมโน 29

สถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย

โมโน 29 (อังกฤษ: Mono 29) เป็นช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลความละเอียดมาตรฐาน ในเครือโมโน เน็กซ์ บริษัทสื่อและบันเทิงยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศไทย โมโน 29 นำเสนอภาพยนตร์และละครชุดจากต่างประเทศมากมาย อันเป็นเอกลักษณ์เด่นของช่อง โดยเริ่มทดลองออกอากาศเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

โมโน 29
ตราสัญลักษณ์ โมโน 29
ชื่ออื่นMONO 29
ประเทศไทย
พื้นที่แพร่ภาพประเทศไทย
เครือข่าย
คำขวัญฟรีทีวีที่มีหนังดี ซีรีส์ดัง มากที่สุด
แบบรายการ
ระบบภาพ576i (16:9 คมชัดปกติ)
1080p (16:9 คมชัดสูง/ออนไลน์)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของบริษัท โมโน บรอดคาซต์ จำกัด
บริษัทแม่โมโน เน็กซ์
บุคลากรหลักนายนวมินทร์ ประสพเนตร
ประธานกรรมการ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
นางธัญญา วชิรบรรจง
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตรายการ
นายยิ่งยศ ปัญญา
รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตรายการ
ช่องรองโมโนพลัส
โมโนแม็กซ์
ประวัติ
เริ่มออกอากาศระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน:
25 เมษายน พ.ศ. 2557 (9 ปี)
ระบบดาวเทียมเคเบิลทีวีและดิจิทัล:
2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (8 ปี)
ลิงก์
เว็บไซต์mono29.com
ออกอากาศ
ภาคพื้นดิน
ดิจิทัลช่อง 29 (มักซ์#5 : ททบ.)
เคเบิลทีวี
ช่อง 29
ทีวีดาวเทียม
ช่อง 29
สื่อสตรีมมิง
Mthaiชมรายการสด

ประวัติ แก้

สถานีโทรทัศน์โมโน 29 ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2556 โดยบริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด ในเครือโมโน เน็กซ์ เพื่อเริ่มธุรกิจโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล โดยโมโน บรอดคาซท์ ได้เข้าร่วมประมูลทีวีดิจิทัลในช่วงวันที่ 26 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ หมวดหมู่ทั่วไป ความละเอียดมาตรฐาน (SD) จากการเสนอราคาที่จำนวน 2,250 ล้านบาท เป็นอันดับที่ 6 ในหมวดหมู่ จากจำนวน 7 ช่อง[1]

โมโน 29 เริ่มทดลองออกอากาศเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 และได้สร้างจุดเด่นของตัวเองที่แตกต่างไปจากสถานีโทรทัศน์ช่องอื่น ๆ ด้วยการเน้นการออกอากาศละครชุดและภาพยนตร์ชื่อดังซึ่งทำรายได้สูงสุดในช่วงเวลานั้น ๆ ทั้งภาพยนตร์ที่ผลิตและออกฉายในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงภาพยนตร์ที่ที โมเมนต์ ซึ่งเป็นบริษัทเครือเดียวกันกับโมโน 29 ผลิตขึ้นด้วย และภาพยนตร์ซื้อลิขสิทธิ์มาจากต่างประเทศ ผ่านการจัดจำหน่ายโดยบริษัทผู้ผลิตระดับโลก เช่น วอร์เนอร์บราเธอส์, เอ็นบีซียูนิเวอร์แซล, พาราเมาต์พิกเจอส์ เป็นต้น ตามสโลแกนของช่องที่เป็น "ฟรีทีวีที่มีหนังดี ซีรีส์ดัง มากที่สุด"[2][3] รวมถึงการใส่เลขช่องลงไปในชื่อช่อง เพื่อให้ผู้ชมจำเลขช่องได้แม่นยำขึ้น และด้วยกลยุทธ์นี้จึงทำให้โมโน 29 กลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ชมภาพยนตร์ทั่วประเทศไม่แพ้เน็ตฟลิกซ์ จนส่งผลทำให้เรตติ้งขยับขึ้นมาถึงอันดับที่ 3 ในทีวีดิจิทัลมาจนถึงปัจจุบัน[4][5] จากความสำเร็จในด้านเรตติ้งของช่อง โมโน 29 จึงได้วางแผนถึงการเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีเรตติ้งสูงที่สุดในประเทศไทยในอนาคต[6]

นอกจากนี้ โมโน เน็กซ์ บริษัทแม่ของโมโน 29 ยังมีนโยบายที่จะส่งเสริมกีฬาบาสเกตบอลในประเทศไทย จึงได้ให้โมโน 29 นำเสนอกีฬาบาสเกตบอลอย่างเจาะลึกเพียงช่องเดียวในประเทศไทย เช่น ซื้อลิขสิทธิ์บาสเกตบอลลีกเอ็นบีเอมาถ่ายทอดสด รวมถึงให้การสนับสนุนทีมบาสเกตบอลทีมชาติไทย และถ่ายทอดสดการแข่งขันของทีมบาสเกตบอลทีมชาติไทยทุกแมตช์ทุกรายการอีกด้วย[7]

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว แก้

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในปัจจุบันที่มีชื่อเสียง แก้

  • ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์
  • นนทกฤช กลมกล่อม
  • อัมภิกา ชวนปรีชา
  • พบเอก พรพงเมตตา
  • รินทร์ณฐา อัจฉริยวัฒนกุล
  • ตะวันรุ่ง ปริสุทธิธรรม
  • ภคพงศ์ อุดมกัลยารักษ์​
  • ชลนที อักษรสิงห์ชัย
  • พชรวรรณ วาดรักชิต
  • ณภัทร บรรจงจิตรไพศาล
  • ปรีณาภา กาญจนรัตน์
  • พัชรณัฏฐ์ โท
  • สวรรยา เลียงประสิทธิ์
  • มาติกา โตส้ม
  • ธนัฐ ธนจิระชัย
รายการข่าว ผู้ประกาศข่าว
MONO ข่าวเช้า
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 06:15 – 08:00 น.
ภคพงศ์ อุดมกัลยารักษ์​
ตะวันรุ่ง ปริสุทธิธรรม
What's Up 29
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 09:00 – 09:10 น.
วันเสาร์ – วันอาทิตย์
เวลา 17:50 – 18:00 น.
ปรีณาภา กาญจนรัตน์ (วันจันทร์ – วันศุกร์)
พัชรณัฏฐ์ โท (วันเสาร์ – วันอาทิตย์)
MONO เจาะข่าวเด็ด
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 13:25 – 14:05 น.
นนทกฤช กลมกล่อม
Entertainment Now
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 12:25 – 12:35 น.
สวรรยา เลียงประสิทธิ์
มาติกา โตส้ม
ธนัฐ ธนจิระชัย
MONO ข่าวเย็น
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 16:00 – 17:00 น.
วันเสาร์ – วันอาทิตย์
เวลา 17:05 – 17:50 น.
พบเอก พรพงเมตตา (วันจันทร์ – วันศุกร์)
รินทร์ณฐา อัจฉริยวัฒนกุล (วันจันทร์ – วันศุกร์)
ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ (วันเสาร์ – วันอาทิตย์)
อัมภิกา ชวนปรีชา (วันเสาร์ – วันอาทิตย์)
MONO ข่าวคํ่า
วันจันทร์ – วันอาทิตย์
เวลา 20:15 – 20:35 น.
วันจันทร์ – วันศุกร์
พบเอก พรพงเมตตา (วันจันทร์ – วันศุกร์)
พชรวรรณ วาดรักชิต (Gossip Star บันเทิง, วันจันทร์ – วันพุธ)
ชลนที อักษรสิงห์ชัย (Gossip Star บันเทิง, วันพฤหัสบดี – วันศุกร์)
วันเสาร์ – วันอาทิตย์
ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์
ณภัทร บรรจงจิตรไพศาล (Gossip Star บันเทิง)

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในอดีต แก้

  • กวีพันธ์ มนตรีวงศ์ (ปัจจุบันอยู่สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา)
  • อลิสนันท์ วรภิรมย์รักษ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • รัฐนันท์ จรรยาจิรวงศ์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี และพิธีกรอิสระ)
  • ชัชชญา เชตะวนวิทย์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ทศธรรม เปี่ยมสมบูรณ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พาฝัน ศรีเริงหล้า (ปัจจุบันอยู่ The People)
  • บรรพต ธนาเพิ่มสุข (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16 และช่องยูทูบ ถามอีก กับอิก TAM-EIG และพิธีกรอิสระ)
  • ภควัต โฉมศรี (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
  • กมลชนก พุคยาภรณ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สาริตา สวัสดิกำธร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พศิน ศรีธรรม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ปิยลักษณ์ รักประทานพร (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • สานนท์ เจริญพันธุ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • โกสินทร์ อัตโนรักษ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • คริสโตเฟอร์ ไรท์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชน และพิธีกรอิสระ)
  • สุผจญ กลิ่นสุวรรณ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชน และพิธีกรอิสระ)
  • สุภนันท์ ฤทธิ์มนตรี (ปัจจุบันอยู่เอ็นบีที 2 เอชดี และพิธีกรอิสระ)
  • พิชญาภา สูตะบุตร (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • ธนภัทร ศุภวรรณาวิวัฒน์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • วรวิตา จันทร์หุ่น (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พิมพ์ภัทรา จันทร์หอม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พิภู พุ่มแก้วกล้า (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี และพิธีกรอิสระ)
  • กรองบุญ ศรีสรรพกิจ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • เจษฎา มณีรัตน์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)

รางวัล[8] แก้

  • รางวัลเชิดชูเกียรติคนดีแผ่นดินสยาม ประจำปี พ.ศ. 2559 สาขาสื่อสร้างสรรค์สังคม (รายการ เจาะข่าวเด็ด The Day News Update)[9]
  • รางวัลสิงห์ทอง ฐานะสื่อสร้างสรรค์ขับเคลื่อนการพัฒนา เพื่อความเข้มแข็งของประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2560 (รายการ ข่าวเช้า Good Morning Thailand)[10]
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 31 ประจำปี พ.ศ. 2559 สาขานักแสดงสมทบชายดีเด่น (เมฆ - วินัย ไกรบุตร จากซีรีส์ The Angel นางฟ้าล่าผี ปี 2)[11]
  • รางวัลตาชั่งทอง ฐานะบุคคลสงเคราะห์ดีเด่นแห่งปี พ.ศ. 2560 สาขาผู้ให้ความรู้ความเข้าใจต่อประชาชน (รายการ ข่าวเช้า Good Morning Thailand)[12]
  • โล่รางวัลสื่อสนับสนุนดีเด่น 250 ปี ตามรอยกองเรือยกพลขึ้นบกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากจันทบุรีสู่อยุธยา[12]
  • รางวัลเทพทอง ครั้งที่ 19 ประเภทบุคคลดีเด่นด้านโทรทัศน์ (แบงค์ - พบเอก พรพงเมตตา จากรายการ ข่าวเช้า Good Morning Thailand และเอก - นนทกฤช กลมกล่อม จากรายการ เจาะข่าวเด็ด The Day News Update)[13]
  • รางวัลคนไทยตัวอย่าง สาขาศิลปิน ดารา นักแสดงตัวอย่างดีเด่น (อลิซ - อภัสนันท์ วรภิรมย์รักษ์ และแนนต์ - วรวิตา จันทร์หุ่น จากรายการ ข่าวเช้า Good Morning Thailand)[14]
  • รางวัลปรัชญานิยม สาขาบุคคลผู้เป็นแบบอย่างดีเด่นด้านวิทยุโทรทัศน์ (ทิชา - พชรวรรณ วาดรักชิต จากรายการ Entertainment Now และบอย - เจษฎา มณีรัตน์ จากรายการ ข่าวเช้า Good Morning Thailand)[15]
  • รางวัลตาชั่งทอง ฐานะบุคคลสงเคราะห์ดีเด่นแห่งปี พ.ศ. 2563 สาขาผู้ให้ความรู้ความเข้าใจต่อประชาชน (รายการ เรื่องเด่นประเด็นดัง Top Talk Daily)[16]

อ้างอิง แก้

  1. "ปิดฉากประมูลดิจิตอลทีวี กสทช. กวาดรายได้เข้าประเทศ 50,862 ล้านบาท". Blognone. 27 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "Mono29". Contentasia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-17. สืบค้นเมื่อ 6 August 2016.
  3. Thailand, Nation Multimedia Group Public Company Limited, Nationmultimedia.com. "Workpoint Creative, Mono29 undaunted - The Nation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-14. สืบค้นเมื่อ 7 September 2016.
  4. "กลยุทธ์ 'แหกโผ' ของ "โมโน 29" แตกต่างอย่างชัดเจน 1 ใน 3 ช่องฮิตดิจิตอล". ไทยรัฐ. 16 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "MONO29 แซงขึ้นอันดับ 3 ทีวีดิจิตอล". Positioning Magazine. 4 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "MONO 29 สวนกระแสโตไม่เกรงใคร". บ้านเมือง. 18 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "ส่องผลงานช่อง Mono ในรอบ 5 ปีทีวีดิจิทัล เติบโตต่อเนื่อง". TV Digital Watch. 9 สิงหาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "รางวัลแห่งความสำเร็จ". โมโน เน็กซ์. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "เอก นนทกฤช ปลื้ม! เป็นตัวแทนช่อง MONO 29 คว้ารางวัลสื่อสร้างสรรค์สังคม คนดีแผ่นดินสยาม". 25 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  10. ""ทันข่าวเช้า" คว้ารางวัล "สิงห์ทอง" สื่อสร้างสรรค์ขับเคลื่อนการพัฒนา". RYT9. 2 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "ซี-แต้ว คว้านำชาย-หญิง ไทยรัฐทีวี สถานีข่าวดีเด่น โทรทัศน์ทองคำครั้งที่ 31". ไทยรัฐ. 18 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 "รายงานประจำปี 2561" (PDF). โมโน เน็กซ์. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. ""นนทกฤช-พบเอก" ผู้ประกาศข่าวช่อง MONO29 รับ "รางวัลพระราชทานเทพทอง". นิวส์พลัส. 12 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "อลิซ – แนนต์ มุ่งมั่นทำหน้าที่ผู้ประกาศข่าว ภูมิใจเข้ารับรางวัล "คนไทยตัวอย่าง"". กอสซิปสตาร์. 29 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. ""ทิชา-บอย MONO29" มุ่งมั่นทำหน้าที่สื่อ ภูมิใจเข้ารับรางวัล "ปรัชญานิยม"". บ้านเมือง. 5 สิงหาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "เรื่องเด่นประเด็นดัง ช่อง MONO29 รับโล่รางวัลเกียติยศ ตาชั่งทอง 2563". กอสซิปสตาร์. 23 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้