สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา หรือ อีทีวี (ETV) เป็นสถานีโทรทัศน์ของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอรายการเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งระดับประถมศึกษา, มัธยมศึกษา และการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) มีคำขวัญประจำสถานีว่า บ้านหลังใหญ่แห่งการเรียนรู้

สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
ประเทศไทย ไทย
พื้นที่แพร่ภาพไทย ประเทศไทย
เครือข่ายช่องโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่
คำขวัญบ้านหลังใหญ่แห่งการเรียนรู้
สำนักงานใหญ่ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
แบบรายการ
ระบบภาพ1080i (16:9 HDTV)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
กรมส่งเสริมการเรียนรู้
กระทรวงศึกษาธิการ
บุคลากรหลักรัชดา คลี่สุนทร ผู้อำนวยการ
จารุพร พุทธวิริยากร หัวหน้าสถานีฯ
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ12 สิงหาคม พ.ศ. 2537 (30 ปี)
ลิงก์
เว็บไซต์www.etvthai.tv
ออกอากาศ
เคเบิลทีวี
ทรูวิชันส์ช่อง 180
ทีวีดาวเทียม
ทรูวิชันส์ช่อง 180
พีเอสไอ
จีเอ็มเอ็มแซท
ไอเดียแซท
ไทยแซท
เคเอสทีวี
ดีทีวี
ช่อง 201
กู๊ด ทีวี
อินโฟแซท
ช่อง 185
เคยู-แบนด์12687 V 30000
สื่อสตรีมมิง
EtvThaiชมรายการสด

ประวัติ

แก้

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโครงการทดลองจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อขยายโอกาส พัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับมาตรฐานทางการศึกษา หลังจากนั้น กระทรวงศึกษาธิการ มีคำสั่งมอบหมายให้ กรมการศึกษานอกโรงเรียน (ปัจจุบันคือ กรมส่งเสริมการเรียนรู้) รับผิดชอบโครงการทดลองดังกล่าว มีกำหนดระยะเวลาระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 จนถึงวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยมูลนิธิไทยคมให้การสนับสนุน ในการจัดตั้งสถานีส่งแพร่ภาพ จนกระทั่งเริ่มทดลองออกอากาศ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2537 และเริ่มออกอากาศจริงอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2542

การออกอากาศและช่องทางการรับชม

แก้

อีทีวี ออกอากาศเป็นประจำทุกวัน ระหว่างเวลา 06:00 - 24:00 น. (เช่นเดียวกับสถานีวิทยุศึกษา) ผ่านสัญญาณดาวเทียมไทยคม 5 ด้วยระบบออกอากาศดิจิทัล ในความถี่เคยู-แบนด์ สามารถรับชมได้ทางบริการโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิก ทรูวิชันส์ ช่อง 180, เครือข่ายโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลส่วนท้องถิ่น และทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของอีทีวี

เวลาออกอากาศ

แก้
  • พ.ศ. 2538 เปิดสถานีเวลา 14.00 ปิดสถานีเวลา 21.00
  • พ.ศ. 2546 เปิดสถานีเวลา 09.00 ปิดสถานีเวลา 22.00
  • พ.ศ. 2547 เปิดสถานีเวลา 07.00 ปิดสถานีเวลา 22.00
  • พ.ศ. 2549 เปิดสถานีเวลา 06.00 ปิดสถานีเวลา 22.00 ตามข้อเสนอของผู้รับชม
  • พ.ศ. 2551 เปิดสถานีเวลา 06.00 ปิดสถานีเวลา 00.00
  • พ.ศ. 2551 (กลางปี) เปิดสถานี 24 ชั่วโมงผ่านดาวเทียม Thaicom 2/5 KU band
  • พ.ศ. 2552 เปิดสถานีเวลา 06.00 ปิดสถานีเวลา 00.00

ติวเตอร์แชนเนล

แก้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินโครงการ ติวเตอร์แชนเนล (Tutor Channel ปัจจุบันชื่อ สติวเดนต์ แชนแนล Student Channel) เพื่อนำไปสู่การออกอากาศผ่านโครงข่าย โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการสาธารณะ โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินงานโครงการ ในระหว่างปี พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2555 ด้วยงบประมาณราว 6,000 ล้านบาท หลังจากนั้นจะมีความพร้อมในการออกอากาศภาคพื้นดิน ผ่านคลื่นความถี่ยูเอชเอฟ โดยระยะแรก เริ่มออกอากาศในรูปรายการโทรทัศน์ เป็นครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552 ระหว่างเวลา 10:00 - 12:00 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และคู่ขนานทางอีทีวี

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้