มูฟวี่ฮิตทีวีพูล

ช่องทีเอชวี (อังกฤษ: THV); เป็นช่องโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียม ผลิตเนื้อหาโดยบริษัท ไทยทีวี จำกัด ในเครือนิตยสารทีวีพูล ก่อนหน้านี้เป็นผู้รับสิทธิการออกอากาศ โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ทางช่องหมายเลข 17 ทว่ายังมิได้ชำระค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตประกอบกิจการในงวดที่สอง ตามระยะเวลาที่กำหนด คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จึงประกาศให้พักใช้ใบอนุญาตดังกล่าว เป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 23:59 น. เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เคยออกอากาศทีวีดิจิทัล มานาน 2 ปี

มูฟวี่ฮิตทีวีพูล
ประเทศไทย ไทย
พื้นที่แพร่ภาพไทย ประเทศไทย
เครือข่าย
คำขวัญไทยทีวี ทีวีของคนไทย (มิถุนายน 2557-2558)
Your Time All Time ทุกนาทีเพื่อคุณ (เมษายน-มิถุนายน 2557)
สำนักงานใหญ่197/3 ถนนลาดพร้าว 101 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
แบบรายการ
ระบบภาพ576i (16:9 คมชัดมาตรฐาน)
1080ไอ (16:9 ภาพคมชัดสูง)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของบริษัท ไทยทีวี จำกัด
บุคลากรหลัก
ช่องรองเอ็มวีทีวีแฟมิลี
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ1 เมษายน พ.ศ. 2557
ยุติออกอากาศ31 ตุลาคม พ.ศ. 2558
(1 ปี 213 วัน)
ชื่อเดิมทีวีพูลแชนแนล
ทีเอชวี
ไทยทีวี
ออกอากาศ
ภาคพื้นดิน
ดิจิทัลช่อง 17 (มักซ์#4 : ส.ส.ท.)
เคเบิลทีวี
ช่อง 44
ทีวีดาวเทียม
ช่อง 44

ความร่วมมือกับโพสต์ทีวี แก้

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 พันธุ์ทิพาในสถานะ ประธานกรรมการบริหารไทยทีวี ลงนามในสัญญา ผลิตรายการข่าวและสาระ ร่วมกับบริษัท โพสต์ทีวี จำกัด ในเครือหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งทางโพสต์ทีวีผลิตรายการข่าว 365 โพสต์นิวส์ เพื่อถ่ายทอดสดไปออกอากาศทางช่องทีเอชวี ร่วมด้วยรายการสาระในทุกสุดสัปดาห์ โดยกลุ่มผู้ประกาศข่าว และพิธีกรซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 06.00-09.00 น. / เวลา 12.00-12.30 น. / เวลา 16.30-18.30 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00-13.00 น. / เวลา 18.00-19.00 น. นอกจากนั้น โพสต์ทีวียังออกแบบตราสัญลักษณ์ช่อง โดยใช้ตัวอักษรอย่างย่อว่า "ทีเอชวี" (อังกฤษ: THV) ตั้งแต่เริ่มทดลองออกอากาศด้วย[ต้องการอ้างอิง]

โดยช่องทีเอชวี เริ่มเข้าสู่ระยะทดลองออกอากาศ ทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลช่อง 17 ตั้งแต่เวลา 07:30 น. ของวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 มีรูปแบบหลักคือ นำเสนอข่าวสารทั่วไป ร้อยละ 20 และข่าวบันเทิง ร้อยละ 30 ร่วมกับรายการสาระบันเทิง ร้อยละ 50 ซึ่งยังคงยึดถือสัดส่วนลักษณะนี้ ตลอดระยะเวลาที่ออกอากาศภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ทว่าต่อมา ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน บริษัท โพสต์พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) บริษัทแม่ของโพสต์ทีวี ขอบอกเลิกสัญญาผลิตรายการข่าวทั่วไป ร่วมกับ บริษัท ไทยทีวี จำกัด โดยทางโพสต์ทีวี ผลิตรายการข่าวให้ช่องทีเอชวี เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม เป็นผลให้ไทยทีวียุติการใช้ตราสัญลักษณ์เดิม และชื่อช่องทีเอชวี โดยออกแบบตราสัญลักษณ์ใหม่ และเปลี่ยนมาเป็นชื่อไทยทีวี (อังกฤษ: Thai TV)[ต้องการอ้างอิง]

ปัญหาการออกอากาศภาคพื้นดินระบบดิจิทัลกับ กสทช. แก้

หลังจากที่พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยทีวี จำกัด ประกาศว่าจะงดชำระค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล งวดที่สองให้แก่ กสทช. เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 พันธุ์ทิพาส่งหนังสือถึง กสทช.ขอบอกเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการฯ ในช่องหมายเลข 17 (ไทยทีวี) และช่องหมายเลข 15 (โลกา) โดยหลังจากนั้นไม่นาน ก็ประกาศสำทับอีกว่า จะยุติการออกอากาศไทยทีวีและโลกา ผ่านระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน ทางช่องหมายเลข 17 และ 15 ตามลำดับ ในวันที่ 26 กรกฎาคม ตั้งแต่เวลา 00:00 น. เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - เนื่องด้วย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคต คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จึงมีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่องระงับการออกอากาศรายการตามผังรายการปกติเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อเป็นการไว้อาลัย ไม่สามารถรับชม ลืม ทั้ง 2 ช่อง ไม่ได้ใบอนุญาต [1]

ทว่าทาง กสทช.ระบุว่าหาก บจก.ไทยทีวี ไม่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต จะต้องรับโทษทางปกครอง คือพักใช้หรือเพิกถอน ใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ซึ่งจะเป็นผลให้ขาดคุณสมบัติ ในการเป็นผู้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการโทรทัศน์ ประเภทไม่ใช้คลื่นความถี่ไปด้วย[2][3] พันธุ์ทิพาจึงมอบหมายทนายความ ยื่นฟ้อง กสทช.ต่อศาลปกครอง ซึ่งดำเนินการไต่สวน ด้วยการเชิญให้คู่กรณีมาชี้แจง โดยทาง กสทช.เสนอให้ บจก.ไทยทีวี ประกาศหาผู้รับซื้อกิจการ หรือผู้เข้าร่วมประกอบกิจการ ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งระหว่างนี้มีการผ่อนปรน ให้ยืดเวลาออกอากาศ ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลไปอีกสามเดือน (จนถึงวันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558) ซึ่งพันธุ์ทิพาก็เห็นชอบด้วย[4] เกิดขึ้นวันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เคยออกอากาศทีวีดิจิทัล วันที่1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (8 ปี)

แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาดังกล่าว บจก.ไทยทีวี ไม่สามารถดำเนินการตามข้อเสนอของ กสทช.ข้างต้นได้ จึงยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ทางช่อง 17 ไทยทีวี พร้อมกับช่อง 15 เอ็มวีทีวีแฟมิลี ซึ่งดำเนินการด้วยตนเอง ตั้งแต่เวลา 23:59 น. ของวันที่ 31 ตุลาคมนั้นเอง โดยที่ กสทช.และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.; ไทยพีบีเอส) เจ้าของอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ มิได้เป็นฝ่ายดำเนินการตัดสัญญาณแต่อย่างใด[5] โดยในวันรุ่งขึ้น (1 พฤศจิกายน) บจก.ไทยทีวี เปลี่ยนชื่อช่องอีกครั้งเป็น "ทีวีพูล 7" (อังกฤษ: TV Pool 7) พร้อมทั้งปรับปรุงตราสัญลักษณ์ในรายละเอียด ซึ่งใช้พื้นฐานจากสัญลักษณ์เดิมที่มีตัวเลข 7 อยู่เป็นสำคัญ มาประกอบกับสัญลักษณ์หัวนิตยสารทีวีพูล และส่วนล่างสุดยังมีสัญลักษณ์ "มูฟวี่ฮิตส์" (อังกฤษ: Movie Hits) ขนาดเล็ก ซึ่งประกอบด้วยภาพม้วนฟิล์ม และเครื่องหมายเพลย์ (Play) เนื่องจากซื้อใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ของช่องมูฟวี่ฮิตส์มาใช้ไปพลางก่อน[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมาสำนักงาน กสทช.ส่งหนังสือเลขที่ สทช 4010/35320 ออกคำสั่งทางปกครอง แจ้งต่อผู้อำนวยการ ส.ส.ท. เพื่อระงับการให้บริการโครงข่ายแก่ บริษัท ไทยทีวี จำกัด ทั้งสองช่อง เป็นระยะเวลา 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป[6] ดังนั้น ส.ส.ท.จึงดำเนินการตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าว โดยแสดงหน้าจอสีดำ มีข้อความเป็นตัวอักษรสีขาว อยู่บริเวณกลางหน้าจอความว่า "ระงับการออกอากาศชั่วคราว(เว้นบรรทัด)ตามคำสั่งทางปกครองของสำนักงาน กสทช."[7] โดยในวันรุ่งขึ้น (2 ธันวาคม) ได้เปลี่ยนเลขช่องเป็น "ทีวีพูล 44" (อังกฤษ: TV Pool 44) พร้อมทั้งปรับปรุงตราสัญลักษณ์ในรายละเอียด ซึ่งใช้พื้นฐานจากสัญลักษณ์เดิมที่มีตัวเลข 44 อยู่เป็นสำคัญ มาประกอบกับสัญลักษณ์หัวนิตยสารทีวีพูล และยุติการออกอากาศ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 เฉพาะระบบดาวเทียม [8]

ผู้ประกาศข่าวและรายการข่าว แก้

ตราสัญลักษณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. พักใบอนุญาตไทยทีวี 30 วัน
  2. ลุ้น "ไทยทีวี" จอดำหรือไม่ 22 ก.ค.นี้, ไทยรัฐออนไลน์, 23 มิถุนายน 2558.
  3. กสท.ขีดเส้นตายไทยทีวี 22 ก.ค.จอดับ "ดิจิทัลพ่วงดาวเทียม", ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, 26 มิถุนายน 2558.
  4. 'เจ๊ติ๋ม' โล่ง! ได้ยืดเวลาไทยทีวี ออกอากาศอีก 3 เดือน หาผู้ร่วมทุน, ไทยรัฐออนไลน์, 21 กรกฎาคม 2558.
  5. “เจ๊ติ๋ม” หยุดส่งสัญญาณ ปล่อยจอดำ 2 ช่องทีวีดิจิทัล เก็บถาวร 2016-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สปริงนิวส์, 1 พฤศจิกายน 2558.
  6. ภาพแสดงหนังสือ คำสั่งทางปกครอง ของสำนักงาน กสทช.[ลิงก์เสีย] (ถ่ายโดยภัทราพร ตั๊นงาม ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส)
  7. ตัวอย่างภาพหน้าจอโทรทัศน์ ซึ่งไทยพีบีเอสดำเนินการ ตามคำสั่งทางปกครอง ของสำนักงาน กสทช. (ถ่ายโดยภัทราพร ตั๊นงาม ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส)
  8. 3 ปี ทีวีดิจิตอลบักโกรก เจ๊งถ้วนหน้า

ดูเพิ่ม แก้