ซอฟต์บอล (อังกฤษ: softball แปลตามตัวว่า บอลนุ่ม) เป็นกีฬาประเภททีมที่ใช้ลูกบอลในการเล่น ลูกซอฟต์บอลมีขนาดเส้นรอบวง 11 ถึง 13 นิ้ว (ประมาณ 28-30.5 เซนติเมตร) ผู้ขว้างบอลเรียกว่าพิตเชอร์ (pitcher) ส่วนผู้เล่นฝ่ายรุกที่ตีบอลเรียกว่าแบตเตอร์ (batter) หรือตัววิ่ง แบตเตอร์จะตีบอลด้วยไม้ตีทรงกระบอกอ่อนนุ่มที่เรียกว่าแบต (bat) การทำคะแนนจะเกิดขึ้นเมื่อแบตเตอร์วิ่งผ่านจุดสี่จุดที่เรียงกันตามลำดับบนพื้นสนาม ที่เรียกว่าเบส (base) ซอฟต์บอลได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากเบสบอล (baseball) จนบางครั้งเราก็เรียกเบสบอลว่า ฮาร์ดบอล (hardball) (แปลตามตัวว่า บอลแข็ง)

แบตเตอร์ขณะอยู่ในท่าพร้อม

สมาพันธ์ซอฟต์บอลนานาชาติ (International Softball Federation) เป็นผู้ควบคุมดูแลกีฬาและจัดการแข่งขันในระดับโลกทุกๆ 5 ปี

รูปแบบการเล่น

แก้

ซอฟต์บอลมีรูปแบบการเล่นมาตรฐานอยู่ 3 รูปแบบ: สโลว์พิตช์, ฟาสต์พิตช์, และ มอดิฟายด์พิตช์

  • ฟาสต์พิตช์ เป็นรูปแบบการเล่นในเชิงรับ พิตเชอร์เป็นผู้เริ่มเปิดการเล่น โดยการขว้างบอลออกไปด้วยความเร็วสูงสุด เพื่อให้แบตเตอร์ตีบอลได้ยาก แบตเตอร์จะถูกให้ออกจากสนามเป็นจำนวนมากเนื่องจากไม่สามารถตีลูกได้ คะแนนจะต่ำ พิตเชอร์ที่ดีจะถือเป็นผู้เล่นที่มีความสำคัญ
  • สโลว์พิตช์ เป็นรูปแบบการเล่นที่ทำให้แบตเตอร์มีโอกาสในการตีลูกที่มากขึ้น การเล่นแบบสโลว์พิตช์ยังมีอีกสองชนิด ซึ่งใช้ลูกบอลต่างขนาดกัน รูปแบบการเล่นที่ใช้ที่ลูกบอลขนาดใหญ่กว่าบางครั้งเรียกกันว่า ซูเปอร์สโลว์พิตช์ ถูกนำออกจากกฎกติกาของสมาพันธ์ซอฟต์บอลนานาชาติในปีพ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) แต่ก็ยังมีการเล่นกันอยู่ในนัดที่แข่งแบบไม่เป็นทางการ
  • มอดิฟายด์พิตช์ เป็นรูปแบบการเล่นที่ไม่มีการกำหนดความเร็วในการขว้าง แต่อย่างไรก็ตามเทคนิคต่าง ๆ ก็ต้องเป็นไปตามกฎกติกาที่มีการวางเอาไว้

ในบทความนี้จะอ้างอิงถึงการเล่นแบบฟาสต์พิตช์ที่ผสมผสานกับมอดิฟายด์พิตช์ และอ้างอิงถึงการเล่นแบบสโลว์พิตช์ที่รวมถึงการเล่นโดยใช้ลูกบอลขนาดใหญ่ (16 นิ้ว)

สนาม

แก้
 
รูปแบบสนามซอฟต์บอลรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

สนามที่ใช้ในการเล่นจะแบ่งเป็นสองส่วนคือ เขตแฟร์ (Fair territory) และ เขตฟาวล์ (Foul territory) เขตแฟร์ยังถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ อินฟีลด์ (infield) , เอาต์ฟีลด์ (outfield) , รวมถึงบริเวณที่อยู่เหนือรั้วของเขตเอาต์ฟีลด์ด้วย

สนามแข่งขันถูกกำหนดไว้โดย เบสไลน์ (baselines) สองเส้น หรือ ฟาวล์ไลน์ (foul lines) ที่มาทำมุมกันที่ โฮมเพลต (home plate) . ความยาวขั้นต่ำของเบสไลน์จะถูกกำหนดตามประเภทของผู้เล่น รั่วซึ่งมีการล้อมไว้ระหว่างเบสไลน์ทั้งสองจะเป็นตัวบ่งบอกขนาดของสนาม รั้วนี้จะมีระยะห่างจากโฮมเพลตเท่ากันไม่ว่าจะวัดมาจากจุดใดบนรั้วก็ตาม

จุดที่อยู่ด้านหลังโฮมเพลตจะเรียกว่า แบกสต็อป (backstop) . ซึ่งจะมีระยะห่างจากโฮมเพลตประมาณ 25 ถึง 30 ฟุต (7.62 และ 9.14 เมตร)

โฮมเพลตนั้นทำมาจากยาง เป็นรูปทรงที่มีห้าด้าน คล้ายกับการผสมผสานกันระหว่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าและสามเหลี่ยม กว้าง 17 นิ้ว (43 เซนติเมตร) ยาว 8.5 นิ้ว (22 เซนติเมตร) สามเหลี่ยมจะมีขนาดพอดีกับมุมของเส้นที่ไปเชื่อมกับเบสไลน์ โฮมเพลตเป็นมุมด้านหนึ่งของสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่มี เบส (bases) อยู่ที่มุมของสี่เหลี่ยม เบสอื่นๆที่ไม่ใช่โฮมเพลตจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาด 15 นิ้ว (38 เซนติเมตร) ทำจากเบาะมวยปล้ำหรือยาง และหนาไม่เกิน 5 นิ้ว (13 เซนติเมตร) เบสจะถูกรั้งไว้ให้อยู่กับที่เสมอ เบสจะถูกนับตามเข็มนาฬิกาเป็น เบสที่หนึ่ง เบสที่สอง และเบสที่สาม ด้านนอกเบสแรก (ซึ่งอยู่ในเขตฟาวล์) จะมี "ดับเบิลเบส (double base) " หรือ "เซฟตี้เบส (safety base) "อยู่ติดกันกับเบสแรกเพื่อขั้นกลางระหว่างเบสแมน (baseman) และตัววิ่ง ตัววิ่งจะวิ่งเข้าไปในเขตฟาวล์ที่อยู่ในส่วนของดับเบิลเบสหลังจากที่ตีบอล ระหว่างที่ทีมที่อยู่ภายในสนามกำลังขว้างบอลสู่เบสแรก ก่อนที่ตัววิ่งจะเข้าไปถึงเซฟตี้เบส แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกสนามที่จะมีเซฟตี้เบส และในสนามของผู้หญิงจะมีอยู่มากกว่าผู้ชาย ดับเบิลเบสนี้ต้องมีในการแข่งขันของสมาพันธ์ซอฟต์บอลนานาชาติ

เขตอินฟีลด์คือส่วนที่อยู่ภายในสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนและบริเวณที่ประชิดตัวกับอินฟิลเดอร์ (Infielder) เขตเอาต์ฟีลด์คือเขตที่อยู่ระหว่างเบสไลน์ รั้ว และอินฟีลด์ อินฟีลด์มักเป็นบริเวณที่ชื้นแฉะแต่เอาต์ฟีลด์จะมีการปลูกหญ้าในส่วนที่ใช้แข่งขัน

บริเวณจุดศูนย์กลางของวงกลมจะมีพิตชื่งเพลต (Pitching plate) เป็นแผ่นยางรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในฟาสต์พิตช์ พิตชิงเซอร์เคิล (Pitching circle) จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 8 ฟุต (2.44 เมตร) พิชชิ่งเซอร์เคิลจะอยู่รอบพิชชิ่งเพลต

ในสนามจะต้องมีช่วงบริเวณประมาณ 15 ถึง 12 ฟุต (5 และ 4 เมตร) จากรั้วเพื่อเตือนให้ผู้อยู่ในบริเวณนั้นระมัดระวังเรียกว่าวอร์นนิ่งแทรก (Warning track) แต่เกมที่เล่นในสนามใหญ่กว่าอาจไม่จำเป็นต้องมีวอร์นนิ่งแทรกหากรั้วสนามนั้นเป็นรั้วที่จัดขึ้นชั่วคราว

ในเขตฟาวล์ด้านนอกเบสไลน์จะมี โค้ชบ็อกซ์ (Coach's boxes) ซึ่งเป็นบริเวณของผู้ฝึกสอนอยู่สองจุด แต่ละจุดจะห่างจากเบสไลน์ 15 ฟุต (5 เมตร) ยาว 12 ฟุต (3 เมตร) บนเบสไลน์ทั้งสองเส้น

มาตรฐานความยาวของเบสไลน์

แก้
ฟาสพิตช์เบสไลน์ สโลว์พิตช์เบสไลน์
ประเภทหญิง ประเภทชาย ประเภทหญิง ประเภทชาย
60ฟุต (18.29เมตร) 60ฟุต (18.29เมตร) 65ฟุต (19.81เมตร) 65ฟุต (19.81เมตร)

ระยะการขว้างของฟาสต์พิตช์

แก้
ประเภทผู้ใหญ่ ประเภทอายุต่ำกว่า 18 ปี ประเภทอายุต่ำกว่า 15 ปี
ประเภทหญิง ประเภทชาย ประเภทหญิง ประเภทชาย ประเภทหญิง ประเภทชาย
43ฟุต (13.11เมตร) 46ฟุต (14.02เมตร) 40ฟุต (12.19เมตร) 46ฟุต (14.02เมตร) 40ฟุต (12.19เมตร) หรือ 35ฟุต 46ฟุต (14.02เมตร)

ระยะการขว้างของสโลว์พิตช์

แก้
ประเภทผู้ใหญ่ ประเภทอายุต่ำกว่า 18 ปี ประเภทอายุต่ำกว่า 15 ปี
ประเภทหญิง ประเภทชาย ประเภทนักศึกษา ประเภทหญิง ประเภทชาย ประเภทหญิง ประเภทชาย
46ฟุต (14.02เมตร) 50ฟุต (15.24เมตร) 50ฟุต (15.24เมตร) 46ฟุต (14.02เมตร) 46ฟุต (14.02เมตร) 46ฟุต (14.02เมตร) 46ฟุต (14.02เมตร)

อุปกรณ์การเล่น

แก้

อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการเล่นซอฟต์บอล ประกอบด้วยอุปกรณ์ป้องกัน ไม้ตี ถุงมือ ลูกบอล หมวกป้องกันพร้อมตัวป้องกันใบหน้า และเสื้อผ้าสวมใส่

ลูกบอล

แก้

ขนาดของลูกบอลจะเปลี่ยนแปลงไปตามประเภทของการเล่น ขนาดมาตรฐานที่ใช้ในการแข่งขันนานาชาติคือ12 นิ้ว (30 เซนติเมตร) และ 11 นิ้ว (28 เซนติเมตร ลูกบอลมักถูกหุ้มด้วยหนังสีขาว2ชิ้นเย็บติดกันเป็นรูปทรงที่มีสัณฐานคล้ายเลขแปดและเย็บติดกันด้วยด้ายสีแดง แต่การหุ้มด้วยวัสดุอื่นก็สามารถทำได้เช่นกัน แกนกลางของบอลจะถูกหุ้มด้วยเส้นใยนุ่น ,ไม้ก๊อกกับยาง ,โพลียูรีเทน หรือวัสดุอื่นๆ ในปีค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) ลูกซอฟต์บอลสีเหลืองสะท้อนแสง เป็นลูกบอลที่มองเห็นได้ง่ายก็ได้รับการยอมรับและใช้ในการแข่งขันมากขึ้น

ไม้ตี

แก้

ไม้ตีทำมาจากไม้เนื้อแข็ง เหล็ก หรือวัสดุอื่นๆที่ได้รับการรับรอง มีความยาวไม่เกิน 34 นิ้ว (86 เซนติเมตร) เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.25 นิ้ว (6เซนติเมตร) และมีน้ำหนัก 38 ออนซ์ (1 กิโลกรัม)

ถุงมือ

แก้

ผู้เล่นฝ่ายรับทุกคนจะต้องสวมถุงมือที่ทำจากหนังหรือวัสดุที่ใกล้เคียงกัน ถุงมือนี้จะทำหน้าที่รัดนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ให้ติดกัน เบสแมนคนแรกและผู้รับลูกบอลจะต้องสวมมิตต์ มิตต์นั้นต่างจากถุงมือตรงที่มีที่รองอุ้งมือเสริมเข้ามาและไม่มีที่สวมนิ้วมือ ส่วนพิตเชอร์นั้นไม่ต้องสวมถุงมือ ถุงมือจะต้องไม่เป็นสีขาวหรือเทาซึ่งจะทำให้เกิดความสับสนกับแบตเตอร์ ถุงมือและมิตต์จะเป็นสีอื่นๆได้ทั้งหมด ถุงมือที่ใช้ในซอฟต์บอลจะมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้ในเบสบอล

ชุดแข่งขัน

แก้

แต่ละทีมจะมีชุดแข่งขันของตนเอง ชุดแข่งขันจะประกอบด้วย หมวกแก๊บ เสื้อแข่งขัน เสื้อชั้นใน และกางเกงขาสั้นเป็นองค์ประกอบมาตรฐาน

หมวกนั้นแทบจะเป็นอุปกรณ์คู่กายของผู้เล่นชาย ส่วนผู้เล่นหญิงต้องมีหมวกและมีกระบังหมวกและที่รัดศีรษะเพิ่มเข้ามา และหมวกทุกใบจะต้องมีสีเหมือนกัน ส่วนผู้เล่นที่ต้องสวมหมวกป้องกันจะไม่ต้องสวมหมวกนี้

ที่ด้านหลังของชุดจะต้องมีเลขอารบิกตั้งแต่ 0-99 ปรากฏอยู่ เช่นหมายเลขเช่น 2 หรือ 02 ส่วนชื่อของผู้เล่นจะมีหรือไม่มีก็ได้

เครื่องประดับยกเว้นสร้อยคอที่ใช้ในการแพทย์ไม่สามารถสวมใส่ในขณะลงแข่งขันได้

ผู้เล่นทุกคนจำเป็นต้องสวมรองเท้า และรองเท้าจำเป็นต้องมีหมุดหรือใบใต้รองเท้า หมุดใต้รองเท้าจะต้องมีความยาวไม่เกินสามในสี่นิ้ว (1.9 เซนติเมตร) จากพื้นรองเท้า หมุดหรือใบใต้รองเท้าจะต้องทำมาจากพลาสติกหรือวัสดุสังเคราะห์อื่นๆ หมุดหรือที่ทำจากเหล็กไม่ได้รับอนุญาตในการเล่นแบบสโลว์พิช

อุปกรณ์ป้องกัน

แก้

สำหรับผู้เล่นตำแหน่งแคชเชอร์ต้องสวมหน้ากาก หมวกกันน็อก สนับหน้าแข้ง เกราะตรงหน้าอก และหัวไหล่แต่สำหรับผู้เล่นฝ่ายรุกจะสวมหมวกกันน๊อคป้องกันศีรษะ

ผู้เล่น

แก้

ฟาสต์พิตช์และมอดิฟายด์พิตช์

แก้

สโลว์พิตช์

แก้

ตัวสำรอง

แก้

การตัดสิน

แก้

ประวัติ

แก้

ซอฟต์บอล เป็นกีฬาที่ถือกำเนิดขึ้นมาในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลานานแล้ว และเป็นที่นิยมกันทั่วประเทศ นับเป็นกีฬาประจำชาติอย่างหนึ่งของชาวอเมริกันประมาณครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ผู้เล่นเบสบอลต้องการที่จะเล่นเบสบอลต่อไปในฤดูหนาวด้วย จึงทำให้เกิดเบสบอลในร่มขึ้น แต่ก็ประสบปัญหา เพราะสนามในร่มที่ใหญ่ที่สุดเพียงใดก็ยังเล็กกว่าสนามเบสบอลกลางแจ้งทั่วไป จึงมีความจำเป็นต้องดัดแปลงลูกบอลให้ใหญ่พอดี เพื่อให้ตีไปได้ไกลเท่ากับลูกบอลขนาดธรรมดากฎกติกาต่างๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมที่จะเล่นในร่ม อย่างไรก็ตาม เบสบอลในร่มก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก ลักษณะทั่วไปของเกมและวิธีการเล่นส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับเกมเบสบอลจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า เบสบอลในร่ม (Indoor Basebell) เพราะสามารถปรับปรุงให้เล่นในที่แคบหรือภายในห้องยิมฯ ได้ ต้นกำเนิดของการเล่นซอฟต์บอลอันเชื่อถือได้นั้น ตามบทความในหนังสือ Indoor Baseball Guide พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2449 โดย American Sports Publishing Company กล่าวไว้อย่างละเอียดว่า เกมเบสบอลในร่มได้กำเนิดขึ้นที่เมืองชิคาโก กล่าวคือ เมื่อปี พ.ศ. 2430 สมาชิกสโมสรแล่นเรือ ชื่อ Farragut Boat Club ได้นัดประชุมกันในโรงยิมฯ แห่งหนึ่งในเมืองนี้ เนื่องในเทศกาลขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) พวกเด็กๆ ซึ่งติดตามบิดามารดามาด้วยในครั้งนี้ ต่างพากันเล่นอยู่ภายในโรงยิมฯ นอกห้องประชุม และได้เก็บเอานวมเก่าๆ (ใช้ชกมวย) ที่ทิ้งอยู่ภายในโรงยิมฯ ขว้างรับกันไปมารอบๆ ห้องอย่างสนุกสนาน ในขณะนั้นมีเด็กคนหนึ่งถือด้ามไม้กวาดเก่าๆ แล้วตีนวมกลับไปทางคนที่โยนมาให้ เขาทำเลียนแบบการตีลูกเบสบอลซึ่งเขาเคยได้เห็นการแข่งขันเกมนี้มาก่อนแล้ว ขณะนั้น George W. Hancock ซึ่งเป็นผู้นำทางสันทนาการในวันหยุดประจำโรงยิมฯ แห่งนี้ ขณะทำหน้าที่ควบคุมดูแลการเล่นของเด็ก ได้เกิดแนวความคิดใหม่ขึ้นมาโดยฉับพลัน จึงอุทานขึ้นว่า "Say, Boys, Let's play ball" ดังนั้นเขาและพวกเด็กๆ ได้ช่วยกันยกเบาะมวยปล้ำมาวางทำเป็นเบส หลังจากนั้นการเล่นก็เริ่มขึ้นอย่างมีชีวิตชีวา โดยใช้ด้ามไม้กวาดซึ่งหักออกเป็นสองท่อนขนาดยาวพอเหมาะทำเป็นไม้ตี ใช้นวมชกมวยเก่าๆ แทนลูกบอล และเบาะมวยปล้ำแทนเบส เย็นวันเสาร์ต่อมาอีกอาทิตย์หนึ่ง G.W. Hancock นัดให้เด็กเหล่านั้นมาร่วมเล่นกันอีกครั้ง ซึ่งในวันนี้เขาได้จัดเตรียมไม้ตีที่หุ้มด้วยยาง และลูกบอลใหญ่ที่นิ่มมากกว่าไว้ให้ พร้อมทั้งตั้งกติกาง่ายๆ บางข้อไว้ด้วย ครั้นเย็นของวันเสาร์ดังกล่าวตามนัดมาถึง นาย G.W. Hancock จึงจัดแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย และอ่านกติกาการเล่นพร้อมอธิบายวิธีเล่นให้ แล้วจึงเริ่มเล่นกันอย่างสนุกสนาน ต่อมา G.W. Hancock ได้แก้ไขกติกาการเล่นเกี่ยวกับลูกบอล และไม้ตีเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่โรงยิมฯ ในที่สุดจึงเรียกเกมนี้ว่าเบสบอลในร่ม โดยใช้ลูกบอลที่มีน้ำหนักเบาขนาดเส้นรอบวง 16 นิ้ว และใช้ไม้ตี

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

แม่แบบ:Link FA