สนามกีฬาติณสูลานนท์
สนามกีฬาติณสูลานนท์ เป็นสนามกีฬาในตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลสงขลา เอฟซี ในอดีตเคยเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลสงขลา ยูไนเต็ด
ชื่อเต็ม | สนามกีฬาติณสูลานนท์ |
---|---|
ที่ตั้ง | ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
เจ้าของ | การกีฬาแห่งประเทศไทย (2538-2557) องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (2557-ปัจจุบัน) |
ความจุ | 45,000 ที่นั่ง |
ขนาดสนาม | 95 x 62 เมตร |
พื้นผิว | หญ้า |
การก่อสร้าง | |
ก่อสร้าง | พ.ศ. 2538 |
ต่อเติม | พ.ศ. 2557 |
การใช้งาน | |
สโมสรฟุตบอลสงขลา ยูไนเต็ด (2555–2560) สโมสรฟุตบอลสงขลา เอฟซี (2542–2555, 2562–ปัจจุบัน) กีฬาฟุตบอลในเอเชียนเกมส์ 1998 กีฬาแห่งชาติ 2560 ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2020 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 50 |
ในปี พ.ศ. 2541 สนามกีฬาติณสูลานนท์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสนามแข่งขันรอบคัดเลือกและนัดชิงที่ 3 ของกีฬาฟุตบอล ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 โดยเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ในนัดชิงที่ 3 หรือรอบชิงเหรียญทองแดง ทีมชาติไทยพบกับทีมชาติจีน ซึ่งทีมชาติไทยแพ้ไป 0-3 โดยมีจำนวนผู้เข้าชมการแข่งขันประมาณ 30,000 กว่าคน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้โอนการดูแลสนามมาให้กับทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และใช้งบประมาณร่วม 200 ล้านบาทในการปรับปรุงสนามฟุตบอลและสนามอื่นๆ โดยเพิ่มความจุสนามจาก 35,000 ที่นั่งเป็น 45,000 ที่นั่งและเปลี่ยนเป็นเก้าอี้ และปรับปรุงอัฒจรรย์ฝั่งประธานให้เป็นอัฒจรรย์ 2 ชั้นขนาด 10,000 ที่นั่ง เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ สงขลาเกมส์ ในปี พ.ศ. 2560
เหตุการณ์สำคัญ
แก้ฟุตบอล
แก้- ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2020 ระหว่างวันที่ 8–26 มกราคม พ.ศ. 2563[1] ใช้จัดการแข่งขัน 5 นัดในกลุ่ม ซี
- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 50ระหว่างวันที่ 11-14 ตุลาคม พ.ศ.2567 ใช้การจัดการแข่งขัน 4 ทีม แบบน็อคเอาท์
อ้างอิง
แก้- ↑ "ผู้ว่ากกท. ส่งมอบ 4 สนามให้ เอเอฟซี 27 ธ.ค.นี้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-25. สืบค้นเมื่อ 2020-01-06.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Stadium profile and photos เก็บถาวร 2012-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Songkhla-fc