กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45

กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45 (อังกฤษ: 45th Thailand National Games), หรือ กีฬาแห่งชาติ 2560 (อังกฤษ: 2017 Thailand National Games) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ สงขลาเกมส์ เป็นมหกรรมกีฬาระดับชาติสำหรับประชาชนทั่วไป ควบคุมโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งจัด ณ จังหวัดสงขลา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45
เจ้าภาพจังหวัดสงขลา
คำขวัญเกมแห่งสปิริตและมิตรภาพ
ทีมเข้าร่วม77 จังหวัด
นักกีฬาเข้าร่วม12,593 คน
กีฬา45 ชนิดกีฬา
พิธีเปิด20 มิถุนายน 2560 (2560-06-20)
พิธีปิด30 มิถุนายน 2560 (2560-06-30)
ประธานพิธีเปิดกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นักกีฬาปฏิญาณขนบ รัตนจำนงค์
ผู้ตัดสินปฏิญาณคณาพงศ์ คณินวรพันธ
ผู้จุดคบเพลิงณิชกานต์ จินุพันธุ์
นิย์รดี กลายสุวรรณ
ลภัสภร ถาวรเจริญ
มานิตย์ เกียรติไพบูลย์
อรพิน เพ็ชร์เล็ก
ฐิตาภา ภักดีเศรษฐกุล
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาติณสูลานนท์
เว็บไซต์ทางการwww.songkhlagames.com

ในครั้งนี้มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันมากกว่า 12,000 คน จาก 77 จังหวัด มีการชิงชัยทั้งหมด 691 เหรียญทอง ใน 45 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย กีฬาบังคับ จำนวน 2 กีฬา, กีฬาสากล จำนวน 42 กีฬา และกีฬาอนุรักษ์ 1 กีฬา นอกจากนี้ยังได้บรรจุปัญจกีฬาเป็นกีฬาสาธิตเป็นครั้งแรก ซึ่งครั้งนี้ได้จัดการแข่งขันภายใน 34 สนาม ในจังหวัดสงขลา และ 1 สนามในกรุงเทพมหานคร

จังหวัดสงขลาได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45 ในปี พ.ศ. 2559 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ในการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5/2557 ซึ่งนับเป็นครั้งที่สามที่จังหวัดสงขลาได้เป็นเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติ หลังจากที่เคยเป็นเจ้าภาพในครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2516) และครั้งที่ 22 (พ.ศ. 2535) รวมถึงเป็นครั้งแรกที่กีฬาแห่งชาติได้จัดในภาคใต้ในรอบ 8 ปี[1] แต่ได้เลื่อนจัดการแข่งขันในปี พ.ศ. 2560 เนื่องจากอยู่ในช่วงปรับปรุงสถานที่ [2]

การคัดเลือกเจ้าภาพ แก้

ในการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5/2557 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้มีมติให้จังหวัดสงขลา เป็นเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45 นอกจากนี้ยังมีมติให้ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเจ้าภาพกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 32, จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง เป็นเจ้าภาพกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 33, จังหวัดน่าน เป็นเจ้าภาพกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 34, จังหวัดเชียงราย เป็นเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และจังหวัดศรีสะเกษ เป็นเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 47

สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน แก้

ที่พักนักกีฬา แก้

สำหรับที่พักนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ในการแข่งขันครั้งนี้จะแบ่งที่พักเป็น 2 แห่งได้แก่หอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัยทักษิณ และหอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยจะใช้หอพักของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นหลัก[3][4]

สนามกีฬา แก้

สนามกีฬา กีฬา ศูนย์กีฬา
สนามกีฬาติณสูลานนท์ พิธีการ, กรีฑา, ฟุตบอล (ชาย) เมืองสงขลา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ว่ายน้ำ, ยกน้ำหนัก เมืองสงขลา
หาดสมิหลา (นางเงือก) วอลเลย์บอลชายหาด, แฮนด์บอลชายหาด, มวยปล้ำชายหาด เมืองสงขลา
ลานวัฒนธรรม หาดชลาทัศน์ เซปักตะกร้อชายหาด, เรือใบ เมืองสงขลา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มวยสากลสมัครเล่น, ยิมนาสติก, หมากล้อม, เอ็กซ์ตรีม เมืองสงขลา
สนามมวยฐานทัพเรือสงขลา มวยไทยสมัครเล่น เมืองสงขลา
มหาวิทยาลัยทักษิณ ปันจักสีลัต เมืองสงขลา
โรงเรียนมหาวชิราวุธ มวยปล้ำ, ชักกะเย่อ เมืองสงขลา
โรงเรียน อบจ.สงขลา พิทยานุสรณ์ ขี่ม้า, ฮอกกี้, ฮอกกี้ (ในร่ม) เมืองสงขลา
ถนนลพบุรีราเมศวร จักรยาน (ถนน) เมืองสงขลา
เทศบาลเมืองเขารูปช้าง จักรยาน (บีเอ็มเอ็กซ์) เมืองสงขลา
บ้านศรัทธา จักรยาน (ดาวน์ฮิลล์), จักรยาน (ครอสคันทรี) เมืองสงขลา
ห้องประชุมศรีเกียรติพัฒน์ อบจ.สงขลา ฟันดาบสากล เมืองสงขลา
โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา กาบัดดี้ เมืองสงขลา
สนามฟุตบอล เทศบาลนครหาดใหญ่ ฟุตบอล (หญิง) หาดใหญ่
สนามกีฬาเมืองหลักภาคใต้ (พรุค้างคาว) ฟุตบอล (หญิง) หาดใหญ่
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฟุตซอล (ชาย), ฟุตซอล (หญิง), บาสเกตบอล, ซอฟท์บอล, เปตอง, วูซู, ลีลาศ หาดใหญ่
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ วอลเลย์บอล หาดใหญ่
สนามกีฬาจิระนคร เซปักตะกร้อ, ตะกร้อลอดห่วง, แบดมินตัน, เทนนิส, ซอฟท์เทนนิส, บริดจ์ หาดใหญ่
สนามกีฬาค่ายเสนาณรงค์ ซอฟต์บอล หาดใหญ่
โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ แฮนด์บอล หาดใหญ่
โรงเรียนศรีนครมูลนิธิ เทเบิลเทนนิส หาดใหญ่
สวนสาธารณะ เทศบาลนครหาดใหญ่ วู้ดบอล หาดใหญ่
สนามกอล์ฟเซาท์เทิร์น ฮิลล์ กอล์ฟ หาดใหญ่
เซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ เทควันโด, คาราเต้, เพาะกาย หาดใหญ่
หอประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่ ยูโด, ยูยิตสู หาดใหญ่
สมาคมแต้จิ๋ว บิลเลียด-สนุกเกอร์ หาดใหญ่
ถนนบ้านกลางนา จักรยาน (ไคทีเรียม) หาดใหญ่
มัสยิดอันซอรุดดีน คลองแห กีฬาทางอากาศ หาดใหญ่
โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ คริกเก็ต หาดใหญ่
สนามกีฬาเทศบาลนาทวี ฟุตบอล (ชาย) นาทวี
สนามกีฬาอำเภอสะเดา ฟุตบอล (ชาย) สะเดา
สนามกองบิน 56 รักบี้ยูเนียน, รักบี้ 7 คน คลองหอยโข่ง
อ่างเก็บน้ำคลองหลา เรือพาย คลองหอยโข่ง
สนามยิงปืนหัวหมาก ยิงปืน กรุงเทพมหานคร

การตลาด แก้

สัญลักษณ์ แก้

ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559 นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา มอบเงินรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการประกวดการออกแบบตราสัญลักษณ์และสัญลักษณ์นำโชค ของการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45 และกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 35 โดยสำหรับผลการประกวด ตราสัญลักษณ์ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45 ผู้ชนะเลิศได้แก่ นายบำรุง อิศรกุล ได้เงินรางวัล 25,000 บาท เป็นรูปลักษณะของรูปคน สื่อถึง นักกีฬา การพัฒนาศักยภาพนักกีฬา ความมีน้ำใจนักกีฬา ลักษณะของไฟคบเพลิง แสดงถึง การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ นักกีฬาความมีสปิริต คลี่คลายจากลักษณะของตัวเลขคลี่คลายจากนางเงือกและทะเล สัญลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา และคลี่คลายจากลักษณะของหอยสังข์[5]


สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45

สัญลักษณ์นำโชค แก้

 
สิงหลา (ซ้าย) และสิงขร (ขวา)

ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559 นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา มอบเงินรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการประกวดการออกแบบตราสัญลักษณ์และสัญลักษณ์นำโชค ของการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45 และกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 35 โดยสำหรับผลการประกวด สัญลักษณ์นำโชค การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45 ผู้ชนะเลิศได้แก่ นายอนิรุทธิ์ เอมอิ่ม ได้รับเงินรางวัล 25,000 บาท แนวคิด ออกแบบรูปแมว และหนู โดยแมวชื่อ สิงหลา หนูชื่อ สิงขร ถือคบเพลิงเปลวไฟเป็นเลข 45 หนูถือลูกแก้วศักดิ์สิทธิ์ มีสัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ สื่อลูกแก้วที่สร้างสุขภาพแข็งแรง มีวินัย มีน้ำใจนักกีฬา สวมเสื้อสีขาวแทนความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการแข่งขันกีฬา[5]

เพลงประจำการแข่งขัน แก้

เพลง "สงขลาเกมส์" ซึ่งแต่งและขับร้องโดยศิลปินมาลีฮวนน่า ซึ่งเป็นชาวสงขลา ที่มีเป้าหมายเพื่อรวมพลังชาวสงขลาในการร่วมกันเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการต้อนรับนักกีฬาและกองเชียร์จากทั่วประเทศ ซึ่งการเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาครั้งนี้จะส่งผลดีหลายด้านแก่จังหวัดสงขลา ทั้งการสร้างความรัก ความสามัคคี ภาคภูมิใจของชาวสงขลา ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่จังหวัด[6]

ผู้ให้การสนับสนุน แก้

ผู้ให้การสนับสนุนการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45
ผู้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ระดับโกลด์
ผู้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ระดับซิลเวอร์
ผู้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ระดับบรอนซ์

การแข่งขัน แก้

พิธีเปิด แก้

พิธีเปิดอย่างเป็นทางการได้เริ่มต้นเมื่อเวลา 18:00 นาฬิกา ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ณ สนามกีฬาติณสูลานนท์ ซึ่งมีนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธาน ซึ่งเจ้าภาพได้จัดพิธีเปิดด้วยการแสดง 6 ชุด

เริ่มด้วยการแสดงชุดที่ 1 "เกียรติยศการกีฬา...เกริกไกร" จากนั้นขบวนพาเหรดนักกีฬา และเจ้าหน้าที่จาก 77 จังหวัด ต่อด้วยพิธีการเชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสา หลังจากนั้นด้านนายสกล วรรณพงษ์ ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย และ นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวรายงาน จากนั้นประธานในพิธีกล่าวเปิดการแข่งขัน ตามด้วยพิธีเชิญธงการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ธงจังหวัดสงขลา และการกล่าวคำปฏิญาณตน

จากนั้นเป็นการแสดงชุดที่ 2 "แสงไฟ...รุ่งโรจน์เรืองรอง" ตามด้วยการวิ่งคบเพลิงจุดไฟพระฤกษ์ โดยมีนักวิ่งคบเพลิงทั้งหมด 6 คน ได้แก่ ณิชกานต์ จินุพันธุ์ (นักกีฬาอินไลน์สเกต) นิย์รดี กลายสุวรรณ (นักกีฬาอินไลน์สเกต) ลภัสภร ถาวรเจริญ (นักกีฬากรีฑาเหรียญทองเอเชียนเกมส์) มานิตย์ เกียรติไพบูลย์ (นักกีฬาปันจักสีลัตเหรียญทองซีเกมส์) อรพิน เพ็ชร์เล็ก (นักกีฬาขี่ม้า) 6. ฐิตาภา ภักดีเศรษฐกุล (นักกีฬากอล์ฟ)

ต่อมาเป็นการแสดงชุดที่ 3 “แผ่นดินทอง...เมืองสงขลา” บอกเล่าเรื่องราวตำนานเมืองสงขลา ผ่านการเล่าเรื่องของ อ.สถาพร ศรีสัจจัง ศิลปินแห่งชาติ และประกอบเสียงปี่ของ ครูควน ทวนยก ศิลปินแห่งชาติ และการแสดงของเหล่านักแสดง, ชุดที่ 4 “ใต้ร่มฟ้า...จักรีวงศ์” สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ผ่านการแสดงโนราห์ เทิดพระเกียรติจากโนราห์นับร้อยชีวิต นำโดย อ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินดีเด่นจังหวัดสงขลา, ชุดที่ 5 “สงขลามหาสนุก...สุขทั้งปีที่สงขลา” สืบสานปณิธานเกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ของประธานองคมนตรีของชาวสงขลา นำสู่การพัฒนาเมืองสร้างสงขลาเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิด “สงขลามหาสนุก สุขทั้งปีที่สงขลา” ถ่ายทอดโดยการนำเสนอของ น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย นักข่าวชื่อดัง และชุดที่ 6 “มหานครแห่งความภูมิใจ” เฉลิมฉลองวันดีดีแห่งการกีฬา โดยนายหนังตะลุง ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินพื้นบ้าน และบทเพลงประจำการแข่งขัน “สงขลาเกมส์” โดยอาจารย์ไข่ มาลีฮวนน่า และกวีซีไรต์ มนตรี ศรียงค์ ที่สร้างความประทับใจให้ผู้ชมเป็นอย่างมาก

พิธีปิด แก้

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน แก้

กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45 ได้จัดการแข่งขันทั้งสิ้น 691 รายการ ใน 45 ชนิดกีฬา

จังหวัดที่เข้าร่วมการแข่งขัน แก้

จังหวัดที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45

ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน แก้

เปิด พิธีเปิดการแข่งขัน การแข่งขันรอบทั่วไป 1 จำนวนเหรียญทอง ปิด พิธีปิดการแข่งขัน
มิถุนายน พ.ศ. 2560 19
จ.
20
อ.
21
พ.
22
พฤ.
23
ศ.
24
ส.
25
อา.
26
จ.
27
อ.
28
พ.
29
พฤ.
30
ศ.
เหรียญทอง
  พิธีการ เปิด ปิด
  กรีฑา 13 13 2 11 9 48
  กอล์ฟ 4 4
  กาบัดดี้ 2 2
  กีฬาทางอากาศ 3 5 2 14 7 31
  ขี่ม้า 3 1 4
  คริกเกต 2 2
  คาราเต้โด ต่อสู้ 4 4 2 18
ท่ารำ 4 4
จักรยาน   ถนน 3 1 2 1 1 16
  บีเอ็มเอ็กซ์ 2
  จักรยานภูเขา 2 2 2
  ชักเย่อ 2 2 4
  ซอฟต์เทนนิส 5 2 7
  ซอฟต์บอล 2 2
  เซปักตะกร้อ ในร่ม 4 2 10
ลอดห่วง 2
ชายหาด 2
  เทควันโด ต่อสู้ 3 3 4 4 4 18
พุ่มเซ่ 1 2 2 2 1 8
  เทนนิส 2 5 7
  เทเบิลเทนนิส 2 5 7
  บริดจ์ 1 1 2 2 6
  บาสเกตบอล 2 2
  บิลเลียด 1 1 2
  แบดมินตัน 2 5 7
  โบว์ลิ่ง 1 2 3 6 12
  ปันจักสีลัต 2 16 18
  เปตอง 3 2 1 2 8
  เพาะกาย 10 10
  ฟันดาบ 2 2 2 2 2 2 12
  ฟุตซอล 2 2
  ฟุตบอล 2 2
  มวยไทยสมัครเล่น 18 18
  มวยปล้ำ 6 8 6 6 6 32
  มวยสากลสมัครเล่น 18 18
  ยกน้ำหนัก 9 9 9 12 9 48
  ยิงปืน 4 4 3 4 4 3 2 24
ยิมนาสติก   ยิมนาสติก – ศิลป์ 4 5 5 23
  ยิมนาสติก – ลีลา 2 4
  ยิมนาสติก – แอโรบิก 3
  ยูโด 5 5 5 5 4 24
  ยิวยิตสู 7 7 7 6 27
  รักบี้ฟุตบอล รักบี้ 15 คน 1 3
รักบี้ 7 คน 2
  เรือใบ 5 5
  เรือพาย 14 18 10 42
  ลีลาศ 6 6 12
วอลเลย์บอล   ในร่ม 2 4
  ชายหาด 2
  ว่ายน้ำ 6 6 7 7 6 6 38
  วูซู ต่อสู้ 7 34
ยุทธลีลา 7 7 5 5 3
  วู้ดบอล นับจำนวนการตี 2 2 4
นับจำนวนเกท 1 1 1 1 4
  สนุกเกอร์ 1 1 1 1 1 5
  หมากล้อม 3 3 2 8
  กีฬาเอ็กซ์ตรีม 7 8 11 10 36
  ฮอกกี้ ในร่ม 2 4
ชายหาด 2
  แฮนด์บอล   ในร่ม 2 4
  ชายหาด 2
รวมเหรียญทอง 6 46 81 117 69 79 58 53 56 105 22 692
เหรียญทองสะสมทั้งหมด 6 52 133 250 319 398 456 509 565 670 692
มิถุนายน พ.ศ. 2560 19
จ.
20
อ.
21
พ.
22
พฤ.
23
ศ.
24
ส.
25
อา.
26
จ.
27
อ.
28
พ.
29
พฤ.
30
ศ.
เหรียญทอง

สรุปเหรียญการแข่งขัน แก้

ตารางด้านล้างนี้คือตารางสรุปเหรียญรางวัลตามสังกัดจังหวัดที่เข้าร่วมแข่งขัน[7]

      สงขลา (เจ้าภาพ)
อันดับที่ จังหวัด ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 กรุงเทพมหานคร 92 98 137 327
2 สงขลา 76 39 27 142
3 ชลบุรี 55 48 51 154
4 อุดรธานี 55 15 14 84
5 สุพรรณบุรี 48 33 50 131
6 นครราชสีมา 28 28 43 99
7 นนทบุรี 20 24 31 75
8 จันทบุรี 19 21 17 57
9 นครศรีธรรมราช 19 20 35 74
10 ชุมพร 19 11 18 48
11 เชียงใหม่ 13 24 27 64
12 สมุทรสาคร 13 16 17 46
13 ศรีสะเกษ 12 10 29 51
14 สุรินทร์ 10 12 17 39
15 สระบุรี 10 12 10 32
16 ปทุมธานี 8 8 15 31
17 พิษณุโลก 8 8 13 29
18 สุราษฎร์ธานี 7 12 19 38
19 ระยอง 7 11 16 34
20 อุบลราชธานี 7 8 14 29
21 มหาสารคาม 7 7 13 27
22 พระนครศรีอยุธยา 7 5 10 22
23 ฉะเชิงเทรา 7 1 3 11
24 สิงห์บุรี 6 9 6 21
25 ราชบุรี 6 8 12 26
26 ตรัง 6 6 14 26
27 เพชรบูรณ์ 6 6 12 24
28 พะเยา 6 3 4 13
29 บุรีรัมย์ 5 9 8 22
30 กาญจนบุรี 5 3 6 14
31 ปราจีนบุรี 5 3 1 9
32 บึงกาฬ 5 0 4 9
33 สมุทรปราการ 4 16 15 35
34 ภูเก็ต 4 12 16 32
35 ขอนแก่น 4 11 13 28
36 กระบี่ 4 9 6 19
37 นครปฐม 4 7 15 26
38 พัทลุง 4 5 7 16
39 ร้อยเอ็ด 4 4 10 18
สุโขทัย 4 4 10 18
41 แม่ฮ่องสอน 4 3 6 13
42 ยะลา 4 3 5 12
43 เชียงราย 4 2 12 18
44 หนองคาย 4 2 1 7
45 แพร่ 4 1 6 11
46 อำนาจเจริญ 4 1 3 8
47 นครสวรรค์ 3 13 20 36
48 ลพบุรี 3 6 13 22
49 ลำปาง 3 5 5 13
50 ชัยภูมิ 3 5 4 12
51 สตูล 3 3 4 10
52 สมุทรสงคราม 3 3 2 8
53 พังงา 2 5 3 10
54 เพชรบุรี 2 4 13 19
55 มุกดาหาร 2 3 3 8
56 ลำพูน 2 0 4 6
57 ปัตตานี 1 7 8 16
58 กำแพงเพชร 1 4 5 10
59 ประจวบคีรีขันธ์ 1 4 4 9
อ่างทอง 1 4 4 9
61 ระนอง 1 4 2 7
62 ยโสธร 1 3 6 10
63 ตราด 1 3 4 8
ตาก 1 3 4 8
สกลนคร 1 3 4 8
66 น่าน 1 2 10 13
67 ชัยนาท 1 2 1 4
68 นครนายก 1 1 5 7
พิจิตร 1 1 5 7
70 กาฬสินธุ์ 1 1 3 5
หนองบัวลำภู 1 1 3 5
72 เลย 1 1 1 3
73 อุตรดิตถ์ 0 2 10 12
74 นครพนม 0 2 3 5
75 สระแก้ว 0 1 3 4
76 นราธิวาส 0 0 4 4
77 อุทัยธานี 0 0 0 0
รวม 695 694 978 2367

อ้างอิง แก้

  1. "ไฟเขียว′สงขลา-เชียงราย-ศรีสะเกษ′เจ้าภาพจัดกีฬาแห่งชาติ".[ลิงก์เสีย]
  2. ผู้ว่ายืนยันกีฬาแห่งชาติ ยึดมติครม.แข่ง2ปีครั้ง
  3. "หอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์". songkhlagames.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-18. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "หอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ". songkhlagames.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-18. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 "เปิดตัวตราสัญลักษณ์-มาสคอตกีฬาแห่งชาติและกีฬาคนพิการ สงขลาเป็นเจ้าภาพปี 60". news.gimyong.com. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "เปิดเพลง สงขลาเกมส์ ประกาศรวมพลังร่วมเป็นเจ้าบ้านต้อนรับนักกีฬาทั่วประเทศ". news.gimyong.com. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ตารางสรุปเหรียญรางวัลตามสังกัด". songkhlagames.sat.or.th. 3 กรกฎาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-18. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45 ถัดไป
กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 44
จังหวัดนครสวรรค์
  การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ
(20 มิถุนายน พ.ศ. 256030 มิถุนายน พ.ศ. 2560)
  กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46
จังหวัดเชียงราย