ไทยเบฟเวอเรจ
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รู้จักกันในชื่อ ไทยเบฟ (SGX: Y92) เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและหนึ่งในบริษัทเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีโรงกลั่นสุราในประเทศไทย สหราชอาณาจักร และจีน ถือครองโดยเจริญ สิริวัฒนภักดี มหาเศรษฐีธุรกิจเจ้าสัวประเทศไทย มีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์เป็น Thai Beverage plc โดยมีมูลค่าตามราคาตลาดที่13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ประเภท | มหาชน |
---|---|
การซื้อขาย | SGX: Y92 |
ISIN | TH0902010014 |
อุตสาหกรรม | เครื่องดื่ม |
ก่อตั้ง | 29 ตุลาคม 2003[1] |
ผู้ก่อตั้ง | เจริญ สิริวัฒนภักดี |
สำนักงานใหญ่ | 62 อาคารไทยเบฟควอเตอร์ ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานและ CEO |
ตราสินค้า | ช้าง, อาชา, เฟเดอร์บรอย |
รายได้ | 181.19 พันล้านบาท (2558) [2] |
รายได้สุทธิ | 26.46 พันล้านบาท (2558) [2] |
สินทรัพย์ | 182.01 พันล้านบาท (2558) [2] |
บริษัทในเครือ | เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ เสริมสุข โออิชิกรุ๊ป อินเตอร์เบฟกรุ๊ป Sabeco Brewery |
เว็บไซต์ | www |
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 บริษัทนี้ได้ซื้อกิจการกลุ่มบริษัทเฟรเซอร์แอนด์นีฟด้วยเงิน 11.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
ประวัติ
แก้ไทยเบฟก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2546 โดยมีจุดประสงค์เพื่อรวมกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเบียร์และสุราชั้นนำของไทยที่เป็นของผู้ถือหุ้นและผู้ร่วมทุนรายอื่น ๆ เข้ามาเป็นกลุ่มบริษัท ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ไทยเบฟได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) วันที่เสนอขายหลักทรัพย์ ต่อมาในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ภายหลังจากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ไทยเบฟได้ขยายขอบเขตธุรกิจโดยแบ่งธุรกิจออกเป็น 4 สายธุรกิจ ได้แก่ สุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร ไทยเบฟให้ความสำคัญกับการขยายธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ โดยประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นตลาดหลักที่มีศักยภาพการเติบโตสูง ด้วยประชากรกว่า 600 ล้านคน และมีสภาพเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นทุกปีช่วยสนับสนุนให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ความร่วมมือระหว่างไทยเบฟและเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ, ลิมิเต็ด (F&N) ในด้านตราสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย การประสานงานด้านการขายและการตลาด รวมถึงความช่วยเหลือสนับสนุนจากตัวแทนจำหน่ายได้ช่วยต่อยอดการขยายธุรกิจสู่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
ไทยเบฟได้รับคะแนนสูงที่สุดในโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของโลก จากการจัดโดย S&P Global เป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (The Dow Jones Sustainability Indices-DJSI) โดยไทยเบฟ ได้รับคะแนนสูงสุดจากการประเมินด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี 2564 (Corporate Sustainability Assessment 2021) เป็นปีที่ 4 และได้รับการยอมรับให้เป็นสมาชิกของประเภท กลุ่มดัชนีโลก (World Index) เป็นปีที่ 5 และเป็นสมาชิกของกลุ่มดัชนีตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets Index) เป็นปีที่ 6[4]
สินค้าและบริการ
แก้เครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์และไม่มีแอลกฮอล์ รวมถึงอาหารและเบเกอรี่
แก้ปัจจุบัน บริษัทในกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560) มีทั้งหมด 138 บริษัท ดังนี้
- บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทในประเทศไทย 93 บริษัท แบ่งเป็น บริษัทย่อย 92 บริษัท และบริษัทซึ่งเป็นบริษัทรวมของบริษัทย่อย 1 บริษัท คือบริษัทเพ็ทฟอร์ม (ไทยแลนด์) จำกัด
- บริษัทในต่างประเทศ 44 บริษัท (แบ่งเป็นบริษัทย่อย 41 บริษัท และบริษัทซึ่งเป็นบริษัทร่วมของบริษัทย่อย 3 บริษัท คือ Liquorland Limited, Fraser and Neave, Limited* และ Frasers Centrepoint Limited*
- โรงงานงานผลิตสุรา 18 แห่ง โรงงานผลิตเบียร์ 3 แห่ง และโรงงานผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อีก 12 แห่ง
- บริษัทไทยเบฟ จำหน่าย สินค้าครอบคลุมกว่า 90 ประเทศทั่วโลกและ มีโรงงาน กลั่นสุรา 5 แห่งในประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่มีชื่อเสียงในการผลิตเหล้าวิสกี้ชั้นนำระดับโลกอย่าง Balblair, Old Pulteney และ Speyburn นอกจากนี้ยังมีโรงงานผลิตสุราอีก 1 แห่งในประเทศจีน ได้แก่ Yulinquan
โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มสุรา ได้แก่ รวงข้าว แสงโสม แม่โขง หงส์ทอง และเบลนด์ 285
- กลุ่มเบียร์ คือ เบียร์ช้างเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในกลุ่มนักดื่มเบียร์ชาวไทย
- กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกฮอล์ที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วย ชาเขียวโออิชิ เครื่องดื่มอัดลมเอส 100 พลัส น้ำดื่มคริสตัล และโซดาร็อคเมาเท็น
- กลุ่มอาหาร ประกอบไปด้วย ร้านอาหารที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจ ได้แก่ โออิชิ, ไฮด์แอนด์ซีค, หม่านฟู่หยวน, เอ็มเอกซ์ เค้กแอนด์เบเกอรี, โซอาเซียน, ฟู๊ดสตรีท, เคเอฟซี และล่าสุดคือร้านกาแฟสตาร์บัคส์
กรณีอื้อฉาวและการประท้วง
แก้ใน พ.ศ. 2548 ไทยเบฟเวอเรจถูกวิจารณ์จากพระสงฆ์และกลุ่มศาสนาอื่น ๆ ทั่วประเทศ ในเวลานั้น หลังจากไทยเบฟเวอเรจประกาศเจตจำนงที่จะระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน เพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ซึ่งจะกลายเป็นการระดมทุนสาธารณะครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย[5][6] ถึงแม้ว่าสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จะพยายามห้ามไม่ให้พระสงฆ์ประท้วง แต่ก็ยังมีพระสงฆ์ 2,000 รูปจากวัดพระธรรมกาย อ่านบทสวดมนต์หน้าอาคารตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้สั่งยุติการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชนของไทยเบฟเวอเรจ[7][8][note 1] กลุ่มนี้เรียกร้องของความร่วมมือให้ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น หยุดบริษัทนี้[7][8][9] หลังจากประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยลาออก ไทยเบฟเวอเรจจึงย้ายไปจดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์แทน[10][11]
ในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2564 มีคำสั่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้พนักงานของไทยเบฟเวอเรจและครอบครัว 7.1 หมื่นคนทั่วประเทศ[12]
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "About Us". ThaiBev. สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 ThaiBev Annual Report 2015. Bangkok. 2015.
- ↑ Khettiya Jittapong (22 January 2013). "Thai billionaire Charoen Sirivadhanabhakdi builds empire with F&N takeover". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2013.
- ↑ ฐาปน สิริวัฒนภักดี ตอกย้ำผู้นำองค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนระดับโลก ครองคะแนนสูงสุด DJSI โลก 4 ปีซ้อน
- ↑ Hills, Jonathan (5 April 2005). "CSR and the alcohol industry: a case study from Thailand". CSR Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2016. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
- ↑ Kazmin, Amy (19 March 2005). "Buddhist monks protest against IPO plan". The Financial Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2016.
- ↑ 7.0 7.1 Inbaraj, Sonny (20 March 2005). "Thailand: Beer and Buddhism, a Definite No, Cry Conservatives". Inter Press Service. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 ขบวนการต้านน้ำเมา ร้อยบุปผาบานพร้อมพรัก ร้อยสำนักประชันเพื่อใคร? [Resistance against alcohol: a hundred flowers bloom fully, and for who do a hundred institutions compete?]. Nation Weekend. The Nation Group. 4 March 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2016. สืบค้นเมื่อ 28 November 2016.
- ↑ "Buddhists protest beer company's launch on stock exchange". Associated Press. 20 July 2005. สืบค้นเมื่อ 9 July 2017.
- ↑ Kazmin, Amy (4 January 2006). "Thai Beverage listing moves to Singapore". The Financial Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2017.
- ↑ "Thai Bourse Chief Quits After Losing I.P.O. to a Rival". Financial Times. 25 May 2006. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016 – โดยทาง New York Times.
- ↑ "มหาดไทย แจงปมสั่งผู้ว่าฯ จัดหาวัคซีนให้ พนง.ไทยเบฟฯ และครอบครัว 7.1 หมื่นคน". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.