ชัชชัย สุขขาวดี
ชัชชัย สุขขาวดี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ หรั่ง ร็อคเคสตร้า อดีตนักร้องนำ วงดนตรีร็อก ร็อคเคสตร้า ปัจจุบันเป็นนักร้องเดี่ยว มีความสามารถพิเศษวิธีการร้องมีระดับของบันไดเสียงที่กว้าง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เรียกตามประสาชาวร็อคว่า แหบหลบใน [1]
หรั่ง ร็อคเคสตร้า | |
---|---|
หรั่ง ร็อคเคสตร้า | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | ชัชชัย สุขขาว |
เกิด | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2499 |
ที่เกิด | จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย |
แนวเพลง | ฮาร์ดร็อก เฮฟวี่ เมทัล |
อาชีพ | นักร้อง |
เครื่องดนตรี | ร้องนำ, ซินธีไซเซอร์ |
ช่วงปี | 2525 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | นิธิทัศน์ โปรโมชั่น,รถไฟดนตรี,อาร์เอส โปรโมชั่น |
ประวัติ แก้
ชัชชัย สุขขาวดี เป็นชาวสุราษฎร์ธานี สนใจดนตรีมาตั้งแต่อายุเจ็ดขวบ เมื่ออายุ 13 ปี ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ เล่นกลอง ทรัมเปต เฟรนช์ฮอร์น และ คีย์บอร์ด และเรียบเรียงเสียงประสาน จากนั้นบรรจุในตำแหน่งนักร้องประจำวง ซิมโฟนี ออเคสตรา ราชนาวี ของกองทัพเรือไทย
การก่อตั้งวง M7 แก้
ในช่วงสงครามเวียดนาม ชัชชัย สุขขาวดี ร่วมกับเพื่อนๆ นักดนตรีอาชีพ เล่นดนตรีตามค่ายทหารอเมริกัน และคลับต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกตำแหน่งทรัมเปตของวง M7 ซึ่งมี สุนทร สุจริตฉันท์ (ต่อมาเป็นนักร้องนำวง รอยัลสไปรท์ส) เป็นนักร้องนำ เป็นวงดนตรีในแนวโซล [2]
ลาออกจากวง M7 ; และตั้งวงร็อคเคสตร้า แก้
หรั่ง ลาออกจากวง M7 และตั้งวง ร็อคเคสตร้า เล่นดนตรีแนวป็อป-ร็อก ร่วมกับภาสกร หุตะวนิช ธรรมนูญ หะยีสา และฟาโรห์ ตอยยีบี เล่นเพลงของวง ควีน ดิ อลัน พาร์สันส์ โปรเจกต์ และ Styx เล่นประจำอยู่ที่กรุงเทพ ต่อมาย้ายไปเล่นที่หาดใหญ่ และได้บันทึกเสียงอัลบั้มแรกกับค่ายนิธิทัศน์ ชื่อ Medley Tophits เมื่อ พ.ศ. 2525 นำเพลงสากลของศิลปินต่างประเทศมาเล่นใหม่แบบเมดเลย์
ต่อมา ทางวงเลิกเล่นดนตรีประจำตามคลับ หันมาทำงานบันทึกเสียง ออกผลงานชุดที่สอง ชื่อ เทคโนโลยี กับ นิธิทัศน์ และออนป้า เมื่อ พ.ศ. 2527 นักดนตรีที่ร่วมงานในตอนนี้ประกอบด้วย [3][4]
อัลบั้ม เทคโนโลยี ประสบความสำเร็จสูงสุด เนื่องจากแนวดนตรี เทคนิคการเล่นดนตรีและการนำเสนอ ฉีกแนวไปจากผลงานของศิลปินอื่นๆ ในขณะนั้น [5] ทำให้ผลงานชุดนี้ค่อนข้างโดดเด่น และได้รับความนิยม ผลงานเพลงในอัลบั้มนี้ ทุกเพลงมีชื่อพยางเดียว หรือคำเดียวทั้งหมด ได้แก่ เทคโนโลยี, โลง, เงา, คิด, เพลง, หวย, กรรม, มนุษย์, อดีต, รัก และ เหงา
วงร็อคเคสตรา มีผลงานออกมาอีกสี่ชุด คือเพลงสากลชุด Special One ชุด วิทยาศาสตร์ ชุด เปลี่ยนทุกวัน และชุดสุดท้าย เที่ยวเมืองไทย ซึ่งเปลี่ยนแนวดนตรีและไม่ประสบความสำเร็จ จากนั้นจึงแยกย้ายกันไปทำงานอิสระ
ในปี พ.ศ. 2547 หรั่ง ร็อคเคสตร้า ออกอัลบั้มพิเศษ ไกล...กังวล ร่วมกับวงซิมโฟนี ออเคสตรา ราชนาวี และเพื่อนนักดนตรีรับเชิญ อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์มาเรียบเรียงใหม่หลายเพลง และมีเพลงปลุกใจให้รักชาติ อัลบั้มชุดนี้ไม่ได้วางจำหน่าย สามารถรับได้ฟรีที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ทุกจังหวัด โดยสามารถบริจาคเงินเพื่อนำรายได้มอบให้กับมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ไปสนับสนุนเด็กพิการไทยให้ได้รับโอกาสทางสังคม [6]
ผลงาน แก้
ในวงร็อคเคสตร้า แก้
- ร็อคเคสตร้า Medley Tophits (2525)
- ร็อคเคสตร้า เทคโนโลยี (2527)
- ร็อคเคสตร้า Special One (2528)
- ร็อคเคสตร้า วิทยาศาสตร์ (2528)
- ร็อคเคสตร้า เปลี่ยนทุกวัน (2529)
- ร็อคเคสตรา เที่ยวเมืองไทย (2530)
ผลงานเดี่ยว แก้
- ดาวสีม่วง (2531)
- มดคันไฟ (2533)
- ไวกว่าแสง (2534)
- ร็อกเต็มรัก (2534)
- รักต่างมิติ (2536)
- Untitled (หน้าปกอัลบั้มเป็นรูปกิ้งก่าสีเขียว จึงเรียกกันเล่นๆ ว่า ชุด กิ้งก่า) (2539)
- บันทึกการแสดงสด ลุย!!
- ไกลกังวล (2547)
- เงา (วิ่ง) (2560) ประกอบภาพยนตร์ เปรมิกา ป่าราบ
- เลือดสุพรรณ (2562) ประกอบละคร เลือดสุพรรณ
- ดวงจันทร์ (2562) ประกอบละคร เลือดสุพรรณ
- หัวใจอยู่ที่เธอ (2562) ประกอบละคร เลือดสุพรรณ
ร่วมกับศิลปินอื่น แก้
- เพื่อนที่แสนดี (2532) ร่วมกับ ภูสมิง หน่อสวรรค์ , สาว สาว สาว , บุปผา ธรรมบุตร , พัณนิดา เศวตาสัย , ประวิทย์ ฟรีเบิร์ดส , ชัยรัตน์ เทียบเทียม , ฤทธิพร อินสว่าง , กิตติคุณ เชียรสงค์ , ภูสมสนุก หน่อสวรรค์
- ลำน้ำใจ (2534) ร่วมกับ อิทธิ พลางกูร , กะท้อน , เทียรี่ เมฆวัฒนา , มงคล อุทก , ศันสนีย์ นาคพงศ์ , วงอมตะ , ธนันต์ ไตรเวทย์
- รักหวานหยด (2535) ร่วมกับ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ , สาว สาว สาว , ภูสมิง หน่อสวรรค์ , พัณนิดา เศวตาสัย , ศุ บุญเลี้ยง , ชรัส เฟื่องอารมย์ , สุชาติ ชวางกูร
- ร็อกเพื่อนกัน (2536) ร่วมกับ ไฮ-ร็อก , หิน เหล็ก ไฟ
- Double Best อิทธิ & หรั่ง (2545) ร่วมกับ อิทธิ พลางกูร
- สืบสานประชาธิปไตย (2546) ร่วมกับ แอ๊ด คาราบาว , อิทธิ พลางกูร , ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง , รวิวรรณ จินดา , โฟร์ท นฤมล , ฟอร์ด สบชัย , ชาย วรัญญู , ไบร์ท ต่อ อัลคาโปน , แมน มอเตอร์ไซค์ , ปาน ธนพร
- รักเธอประเทศไทย (2547) ร่วมกับ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ , สมชาย ใหญ่ , วงสันติภาพ , ภูสมิง หน่อสวรรค์ , สาว สาว สาว , จรัล มโนเพ็ชร , ซูซู , สุ ไทรงาม , บางสนาน , หนู มิเตอร์ , เชน ชาโดว์
- Rock Heroes อิทธิ & หรั่ง (2556) ร่วมกับ อิทธิ พลางกูร
ผลงานการแสดงภาพยนตร์ แก้
- อยากจะบอกคุณว่ารัก (2532) รับบท หรั่ง
- สงครามเพลงแผน 2 (2533) รับบท หรั่ง
รายการ แก้
- เข้าร่วมในรายการ โจ๊กตัดโจ๊ก ต้นฉบับสลับเพลง ในเพลง ทั้งรักทั้งเกลียด และ น้ำตาจระเข้ (2566)
คอนเสิร์ต แก้
- ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต (29 พฤษภาคม 2536)
- Live Action Jump Concert (มิถุนายน 2539)
- รักเธอประเทศไทย เทิดไท้องค์ราชัน (3 ธันวาคม 2547)
- ความหลัง...ครั้งใหม่ (28 มิถุนายน 2549)
- ไทยธนาคาร...ภูมิใจไทย” ครั้งที่ 8 (16-17 พฤษภาคม 2550)
- ศิลปะ ดนตรี กวี การเมือง ตอน ยิ้มกลางสายฝน (8 สิงหาคม 2552)
- The Memory Night Concert (25 กันยายน 2552)
- ช็อต ชาร์จ ช็อก ร็อก ลีเจนด์ เหล็ก พันธุ์ เสือ (17 สิงหาคม 2556)
- Great Songs for the Great King (3 - 5 ธันวาคม 2556)
- 70 ปี แหลม มอริสัน เปิดกรุตำนานร็อค (20 สิงหาคม 2557)
- กาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที่ 42 (9 กรกฎาคม 2558)
- แม่ของแผ่นดิน RSU to Mom, with Love (20 สิงหาคม 2558)
- Long Live The King Of Thailand 2015 (29 พฤศจิกายน 2558)
- Love & Hurt : Super Rock Ballads Concert (30 เมษายน 2559)
- Love & Hurt : Super Rock (23 กรกฎาคม 2559)
- The Producer คอนเสิร์ตหนึ่งจักรวาลและล้านดวงดาว (17 กันยายน 2559)
- เด็กเทป 3 (6 กรกฎาคม 2562)
- รวมใจราชาแห่งร็อค (21 สิงหาคม 2562)
- The Legend Music Festival 2020 (18 มกราคม 2563)
- Pong Fest (1 กุมภาพันธ์ 2563)
- Thailand Connection 2020 (16 พฤษภาคม 2563)
- JAM FOR LAM (28 กุมภาพันธ์ 2565)
- Live Music Benefit For Lam Morrison (20 สิงหาคม 2565)
- BRING THAI TALENTS TO AUCKLAND (28 ตุลาคม 2566)
- RS MUSIC ร่วมกับ อำพลฟูดส์ Present CONCERT SHORT CHARGE SHOCK REAL ROCK RETURN (16 ธันวาคม 2566)
ชีวิตส่วนตัว แก้
ด้านชีวิตส่วนตัว แต่งงานแล้ว มีบุตรสาว 1 คน ชื่อ เมทัล สุขขาว หรือ เมทัล ภรรยาของ โดม ปกรณ์ ลัม
ธุรกิจส่วนตัว แก้
หรั่ง ร็อคเคสตร้า เคยเปิดร้านอาหารที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่เลิกกิจการไปแล้ว เนื่องจากร้านอาหารถูกไฟไหม้เสียหายทั้งหมด เมื่อปี พ.ศ. 2549 [7] ปัจจุบันทำเปิดโรงเรียนสอนดนตรี Rockestra school of music
เคลื่อนไหวทางการเมือง แก้
ในคืนวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ขณะที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปักหลักชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ หรั่ง ร็อคเคสตร้าได้ขึ้นเวทีแสดงดนตรี โดยได้ร้องเพลง 3 เพลง คือ รักเธอประเทศไทย, ประชาชนอย่าทิ้งประเทศชาติ[8] และได้ขึ้นร้องเพลงอีกในคืนวันที่ 30 พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน และต่อมาอีกหลายต่อหลายครั้ง รวมถึงการชุมนุมของกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ด้วย
อ้างอิง แก้
- ↑ หรั่ง ร็อคเคสตร้า แหบหลบใน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "การก่อตั้งวง M7". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2007-07-07.
- ↑ "ออกจากวง M7". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-07-07.
- ↑ วงร็อคเคสตร้า วงร็อคระดับตำนานเมืองไทยยุค 80s
- ↑ "ตั้งวงร็อคเคสตร้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2007-07-07.
- ↑ "หรั่ง ร็อคเคสตร้า ออกอัลบั้มพิเศษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-19. สืบค้นเมื่อ 2007-07-07.
- ↑ "ธุรกิจส่วนตัว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-22. สืบค้นเมื่อ 2007-07-07.
- ↑ "หรั่งร็อคเคสตร้าเคลื่อนไหวการเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2008-05-30.