เทียรี่ เมฆวัฒนา

เทียรี่ เมฆวัฒนา นักร้องและนักดนตรีชาวไทย มือกีตาร์วงคาราบาว มีชื่อจริงว่า เทียรี่ สุทธิยงค์ เมฆวัฒนา ชื่อเล่น หรั่ง เกิดวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2501 ที่ประเทศลาว โดยมีพ่อเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนชื่อ เอนก เมฆวัฒนา แม่เป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์ ชื่อ ซิโมเน

เทียรี่ เมฆวัฒนา
ชื่อเกิดเทียรี่ สุทธิยงค์ เมฆวัฒนา
รู้จักในชื่อรี่
เกิด23 เมษายน พ.ศ. 2501 (66 ปี)
ที่เกิดนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว
แนวเพลงเพื่อชีวิต, ร็อก, ป๊อป, โฟล์ค, ร็อกอะบิลลี, คันทรี
อาชีพนักร้อง, นักดนตรี, โปรดิวเซอร์, ยูทูบเบอร์
เครื่องดนตรีกีตาร์, เบส, กลอง
ช่วงปีพ.ศ. 2521 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงท็อปไลน์ มิวสิค (พ.ศ. 2533 - 2537)
มิวสิก ออน เอิร์ธ (พ.ศ. 2540)
วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ (พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน)
อาร์ สยาม (พ.ศ. 2547 - 2550)
คู่สมรสอุทุมพร ศิลาพันธ์
(พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2545)
อดีตสมาชิกRunspot
ไพจิตร อักษรณรงค์

ประวัติ

แก้

เทียรี่ เมฆวัฒนา เกิดที่นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เป็นบุตรของนายเอนก เมฆวัฒนา โดยนายเอนกทำงานให้กับหน่วยซีไอเอในลาวคอยหาเครื่องใช้ให้ทหารอเมริกัน แม่เป็นชาวสวิสเซอร์แลนด์ ชื่อ Simone หลังจากนั้นพอเทียรี่มีอายุได้ 2 ขวบ ประเทศลาวได้เกิดสงครามกลางเมืองจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2503 พ่อจึงพาครอบครัวย้ายมาอยู่ที่ประเทศไทย และเข้าเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ รุ่นที่ 91 จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ร่วมรุ่นกับ ศาสตราจารย์ไชยันต์ ไชยพร) ก่อนจะย้ายมาเรียนที่โรงเรียนดรุณพิทยาจนจบชั้นมัธยมปลาย จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อด้านการบริหารธุรกิจที่ American Business Institute ที่เขตแมนฮัตตัน มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

โดยเทียรี่มีความสนใจในการเล่นดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยหัดเล่นกีตาร์ตอนอายุ 11 ขวบ ซึ่งเพลงแรกที่หัดเล่นคือเพลง Flying Machine ของเซอร์ คลิฟฟ์ ริชาร์ด เทียรี่ชื่นชอบและได้รับแรงบันดาลใจทางดนตรีมาจากบทเพลงของบ็อบ ดิลลัน, ดอน แม็กลีน, เดอะ บีทเทิลส์ รวมถึงวงควีนด้วย

วงการบันเทิง

แก้

เทียรี่เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการถ่ายแบบ แสดงละคร และ ภาพยนตร์ ก่อนจะเริ่มมีผลงานทางดนตรีครั้งแรก เป็นดนตรีแนวโฟล์ก โดยเข้าร่วมวงดนตรี Runspot ร่วมกับ กิตติคุณ เชียรสงค์ และหมึก ศิลปากร เล่นออกอากาศทางรายการ เสาร์สนุก ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ไทยทีวีสีช่อง 9 อสมท. ในปี พ.ศ. 2521

หลังจากนั้น ด้วยความที่ตัวเทียรี่ได้ออกโทรทัศน์บ่อยจึงได้รับการติดต่อให้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกคือเรื่อง สตรีหมายเลข 0 แสดงคู่กับ สรพงศ์ ชาตรี และ ชลธิชา สุวรรณรัต ในปี พ.ศ. 2521 และได้เล่นเป็นพระเอกอีกครั้งในภาพยนตร์เรื่อง โอ้กุ๊กไก่ ในปี พ.ศ. 2522 ก่อนจะพักงานในวงการบันเทิงเพื่อเดินทางไปศึกษาต่อที่ American Business Institute และทำงานเป็นนักดนตรีตอนกลางคืนในร้านอาหาร ที่เขตแมนฮัตตัน มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยร้องเพลงสากลของเซอร์ คลิฟฟ์ ริชาร์ด และ เอลวิส เพรสลี่ย์

หลังจากกลับมาเมืองไทยเพียง 2 สัปดาห์ เทียรี่ได้เซ็นสัญญาเป็นนักดนตรีในห้องอัดเสียงของค่ายเพลงอโซน่า รับหน้าที่เล่นกีตาร์เพื่อบันทึกเสียงในอัลบั้มของศิลปินหลายคนทั้ง สายัณห์ สัญญา, ศิรินทรา นิยากร, ยอดรัก สลักใจ, ไพจิตร อักษรณรงค์, ศรเพชร ศรสุพรรณ และ นัดดา วิยกาญจน์

โดยเทียรี่ เมฆวัฒนา ได้มีอัลบั้มเพลงของตัวเองครั้งแรก เป็นอัลบั้มที่ร้องคู่กับไพจิตร อักษรณรงค์ คืออัลบั้ม รักแรก ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จทางยอดขายเป็นอย่างดี ทำให้มีผลงานการถ่ายแบบ และเป็นพิธีกรในรายการเกมโชว์ถึง 2 รายการ

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2526 เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้มีโอกาสร่วมงานกับวงคาราบาวเป็นครั้งแรก โดยเป็นการออกทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมทอัลบั้ม วณิพก โดยรับหน้าที่เล่นกีตาร์ไฟฟ้าบนเวทีคอนเสิร์ตแทนที่เล็ก - ปรีชา ชนะภัย มือกีตาร์โซโล่ตัวจริงของทางวง ที่ติดภารกิจต้องไปทัวร์คอนเสิร์ตกับวงเพรสซิเดนท์ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเทียรี่เคยไปศึกษาที่นั่น

หลังการออกทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมตอัลบั้มวณิพกร่วมกับวงคาราบาวเสร็จสิ้น เทียรี่ได้ออกอัลบั้มของตนเองออกมาอีก 1 ชุด ในชื่ออัลบั้ม เรือรัก โดยอัลบั้มชุดนี้เป็นแนวเพลงโฟล์ก และมีเพลงฮิตอย่าง วานนี้ช้ำ วันนี้จำ

ปลายปี พ.ศ. 2526 คาราบาว กลับมาบันทึกเสียงที่ห้องอัดของอโซน่าอีกครั้งเพื่อบันทึกเสียงเพลงทั้งหมดในอัลบั้มชุด ท.ทหารอดทน เทียรี่จึงได้เป็นนักดนตรีแบ็คอัพบันทึกเสียงให้คาราบาวในอัลบั้มชุด ท.ทหารอดทน ก่อนที่จะได้รับการเชิญชวนให้ร่วมออกทัวร์คอนเสิร์ตกับทางวงอีกครั้งหนึ่ง

ความโด่งดังของอัลบั้ม ท.ทหารอดทน ทำให้วงคาราบาวทั้งวงได้เล่นเป็นดารารับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง ปล.ผมรักคุณ และเทียรี่ในฐานะนักดนตรีแบ็กอัพก็ได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องนี้พร้อมกับคาราบาวด้วย โดยในปีดังกล่าว เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้แต่งงานเป็นครั้งแรกกับแฟนสาวที่คบหากันมานานถึง 6 ปี แต่กลับใช้ชีวิตคู่อยู่เพียงแค่ 6 เดือนก็ได้หย่าขาดจากกันในปีเดียวกัน

เข้าร่วมวงคาราบาว

แก้

หลังจากทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกับวงคาราบาวมาอย่างยาวนาน เทียรี่ก็ได้เป็นสมาชิกของวงคาราบาวอย่างเต็มตัวในปี พ.ศ. 2527 ในอัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์ โดยเป็นสมาชิกใหม่ในตำแหน่งมือกีตาร์และนักร้องนำ โดยได้ร้องเพลงให้คาราบาวเพลงแรกคือเพลง นางงามตู้กระจก ซึ่งผลจากความสำเร็จอย่างถล่มทลายของอัลบั้มชุดนี้ที่มียอดจำหน่ายในปีเดียวมากกว่า 5,000,000 ตลับ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในประเทศไทย ทำให้เทียรี่ เมฆวัฒนาในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของวงโด่งดังเป็นอย่างมาก และเทียรี่ก็ได้ขึ้นเล่นคอนเสิร์ตทำโดยคนไทย ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของประเทศไทยและวงคาราบาวที่สนามจักรยานเวโลโดรม ในสนามกีฬาหัวหมาก ในปี พ.ศ. 2528 ซึ่งคอนเสิร์ตดังกล่าวมีผู้ชมมากกว่า 60,000 คน อีกทั้งยังได้ไปทัวร์คอนเสิร์ตที่สหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยเทียรี่ เมฆวัฒนาได้เป็นผู้ร้องเพลง เมด อิน ไทยแลนด์ ในเวอร์ชันภาษาอังกฤษ โดยในเวอร์ชันนี้ทางวงตั้งชื่อเพลงว่า Made in Thailand in USA

ในปีเดียวกัน เทียรี่ เมฆวัฒนาได้แสดงภาพยนตร์อีกครั้งในภาพยนตร์เรื่องเสียงเพลงแห่งเสรีภาพ คู่กับนางเอกสาว จุ๋ม - อุทุมพร ศิลาพันธ์ ซึ่งสมาชิกวงคาราบาวได้แสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยกันทั้งวง ตลอดจนมีดาราอื่น ๆ เช่น ษา - สุพรรษา เนื่องภิรมย์, หมู - พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, สุรชัย จันทิมาธร หรือ หงา คาราวาน มาร่วมแสดงด้วย และในปีดังกล่าว บริษัทการบินไทย ครบรอบ 25 ปี จึงได้มอบหมายให้วงคาราบาวแต่งเพลงให้ ซึ่งแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ได้แต่งเพลง รักคุณเท่าฟ้า โดยมอบให้เทียรี่เป็นผู้ขับร้อง และกลายเป็นเพลงฮิตที่ติดหูผู้ฟังอย่างมากจนถึงปัจจุบันและมีการนำกลับมาร้องซ้ำโดยศิลปินอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ฟอร์ด - สบชัย ไกรยูรเสน เป็นต้น

ในปีเดียวกันเทียรี่ได้แต่งงานอีกครั้งกับนางเอกสาว จุ๋ม - อุทุมพร ศิลาพันธ์ ซึ่งทั้งสองเคยมีงานแสดงร่วมกัน หนึ่งในนั้นคือภาพยนตร์เรื่องเสียงเพลงแห่งเสรีภาพ

จากนั้น ในปลายปีเดียวกัน คาราบาวได้ออกอัลบั้มชุด อเมริโกย โดยในอัลบั้มนี้เทียรี่ได้ร้องนำ 1 เพลงคือเพลง มาลัย โดยวงคาราบาวได้กลายเป็นผู้นำแฟชั่นของวัยรุ่นในสมัยนั้นด้วยการแต่งตัวด้วยชุดลายพรางทหารและใส่แว่นดำ ต่อมาได้ร่วมงานกับทางวงในชุด ประชาธิปไตย ซึ่งวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2529 โดยเทียรี่ได้ร้องนำคู่กับแอ๊ดในเพลง มหาจำลอง รุ่น 7

ในปี พ.ศ. 2530 คาราบาวออกอัลบั้ม เวลคัมทูไทยแลนด์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอัลบั้มที่มียอดขายเกิน 1,000,000 ตลับ/ก๊อปปี้ และมีมิวสิกวิดีโอถึง 4 เพลง เทียรี่มีบทบาทในอัลบั้มชุดนี้มากโดยนอกจากจะเป็นมือกีตาร์และประสานเสียงแล้ว ยังได้ร้องเพลงในอัลบั้มนี้ถึง 3 เพลง คือ สังกะสี ,บิ๊กเสี่ยว โดยร้องคู่กับแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล และเพลง คนหนังเหนียว โดยร้องคู่กับเล็ก - ปรีชา ชนะภัย ในลักษณะของการดูเอท

เทียรี่ เมฆวัฒนาโด่งดังถึงขีดสุดในอัลบั้ม ทับหลัง ในปี พ.ศ. 2531 จากการขับร้องเพลง แม่สาย ซึ่งเป็นเพลงนำร่องในอัลบั้ม ซึ่งเพลงนี้มีการทำเป็นมิวสิกวิดีโอแบบแอนิเมชันเป็นเพลงแรกในประเทศไทยอีกด้วย

แยกวง

แก้
 
หน้าปกอัลบั้ม ขอเดี่ยวด้วยคนนะ

ในปี พ.ศ. 2531 หลังจากที่วงคาราบาวทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมทอัลบั้ม ทับหลัง เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เทียรี่ก็ได้ขอลาออกจากวงและแยกตัวไปพร้อมกับสมาชิกในวงอีก 2 คน คือ อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี และ เป้า - อำนาจ ลูกจันทร์ โดยทั้ง 3 คนได้ร่วมกันออกอัลบั้มในชื่อชุด ขอเดี่ยวด้วยคนนะ ในปี พ.ศ. 2532 มีเพลงที่เป็นที่รู้จัก เช่น สาวดอย สอยดาว, วันเกิด, 5 ย 5 ก เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2533 เทียรี่ก็ได้เซ็นสัญญากับค่ายท็อปไลน์ออกอัลบั้มเดี่ยวของตัวเองชุดแรกภายหลังแยกวง คือ เจาะเวลา... โดยอัลบั้มชุดนี้ได้รับการสนับสนุนจากเครื่องดื่มโค้ก และได้ อิทธิ พลางกูร มาเป็นศิลปินรับเชิญร่วมขับร้องเพลง ทะเล ตลอดจนได้ชานนท์ ทองคง อดีตมือเบสวง เนื้อกับหนัง ซึ่งเป็นวงดนตรีเฮฟวี่เมทัลยุคแรก ๆ ของเมืองไทยมาร่วมงานด้วยในตำแหน่งมือเบส ทำให้อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีเพลงฮิตที่รู้จักกันดีเช่น ปาปาย่า ป๊อก ๆ , สาวตากลม, เจาะเวลาหาปัจจุบัน, รักขึ้นสมอง เป็นต้น

ปี พ.ศ. 2534 ได้ออกอัลบั้ม สุดขั้วหัวใจ โดยมีเครื่องดื่มโค้กเป็นผู้สนับสนุนตามเดิม มีเพลงฮิตคือเพลง ความรักสีดำ, ไผ่แดง ซึ่งเป็นเพลงประกอบละครเรื่องไผ่แดง และเพลง สูงสุดสู่สามัญ ซึ่งได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ สาขาเพลงยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2534

เดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2535 เทียรี่ออกอัลบั้มชุดที่ 3 ในชื่อชุดไม่เต็มบาท มีเพลงเด่น ๆ เช่น แสงแห่งกาลเวลา, พขร.ณ รมต., ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน, ทำใจ, ฝันของดอกไม้ริมทาง เป็นต้น โดยอัลบั้มนี้เป็นชุดสุดท้ายที่มีเครื่องดื่มโค้กเป็นผู้สนับสนุน ก่อนที่เทียรี่จะออกอัลบั้มชุดที่ 4 ในปี พ.ศ. 2537 ในชุด คาถาเศรษฐี ซึ่งมีเพลงฮิตในขณะนั้นคือ ถังแตก, สิ่งสุดท้ายแห่งความทรงจำ ตลอดจนมีเพลงประกอบโฆษณาอย่าง ปรารถนา และเพลงประกอบรายการโทรทัศน์อย่างเพลง จบที่ใจ เป็นต้น

หลังจากนั้นเทียรี่ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวออกตามมาอีกหลายชุดเช่น ยาชูกำลัง, จักรวาล และตั้งแต่ พ.ศ. 2541 จึงได้กลับมาเป็นสมาชิกของวงคาราบาวตั้งแต่อัลบั้ม อเมริกันอันธพาล จนถึงปัจจุบัน

โดยเทียรี่เป็นนักร้องที่มีเสียงแหบเสน่ห์เป็นตัวของตนเอง จึงมีเพลงที่ได้รับความนิยมในแต่ละอัลบั้มอยู่หลายเพลง ซึ่งส่วนมากเพลงที่จะเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเป็นเพลงช้า จึงได้มีโอกาสแต่งและร้องเพลงประกอบภาพยนตร์และละครหลายเรื่อง เช่น ละครเรื่อง สุดแต่ใจจะไขว่คว้า ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2532, ไผ่แดง ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2534, ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2537, แม้เลือกเกิดได้ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2544 เป็นต้น และเคยร้องเพลงออกอัลบั้มร่วมกับ อิทธิ พลางกูร ด้วย และจุดเด่นอีกประการหนึ่งของเพลงของเทียรี่ อยู่ที่เนื้อร้องที่เล่นกับภาษาได้อย่างลงตัวและสนุก มีความหมาย เช่น เพลง พขร.ณ รมต. ที่เล่นกับตัวย่อทั้งเพลง, ฉำฉาฉ่อยฉุกเฉิน ที่เล่นกับอักษร ฉ.ฉิ่ง ทั้งเพลง, หัวใจจิ้มจุ่ม ที่เล่นกับอักษร จ.จาน, ไปไหนไปด้วย ที่มีการยกตัวอย่างเปรียบเทียบเปรียบเปรยทั้งเพลง เป็นต้น และเพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มเดี่ยวมักจะแฝงไว้ด้วยป๊อปเซ้นส์เสมอ ซึ่งทำให้เพลงของเทียรี่ฟังง่ายและเป็นที่นิยม

ในปี พ.ศ. 2552 เทียรี่ได้รับเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาทางโทรทัศน์ให้กับโทรศัพท์มือถือ ยี่ห้อ G-Net โดยเป็นพรีเซนเตอร์ของโทรศัพท์ยี่ห้อนี้เป็นคนแรกด้วย[1]

ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปรากฏข่าวลือที่ทำให้ช็อกแฟนคลับวงคาราบาวทั่วประเทศว่าเทียรี่ได้ฆ่าตัวตายด้วยการใช้ปืนยิงตัวเองหลังเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสายไหม[2] แต่เมื่อได้มีการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว พบว่าเทียรี่มีอาการกระเพาะทะลุจากการดื่มสุราอย่างหนักจากคำยืนยันของมณเฑียร สาระโภค ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลสายไหม, หาญชัย ยุทธ์ธนพิพิพัฒน์ ผู้จัดการส่วนตัวของเทียรี่ และแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล หัวหน้าวงคาราบาว ซึ่งทั้ง 3 คนได้แถลงข่าวร่วมกัน[3] โดยเทียรี่ได้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีสยาม

ชีวิตส่วนตัว

แก้

เทียรี่ เมฆวัฒนา เคยแต่งงานกับ อุทุมพร ศิลาพันธุ์ นักแสดงสาว ทั้งคู่ได้อยู่กินกันมานับสิบปี จนมีลูกด้วยกันทั้งสิ้น 2 คน คือ เจน เมขลา (ลูกสาว) และ เจสซี เมฆ (ลูกชาย) แต่ก็ได้หย่าร้างกันเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 โดยเทียรี่เป็นฝ่ายขอหย่าเอง โดยอ้างว่าไม่มีเวลาให้กับครอบครัวเพียงพอ ปัจจุบัน เทียรี่มีห้องอัดเสียงเป็นของตนเองชื่อ jessie&jane studio มีบริษัทเพลงของตัวเองชื่อ here entertainment และมีบริษัท CRB entertainment จำกัด รับงานโฆษณาและผลิตรายการโทรทัศน์ โดยมีนิตยสารของตนเองชื่อ Coffee Break

ปัจจุบันเจน ศึกษาอยู่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเจสซี หลังจากไปศึกษาที่ประเทศนิวซีแลนด์ กลับมารับงานแสดงและดนตรี ในวงการบันเทิงไทยด้วย

นอกจากนี้แล้ว เทียรี่ ยังมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการและแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ด้วย เนื่องจากนายเอนก บิดาของเทียรี่เป็นน้องชายแท้ ๆ ของ นางไซย้ง แซ่ฮุ้น มารดาของนายสนธิ

ผลงานเพลง

แก้

คาราบาว

แก้

แอ๊ด คาราบาว

แก้
  • เทียรี่เล่นกีตาร์, แบนโจ, ร้องประสาน, ทำนอง ในอัลบั้ม กัมพูชา (พ.ศ. 2527)
  • เทียรี่ร่วมร้องในเพลง "เพื่อเมืองไทย" ในอัลบั้ม World Folk Zen (พ.ศ. 2534)
  • เทียรี่เล่นแบนโจ, ร่วมร้อง ในอัลบั้ม ตะวันตกดิน (พ.ศ. 2549)
  • เทียรี่เล่นกีตาร์, ร่วมร้อง ในอัลบั้ม ยืนยงตั้งวงเล่า (พ.ศ. 2549)

เล็ก คาราบาว

แก้
  • เทียรี่เป็นนักร้องประสานเสียงในอัลบั้ม ดนตรีที่มีวิญญาณ (พ.ศ. 2532)
  • เทียรี่ร่วมร้องเพลง คนไทย ในอัลบั้ม เรา…คนไทย (พ.ศ. 2534)
  • เทียรี่เล่นกีตาร์ในอัลบั้มขอทานเจ้าสำราญ (พ.ศ. 2539)

อัลบั้มเดี่ยว

แก้
ชื่ออัลบั้ม ปีที่วางจำหน่าย รายชื่อเพลง
เรือรัก มิถุนายน พ.ศ. 2526
  1. เรือรัก
  2. ผู้แทนรัก
  3. ลอยลมรัก
  4. วานนี้ช้ำ-วันนี้จำ
  5. สองมือคือคน
  6. โคบาลเมืองไทย
  7. ปล่อยใจ
  8. ยิ้มเถอะนะ
  9. น้ำมือเธอ
  10. เพียงคนเดียว
เจาะเวลา... ธันวาคม พ.ศ. 2533
  1. ปาปาย่า ป๊อกๆ
  2. เจาะเวลาหาปัจจุบัน
  3. รักขึ้นสมอง
  4. ย่าโม
  5. สาวตา-กลม
  6. หญิงชายไร้เทียมทาน
  7. นกไร้ต้นไม้เกาะ
  8. ธรณีกรรแสง
  9. ทะเล
  10. สุสาน
สุดขั้วหัวใจ ตุลาคม พ.ศ. 2534
  1. สุดขั้วหัวใจ
  2. สาวใต้สอยตอ (ลูกสะตอ)
  3. ความรักสีดำ
  4. สูงสุดสู่สามัญ
  5. เหล็กไหล
  6. เว่าลาวกันบ่
  7. ไผ่แดง
  8. ตายแน่
  9. ทรามวัย
  10. เมืองไทยในฝัน
ไม่เต็มบาท ตุลาคม พ.ศ. 2535
  1. พขร. ณ รมต.
  2. ทำใจ
  3. ไทยทั้งแท่ง
  4. แสง สี เสียง
  5. ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน
  6. ไม่เต็มบาท
  7. ฝันของดอกไม้ริมทาง
  8. เข้าๆ ออกๆ
  9. ถนนสู่ประชาธิปไตย
  10. แสงแห่งกาลเวลา
คาถาเศรษฐี พ.ศ. 2537
  1. คาถาเศรษฐี
  2. สิ่งสุดท้ายคือความทรงจำ
  3. ปรารถนา
  4. ถังแตก
  5. กีฬากาลี
  6. ฝันที่ไม่เป็นจริง
  7. แม่น้ำ
  8. ดั่งฝัน
  9. หวานเย็น
  10. จบที่ใจ
ยาชูกำลัง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
  1. ยาชูกำลัง
  2. ไม่เคย
  3. ดอกไม้ให้คุณ
  4. น้องนางบ้านนา
  5. ทำดีได้ดีแน่นอน
  6. นกน้อย-นายพราน
  7. เดือนเพ็ญ
  8. ฝันอยู่ไม่ไกล
  9. ฉันเป็นดอกไม้
  10. สายสัมพันธ์
ทำไมไม่ชอบชวน มีนาคม พ.ศ. 2543
  1. ทำไมไม่ชอบชวน
  2. ความรัก
  3. อย่าทำข้อย
  4. ก.เอ๋ย ก.ไก่
  5. เพียงใครสักคน
  6. หัวใจลูกจ้าง
  7. ผีเสื้อ
  8. รอยแผลเป็น
  9. ดาวเรือง
  10. อีสาน
สุดทางรัก มกราคม พ.ศ. 2546
  1. ฉำฉาฉ่อยฉุกเฉิน
  2. สุดทางรัก
  3. กำจัดจุดอ่อน
  4. ถูกหรือผิดที่รักเธอ
  5. โชคดีที่โชคร้าย
  6. คนกลางคืน
  7. พักรบ พบรัก
  8. ปรัชญาขี้เมา
  9. สัจธรรมแห่งความรัก
  10. เปลี่ยน
จักรวาล ตุลาคม พ.ศ. 2546
  1. จักรวาล
  2. อุกกาบาต
  3. อวกาศ
  4. หมื่นไมล์ทะเล
  5. พิภพ
  6. ทะเลสีทอง
  7. สหัสรังสี
  8. ไกรวี
เสือร้องไห้ มิถุนายน พ.ศ. 2548
  1. เสือร้องไห้
  2. ความรักครั้งสุดท้าย
  3. หัวใจจิ้มจุ่ม
  4. อดีต
  5. ฟ้าหลังฝน
  6. ไปไหนไปด้วย
  7. อย่ารักกันดีกว่า
  8. เงา
  9. เศร้าประเดี๋ยวเดียว
  10. กฎแห่งกรรม
เหงา...ตัวเท่าเธอ สิงหาคม พ.ศ. 2551
  1. เหงา...ตัวเท่าเธอ
  2. ตัวแทน
  3. เสียงเพลงขลุ่ยไม้
  4. เจาะใจ
  5. ฝนน้ำตา
  6. ไม่มีตังค์
  7. พ่อหม้ายมือสอง
  8. นางฟ้าเดินดิน
  9. ขอบคุณที่หวังดี
  10. บ้านเศษไม้


อัลบั้มพิเศษ

แก้
ชื่ออัลบั้ม ปีที่วางจำหน่าย รายชื่อเพลง
หอมดินกลิ่นทุ่ง พฤษภาคม พ.ศ. 2546
  1. ร้องไห้กับเดือน
  2. ผู้เสียสละ
  3. เอาคำว่ารักของเธอคืนไป
  4. บุพเพสันนิวาส
  5. คุณนายโรงแรม
  6. มนต์รักลูกทุ่ง
  7. จำปาลืมต้น
  8. กลิ่นโคลนสาบควาย
  9. พอหรือยัง
  10. ผู้หญิงหน้าเงิน
  11. คิดถึงพี่หน่อย
  12. รักแล้งเดือนห้า
THE IMPOSSIBLE เป็นไปไม่ได้ มกราคม พ.ศ. 2547
  1. นกขมิ้น
  2. ทะเลไม่เคยหลับ
  3. รอ
  4. หนาวเนื้อ
  5. ขาดเธอขาดใจ
  6. ไหวว่าจะจำ
  7. ชื่นรัก
  8. เป็นไปไม่ได้
  9. โอ้รัก
  10. ตักที่น่านอนตาย
  11. ลำนำรัก
  12. ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน
  13. ขั่วนิจนิรันดร์
  14. คอยน้อง
หอมดินกลิ่นทุ่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2547
  1. รักนี้มีกรรม
  2. หนาวลมที่เรณู
  3. สัญญาเมื่อสายัณห์
  4. ลารักจากสวนแตง
  5. บัวตูมบัวบาน
  6. รอทั้งปี
  7. ถอนคำสาบาน
  8. โปรดเถิดดวงใจ
  9. ใช่แล้วสิ
  10. วาสนาพี่น้อย
  11. น้ำท่วม
  12. อยากไปให้พ้น
ใครใครก็บินได้ พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  1. ใครใครก็บินได้
  2. นางงามตู้กระจก
  3. แม่สาย
  4. มาลัย
  5. สังกะสี
  6. คนขี้โกง
  7. รักนี้มีแต่เธอ
  8. ลมพัดใจเพ
  9. เดือนแรม
  10. ความรักสีดำ
  11. ไผ่แดง
  12. สุดแต่ใจจะไขว่คว้า
  13. แม้เลือกเกิดได้
  14. ทำใจ
  15. ความรัก
  16. สูงสุดสู่สามัญ
เพลงผ่านชีวิต พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
  1. ลั่นทม
  2. เชือกคลายเกลียว
  3. แมลงเม่าตัวสุดท้าย
  4. คูโบต้า โคโยตี้
  5. อีสานกล่อมลูก
  6. จะดีกว่า
  7. รักข้างเดียว
  8. เพลงผ่านชีวิต
  9. เสียใจจริงๆ
  10. อยากให้รักลงเอย
คืนนี้ไม่มีจันทร์ ตุลาคม พ.ศ. 2550
  1. ความรักสีดำ
  2. เดือนแรม
  3. อดีต
  4. แม้เลือกเกิดได้
  5. กว่าจะถึงวันนั้น
  6. สุดทางรัก
  7. สุดแต่ใจจะไขว่คว้า
  8. เพียงใครสักคน
  9. ดั่งฝัน
  10. สิ่งสุดท้ายคือความทรงจำ
  11. ความรัก
  12. ไผ่แดง
  13. ฝันของดอกไม้ริมทาง
  14. ทรามวัย


ผลงานร่วม

แก้
  • รักแรก : ร่วมกับ ไพจิตร อักษรณรงค์ (กันยายน พ.ศ. 2525)
  • เรือรัก : ร่วมกับ ไพจิตร อักษรณรงค์ (มิถุนายน พ.ศ. 2526)
  • ขอเดี่ยวด้วยคนนะ : ร่วมกับ ธนิสร์, อำนาจ (ตุลาคม พ.ศ. 2532)
  • ฮาร์ท แอนด์ โซล : ร่วมกับ อิทธิ พลางกูร (มิถุนายน พ.ศ. 2540)
  • รวมพลคนเหงา : ร่วมกับ เล็ก คาราบาว (พฤศจิกายน พ.ศ. 2543)
  • รวมพลคนมันส์ : ร่วมกับ เล็ก คาราบาว (พฤศจิกายน พ.ศ. 2543)
  • กีตาร์บาว : ร่วมกับ เล็ก คาราบาว (มกราคม พ.ศ. 2544)
  • เทียรี่ เมฆวัฒนา & หนู มิเตอร์ : ร่วมกับ หนู มิเตอร์ (กันยายน พ.ศ. 2556)

อัลบั้มรวมเพลง

แก้
  • รวมฮิต ประวัติศาสตร์ เทียรี่ (มกราคม 2533)
  • เผ็ดร้อน เทียรี่ & ธนิสร์ & อำนาจ & กระท้อน (มิถุนายน 2534)
  • สะใจกว่า เทียรี่ & คันไถ (กรกฏาคม 2534)
  • รวมเพลงฮิต เทียรี่ เมฆวัฒนา สุดแต่ใจจะไขว่คว้า (2535)
  • อะเมชิ่งเพื่อชีวิต ชุด 1 (2535)
  • เปีดกรุตำนานเพลงชีวิต (2535)
  • ฮิต (2536)
  • ไม่ฮิต (2536)
  • รวมเพลงละครดัง ไม้อ่อน (2540)
  • ฮอต ฮิต ติด ดิน หมายเลข 3 (2540)
  • รวมฮิต 2000 (ตุลาคม 2542)
  • โคตรเพลงเพื่อชีวิต รวมฮิต 2543 (ตุลาคม 2542)
  • เพื่อชีวิตใจเกินร้อย ชุด 1 (ธันวาคม 2543)
  • รวมเพลงรัก (มีนาคม 2544)
  • รวมเพลงร็อค (มีนาคม 2544)
  • เทียรี่ ซีนีม่า แม้เลือกเกิดได้ (พฤศจิกายน 2544)
  • รวมฮิต เทียรี่ เมฆวัฒนา (พฤศจิกายน 2544)
  • รวมฮิต เทียรี่ เมฆวัฒนา 2 (พฤศจิกายน 2544)
  • เพื่อชีวิตใจเกินร้อย ชุด 2 (ธันวาคม 2544)
  • เพลงดังแห่งทศวรรษ ชุด เพื่อชีวิต 2 รวมเพลงเพื่อชีวิต (2546)
  • รวม 24 เพลงรัก เทียรี่ (มีนาคม 2547)
  • รวม 24 เพลง สามช่า เทียรี่ (มีนาคม 2547)
  • รวมเพลงละคร (2547)
  • บทเพลงแห่งรัก (2547)
  • เทียรี่ ก็มี 3 ช่า (2547)
  • ขุนพลเพลงเพื่อชีวิต ชุด 1 (กุมภาพันธ์ 2548)
  • ดีที่สุด (พฤษภาคม 2548)
  • Big MV Big Star Karaoke (2548)
  • รวมฮิตหัวกะทิ ชุด 1 (กันยายน 2548)
  • Jumbo X 2 Return (ตุลาคม 2548)
  • สุดยอดเพลงฮิตเพื่อชีวิต (2549)
  • รวมฮิตหัวกะทิ ชุด 2 (กันยายน 2549)
  • Rock Alive (ตุลาคม 2549)
  • The Lost Love Songs บทเพลงที่หายไป (สิงหาคม 2550)
  • เพลงรักหลากอารมณ์ (2551)
  • ลูกทุ่งมันส์ไม่เลิก (มิถุนายน 2551)
  • มหานครเพื่อชีวิต 1-2 (กรกฎาคม 2551)
  • เพลงเขาเราร้อง ชุด 2 (กรกฎาคม 2551)
  • ผู้ชาย...รักจริง (สิงหาคม 2551)
  • รุ่นใหญ่ใจติดดิน (กันยายน 2552)
  • On The Rock (พฤศจิกายน 2553)
  • เพื่อชีวิตฮิตไม่เลิก (ธันวาคม 2553)
  • เพลงดังหาฟังยาก (กรกฎาคม 2554)
  • RS Best Collection เทียรี่ เมฆวัฒนา (มีนาคม 2554)
  • รวมเพลงหอมดินกลิ่นทุ่ง (กุมภาพันธ์ 2555)
  • Jumbo Karaoke ติดดินกินใจ (สิงหาคม 2555)
  • เพื่อรัก เพื่อชีวิต (สิงหาคม 2555)
  • ติดดินอกหัก (ตุลาคม 2555)
  • Hitz Unlimited (ตุลาคม 2555)
  • Jumbo Karaoke เพื่อชีวิตฮิตตลอดกาล (ตุลาคม 2555)
  • เพื่อชีวิตฮิตเกินร้อย 1-2 (2555-2556)
  • เพื่อชีวิต ฮิตถล่มทลาย (พฤศจิกายน 2555)
  • ติดดิน 2 สไตล์ (มกราคม 2556)
  • Coffee Corner (กุมภาพันธ์ 2556)
  • หัวใจปลายปากกา นรกในใจ (กุมภาพันธ์ 2556)
  • ติดดิน 2 สไตล์ ยก 2 (มีนาคม 2556)
  • ทรมาน (พฤษภาคม 2556)
  • ต้มยำ อกหัก (มิถุนายน 2556)
  • โสด รัก เลิก (มิถุนายน 2556)
  • เพื่อชีวิตฮิต 2 สไตล์ (มิถุนายน 2556)
  • เพื่อรัก เพื่อชีวิต 2 (กรกฎาคม 2556)
  • แฟน ที่เธอไม่รัก (กรกฎาคม 2556)
  • ติดดินกินใจ 2 (สิงหาคม 2556)
  • รวมมิตรฮิตเปรี้ยง (สิงหาคม 2556)
  • ผับเพื่อชีวิต ฮิตอย่างแรง (กันยายน 2556)
  • อกหัก รักจริง (ตุลาคม 2556)
  • พลพรรครักติดดิน (มกราคม 2557)
  • All of Love ปาน & Friends (เมษายน 2557)
  • ตำนานรักเพื่อชีวิต (กรกฎาคม 2557)
  • เพื่อชีวิตฮิตตลอดกาล (สิงหาคม 2557)
  • A Lot Like Love (กันยายน 2557)
  • บิ๊กฮิตติดดิน ที่สุดในสามโลก (พฤศจิกายน 2557)
  • ตำนานโจ๊ะเพื่อชีวิต (พฤศจิกายน 2557)
  • เพื่อชีวิตฮิตซึ้ง ๆ ชุด 1,3 (ธันวาคม 2557)
  • บทเพลงแห่งรัก (พฤษภาคม 2558)
  • รวมฮิต 50 เพลงของเทียรี่ (กรกฎาคม 2558)
  • รวมเพลงอมตะ สตริง ยุคแรก (กรกฎาคม 2558)
  • รวมเพลง เพื่อชีวิต (กรกฎาคม 2558)
  • เพื่อชีวิต ฮิตมันส์ ๆ (สิงหาคม 2558)
  • เพื่อเพื่อน...เพื่อชีวิต (สิงหาคม 2558)
  • รวมเพลง เพื่อชีวิต ฮิตโดนใจ (กุมภาพันธ์ 2559)
  • สวนทางเพื่อชีวิต (กรกฎาคม 2559)
  • เด็ดเพลงฮิต เพื่อชีวิต ชุด 2 (มกราคม 2560)
  • เพื่อรัก เพื่อชีวิต ชุด 2 (มิถุนายน 2560)
  • เด็ดเพลงฮิต เพื่อชีวิต ชุด 3 (กรกฏาคม 2560)
  • บันทึกเพลงดี 30 ปี สีสันอะวอร์ด (ธันวาคม 2560)
  • ร็อกมหาชน คนติดดิน ชุด 2 (มิถุนายน 2561)
  • รวมเพลง 3 ช่า โจ๊ะๆมันส์ๆ (มิถุนายน 2561)
  • เพื่อชีวิตฮิตเต็มร้อย ชุด 1 (มีนาคม 2562)
  • ฮิตมหาชน คนติดดิน (14 สิงหาคม 2562)
  • เพื่อชีวิตฮิตตลอดกาล (มกราคม 2563)
  • เพื่อชีวิตฮิตมันส์ มันส์ (เมษายน 2563)
  • ตำนาน เพื่อชีวิต ฮิตมหาชน (1 เมษายน 2563)
  • รวมฮิต แสงจันทร์ ตะวันแดง ชุด 2 (19 มกราคม 2564)
  • The Original Hits ตำนานเพื่อชีวิต (2567)

คอนเสิร์ต

แก้
  • รายการ 7 สี คอนเสิร์ต เทียรี่ เมฆวัฒนา (2534)
  • เล่นกีตาร์ในคอนเสิร์ต 3 ตำนานเพื่อชีวิต (รับเชิญ) (26 กันยายน 2541)
  • มหกรรมคอนเสิร์ต ทรัพย์สินทางปัญญา (31 สิงหาคม 2546)
  • คอนเสิร์ต The Duet เพื่อชีวิต of Love (22 พฤศจิกายน 2546)
  • คอนเสิร์ต เก็บตะวัน A Tribute To อิทธิ พลางกูร (30 ตุลาคม 2547)
  • เอ็กซ์คลูซีฟคอนเสิร์ต ทุ่งฝันตะวันรอน (รับเชิญ) (24 กันยายน 2549)
  • คอนเสิร์ต GREEN CONCERT # 10 The Lost Love Songs บทเพลงที่หายไป (28 - 29 กันยายน 2550)
  • คอนเสิร์ต ตำนานเพลง 3 ทศวรรษอโซน่า (15 มิถุนายน 2551)
  • เอ็กซ์คลูซีฟคอนเสิร์ต คนกับเม้าท์ (รับเชิญ) (8 พฤษภาคม 2553)
  • เอ็กซ์คลูซีฟคอนเสิร์ตวันวานไม่มีเขา วันนี้ไม่มีเรา (รับเชิญ) (3 พฤศจิกายน 2555)
  • คอนเสิร์ต จุดประกาย คอนเสิร์ต ซีรีส์ # 51 ตอน "วันวานไม่มีเขา วันนี้ไม่มีเรา" (รับเชิญ) (7 เมษายน 2556)
  • คอนเสิร์ต Love Song Love Shopping (25 - 28 มิถุนายน 2558)
  • คอนเสิร์ต GREEN CONCERT # 18 THE LOST LOVE SONGS 100 เพลงรักที่หายไป (29 - 30 สิงหาคม 2558)
  • คอนเสิร์ต The Duet เพื่อชีวิต Concert (23 มกราคม 2560)

ศิลปินรับเชิญในอัลบั้ม

แก้
  • เล่นกีตาร์ไฟฟ้าในอัลบั้ม เดี่ยว ของ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ (2528)
  • เป็นนักร้องรับเชิญในเพลง กาลเวลา ในอัลบั้ม อิทธิ 3 เวลา ของ อิทธิ พลางกูร (2533)
  • เป็นนักร้องรับเชิญในเพลง ขุนเขา สายธาร ในอัลบั้ม ชานตานอย ของ น้อย ชานตานอย (2534)
  • เป็นนักร้องรับเชิญในเพลง คนไทย ในอัลบั้ม เราคนไทย ของ เล็ก คาราบาว (2534)
  • เป็นนักร้องรับเชิญในเพลง คำสัญญา ในอัลบั้ม เขาพระวิหาร ของ อินโดจีน (2534)
  • เล่นโซโล่กีตาร์ในเพลง ดุ่ย ดุ่ย ในอัลบั้ม โฟล์ด ของ ฤทธิพร อินสว่าง (2535)
  • เล่นโซโล่กีตาร์ในเพลง ลงแรงสร้างโลก ในอัลบั้ม หนุ่มไฟแรง ของ โดม มาร์ติน (2536)
  • เล่นสไลด์อคูสติกกีตาร์ในเพลง ฝันเป็นจริง ในอัลบั้ม รัตติกาล ของ หงา คาราวาน, ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี (2537)
  • เป็นนักร้องรับเชิญในเพลง ถามหน่อย ชิงเกิ้ล ถามหน่อย ของ เล็ก คาราบาว (2563)

อื่น ๆ

แก้
  • โปรดิวเซอร์ วงประจัญบาน ชุด จะเฮ็ดอีหยัง
  • โปรดิวเซอร์ วงสิบล้อ ชุด มนต์รักสิบล้อ และ เสียงเพลงสิบล้อ
  • แต่งเพลงประกอบละครเรื่อง สุดแต่ใจจะไขว่คว้า, ไผ่แดง, ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก, ดวงยิหวา, แม้เลือกเกิดได้
  • แต่งและร้องเพลงนำรายการ เปิดอก, ผู้หญิง 2000, บัลลังก์คนดี
  • ร้องเพลงโฆษณา เนสกาแฟ (อบอุ่นทุกอารมณ์), ไทยแอร์เอเชีย (ใคร ๆ ก็บินได้)
  • ฟีเจอริ่งในอัลบั้มของ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์, อิทธิ พลางกูร, วงอินโดจีน, โดม มาร์ติน, หงา คาราวาน, ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี, แอ๊ด คาราบาว, เล็ก คาราบาว, มงคล อุทก, สีเผือก คนด่านเกวียน
  • ร้องเพลง ลำน้ำใจ และ แม่น้ำ ในอัลบั้มรวมศิลปิน ชุด ลำน้ำใจ (2534) - จัดทำขึ้นเพื่อโปรโมทการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี
  • ร้องเพลง สอดคล้องและสมดุล ในอัลบั้มรวมศิลปิน ชุด ผูกพัน (2536) - จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส
  • ร้องเพลง คนชํ้าอย่างฉัน ในอัลบั้มรวมศิลปิน ชุด ประวัติศาสตร์ - 12 ขุนพล ฅ. เพื่อชีวิต (พฤษภาคม 2546)
  • ร้องเพลง เก็บตะวัน และ ทรมาน ในอัลบั้มรวมศิลปิน เก็บตะวัน อะทริบิว ทู อิทธิ พลางกูร (กันยายน 2547)
  • ร้องเพลง สายเลือด ในอัลบั้มรวมศิลปิน ชุด ประเทศไทย 2549 (เมษายน 2549)
  • ร้องเพลง ชีวิตสัมพันธ์ ในอัลบั้มรวมศิลปิน ชุด เรื่องเล่า นี่แหละทางรอด โดย สัญญลักษณ์ เทียมถนอน (2553) - จัดทำโดย บริษัท ปตท. จำกัด
  • ร้องเพลง เจ้าสาวผีเสื้อ ในอัลบั้มรวมศิลปิน ชุด หนึ่งก้าว ๖๐ เพื่อนพ้องร้องเพลงพงษ์เทพ (กันยายน 2557)
  • ฟีเจอริ่งเพลงการเดินทาง (OST. Hipster in a Square World) ร่วมกับเจสซี่ เมฆวัฒนา (ลูกชาย)​
  • ร้องเพลง แม่ ในอัลบั้มรวมศิลปิน ชุด 20 ปี โลโซ เราและนาย (ตุลาคม 2559)
  • ร้องเพลง สารคามลุงพล ในอัลบั้มรวมศิลปิน ชุด เอฟซีลุงพล (สิงหาคม 2563) - จัดทำขึ้นเพื่อกล่าวขอขอบคุณลุงพล

ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่น ๆ

แก้
  • เพลง ไฟเพื่อชีวิต ร้องโดย มงคล อุทก (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินเพื่อชีวิต โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ เทียรี่ เพลงนี้แต่งเนื้อร้องโดย พยัพ คำพันธุ์ และบรรจุอยู่ในอัลบั้ม "เสี่ยหำน้อย")
  • เพลง คิง ออฟ ก็อป แด๊นซ์ ร้องโดย ไมเคิ่น ตั๋ง (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินหลายคน โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ เทียรี่)

ผลงานการแสดงภาพยนตร์

แก้
  • สตรีหมายเลข 0 (2521) รับบท อ๊อด
  • โอ้กุ๊กไก่ (2522) รับบท ป๊อด
  • สวรรค์บ้านนา (2526) รับบท เทียรี่ รับเชิญ
  • ป.ล.ผมรักคุณ (2527) รับบท เทียรี่ รับเชิญ
  • เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ (2528) รับบท เทียรี่
  • ยังบาว (2556) รับบท เทียรี่ รับเชิญ
  • บอดี้การ์ดหน้าหัก (2562) รับบท เทียรี่

ละคร

แก้

ออนไลน์

  • พ.ศ. 2564 : ล้อมวงเล่า EP.1 ทางช่อง YouTuber:Carabao Official
  • พ.ศ. 2564 : ล้อมวงเล่า EP.2 ทางช่อง YouTuber:Carabao Official

หนังสือ

แก้
  • รวมเพลงเพื่อชีวิต ครบรอบ 2 ทศวรรษ
  • รวมเพลงเพื่อชีวิต ฉบับสมบูรณ์ Vol.1
  • THE GUITAR รวมเทปเพลงดัง ชุด 11

รางวัล

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้