กะท้อน
กะท้อน [note 1] เป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียง ก่อตั้งโดย ระพินทร์ พุฒิชาติ (ต้อย) กับเศก ศักดิ์สิทธิ์ [1] โดยมีนักร้องนำหญิงคือ วันทนีย์ เอียดเอื้อ และสมทิศ ศิลปวานนท์ ซึ่งเคยเป็นนักร้องเด็กร่วมงานกับระพินทร์ ในสองวัย เริ่มมีผลงานเพลงชุดแรกกับค่ายครีเอเทีย (ซึ่งไม่เคยรับศิลปินเพลงเพื่อชีวิตมาก่อน) เมื่อปี พ.ศ. 2529 และออกอัลบั้มตามมาอีกสองชุด ก่อนที่ระพินทร์ และศักดิ์สิทธิ์ หัวหอกสำคัญของวงจะแยกตัวแล้วก่อตั้งวง ซูซู มีผลงานโดดเด่นในปี พ.ศ. 2532 ขณะที่กะท้อนยังเก็บเกี่ยวชื่อเสียงต่อไปกับอัลบั้มอีก 4 ชุด แล้วยุบวงในที่สุด เนื่องจากไม่มี วันทนีย์ นักร้องนำฝ่ายหญิงของวงซึ่งไปออกอัลบั้มเดี่ยวแล้วจนถึงปัจจุบัน
กะท้อน | |
---|---|
ภาพสมาชิกวงกะท้อนใน พ.ศ. 2530 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
แนวเพลง | เพลงเพื่อชีวิต, เพลงลูกทุ่ง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2529 - 2536 |
ค่ายเพลง | ครีเอเทีย, แกแล็กซี่ |
สมาชิก | ระพินทร์ พุฒิชาติ (ต้อย) ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง (เศก) อู๊ด ยานนาวา (อู๊ด) ฉัตรชัย คณะใน (หน่อย) สำราญ ศรีทรัพย์ (แอ๊ด) สามารถ พิมพา (บิลลี่) ปราโมทย์ ทิพยโอสถ (ป้อม) วันทนีย์ เอียดเอื้อ (อ้อย) สมพิศ ศิลปวานนท์ (น้อย) |
อดีตสมาชิก | ระพินทร์ พุฒิชาติ ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง และ วันทนีย์ เอียดเอื้อ |
วงกะท้อน มีเพลงที่มีชื่อเสียงได้แก่เพลง "สาวรำวง", "แม่ย่านาง", "บุญแข่งเรือ", "บุหงาอันดามัน" และ "บุหงายาวี"
สมาชิกวง
แก้- ระพินทร์ พุฒิชาติ (ต้อย) - กีตาร์,พิณ,แคน, แต่งเพลง, ร้องนำ (เข้าร่วมในชุดแรกถึงชุดที่ 3) [2]
- วันทนีย์ เอียดเอื้อ (อ้อย) - ร้องนำ
- อู๊ด ยานนาวา (อู๊ด) - เพอร์คัสชัน,เปิงมาง,กลองยาว,กลองแขก(เข้าร่วมในชุดแรกถึงชุดที่ 3 ในฐานะนักดนตรีรับเชิญ)
- ฉัตรชัย คณะใน (หน่อย) - เบสกีตาร์
- สำราญ ศรีทรัพย์ (แอ๊ด) - กลองชุด
- สามารถ พิมพา (ต้อย หรือ บิลลี่) - เพอร์คัสชัน,ร้องนำ
- ปราโมทย์ ทิพยโอสถ (ป้อม) - คีย์บอร์ด
- ศุภชาติ ศรีนาคาร (เจี๊ยบ) - คีย์บอร์ด
- จาคมัย ศรีวาลัย (เก่ง) - กลอง (แบ็คอัพคอนเสิร์ทชุดแรก)
- สมพิศ ศิลปวานนท์ (น้อย) - ร้องนำ
- วันทนา เอียดเอื้อ (โอ๋) - ร้องประสานเสียง (เข้าร่วมในชุดแรก)
- มุกดา ศิลปวานนท์ (มุก) - ร้องประสานเสียง (เข้าร่วมในชุดแรก)
- ธนะไชย ตรีครุฑพันธ์ - แซ็กโซโฟน, เรียบเรียงเสียงประสาน (เข้าร่วมในชุดแรก)
- สุทธิศักดิ์ น้อยสัมฤทธิ์ (ช้าง) - กีตาร์ (เข้าร่วมตั้งแต่ชุดกะท้อนเลือดบวก)
- สรญา ส่งสุข (ปอย) - ร้องนำ (รับหน้าที่แทน วันทนีย์ ตั้งแต่ชุดกะท้อน A.T.M. เนื่องจากนักร้องคนเก่าไปออกอัลบั้มเดี่ยว)
- ยุทธนา คืนมาเมือง (แห้ง) - เบสกีตาร์ (เข้าร่วมในชุดอิเลกทริคกะท้อน)
- ณัฐวุฒิ ดีสนธิ (โต้ง) - กีตาร์
- ทัศนัย ทาหอม (แขก) - กีตาร์
- ชวลิต ศรีทรัพย์ (ป๊อก) - เพอร์คัสชัน
- วรรณเทพ หาญกล้า (สิน) - คีย์บอร์ด
- ฉัตรชัย ศรีทรัพย์ (ต้อม) - เพอร์คัสชัน
- สุชาติ มีพร้อม - ผู้จัดการวง
ผลงาน
แก้กะท้อน # 1 (2529)
- สาวรำวง
- รถอีแต๋น
- นักปั้น
- งัวน้อย
- อาฟริกา
- พ่อจ๋าแม่จ๋า
- จักรยาน
- แข่งขัน
- เอ็กซเรย์
- นักเรียนเคารพ
กะท้อน # 2 ลูกสาวชาวนา (2530)
- ลูกสาวชาวนา
- นางสาวไทยแลนด์
- อ้ายจอห์นสัน
- บุญแข่งเรือ
- ซามูไรบุก
- ดีเจกลางแจ้ง
- จ๊ะเอ๋ลิเกไทย
- ลมเล
- ผีตองเหลือง
- คนไม่ทันสมัย
กะท้อน # 3 ญี่ปุ่น ยุ่นปี่ (2531)
- ญี่ปุ่น-ยุ่นปี่
- บุหงาอันดามัน
- สาวนากุ้ง
- ไทยใหญ่
- กองทัพงูเห่า
- แม่ย่านาง
- ร็อคแอนด์ลาว
- อ้ายโจ
- หม้ายสงคราม
- บทเพลงขลุ่ยอันดามัน
สังกัด : ครีเอเทีย โปรดิวเซอร์ : ซู บันทึกเสียง : แจม สตูดิโอ กะท้อนเลือดบวก (2532)
- บทนำ (เอดส์)
- สาวสแตนเลส
- รักเยอะแยะ
- หนูมาลี (มีปัญหา)
- ปลาดิบปลาแดก
- ริมน้ำน่าน
- ครก
- บุหงายาวี
- บุญบั้งไฟ
- เหลียวมองอีสาน
- อินโดจีน
- ยากูซ่า
- บทส่งท้าย (เอดส์)
สังกัด : ครีเอเทีย โปรดิวเซอร์ : กะท้อน บันทึกเสียง : มิกซ์ สตูดิโอ กะท้อน A.T.M. (2533)
- นักร้องน้องใหม่
- มิสเตอร์ เอทีเอ็ม
- สิงไฮเวย์
- 40 ดีกรี
- ลูกผู้หญิง
- ทะเลป่วย
- นกเอี้ยงจ๋า
- กทม.
- ชาตินิยม
- รักกระจุย
- หมัดข้าวเหนียว
- ปีใหม่ไทยแลนด์
สังกัด : แกแล็กซี่ โปรดิวเซอร์ : กะท้อน บันทึกเสียง : มิกซ์ สตูดิโอ อิเลกทริคกะท้อน หมายเลข 1 (2534)
- รักแบบลาว
- ดรากอนบอล
- บินเดี่ยว
- มิสยูนิเวิร์ส
- เปิดใจออกมา
- บึ๊ดจ้ำบึ๊ด
- ลาแม่สาย
- สาวอุดร
- ล่องใต้
- โบกมือลา
สังกัด : แกแล็กซี่ โปรดิวเซอร์ : กะท้อน บันทึกเสียง : มิกซ์-แจม สตูดิโอ
บึ๊ดจ้ำบึ๊ด / มิสยูนิเวิร์ส # (2535)
- บึ๊ดจ้ำบึ๊ด
- มิสยูนิเวิร์ส
แร็บ แบบ ลาว / สาวอุดร # (2535)
- แร็บ แบบ ลาว
- สาวอุดร
กะท้อนพันธุ์ใหม่ : เซิ้งอำพัน (2537) เซิ้งอำพัน
- หาคู่
- ส.กินเกลี้ยง
- เด็กอมมือ
- สะตอรอปลาร้า
- วันเพ็ญ
- ปลอบใจ
- รอบกองไฟ
- ที่รักชาวบ้าน
เชิงอรรถ
แก้- ↑ ชื่อวง "กะท้อน" คือ ชื่อเฉพาะของวงดนตรีทางพื้นเมือง ไม่ใช่วงดนตรีชั้นสูง แต่เล่นดนตรีที่สะท้อนสังคมและโลกที่สาม : เป็นนิยามจากปกเทปชุดแรก
อ้างอิง
แก้- ↑ "สองวัย-กระท้อน-ซูซู เพื่อชีวิตรวมการเฉพาะกิจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-11. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
- ↑ รายชื่อนักดนตรีจาก หน้าปกอัลบั้ม กะท้อน "ชุดทอง"