ซูซู
ซูซู (Zu Zu) [note 1] เป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตชาวไทยที่ก่อตั้งโดย ระพินทร์ พุฒิชาติ หรือ ซู, น้าซู อดีตสมาชิกวงสองวัย และหัวหน้าวงกะท้อน ร่วมกับเพื่อนนักดนตรี เช่น เศก ศักดิ์สิทธิ์ , อู๊ด ยานนาวา, สุเทพ ปานอำพัน และ พันทิวา ภูมิประเทศ หรือ ทอม ดันดี
ซูซู | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
แนวเพลง | เพื่อชีวิต, ร็อค |
ช่วงปี | พ.ศ. 2532 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | แว่วหวาน, ดีเดย์, รถไฟดนตรี, กระบือ แอนด์ โค, วอร์เนอร์ มิวสิก, โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์(ลิขสิทธิ์เพลงเพื่อจำหน่าย) |
สมาชิก | ระพินทร์ พุฒิชาติ (กีตาร์,ร้องนำ) เศก ศักดิ์สิทธิ์ (กีตาร์,คีย์บอร์ด,ร้องนำ) สุเทพ ปานอำพัน (เบส) ต่อศักดิ์ จันทร์กลัด (คีย์บอร์ด,ร้องนำ) |
อดีตสมาชิก | อู๊ด ยานนาวา (กลอง,ร้องนำ) ทอม ดันดี (ร้องนำ) ปราโมทย์ ม่วงไหมทอง (กีตาร์) (เสียชีวิตแล้ว) ชาตรี เชิญรัมย์ (กลอง,ร้องนำ) วสันต์ เสกา (เบส) ยุวดา มาลัยนาค (ร้องนำ) นิ่ม สีฟ้า (คอรัส) สีส้ม เอี่ยมสรรพางค์ (คอรัส) |
ประวัติ
ซูซูมีสตูดิโออัลบั้มชุดแรก คือ "สู่ความหวังใหม่" ในปี พ.ศ. 2532 โดยมี ยืนยง โอภากุล รับหน้าที่โปรดิวเซอร์ ร่วมแต่งเพลง กีตาร์โซโล่ และช่วยร้องเป็นบางเพลง และยังได้ เรืองยศ พิมพ์ทอง นักเรียบเรียงเสียงประสานจากอาร์เอส เข้าร่วมวงอีกแรงหนึ่งในตำแหน่งมือคีย์บอร์ดบันทึกเสียง(ไม่ปรากฏหน้าตาบนปกเทป) โดยเปิดตัวด้วยเพลง "อับดุลเลาะห์" เป็นเพลงที่กล่าวถึงการดำรงชีวิตของผู้คนในชายแดนภาคใต้ ซึ่งเกี่ยวพันถึงโครงการฮารับปันบารู แต่เพลงที่โด่งดังมากที่สุดกลับเป็นเพลง "บ่อสร้างกางจ้อง" ที่สร้างชื่อเสียงอย่างสุดขีดให้กับวงรวมถึง ทอม ดันดี ผู้ขับร้อง ทำให้จังหวะสามช่ากลับมาคึกคักจนกลายเป็นเพลงตลาดไปในขณะนั้น
ในปี พ.ศ. 2533 ได้ออกอัลบั้มชุดที่สอง คือ "ปะการังไปไหน" โดยได้เพิ่มสมาชิกเข้ามาสร้างสีสันด้วยเสียงเครื่องเป่า คือ สมบัติ พรหมมา มือแซ็กโซโฟนจากวงลาโคนิคส์ และ ต่อศักดิ์ จันทร์กลัด ในตำแหน่งคีย์บอร์ด(ภายหลังเปลี่ยนเป็น สุริยันต์ ซื่อสัตย์ จากวงมิติ) มีเพลงดังคือ "มยุรา" ซึ่งร้องโดย ทอม ดันดี โดยเป็นเพลงที่กล่าวถึงความในใจที่มีต่อ มยุรา เศวตศิลา ดาราและพิธีกรตลอดกาล โดยมยุราได้แสดงมิวสิกวิดีโอด้วยในบทบาทพิธีกร จากนั้นซูซูมีผลงานเพลงตามมาอีกหลายชุด มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกอยู่หลายครั้ง แต่มีสมาชิกที่ยืนหยัดอยู่คนเดียว คือ น้าซู ส่วน ทอม ดันดี ได้แยกตัวเป็นศิลปินเดี่ยว มีผลงานแสดงภาพยนตร์และละครหลายเรื่อง [5]
ผลงาน
- ออกอัลบั้มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 - ปัจจุบัน
สู่ความหวังใหม่ (พฤษภาคม พ.ศ. 2532) สังกัด แว่วหวาน
- อับดุลเลาะห์
- ใครสักคน
- ยับเยิน
- ม้งลงแดง
- แม่นบ่
- อ้อล้อ
- บ่อสร้างกางจ้อง
- นกเขา
- ไส้เดือน
- สุวรรณภูมิ
ปะการังไปไหน (กรกฎาคม พ.ศ. 2533) สังกัด แว่วหวาน
- ปะการัง
- ล่อนจ้อน
- กอดขวด
- อามีนะห์
- ลำเดิน
- มยุรา
- รอนาง
- เนียงลออ
- ตอไม้
- ไอ้โทน
คนเค็ม เลคาว (มิถุนายน พ.ศ. 2534) สังกัด ดีเดย์ เอนเตอร์เทนเมนต์
- สาวมอญ แม่เหมย
- ซกซก
- ลุยคูเวต
- ร็อดจ๊วด ทิงนองนอย
- คนเค็ม เลคาว
- หรอย หรอย หรอย
- ขันหมากคนจน
- ตั้งไข่
- เจียงฮาย
- ค้างคาวค้างคืน
ราชาสามช่า (ธันวาคม พ.ศ. 2534) สังกัด ดีเดย์ เอนเตอร์เทนเมนต์
- ราชาสามช่า
- ดวงดาว
- รำรองแง็ง
- ไม่กลับบ้าน
- ฮักสาวเมืองเลย
- โป้ง
- คนรู
- อยู่คนเดียว
- Big Foot
- น้ำโขง
ดอกไม้พฤษภา (พ.ศ. 2535) สังกัด รถไฟดนตรี
- ฮีโร่โมเตอร์ไซค์
- ดอกไม้พฤษภา
- เบอร์ลิน
- นกสีตะกั่ว
- คอยเพื่อน
- ผู้แทนดีดี
- ลองดูเดะ
- จุมเลียต
- กะโหลกกะลา
- กระบอกไม้ไผ่
โทงเทง เถิดเทิง แท๊กซี่ (พ.ศ. 2536) สังกัด แทรค อินเตอร์เนชั่นแนล
- หัวโด่
- ยางขาวหลุย
- ซ้ำ ซ้ำ รอยเดิม
- หนูไม่ใช่แท็กซี่
- เปลยวน
- ไอ้หนุ่มกลองยาว
- มารีโก๊ะ
- แดนเซอร์
- ไม่เจ็บได้ไง
- งัวชน
ไข่มดแดง (พ.ศ. 2539) สังกัด กระบือแอนด์โค
- แม่ย่านาง
- ไข่มดแดง
- คลำเต้าเป่าแคน
- สาวลำซิ่ง
- คนซิ่งอีสาน
- เหล้าจอกน้อย
- ซะเวิ้บเกิ้บ
- หมอพิณเสียงเสน่ห์
- แบบไม่อัลเทอง์
- ป่าชุมชน
- เขียดขาดำ
เพลงลา (พ.ศ. 2540) สังกัด เรไร เรคคอร์ด
- ลา
- นักเพลงพเนจร
- หลงทาง
- ผู้รู้
- ตลอดกาล
- ดอกไม้พฤษภา
- คอยเพื่อน
- หลานชาย
- กังหันลมโบราณ
- ไม่มีชื่อ
สุดยอด (พ.ศ. 2541) สังกัด กระบือแอนด์โค
- อยากมีเมีย
- จ่าดับ
- น้ำตาเซียน
- สุดยอด
- หัว ด คำเดียว
- ไปสาเหล้า
- หมอลำหิวข้าว
- หน้าง่าว
- เพื่อยามยาก
- เหล้า น้ำแข็ง โซดา
รักเด็กรุ่นน้อง (พ.ศ. 2542) สังกัด กระบือแอนด์โค
- รักเด็กรุ่นน้อง
- เอวห่วงยาง
- รักเอย
- ชาวเขานี่คะ
- หมู่เฮาชาวดอย
- ไทยเมา
- รอยนักเลง
- บ่อสร้างกางจ้อง
- สาวมอญแม่เหมย
- พลบำเรอ
ปลาแดก (พ.ศ. 2543) สังกัด ซู เรคคอร์ด
- ตำบักหุ่ง
- ปลาแดก
- สาวโรงงาน
- ฮักสาวเสื้อเหี่ยน
- จกหอย
- ยาสูบ
- ก้อยเดิก
- เหล้าเถื่อน
- ซุเปอร์มาร์เก็ต
- หอมกลิ่นปลาร้า
บ้าบอล (พ.ศ. 2545) สังกัด เอ็มดี เทป
- หัวลูกบอล
- บ้าบอล
- ลูกหนังมันง่าย
- วันแดงเดือด
- สามช่าเชียร์บอล
- บอลโลก
- ฟุตบอลคือชีวิต
- เคียงบ่าเคียงไหล่
- กลับสู่เกมส์
- เตะบอลเรียน
สาวชุดดำ (พ.ศ. 2548) สังกัด วอร์เนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์
- สาวชุดดำ
- สาวขี้เมา
- น้ำตาในแก้วเหล้า
- เต้นกับฉัน
- หัวใจฟองสบู่
- รอยสักสีดำ
- สายเดี่ยวทุกคน
- โอย
- คนที่รักเธอ
- ผับเพื่อชีวิต
ไดโนซู ฟันเฟืองหัวเหล็ก
- ฟันเฟืองหัวเหล็ก
- เมืองไทยไม่มี กะ หรี่
- จดหมายจากพ่อ
- มันมาจาก UFO
- มรดกโลก
- สัญญาใจ
- ครูบลูยีนส์
- เปลี่ยนไม่ได้หรอก
- ไม่มา ไม่มายด์
- โด่ง
- ป๊ะป๋าเป็นห่วง
ศิลปิน: ทอม ดันดี
อัลบั้ม ไอ้ทิดอุ้มบุญ
วางจำหน่าย: พ.ศ. 2559
- ไอ้ทิดอุ้มบุญ
- หนุ่มทองแดง
- หลอกเด็ก
- รจนา
- คนซื่อบื้อ
- เป็นแฟนอ้ายบ่
- ยาหมอมี
- รำหน้าไก่
- ยอดน้ำค้าง
- เชื่อใจพี่
อัลบั้มแสดงสด
- แสดงสด ทอม ดันดี และ น้าซู
- แสดงสด ที่ นากาอิ
อัลบั้มรวมเพลง
U-TURN สามช่า Song Hits Super Hit
อัลบั้มพิเศษ
- เพื่อนพันธมิตร
เชิงอรรถ
- ↑ ชื่อวงมาจากชื่อเล่นของหัวหน้าวง (ซู) เอง แต่เผอิญไปตรงกับคำท้องถิ่นแถบหนึ่งของอินโดนีเซีย หรือเป็นคำในภาษายาวี แปลว่าอวัยวะส่วนหนึ่งซึ่งอยู่ระดับอกของหญิงสาว
อ้างอิง
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-06.
- ↑ http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=4087.msg29397
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-08. สืบค้นเมื่อ 2008-08-06.
- ↑ http://www.carabao.net/Webboard/messageDetail.asp?MessageId=276436[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.nangdee.com/name/?person_id=797
แหล่งข้อมูลอื่น