ศุ บุญเลี้ยง
ศุ บุญเลี้ยง มีชื่อเล่นคือ จุ้ย ศิลปิน นักเขียน เจ้าของธุรกิจร้านอิ่มอุ่น ชาวเกาะสมุย เป็นที่รู้จักจากการเป็นสมาชิกวงเฉลียง กลุ่มตัวโน้ตอารมณ์ดีที่สร้างตำนานของประเทศไทย หลังจากแยกตัวออกจากวงเฉลียงยังคงมีผลงานเพลงเดี่ยวออกมาหลายผลงาน เช่น ภูเขา-ทะเล อิ่มอุ่น และงานเขียนในชื่อตัวเองและนามปากกา สมจุ้ย เจตนาน่าสนุก
ศุ บุญเลี้ยง | |
---|---|
ในงาน คอนเสิร์ตเพลงแบบประภาส ที่ศูนย์วัฒนธรรม 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
เกิด | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2505 |
ที่เกิด | เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี |
อาชีพ | นักคิด นักเขียน นักร้อง กวี นักแต่งเพลง |
เครื่องดนตรี | กีตาร์ |
ช่วงปี | พ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | คีตา เอนเตอร์เทนเมนท์, รถไฟดนตรี, กะทิกะลา คอมปานี |
ส่วนเกี่ยวข้อง | วงเฉลียง พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ฤทธิพร อินสว่าง |
เว็บไซต์ | http://www.katikala.com/ |
ประวัติแก้ไข
ศุ บุญเลี้ยง เกิดที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ศึกษาเล่าเรียนที่บ้านเกิด ก่อนจะไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดนครปฐม และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร แล้วสอบเข้าเรียนในคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เลิกเรียนก่อนจบการศึกษาปีสุดท้ายเพราะไม่สนใจรายวิชาที่เหลืออยู่และต้องการออกไปทำงาน[1] เขาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการทำให้วงเฉลียงกลับมารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่งโดยการเข้าไปขอบทเพลง เที่ยวละไม จาก ประภาส ชลศรานนท์ เป็นต้นกำเนิดของการรวมตัวกันของเฉลียงในยุคที่สอง ในชุด อื่นๆ อีกมากมาย
โดยที่ชื่อ "ศุ บุญเลี้ยง" นั้นมาจากการที่นั่งรถเมล์ไปที่ห้าแยกลาดพร้าว แล้วพบป้ายแผ่นหนึ่งที่ติดอยู่ที่ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว มีคำว่า "ศุ" เห็นว่าเพราะดี เลยใช้เป็นชื่อตัวตราบจนปัจจุบัน (ป้ายแผ่นนั้น เขียนเต็ม ๆ ว่า "ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ปิด 4 ทุ่ม"[2])
ผลงานแก้ไข
เพลงแก้ไข
- "หอมกลิ่นความฝัน" ร่วมกับ วงไทละเมอ (2533)
- "ศิลปินนอนเปล" (2534)
- "เพราะฉะนั้นจึงรักกันเช่นฉะนี้" (2534)
- "รักหวานหยด" (2534)
- "จากเพื่อนถึงเพื่อน" (2536)
- "อัลบั้มพิเศษ "รวมเพลงไม่ฮิต" (2536)
- "ผูกพัน" (2536)
- "ชุดรับแขก" ร่วมกับ คณะศิษย์สะดือ (2537)
- "แก้คิดถึง...ฉลองสิบกว่าปีเฉลียง" (2537)
- "เพื่อกองทุนผู้พิทักษ์ป่า "ดิน น้ำ ลม ไฟ" ร่วมกับ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์, ทอดด์ ทองดี, และ เป้ สีน้ำ (2538)
- "นักเดินทาง" (2538)
- "ชุดลำลอง" (2539)
- "ผักบุ้งลอยฟ้า" (2539)
- "marching melody 1996" (2539)
- "ตนเพลง รวมยอดเพลงเพื่อชีวิต" 3-4 (2539)
- "สองปีกฝัน" ร่วมกับ แก้ว ลายทอง (2541)
- "3 ตำนานเพื่อชีวิต" (เป็นแขกรับเชิญ) (2541)
- "ความจำสั้น ความฝันยาว" (เพลงประกอบคอนเสิร์ต "ไม่ทราบสาเหตุ") (2541)
- "อัลบั้ม บันทึกการแสดงสด "สดไม่ทราบสาเหตุ" (2541)
- "ตนเพลง รวมยอดเพลงเพื่อชีวิต" 5 (2541)
- "ฅ.ฅนดนตรี" 1-2 (2541)
- "กำลังใจ" 1-2 (2541)
- "ชิงช้าสวรรค์" (2542)
- "อัลบั้มพิเศษ "แรงใจ ไฟฝัน" (2542)
- "ด้วยพลังและกำลังใจ เพื่อโลกใบเดียวกัน FESPIC Games Bangkok 99" (2542)
- "ดื้อ" (2543)
- "เรื่องราวบนแผ่นไม้" (2543)
- "อัลบั้มพิเศษ "รวมรสสำราญ" (2544)
- "อัลบั้มพิเศษ "สหาย" ร่วมกับ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ และ ฤทธิพร อินสว่าง (2545)
- "คอนเสิร์ต "สหาย" ร่วมกับ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ และ ฤทธิพร อินสว่าง (2546)
- "ชุดหัวใจไกวเปล" (2546)
- "รวมเพลงจากอัลบั้มพิเศษ "รวมใจไฟฝัน" (2547)
- "ซูเปอร์บิ๊กฮิต" (2547)
- "ชุดคิดถึงอย่างแรง" (2547)
- "เหตุเกิด...ที่เฉลียง" (2550)
- "แด่คนช่างฝัน" (2551)
- "เพลงแบบประภาส 1" (2551)
- "หนีตามเฉลียง ครั้งที่ 1" (2552)
- "First Live Concert" (2553)
- "เพลงรักยุคคีตา โดย นกเฉลียง" (2553)
- "อัลบั้มพิเศษ "ชายหาดติดดาว"
- "โปรดฟังอีกครั้ง"
- "ของฝากจากทะเล"
- "เพลงรักไม่รู้โรย"
- "เสมอคำยืนยัน" (รวบรวม เรียบเรียง บันทึกเสียงใหม่)
- "ชุดเด็กดั่งดวงดาว"
- "เต็มใจให้…ใต้แสงจันทร์" (2556)
- "เติมใจให้กัน เติมฝันให้ทะเล" (2557)
- "หนึ่งก้าว ๖๐ เพื่อนพ้องร้องเพลงพงษ์เทพ" (2557)
- "มีมิตรสหายอยู่รายทาง" (2557)
- "เพลงแบบประภาส 2" (2558)
- "อัลบั้มพิเศษ "ผูกใจ" (ร่วมกับ ฉัตรชัย ดุริยประณีต , เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ , พัดชา AF2 , นัท AF4)
- "ปรากฏการณ์เฉลียง" (2559)
- "Song For Heroes" (2561)
- "พูดพร่ำฮัมเพลง" (2562)
- "เพลงแบบประภาส 3" (2562)
- "นั่งใกล้ (ได้แค่นี้) เจี๊ยบกะจุ้ย คุย.เล่น.ร้อง" (2563)
- "เอฟซีลุงพล" (2563)
บทเพลงแก้ไข
- เพลง เที่ยวละไม (ผลงานสมัยวงเฉลียง)
- เพลง แค่มี (ผลงานสมัยวงเฉลียง)
- เพลง อยู่บนดิน ของ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
- เพลง เต็มใจให้
- เพลง "เพราะฉะนั้นจึงรักกันเช่นฉะนี้"
- เพลง กว่า ประกอบรายการ ทุ่งแสงตะวัน [3]
- เพลง อิ่มอุ่น
- เพลง ห่วงใย ของวง ตาวัน (แต่งเนื้อเพลง)
- เพลง "ลุ้น" ในอัลบั้ม "ขอแค่คิดถึง" (เพลงประกอบภาพยนตร์ วอนทั้งโลกโขกหัวเธอ)
- เพลง เติมใจให้กัน ประกอบภาพยนตร์ พริกขี้หนูกับหมูแฮม (แต่งเนื้อเพลง)
- เพลง "เติมใจให้กัน" และ "ปลายฟ้า" ในอัลบั้ม "30 ปี เวที 3"
- เพลง "ขวานไทยใจหนึ่งเดียว"
- เพลง "ส.ค.ศ.2548" ในอัลบั้ม "ซับน้ำตาอันดามัน"
- เพลง "เพลงของพ่อ" ในอัลบั้ม "ประเทศไทย 2549"
- เพลง "น่าน...น่ะสิ" งานนิทรรศการ "น่านนิรันดร์ 100 ภาพฝันบันทึกแผ่นดิน"
- เพลง "เสน่ห์สงขลา" เนื่องในโอกาสเทศบาลนครสงขลาร่วมกับจังหวัดสงขลา และ ภาคเอกชน จับมือร่วมใจจัด งานถนนคนเดิน "เมืองสงขลาแต่แรก" เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ระหว่างวันที่ 6-11 เมษายน 2553
บทภาพยนตร์แก้ไข
- บุญชู 2 น้องใหม่ (2533)
- บุญชู 5 เนื้อหอม (2533)
- บุญชู 6 โลกนี้ดีออก สุดสวย น่ารักน่าอยู่ ถ้าหงุ่ย (2534)
- บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใครอย่าแตะ (2536)
ผลงานแสดงภาพยนตร์แก้ไข
- ลูกทุ่งซิกเนเจอร์ (2559)
หนังสือแก้ไข
สารคดีท่องเที่ยว
- หนุ่มนักโบกกับสาวขี้บ่น, สมจุ้ย เจตนาน่าสนุก วายร้ายสีแดง ตุ้มพุทรา, พิมพ์ครั้งแรก สำนักศิษย์สะดือ
- ลิ้นชักนักเดินทาง, ศุ บุญเลี้ยง, สำนักพิมพ์รูปจันทร์, มีนาคม 2539
รวมเรื่องสั้น
- ฝันเอียงๆ, ศุ บุญเลี้ยง, สำนักพิมพ์นิสัยดี, 2532
- กบถแกมกวน, สมจุ้ย เจตนาน่าสนุก, สำนักพิมพ์ไปยาลน้อย, กรกฎาคม 2541
- นักอยากเขียน, ศุ บุญเลี้ยง, สำนักพิมพ์วงกลม, เมษายน 2549, ISBN 9749412028
- "หาดขาวดาวสวยและกล้วยตาก",แต๋วจ๋า บ้าเล๊กๆ สมจุ้ย เจตนาน่าสนุก
- "ไม่มีปี่ มีแต่ขลุ่ย", สมจุ้ย เจตนาน่าสนุก,สำนักศิษย์สะดือ, 2531
- "ไม่ใส่ร้ายป้ายสี แต่มีขลุ่ย", สมจุ้ย เจตนาน่าสนุก,สำนักศิษย์สะดือ, 2533
- "ด้วยรักแกมรำคาญ", สมจุ้ย เจตนาน่าสนุก,สำนักพิมพ์ไปยาลน้อย,2539
ชีวิตส่วนตัวแก้ไข
จุ้ย สมรสกับ พวงมณี บุญยธรรม หรือ จ๋า
รางวัลแก้ไข
- สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2533 ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม ร่วมกับ วงไทละเมอ จากอัลบั้ม หอมกลิ่น ความฝัน
- สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2534 เพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม จากเพลง วิงวอน
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ทำเนียบศิลปิน ศุ บุญเลี้ยง
- ↑ "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 02 06 58". ฟ้าวันใหม่. 2 June 2015. สืบค้นเมื่อ 3 June 2015.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2007-06-03. สืบค้นเมื่อ 2007-06-18.
- รู้ไปโม้ด จาก มติชน
- เฉลียงเรื่องราวบนแผ่นไม้, สำนักพิมพ์ แม่ขมองอิ่ม, ธันวาคม 2543