เซ็นทรัล ลาดพร้าว

ศูนย์การค้าในกรุงเทพมหานคร

เซ็นทรัล ลาดพร้าว[5] (อังกฤษ: Central Ladprao)[6] เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งแรกของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) บนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณหัวมุมด้านทิศเหนือของห้าแยกลาดพร้าว จุดตัดระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต และทางยกระดับอุตราภิมุข ในพื้นที่แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โครงการประกอบด้วยศูนย์การค้า โรงแรม สำนักงาน และศูนย์ประชุม เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2524 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2526

เซ็นทรัล ลาดพร้าว
ภาพของเซ็นทรัล ลาดพร้าว เมื่อ พ.ศ. 2566
แผนที่
ที่ตั้ง1691, 1693 และ 1695 ถนนพหลโยธิน แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร[1][2][3]
พิกัด13°49′01″N 100°33′36″E / 13.816944°N 100.56°E / 13.816944; 100.56
เปิดให้บริการ25 ธันวาคม พ.ศ. 2524 (43 ปี)[4]
ผู้บริหารงานบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
พื้นที่ชั้นขายปลีก43,446 ตารางเมตร (ไม่รวมห้างสรรพสินค้าและโรงแรม)
จำนวนชั้นศูนย์การค้าฝั่งบีซีซีฮอลล์ 6 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน)
อาคารศูนย์การค้ากลาง 4 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน)
ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล 7 ชั้น (รวมชั้นใต้ดินและโรงภาพยนตร์)
ขนส่งมวลชน สถานีพหลโยธิน
สถานีห้าแยกลาดพร้าว
เว็บไซต์www.centralpattana.co.th

โดยสาขานี้ยังมีเครือภัตตาคารที่มีชื่อเสียงที่เข้ามาเปิด เช่น ฟูจิ ในปี พ.ศ. 2525[7], เอ แอนด์ ดับบลิว ในปี พ.ศ. 2526[8], เคเอฟซี ในปี พ.ศ. 2528[9], เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป ในปี พ.ศ. 2529[10], สเวนเซ่นส์ ในปี พ.ศ. 2529[11], บาร์บีคิวพลาซ่า ในปี พ.ศ. 2530[12], แดรี่ควีน ในปี พ.ศ. 2539[13], อานตี้ แอนส์ ในปี พ.ศ. 2541[14], โยชิโนยะ ในปี พ.ศ. 2554[15]

ประวัติ

แก้

กลุ่มเซ็นทรัล โดยการนำของสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ชนะการประมูลที่ดินรกร้างรูปสามเหลี่ยม บริเวณแยกลาดพร้าว ซึ่งเป็นจุดตัดถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต (ภายหลังมีทางยกระดับอุตราภิมุขซ้อนทับด้านบนด้วย) และถนนหอวัง ในพื้นที่แขวงลาดยาว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร (ต่อมาพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในแขวงจตุจักร เขตจตุจักร) มาจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2521[16][17] และในอีกสองปีต่อมาก็ดำเนินการจัดตั้ง บริษัท เซ็นทรัล พลาซา จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)) เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2523 เพื่อเป็นบริษัทในการบริหารจัดการศูนย์การค้าแบบครบวงจรบนพื้นที่ดังกล่าว[18] ไม่กี่เดือนต่อมา เซ็นทรัล ลาดพร้าว ก็เปิดบริการ โดยเปิดในส่วนของห้างสรรพสินค้าก่อนเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2524[4], ส่วนของศูนย์การค้าเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2525[4], โรงแรมไฮแอทเซ็นทรัลพลาซ่าและบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพ) เปิดบริการเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2526[19] และมีพิธีเปิดโครงการเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2526 ภายใต้แนวคิดในการจำหน่ายสินค้าแห่งเดียวเบ็ดเสร็จ (One-Stop-Shopping)[4]

เซ็นทรัล ลาดพร้าว เป็นที่ตั้งของร้านค้าสาขาแรก ทั้งในกลุ่มเซ็นทรัล ได้แก่ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต (ต่อมาเปลี่ยนเป็น ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์), เพาเวอร์บาย, ซูเปอร์สปอตส์, บีทูเอส (ต่อมาได้ปรับรูปแบบเป็น บีทูเอส ธิงค์สเปซ) และนอกกลุ่มเซ็นทรัล อาทิ เอ็มเคสุกี้[20] เคเอฟซี[21] สเวนเซ่นส์[22] เอ แอนด์ ดับบลิว[23] บาร์บีคิวพลาซ่า[24] เอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนม่า[25] เป็นต้น[26] นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา และ บมจ.โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา ก่อนย้ายไปยังเซ็นทรัลเวิลด์ในปัจจุบัน

ต่อมา รฟท.จัดการประมูลที่ดินสามเหลี่ยมบริเวณแยกลาดพร้าว พร้อมทั้งอาคารศูนย์การค้าบนที่ดินดังกล่าว ขึ้นในปี พ.ศ. 2551 เนื่องจากใกล้ถึงเวลาสิ้นสุดสัญญาเช่าที่ดินกับ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนาแล้ว ซึ่งผลการประมูลปรากฏว่า รฟท.ประกาศต่อสัญญากับ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ต่อไปอีก 20 ปี[16] โดยใช้งบลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท หลังจากนั้นทางบริษัทได้ดำเนินโครงการปรับปรุงกลุ่มอาคารครั้งใหญ่ ด้วยมูลค่าทั้งหมด 3,000 ล้านบาท และปิดให้บริการเป็นระยะเวลา 6 เดือน ระหว่างเดือนเมษายน-ตุลาคม พ.ศ. 2553 แต่เนื่องจากศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ประกาศปิดตัวเอง โดยให้เหตุผลว่า ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เนื่องจากมีการชุมนุมทางการเมืองบริเวณแยกราชประสงค์ และต่อมาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เกิดเพลิงไหม้ จนตัวอาคารพังถล่มลงมา หลังจากที่กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมทางการเมืองดังกล่าว[27]

ดังนั้น เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อร้านค้าและลูกค้า ตลอดจนรายได้และกระแสเงินสดของ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนาเอง จึงเลื่อนกำหนดการปิดปรับปรุงศูนย์การค้าที่ลาดพร้าว ออกไปเป็นระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์-28 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ทั้งนี้ ในส่วนของอาคารสำนักงาน บริษัทฯ เริ่มดำเนินการไปก่อน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 จนแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน และอาคารส่วนโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ใช้เวลาประมาณ 6 เดือนด้วยกัน[4][27] แต่หลังจากเปิดให้บริการใหม่ได้ไม่นาน อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ขยายขอบเขตมาถึงบริเวณแยกลาดพร้าวในราวเดือนพฤศจิกายน ศูนย์การค้าจึงต้องเลื่อนเวลาปิดให้บริการเป็น 21:00 น.ซึ่งเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 จากนั้นต้องปิดให้บริการ ระหว่างวันที่ 4-17 พฤศจิกายน หลังจากนั้น คือตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน กลับมาเปิดให้บริการโดยปรับเวลาปิดให้บริการเป็น 21:00 น.[28][29]

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 มีกระแสข่าวว่าเซ็นทรัลพัฒนาจะไม่ต่อสัญญาเช่าโครงการกับ รฟท. ซึ่งจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2571 ต่อมาเพจเฟซบุ๊กของศูนย์การค้าได้โพสต์ขอความร่วมมือไม่แชร์ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดในวงกว้าง[30] ทั้งนี้ ในช่วงเวลาเดียวกัน ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ได้มีการฉลองปรับปรุงโฉมใหม่เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าทุกช่วงวัยด้วย[31] หลังมีข้อพิพาทเรื่องสัญญาเช่า เซ็นทรัลพัฒนาจีงพัฒนาที่ดิน 48 ไร่ ตรงข้ามแดนเนรมิตเก่าที่เป็นบางกอกโดม พลาซ่า ในอดีต พัฒนาเป็นเดอะ เซ็นทรัล[32][33] โดยยังคงเก็บเซ็นทรัล ลาดพร้าวไว้[34] อีกสองปีต่อมา บจก. เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนาได้แจ้งความประสงค์เพื่อต่อสัญญาเช่า โสภณ พรโชคชัย วิเคราะห์ว่าหากกลุ่มเซ็นทรัลได้สิทธิ์ในการต่อสัญญาเช่าที่ดินนี้ อาจมีการรื้ออาคารทั้งหมดเพื่อก่อสร้างใหม่ในลักษณะเดียวกับศูนย์การค้าเซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์[35]

การจัดสรรพื้นที่

แก้

เซ็นทรัล ลาดพร้าว เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมแบบประสม พื้นที่รวมทั้งหมด 310,000 ตารางเมตร[5] ประกอบด้วย อาคารห้างสรรพสินค้าและโรงภาพยนตร์ ความสูง 7 ชั้น, อาคารค้าปลีกหลัก ความสูง 4 ชั้น, อาคารค้าปลีกส่วนตะวันออกรวมศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า ความสูง 6 ชั้น, อาคารสำนักงาน สถาบันการศึกษา ศูนย์การเรียนรู้ และสถานเสริมความงาม ความสูง 14 ชั้น, อาคารโรงแรมและศูนย์ประชุม ความสูง 25 ชั้น และอาคารจอดรถ ความสูง 6 ชั้น โดยประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้

  • เซ็นทรัล เดอะสโตร์ แอท ลาดพร้าว
    • บีทูเอส ธิงค์สเปซ[36]
    • เพาเวอร์บาย
    • ซูเปอร์สปอร์ต
    • ลิฟวิ่ง เฮาส์ โค-ลิฟวิ่งแอนด์อีตติ้ง สเปซ[37]
  • ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์[38] (เดิมเซ็นทรัล พลาซา ซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งแรกในศูนย์การค้าเซ็นทรัล[4], ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และท็อปส์ มาร์เก็ต ตามลำดับ)
    • ท็อปส์ อีทเทอรี
    • ศูนย์อาหาร ท็อปส์ เฟลเวอร์
  • โรงภาพยนตร์เอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนม่า จำนวน 10 โรง ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์ ZIGMA Cinestadium (มีที่นั่งเฟิร์สคลาส) 1 โรง, The Bed Cinema 1 โรง และ Multi Seats 2 โรง
    • เอ็กซ์-เท็น เกม เซ็นเตอร์
  • อาคารสำนักงานเซ็นทรัล ลาดพร้าว
  • โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพ
    (ชื่อเดิม โรงแรมไฮแอทเซ็นทรัลพลาซ่า (พ.ศ. 2525-2530)[19][39], โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา (พ.ศ. 2531-2543), โรงแรมโซฟิเทลเซ็นทรัลพลาซา (พ.ศ. 2544-2552)[40] และโรงแรมโซฟิเทลเซ็นทาราแกรนด์ (พ.ศ. 2552-2555)[40] ตามลำดับ)
  • บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว ซึ่งประกอบด้วยห้องบีซีซีฮอลล์ สกายฮอลล์ วิภาวดีบอลรูม และห้องประชุมย่อยอีก 19 ห้อง โดยสกายฮอลล์เคยใช้เป็นจุดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร หอการค้าไทย โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า[6][41]

การคมนาคม

แก้

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "เซ็นทรัล ลาดพร้าว | แผนที่ห้าง & ข้อมูลร้านค้า | Central Department Store". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-08. สืบค้นเมื่อ 2022-01-12.
  2. "ติดต่อสาขา | Central Pattana (CPN)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-12. สืบค้นเมื่อ 2022-01-12.
  3. "ข้อมูลพื้นฐานการลงทุน บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-07. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 ""เซ็นทรัลลาดพร้าว" เราจะมาที่นี้อีกครั้งหนึ่ง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-27. สืบค้นเมื่อ 2022-01-10.
  5. 5.0 5.1 "รายงานประจำปี 2563 บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-08. สืบค้นเมื่อ 2022-01-08.
  6. 6.0 6.1 "Sky Hall in Central Ladprao converted for vaccinations". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-01-12.
  7. "3 ทศวรรษ "ฟูจิ กรุ๊ป" เชนร้านอาหารญี่ปุ่นขวัญใจนักชิมชาวไทย". www.thairath.co.th. 2012-10-21.
  8. https://adaddictth.com/knowledge/Brand-Fun-Fact-AW-Restaurant 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ A&W ฟาสต์ฟู้ดต้นกำเนิดรูทเบียร์ ที่มอบความอร่อยให้ชาวไทยมากว่า 39 ปี
  9. "สูตรสำเร็จ KFC 1,000 สาขาในไทย ไม่ได้บริหารด้วย 'บริษัทเดียว'". workpointTODAY.
  10. "Mkrestaurant.com | เกี่ยวกับ MK | ประวัติ MK Restaurant". www.mkrestaurant.com.
  11. "34 ปีในไทย กับ 34 ความลับที่ซ่อนอยู่ในร้าน Swensen's ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน". Marketeer Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-06-26.
  12. barbqplaza (2015-02-12). "เกี่ยวกับเรา - Bar B Q Plaza" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  13. "กว่าจะเป็น Dairy Queen ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ที่ครองใจคนทั้งโลก". www.marketthink.co. 2021-05-22.
  14. The 1. "Auntie Anne's ขนมเพรทเซลที่มาจากท่าสวดมนต์ | The 1 Today". The 1 (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)[ลิงก์เสีย]
  15. "CRG ซื้อแฟรนไชส์ข้าวหน้าญี่ปุ่นร้านดัง'"โยชิโนยะ"สาขาแรกเซ็นทรัลลาดพร้าว". ryt9.com.
  16. 16.0 16.1 "โครงการสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-11. สืบค้นเมื่อ 2022-01-11.
  17. "Central wins bid for new shopping centre". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-01-10.
  18. "รายงานประจำปี พ.ศ. 2557 ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซีพีเอ็น รีเทล โกรท" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-10. สืบค้นเมื่อ 2022-01-10.
  19. 19.0 19.1 "รายงานประจำปี 2557 บมจ.โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-08. สืบค้นเมื่อ 2022-01-08.
  20. "รายงานประจำปี 2563" (PDF). สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2021-05-14.
  21. "KFC ในไทย เป็นของใครบ้าง?". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-24. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  22. "สเวนเซ่นส์ ฉลองความเป็นหนี่งอลังการ กับ งาน 20 ปี...ความสุขที่ไม่มีวันละลาย". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-01-09.
  23. "10 เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับ A&W". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-09.
  24. "About us | บาร์บิคิว พลาซ่า ตัวจริง อร่อยจริง เรื่องปิ้งย่าง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-09.
  25. "เกี่ยวกับ SF | SF Cinema". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-09.
  26. "ห้างเซ็นทรัลลลาดพร้าวในอดีตเป็นยังไงบ้าง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-07. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  27. 27.0 27.1 "การเลื่อนปิดปรับปรุงศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-12. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  28. "บ๊ายบายน้องน้ำ 'เซ็นทรัล เมเจอร์ ยูเนี่ยนมอลล์' เปิดแล้ว". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-12. สืบค้นเมื่อ 2022-01-12.
  29. "เซ็นทรัล ลาดพร้าว เปิดให้บริการ 18 พ.ย.หลังน้ำลด". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-12. สืบค้นเมื่อ 2022-01-12.
  30. "เซ็นทรัล ลาดพร้าว โต้เฟกนิวส์ปิดกิจการปี 2571 ยันลงทุนที่เดิมตอกย้ำแลนด์มาร์กอันดับ 1". mgronline.com. 2022-12-01.
  31. "ส่องนิวลุค "ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว" ยืนหนึ่งแลนด์มาร์คของคนทุกเจน". bangkokbiznews. 2022-11-27.
  32. "เซ็นทรัลพัฒนา ประกาศ "เซ็นทรัล พหลโยธิน" เป็น 1 ใน 5 เมกะโปรเจกต์แห่งปี เทียบชั้น "เซ็นทรัล เวิลด์" ด้วยงบลงทุนกว่า 2 หมื่นล้าน - Brand Buffet" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-03-09.
  33. Muangkhai, Choochart (2023-04-21). ""เซ็นทรัลพัฒนาฯ"ลงขันรัชดา แอสเสท ลุยสร้างShopping Districtแห่งใหม่ติดถนนพหลโยธิน - Prop2Morrow บ้าน คอนโด ข่าวอสังหาฯ". prop2morrow.com.
  34. "CPN ทุ่ม 2 หมื่นล้าน ปั้นมิกซ์ยูส 'พหลโยธิน' อาณาจักรแห่งใหม่ใหญ่เท่า 'เซ็นทรัลเวิลด์' | MATICHON ONLINE". LINE TODAY.
  35. เซ็นทรัล ได้สิทธิ์เจรจาเช่าที่ดิน 'ลาดพร้าว' จับตาต้องจ่ายกี่หมื่นล้าน ถึงได้ไปต่อ
  36. ""บีทูเอส" ปรับโฉมเสริมไลฟ์สไตล์ มุ่งหน้าสู่การสร้างคอมมูนิตี้ เปิด "B2S Think Space ลาดพร้าว" แลนด์มาร์กแห่งใหม่". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-07. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  37. "เซ็นทรัลลาดพร้าวเปิดตัว 'Living House' ยกสตรีทฟู้ด 20 เจ้าดังรอบกรุงมารวมไว้ในที่เดียว". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-30. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  38. "เปิดประสบการณ์แห่งใหม่กับ "เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ ลาดพร้าว" ด้วยคอนเซปต์ unique shop-in-shop รวมอาณาจักรอาหาร-วัตถุดิบ-ความอิ่มอร่อย ที่เป็นมากกว่าฟู้ดสโตร์". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-30. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  39. ทรัพย์ไพบูลย์, ธนวัฒน์ (2013). กลยุทธ์สู่ความร่ำรวยตระกูล "มหาเศรษฐีอาเซียน". เนชั่นบุ๊คส์. ISBN 6-1675-3641-4.
  40. 40.0 40.1 "Accor and Centara to end partnership in Thailand". Business Traveller (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-14. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  41. ""เซ็นทรัลลาดพร้าว" นำร่องเปิดหน่วยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด รับได้ 2 พันคนต่อวัน เล็งอีก 8 สาขาทั่วกรุง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-09.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้