สวีทนุช หรือชื่อจริงว่า วรนุช กนกากร (บริราช)[1] เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485[2] เป็นศิลปินนักร้องชาวไทย มีผลงานอัลบั้มชุดแรกในปี พ.ศ. 2551 ในแนวเพลงลูกกรุง เธอเคยเป็นนักร้องเพลงไทยเดิมคนหนึ่งของ รายการเพลินเพลงกับนฤพนธ์ ทางช่อง 4 (บางขุนพรหม) และเคยเป็นพรีเซนเตอร์ โฆษณาสินค้าของบริษัทอิตาเลียนไทยในสมัยนั้น แต่เธอก็ได้แต่งงานเสียก่อนจึงมิได้เข้าสู่วงการเพลงอย่างเต็มตัว แต่ก็ได้ตั้งวงโฟล์คซองกับเพื่อน ๆ ในยุคทศวรรษที่ 1970 กว่า 10 ปี และเธอยังเป็นนักร้องของวงธนาคารออมสิน[3]

สวีทนุช
ชื่อเกิดวรนุช กนกากร
เกิด22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 (82 ปี)
แนวเพลงลูกกรุง
อาชีพนักร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงใบชา / GMM Grammy / แพลทตินั่ม (จัดจำหน่าย)

ประวัติ

แก้

อัลบั้มชุดแรกของเธอที่ชื่อ ต้นฉบับเสียงหวาน ได้ร่วมงานกับ โก้ – เศกพล อุ่นสำราญที่มาช่วยเป่าคลาริเนต, คุณสุวรรณ มโนษร – มือไวโอลินฝีมือดีระดับต้น ๆ ของประเทศ และนักดนตรีฝีมืออีกมากมาย อัลบั้มชุดนี้เปิดตัวด้วยเพลง “รักยุค Hi-Tech” ประพันธ์โดยบรรณ สุวรรณโณชิน เพลงนี้ก็ขึ้นอันดับ 1 ของคลื่น Seed 97.5

สำหรับคำวิจารณ์ด้านเสียงร้องและผลงานชุดแรกนี้ ต่อพงษ์จากผู้จัดการออนไลน์วิจารณ์ไว้ว่า "น้ำเสียงของคุณนุชนั้นเป็นแบบนักร้องรุ่นลูกกรุงเฟื่องและอ่อนช้อยและมีลีลาเอื้อนกันแบบลายคราม เมื่อมาร้องเนื้อเพลงตลก ๆ อารมณ์ดี และมีเนื้อหาไปในทางสว่างมันก็เข้ากั๊นเข้ากันกับภาคดนตรีสวรรค์ที่เบาสบาย แต่หนักแน่นจากยอดฝีมือทั้งสิ้น"[1] ส่วนศักดิ์ศิริ มีสมสืบ จากคมชัดลึกวิจารณ์ไว้ว่า "ทั้งน้ำเสียงและลีลาอยู่ในมาตรฐาน เพลงไทยสากล ยุคนั้น โดยไม่มีตกหล่น แก้วเสียงของเธอให้อารมณ์เคียง ๆ กับ พิทยา บุญญรัตนพันธ์"[4]

ต่อมาสวีทนุชออกผลงานอัลบั้มชุด สนุกนึก ที่นำเพลงยอดนิยมในหมู่นักฟังเพลง 10 เพลงมาทำใหม่อย่าง เพลงคนมันรัก (ไอซ์ ศรัณยู), คู่กัด (เบิร์ด ธงไชย) และ ทั้งทั้งที่รู้ (อัสนี-วสันต์) เป็นต้น โดยนำมาตีความและเรียบเรียงใหม่ในรูปแบบเพลงลูกกรุง โดยมีโปรดิวเซอร์ บรรณ สุวรรณโณชิน มาทำงานให้อัลบั้มนี้[5] บรรเลง บรรลัย จากนิตยสารแฮมเบอร์เกอร์วิจารณ์ผลงานอัลบั้มนี้ไว้ว่า "เธอตีความเพลงไปตามความบริสุทธิ์และร้องเหมือนมันเป็นเพลงใหม่ของตัวเอง ที่เขียนขึ้นเพื่อตัวเธอเองเป็นคนแรก... ภาคดนตรีเป็นไปตามมาตรฐานของบรรณที่ค่อนข้างละเมียดและประณีตสูงกว่างานเพลงป็อปดาษดื่นทั่วไป"[6]

ผลงานเพลง

แก้

สตูดิโออัลบั้ม

แก้
  • ต้นฉบับเสียงหวาน (2551)
  • สนุกนึก (2552)
  • ที่สุดหวาน (2553)

ผลงานรวมศิลปิน

แก้
  • ใบชา song ร้องเพลง ชาตรี (2554)

สวีทนุช ร่วมร้องเพลง รักครั้งแรก โดยเรียบเรียงเป็นลูกกรุงจังหวะ Tango และโซโล่ด้วยไวโอลินเร้าใจโดย สุวรรณ มโนษร แห่ง Leelawadee quartet[7] (เป็นการนำ 12 บทเพลงของวงชาตรีมาร่วมร้องและเรียบเรียบดนตรีใหม่ในหลากหลายสไตล์ดนตรี)

หมายเหตุ : อัลบั้มนี้เป็นเป็นการนำ 12 บทเพลงของวงชาตรีมาร่วมร้องและเรียบเรียบดนตรีใหม่ในหลากหลายสไตล์ดนตรี

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "รักยุคไฮเทค โดย สวีทนุช/ต่อพงษ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  2. ไฮไฟฟ์ของสวีทนุช sweetnuj.hi5.com
  3. ต้นฉบับเสียงหวาน (The Original Sweet Voice) โดย Sweetนุช เก็บถาวร 2008-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน you2play.com
  4. ศักดิ์สิริ มีสมสืบ, มองผ่านเลสน์คม-สวีทนุช คมชัดลึก
  5. เพลง ‘อกหัก’ ฉบับลูกกรุง อารมณ์นึกสนุกจาก ‘สวีทนุช...สนุกนึก’ เก็บถาวร 2008-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน sanamluangmusic.com
  6. บรรเลง บรรลัย, "Music critics", นิตยสารแฮมเบอร์เกอร์ ฉบับเดือนมีนาคม 2552
  7. อัลบั้ม ใบชาsong ร้องเพลง ชาตรี / รวมศิลปิน

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้