เพลงไทยเดิม หมายถึง เพลงที่มีการขับร้องด้วยวิธีการแบบไทย เช่น การเอื้อน ลงทรวง เป็นต้น พร้อมด้วยการบรรเลงดนตรีไทยไปด้วยในขณะที่กำลังขับร้องหรือบรรเลงเฉพาะดนตรีไม่มีการขับร้อง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นเครื่องดนตรีไทยที่ปรากฏในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการสันนิษฐานถึงที่มาของเครื่องดนตรีไทยในบางเครื่องว่ากำเนิดมาจากต่างชาติ แต่บรรพบุรุษไทยก็ได้เปลี่ยนแปลงและประยุกต์ให้เข้ากับเพลงไทยเดิม

ลักษณะ

แก้

คีตกวีหรือนักแต่งเพลงไทยเดิม จะแต่งทำนองขึ้นก่อนแล้วจึงตั้งชื่อเพลงนั้น สำหรับเนื้อร้องบางครั้งจะเอาเนื้อร้องจากคำประพันธ์ที่ไพเราะในวรรณคดีต่างๆ เช่นจากพระอภัยมณี พระลอ ขุนช้างขุนแผน ฯลฯ มาใส่ การแต่งเพลงขึ้นตอนแรกจะมีจังหวะปานกลาง แต่บางครั้งก็เอาทำนองนั้นไปขยายให้ยาวขึ้นและยุบทำนองให้สั้นลง แล้วนำมาบรรเลงติดต่อกันโดยเริ่มทำนองขยายก่อนด้วยจังหวะช้าเรียกว่าจังหวะ 3 ชั้น ต่อด้วยทำนองเดิมจังหวะปานกลางเรียกว่า 2 ชั้น และต่อด้วยทำนองที่ยุบให้สั้นลงด้วยจังหวะเร็วเรียกว่า ชั้นเดียว ซึ่งเรียกว่า เพลงเถา ถ้านำไปบรรเลงเพียงจังหวะเดียวเรียกเพลงเกร็ด และนำเพลงเกร็ดหลายๆ เพลงที่มีอัตราจังหวะเดียวกันมาบรรเลงติดต่อกันเรียกว่า เพลงตับ

การเอื้อน มาจากการที่เพลงไทยอาศัยเนื้อร้องจากคำประพันธ์อื่นมาสวมใส่ทำนองที่แต่งไว้แล้ว ทำนองและเนื้อร้องจึงไม่พอดีกัน โดยใช้เสียง “เออ” หรือ “เอย” และลักษณะนี้เองทำให้เพลงไทยมีเอกลักษณ์และประเทศข้างเคียงก็มีการเอื้อนเช่นเดียวกันกับไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นและไพเราะ

อ้างอิง

แก้