22 กุมภาพันธ์
วันที่สร้างสรรค์
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 53 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 312 วันในปีนั้น (313 วันในปีอธิกสุรทิน)
เหตุการณ์
แก้- พ.ศ. 1914 (ค.ศ. 1371) - พระเจ้ารอเบิร์ตที่ 2 กลายเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์เป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์สจ๊วต[1]
- พ.ศ. 2038 (ค.ศ. 1495) - พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสเสด็จเข้าสู่เนเปิลส์เพื่ออ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ของเมือง[2]
- พ.ศ. 2361 (ค.ศ. 1819) - สเปนขายฟลอริดาให้กับสหรัฐด้วยมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1876) - วันก่อตั้ง มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปคินส์ ณ บัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - เพลงของเอลวิส เพรสลีย์ ขึ้นตารางอันดับเพลงยอดนิยมเป็นครั้งแรก ด้วยเพลง "Heartbreak Hotel"
- พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - นายโกมล คีมทอง บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อุทิศตนให้กับการเป็นครูในชนบท ถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ยิงเสียชีวิตที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพราะเข้าใจผิดว่าเขาเป็นสายลับให้รัฐบาล
- พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - โกดำและกิ๋วหนุ่มสาวผู้ถูกขัดขวางความรักกระโดดสะพานสารสินฆ่าตัวตาย
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเปิดเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันรอสลินในสกอตแลนด์ ประกาศความสำเร็จในการโคลนแกะชื่อ "ดอลลี่"
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - มุลลอห์ โมฮัมหมัด โอมาร์ ผู้นำตาลีบันมีคำสั่งให้ทำลาย พระพุทธรูป (พระพุทธรูปแห่งบามิยัน) ทั่วอัฟกานิสถาน
วันเกิด
แก้- พ.ศ. 1946 (ค.ศ. 1403) - พระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (สวรรคต 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2004)
- พ.ศ. 2275 (ค.ศ. 1732) – จอร์จ วอชิงตัน นายพลและนักการเมืองชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา (ถึงแก่กรรม 14 ธันวาคม พ.ศ. 2342)
- พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) -
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย (สิ้นพระชนม์ 29 มีนาคม พ.ศ. 2416)
- โรเบิร์ต สตีเฟนสัน สไมธ์ เบเดน-โพเอลล์ นายพลชาวอังกฤษ และผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลก (ถึงแก่กรรม 8 มกราคม พ.ศ. 2484)
- พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - โรเบิร์ต แวดโลว์ บุคคลตัวใหญ่ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2483)
- พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - แคทริน ดัชเชสแห่งเคนต์ เจ้านายพระราชวงศ์อังกฤษ
- พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) - สุประวัติ ปัทมสูต นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - นิกิ เลาดา นักแข่งรถ นักบิน และนักธุรกิจชาวออสเตรีย
- พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - สตีฟ เออร์วิน นักสัตววิทยาและพิธีกรรายการโทรทัศน์ชาวออสเตรเลีย (ถึงแก่กรรม 4 กันยายน พ.ศ. 2549)
- พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - วัชรชัย สุนทรศิริ (ฉายา:ครูแอ้นท์ ม้าทมิฬ) นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - ดรูว์ แบร์รีมอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - เอลอดี ยุง นักแสดงหญิงชาวฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ ผู้ประกาศข่าวชาวไทย
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) -
- นันทวัฒน์ แทนโสภา นักฟุตบอลชาวไทย
- บรานิสลัฟ อิวานอวิช นักฟุตบอลอาชีพชาวเซอร์เบีย
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) -
- โทชิฮิโระ อาโอยามะ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น
- เอนโซ เปเรซ นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา
- มาร์ก แอลเลน นักสนุกเกอร์อาชีพชาวไอร์แลนด์เหนือ
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - เซร์คีโอ โรเมโร นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา
- พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - มิณฑิตา วัฒนกุล นักร้อง นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) -
- มายา ตอการ์สกา นักวอลเลย์บอลชาวโปแลนด์
- สกลวัชร์ สกลหล้า นักฟุตบอลชาวไทย
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - ฮาริส เซเฟรอวิช นักฟุตบอลชาวสวิส
- พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - นท พนายางกูร นักร้องชาวไทย
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - นัม จู-ฮย็อก นักแสดงชาวเกาหลีใต้
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) -
- ปาโบล ฟอร์นัลส์ นักฟุตบอลชาวสเปน
- ฟูกะ ฮาระ นักแสดง นักเดินแบบของญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - อันตอน ชุปคอฟ นักว่ายน้ำชาวรัสเซีย
- พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - เบบี้ แคลร์ลี่ แร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน
วันถึงแก่กรรม
แก้- พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) - สมเด็จพระพันปีหลวงหลงยู่ ฮองเฮาในจักรพรรดิกวังซวี่ และผู้สำเร็จราชการในจักรพรรดิผู่อี๋ (ประสูติ 28 มกราคม พ.ศ. 2406)
- พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) - หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก) กวีชาวไทย (เกิด 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2401)
- พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - ลีฮุนจู นักแสดงชาวเกาหลี (เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523)
- พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - ไพโรจน์ ใจสิงห์ นักแสดงชาวไทย (เกิด 15 กันยายน พ.ศ. 2486)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
แก้- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - วันมาฆบูชา
- วันสมโภชธรรมาสน์นักบุญเปโตร
อ้างอิง
แก้- ↑ Andrew Lang (20 November 2019). A Short History of Scotland. Good Press. p. 46. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2020. สืบค้นเมื่อ 26 July 2020.
- ↑ Bard Thompson (1996). Humanists and Reformers: A History of the Renaissance and Reformation. Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 296. ISBN 978-0-8028-6348-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-01. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.