เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เดิมชื่อว่า เขื่อนแม่งัด ตั้งอยู่บนลำน้ำแม่งัด สาขาแม่น้ำปิง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และยังตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติศรีลานนา สำหรับทางเข้าเขื่อนอยู่ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 41 บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (สายเชียงใหม่-ฝาง) เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 11 กิโลเมตร[1]

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล
แผนที่
ชื่อทางการเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล
ที่ตั้งตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
เริ่มก่อสร้างพ.ศ. 2520
เปิดดำเนินการ22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529
ผู้ดำเนินการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
เขื่อนและทางน้ำล้น
ปิดกั้นแม่น้ำแม่งัด
ความสูง59 เมตร
ความยาว1,950 เมตร
อ่างเก็บน้ำ
ปริมาตรกักเก็บน้ำ264.7 ล้านลูกบาศก์เมตร
พื้นที่กักเก็บน้ำ16 ตารางกิโลเมตร

การก่อสร้าง

แก้

เขื่อนแม่งัดเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยกรมชลประทาน การก่อสร้างตัวเขื่อนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2527 ต่อมา กฟผ. ได้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำในปี พ.ศ. 2528 แล้วเสร็จในปีเดียวกัน

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเขื่อนว่า เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2529 และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529

ข้อมูลทั่วไป

แก้
  • ประเภทเขื่อน: เขื่อนดิน
  • ตัวเขื่อน: สร้างปิดกั้นลำน้ำแม่งัด ที่บ้านใหม่ ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
  • ลักษณะเขื่อน: เป็นเขื่อนดินถม สูง 59 เมตร ยาว 1,950 เมตร อ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ 16 ตารางกิโลเมตร สามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุด 264.7 ล้านลูกบาศก์เมตร  มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 332 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 4,500 กิโลวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 9,000 กิโลวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ 24.5 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ประโยชน์

แก้
  • ด้านการชลประทาน - สามารถส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการได้ประมาณ 30,000 ไร่ และช่วยส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่ เพาะปลูกของฝายสินธุกิจปรีชา (ฝายแฝก) จังหวัดเชียงใหม่ โครงการแม่ปิงเก่า จังหวัดลำพูน และพื้นที่เพาะปลูกโดยฝายของราษฎรอีกด้วย รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 188,000 ไร่
  • ด้านพลังงานไฟฟ้า - เขื่อนสามารถผลิตกระไฟฟ้าได้ประมาณ 24.50 เมกกะวัตต์
  • ด้านการประมง - เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งผลิตอาหาร สร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น
  • การท่องเที่ยว - เขื่อนแม่งัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อน อ่างน้ำเหนือเขื่อนมีทัศนียภาพที่งดงาม มีบริการนั่งแพ ร้านอาหาร[2]
 
ป้ายเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล

อ้างอิง

แก้
  1. การเดินทางสู่เขื่อนแม่งัด เก็บถาวร 2011-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก flash-mini.com, สืบค้นวันที่ 4 ตุลาคม 2552
  2. เขื่อนแม่งัด จากทัวร์ดอยดอตคอม, สืบค้นวันที่ 4 ตุลาคม 2552

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

19°10′08″N 99°02′28″E / 19.169°N 99.041°E / 19.169; 99.041