จักรพรรดิกวังซฺวี่

(เปลี่ยนทางจาก จักรพรรดิกวังซวี่)

สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่ (จีน: 光绪帝; พินอิน: Guāngxù)[1] พระนามเดิมว่า อ้ายซินเจว๋หลัว ไจ้เถียน (จีน: 愛新覺羅載湉; พินอิน: Aixin-Jueluo Zàitián)[2] เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ชิง[3] และเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 9 ที่ปกครองจีนอย่างถูกต้อง รัชสมัยของพระองค์กินเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1875 ถึง ค.ศ. 1908 แต่ในทางปฏิบัติ พระองค์ปกครองโดยปราศจากอิทธิพลของซูสีไทเฮา ระหว่างปี ค.ศ. 1889 ถึง ค.ศ. 1898 เท่านั้น พระองค์ริเริ่มการปฏิรูปร้อยวัน แต่ก็ต้องหยุดชะงักลงอย่างกะทันหันเมื่อซูสีไทเฮาก่อการรัฐประหารในปี ค.ศ. 1898

สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่
จีน: 光绪帝
จักรพรรดิ
พระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิงของจีน
ครองราชย์25 กุมภาพันธ์ 1875 – 14 พฤศจิกายน 1908
(33 ปี 263 วัน)
พระองค์ก่อนสมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อ
พระองค์ถัดไปสมเด็จพระจักรพรรดิเซวียนถ่ง
ผู้สำเร็จราชการสมเด็จพระจักรพรรดินีซูอัน พระราชชนนีพันปีหลวง (1875–1881)
สมเด็จพระจักรพรรดินีซูสี พระราชชนนีพันปีหลวง (1875–1908)
ประสูติ14 สิงหาคม ค.ศ. 1871(1871-08-14)
(同治十年 六月 二十八日)
ตำหนักฉุนจิ้นอ๋อง กรุงปักกิ่ง
สวรรคต14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908(1908-11-14) (37 ปี)
(光緒三十四年 十月 二十一日)
จงหนานไห่ กรุงปักกิ่ง
มเหสีสมเด็จพระจักรพรรดินีหลงยฺวี่ พระราชชนนีพันปีหลวง
พระนามเต็ม
อ้ายซินเจว๋หลัว ไจ้เถียน (愛新覺羅 載湉)
รัชศก
กวังซฺวี่ (光緒)
พระสมัญญานาม
Tóng tiān chóng yùn dà zhōng zhì zhèngjīng wén wěi wǔ rénxiào ruìzhì duān jiǎn kuān qín jǐng huángdì
同天崇運大中至正經文緯武仁孝睿智端儉寬勤景皇帝
พระอารามนาม
เต๋อจง
德宗
Dé zōng
ราชวงศ์อ้ายซินเจว๋หลัว
พระราชบิดาองค์ชายอี้เซฺวียน
พระราชมารดาองค์หญิงเย่เฮ่อน่าลา ว่านเจิน
จักรพรรดิกวังซฺวี่
อักษรจีนตัวเต็ม光緒帝
อักษรจีนตัวย่อ光绪帝

ชีวิตส่วนพระองค์ แก้

 
พระบรมฉายาลักษณ์จักรพรรดิกวังซวี้

สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่มีพระมเหสีหนึ่งพระองค์และทรงมีสนมสองพระองค์ พระมเหสีของพระองค์มีพระนามว่า สมเด็จพระจักพรรดินีเสี้ยวติงจิง และพระสนมของพระองค์ก็มีพระนามว่า พระมเหสีจิน และพระมเหสีเจิน

สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่ทรงถูกพระนางซูสีไทเฮาบังคับให้อภิเษกสมรสกับหลานสาวของพระนาง ชื่อ จิงเฟิน ซึ่งมีชันษาแก่กว่าพระองค์ 8 ชันษา บิดาของนางจิงเฟิง มีชื่อว่า กุ้ยเสียง ซึ่งเป็นอนุชาของพระนางซูสีไทเฮาและพระนางซูสีไทเฮาได้จิงเฟินเพื่อที่จะเพิ่มพูนอำนาจให้แก่สกุลเย่เหอนาลาของนาง ภายหลังพิธีอภิเษกสมรส จิงเฟินได้กลายเป็นพระจักรพรรดินี และมีพระนามว่าหรงยู่ ซึ่งมีความหมายว่า "เป็นมงคลและความเจรืญรุ่งเรือง"(隆裕) แต่อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวีมิได้โปรดนางเลย ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับพระสนมของพระองค์ ซึ่งพระสนมโปรดของพระองค์คือ พระสนมเจิน (珍妃) มีข่าวลือว่าในปี พ.ศ. 2443 พระสนมเจินได้ถูกโยนลงไปในบ่อน้ำ ภายในพระราชวังต้องห้าม ซึ่งมีข่าวลือว่าพระนางทรงพระครรภ์อ่อนๆ อยู่ด้วย แล้วจมน้ำจนสิ้นพระชนม์ ตามคำบัญชาของพระนางซูสีไทเฮา ภายหลังจากพระสนมเจินได้ขอร้องพระนางซูสีไทเฮาเพื่อทรงอนุญาตให้พระจักรพรรดิกวังซีพำนักอยู่ภายในพระราชวังต้องห้ามเพื่อที่จะต่อรองกับกองกำลังต่างชาติ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่พระนางซูสีไทเฮาเตรียมตัวที่จะหลบหนีออกจากพระราชวังต้องห้ามซึ่งถูกยึดโดยกองกำลังแปดชาติในปี พ.ศ. 2443 เช่นเดียวกับพระจักรพรรดิองค์ก่อนหน้าพระองค์ คือ สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อ สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวีสวรรคตโดยไม่มีสาเหตุ ภายหลังพระองค์สวรรคในปี พ.ศ. 2451 สมเด็จพระจักรพรรดินีหรงยู่ก็ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับเจ้าชายชุนที่ 2

เสด็จขึ้นครองราชย์ แก้

สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่เป็นพระโอรสองค์ที่สองในฉุนจิ้นอ๋องอี้เซฺวียน และพระนางเยเหอนาลา วานเจิน พระขนิษฐาในพระนางฉือสีไทโฮ่ว ดังนั้นพระจักรพรรดิกวังซฺวี่จึงมีศักดิ์เป็นพระภาคิไนยของพระนางซูสีไทเฮา [4] ในวันที่ 12 เดือนมกราคม พ.ศ. 2418 จักรพรรดิถงจื้อเสด็จสวรรคตโดยไม่มีพระราชโอรส จึงทำให้ต้องมีการเลือกฮ่องเต้พระองค์ใหม่ ซึ่ง พระนางซูอันไทเฮา เลือก พระโอรสในกงจิ้นอ๋องเป็นฮ่องเต้องค์ใหม่ แต่พระนางซูสีไทเฮาผู้ครองอำนาจเหนือกว่าพระนางซูอันไทเฮาในขณะนั้นได้เลือก องค์ชายไจ้เถียน (จักรพรรดิกวังซฺวี่ในอนาคต) พระโอรสในฉุนจิ้นอ๋อง ซึ่งการเลือกองค์ชายไจ้เถียนเป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่ ถือว่าผิดธรรมเนียมของการสืบราชสมบัติของราชวงศ์ชิง ที่ต้องเลือกจักรพรรดิองค์ใหม่เป็นสมาชิกราชวงศ์รุ่นถัดไปจากจักรพรรดิพระองค์ก่อน การเลือกนัดดาของพระนางเป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่นั้นก็ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกในราชวงศ์

พระนามของพระองค์ว่าไจ้เถียนนั้น ถือว่าเป็นสมาชิกราชวงศ์ในรุ่นที่หลังจากพระปิตุลา(ลุง)ของพระองค์ คือ จักรพรรดิเสียนเฟิง ดังนั้นจึงถือว่าพระองค์เป็นรัชทายาทของจักรพรรดิเสียนเฟิงมากกว่าที่จะเป็นรัชทายาทของพระจักรพรรดิถงจื้อ พระภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) ของพระองค์ ดังนั้นเพื่อรักษาธรรมเนียมในการสืบราชสมบัติจากพระบิดาสู่โอรส จึงถือให้พระจักรพรรดิกวังซวีเป็นโอรสบุญธรรมของพระจักรพรรดิเสียนเฟิง

พระองค์ทรงครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 4 พรรษาและใช้ชื่อ กวังซฺวี่ เป็นชื่อศักราชในรัชสมัยของพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงรู้จักในนาม สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี พระองค์ทรงเป็นโอรสบุญธรรมของพระนางซูสีไทเฮา ในตอนที่พระจักรพรรดิยังทรงพระเยาว์นั้น พระพันปีหลวงฉืออันและ พระพันปีหลวงฉือสีป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกัน และพระองค์ได้รับการศึกษาในวัยเยาว์จากราชครูเวิงถงเหอ

พระราชกรณียกิจ แก้

ภายหลังจากที่พระองค์มีพระชนม์ควรที่จะเริ่มดำเนินพระราชกรณียกิจด้วยตัวพระองค์เองได้แล้ว แต่พระนางซูสีไทเฮาก็ยังคงพระอำนาจในการตัดสินพระทัยและดำเนินพระราชกรณียกิจแทนพระองค์พระจักรพรรดิอยู่ ถึงแม้ว่าพระนางจะไปประทับที่พระราชวังฤดูร้อนแล้วก็ตาม และพระนางยังมีพระเสาวนีย์เป็นการแต่งเรื่องว่าฉุนจิ้นอ๋อง พระราชบิดาขององค์พระจักรพรรดิจะไม่ทรงก้าวก่ายทางการเมืองไม่ว่าด้วยกรณีใดๆทั้งสิ้น

หลังจากที่พระองค์มีพระราชอำนาจเต็มที่ พระองค์ทรงพระราชดำริที่จะปฏิรูปให้จีนมีความทันสมัยทุกด้านมากกว่าที่จะปฏิรูปไปในทางอนุรักษนิยมแบบพระนางซูสีไทเฮาได้ทรงวางไว้ พระองค์ทรงเชื่อว่าการมีจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญแบบญี่ปุ่น ประเทศจะมีความเจริญทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2441 พระองค์ทรงริเริ่มการปฏิรูปร้อยวัน โดยพยายามที่จะปฏิรูป การเมือง สังคมและกฎหมาย ในช่วงระยะเวลาอันไม่นานหลังจากการวางมือของพระนางซูสีไทเฮา พระจักรพรรดิทรงออกพระบรมราชโองการหลายฉบับในการปฏิรูปครั้งใหญ่นี้ โดยมีขุนนางหลักที่คอยช่วยเหลือกิจการในครั้งนี้ของพระองค์ของคนคือคัง โหย่วเหวย และเหลียง ฉี่เชา

โดยการเปลี่ยนแปลงนี้มีการเปลี่ยนแปลงประเทศจากเกษตรกรรมไปเป็นอุตสาหกรรมและมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการสอบรับราชการ โดยพระองค์ทรงออกพระราชกฤษฎีกาในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ทันสมัยในขณะนั้นของจีน มีการก่อสร้างทางรถไฟ ลู่หาน และระบบท้องพระคลังให้มีระบบเช่นเดียวกับทางตะวันตก โดยมีเป้าหมายทำให้จีนเป็นประเทศที่ทันสมัย มีพระมหาจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญแต่ยังคงความเป็นจีนเอาไว้อยู่ ดังเช่นการปฏิรูปเมจิของญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตามสภาพสังคมจีนในขณะนั้นยังเป็นแบบนับถือลัทธิขงจื้ออยู่และการปฏิรูปครั้งนี้ยังมีความขัดแย้งไปถึงพระนางซูสีไทเฮาด้วย ผู้ซึ่งว่าราชการหลังม่านอยู่ในขณะนั้น ข้าราชการหัวอนุรักษนิยมหลายคนไม่พอใจในการปฏิรูปครั้งนี้ และได้ไปร้องทุกข์กับพระนางซูสีไทเฮา พระนางทรงรู้ดีว่าไม่มีทางที่จะทำให้การปฏิรูปของพระจักรพรรดิหยุดลงได้ มีเพียงทางเดียวเท่านั้นคือการรัฐประหารยึดพระราชอำนาจ สมเด็จพระจักรพรรดิทรงทราบถึงแผนการของพระนางจึงได้ทำการปรึกษากับ คัง โหย่วเหวย และคณะปฏิรูป และพวกเขาได้ตัดสินใจที่จะใช้กองทัพของ หยวน ซื่อไข่ ซึ่งเป็นกองทัพที่ทันสมัยในขณะนั้นถึงแม้ว่าจะมีทหารประจำการเพียง 6000 นายเท่านั้น และพระนางซูสีไทเฮาก็ได้เรียกใช้ทัพของ ยงลู่ จากเมืองเทียนสิน

ยงลู่นั้นยังเป็นพันธมิตรกับนายพลต๋ง ฟู่เสียง ซึ่งมีกำลังพล 10000 นาย จากกองกำลังมุสลิมกานสู ซึ่งเป็นทหารของราชสำนัก ซึ่งประกอบไปด้วน นายพล หม่า เฟิงสูและนายพลหม่า ฝูลู่ ซึ่งตั้งทัพอยู่ในบริเวณกรุงปักกิ่งและโจมตีชาวต่างชาติและชาวตะวันตกอยู่เป็นประจำ พวกเขาอยู่ฝ่ายอนุรักษนิยมของพระนางซูสีไทเฮาระหว่างการรัฐประหาร พวเขามีปืนยาวของตะวันตกและมีปืนใหญ่ที่ทันสมัย ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าฝ่ายอนุรักษนิยมของพระนางซูสีไทเฮาก็ยังมีส่วนหนึ่งที่พยายามจะใช้เทคโนโลยีของชาวตะวันตก[5][6]

ศาสตราจารย์ชาวไต้หวัน เล่ย เซียเซิง (雷家聖) เปิดเผยงานวิจัยใหม่เกี่ยวกับแผนการรัฐประหาร ว่าแท้จริงแล้วสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวีอาจถูกดึงเข้าไปในกับดักที่วางไว้โดยนักปฏิรูป คัง โหย่วเหวย ซึ่งมิชชั่นนารีชาวอังกฤษและอดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น อิโต ฮิโระบุมิ ใช้อุบายล่อหลอกคัง เพื่อที่จะให้ตกลงยกอำนาจอธิบไตยของจีนให้ อิโต และเอกอัครราชทูตอังกฤษ เซอร์ ซี. แมคโดนัล กล่าวว่าจริง ๆ แล้วนักปฏิรูปเป็นผู้ทำความเสียหายแก่การพัฒนาสู่ความทันสมัยของจีน ส่วนพระนางซูสีไทเฮานั้นก็ได้ศึกษาแผนการปฏิรูป และได้ตัดสินพระทัยที่จะยุติแผนการนั้นและรักษาประเทศจีนจากการควบคุมของต่างชาติ[7]

แต่หยวน ซือไข่ก็ได้เริ่มแสดงความสามารถทางการเมืองออกมาให้เห็น โดยได้เลือกทางที่ดีที่สุดโดยได้หักหลังพระจักรพรรดิกวังซฺวี่ในนาทีสุดท้ายก่อนการรัฐประหาร โดย 1 วันก่อนทำการรัฐประหาร หยวน ซือไข่ได้ไปเข้าเฝ้าฯพระนางซูสีไทเฮา และบอกแผนการของจักรพรรดิทั้งหมดให้พระนางทรงทราบ โดยพระนางทรงเชื่อตามที่หยวน ซือไข่ กราบทูลรายงาน และหลังจากนั้น พระองค์กับหยวน ซือไข่ ก็เป็นศัตรูกันตราบจนชีวิตสุดท้ายของพระองค์ และหลังจากนั้นพระนางซูสีไทเฮาก็ได้มีพระเสาวนีย์ให้นำทหารไปล้อมพระราชวังต้องห้าม และจับองค์พระจักรพรรดิไปคุมขังไว้ที่เกาะกลางทะเลสาบซึ่งอยู่เชื่อมต่อกับพระราชวังต้องห้ามและอยู่ในการควบคุมของพระนางซูสีไทเฮา หลังจากนั้นพระนางซูสีไทเฮาก็ได้ออกโองการว่า สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่มีความประพฤติที่เสื่อมเสียไม่สมควรที่จะเป็นจักรพรรดิที่บริหารบ้านเมืองอีกต่อไป แต่หลังจากนั้นพระนางซูสีไทเฮาก็บริหารราชการด้วยพระองค์เองแต่ก็ยังคงใช้ศักราชกวังซฺวี่ต่อไปตราบจนพระจักรพรรดิสวรรคต

ถูกคุมขัง แก้

หลังจากพระองค์ถูกคุมขังไว้ในตำหนักกลางทะเลสาบ พระนางซูสีไทเฮาก็ได้ส่งขันทีมารับใช้พระองค์แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของการส่งขันทีมาคือควบคุมไม่ให้พระองค์หลบหนีออกจากพระตำหนักและสอดส่องพฤติกรรมของพระองค์อย่างใกล้ชิด สถานการณ์ถึงขั้นวิกฤติถึงขั้นที่พระนางซูสีไทเฮาทรงบังคับให้พระองค์ทรงสละพระราชสมบัติแล้วพระนางซูสีไทเฮาจะทรงเลือกพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ด้วยตัวของพระนางเอง แต่อย่างไรก็ตามพระนางซูสีก็ไม่ได้บังคับให้พระจักรพรรดิสละราชสมบัติแต่ใช้วิธีการว่าราชการด้วยพระองค์เองแต่ใช้ศักราชกวังซฺวี่ไปจนกระทั่งสิ้นสุดรัชสมัยของพระจักรพรรดิ หลังจากนั้น พระองค์ทรงสูญเสียทั้ง เกียรติยศ,ความเคารพ,พระราชอำนาจและสิทธิต่างๆที่พระองค์ควรได้รับในฐานะเป็นองค์พระประมุข ผู้สนับสนุนการปฏิรูป100วันต่างลี้ภัยไปต่างประเทศ และก็มีบางส่วนที่ถูกประหารชีวิตเช่น ทาน ซื่อทุง ในขณะที่คัง โยวเว่ย ยังคงดำเนินการปฏิรูปต่อไปถึงแม้ว่าจะลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศก็ตาม และ คังเองก็ยังมีความหวังในการฟื้นฟูพระราชอำนาจของพระจักรพรรดิ การรัฐบาลที่มีการจัดการที่ดีดังเช่นชาติตะวันตก และมีองค์พระจักรพรรดิเป็นศูนย์กลางของอำนาจเพียงอย่างเดียว และล้มพระนางซูสีไทเฮาซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนแอของประเทศ

และนั่นก็ยังเป็นข้อที่ถกเถียงกันในสมัยนั้นว่า จะยังคงศักราชกวังซฺวี่เอาไว้หรือไม่ โดยให้พระองค์มีฐานะเป็นเพียงประมุขของประเทศแต่เพียงในนาม โดยยังใช้ศักราชกวังซฺวี่เช่นเดิมหรือว่าจะถอดถอนองค์พระจักรพรรดิออกจากตำแหน่งแล้วแต่งตั้งพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ ซึ่งในที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับความคิดอันหลัง แต่ยงลู่ได้ทัดทานการถอดถอนพระจักรพรรดิไว้ โดยถ้ามีการถอดถอนองค์พระจักรพรรดิขึ้น คาดว่า องค์ชายปูจุ๋น โอรสในองค์ชายตวน จะได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิพระองค์ต่อไป

ในปี พ.ศ. 2443 พันธมิตรแปดชาติ ซึ่งประกอบด้วยชาติตะวันตก 7 ประเทศและญี่ปุ่นได้บุกยึดกรุงปักกิ่งในวันที่ 14 สิงหาคม ตามที่จีนประกาศสงครามกับชาติพันธมิตร ซึ่งพระจักรพรรดิก็ได้ทรงทัดทานเรื่องนี้ไว้แต่ตอนแรกแล้ว แต่พระองค์ไม่มีพระราชอำนาจที่จะไปยับยั้งได้ และพระองค์ก็ได้เสด็จลี้ภัยไปพร้อมกับพระนางซูสีไทเฮาไปยังเมืองซีอานโดยทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชน

หลังจากที่ชาติพันธมิตรได้ถอนกำลังออกจากกรุงปักกิ่ง พระจักรพรรดิและพระนางซูสีไทเฮาก็ได้เสด็จฯกลับมาประทับที่พระราชวังต้องห้ามตามเดิม และพระองค์ทรงตะหนักดีว่าต่อไปนี้พระองค์ทรงต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว ดังนั้นในแต่ละวันพระองค์จึงทรงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับนาฬิกาหลายเรือนของพระองค์ ซึ่งเป็นงานอดิเรกครั้งที่พระองค์ยังทรงเยาว์ บางทีพระองค์อาจจะรอเวลาให้พระนางซูสีไทเฮาสิ้นพระชมน์และหลังจากนั้นพระองค์ก็จะได้ขึ้นเป็นพระจักรพรรดิที่มีพระราชอำนาจอย่างแท้จริงอีกครั้งหนึ่ง

สวรรคต แก้

สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 พระองค์สวรรคตก่อนที่พระนางซูสีไทเฮาจะสิ้นพระชนม์เพียง 1 วัน พระองค์สวรรคตในขณะที่พระองค์มีพระชนมพรรษาเพียง 37 พรรษา การสวรรคตของพระองค์ยังเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้ มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านพยายามตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับการสวรรคตของพระองค์ แต่ยังไม่มีนักประวัติศาสตร์ท่านใดเลยที่สามารถอธิบายเกี่ยวกับการสวรรคตของพระองค์ได้อย่างชัดเจน มีบางทฤษฎีก็ว่าพระองค์โดนวางยาพิษจากพระนางซูสีไทเฮาในขณะที่พระนางประชวรอย่างหนัก เพราะเกรงว่าพระจักรพรรดิจะมาดำเนินการปฏิรูปต่อหลังจากที่พระนางสิ้นพระชนม์และต้องการขัดขวางสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งที่พระองค์จะถูกวางยาพิษจากขุนพล หยวน ซื่อไข่ ซึ่งถ้าเผื่อพระจักรพรรดิขึ้นมามีอำนาจอีกครั้งหนึ่งคงจะต้องลงโทษตนอย่างแน่นอน[8] แต่ก็ไม่มีหลักฐานเป็นที่ยืนยันว่าทั้งสองอย่างนั้นจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพราะไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดเนื่องจาก หลี่ เหลียนอิง ขันทีของพระนางซูสีไทเฮาซึ่งเป็นผู้ที่รู้เห็นกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ถูกสังหารไปเสียก่อน

ในรายงานของแพทย์หลวงลงความเห็นในการสวรรคตของพระองค์ว่าเป็นการสวรรคตตามธรรมชาติ เพราะพระองค์มีพระอาการประชวรมาเป็นเวลานาน และในรายงานของแพทย์หลวงก็ยังมีอีกต่อไปว่าพระองค์มีพระอาการทรุดหนักลงหลายวันแล้วก่อนที่พระองค์จะสวรรคต

แต่พระอาการประชวรของพระองค์อาจจะมาจากสาเหตุการถูกวางยาพิษในลักษณะที่ไม่ทำให้พระองค์สวรรคตในทันทีก็ได้ และเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 นักนิติวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองหาความสัมพันธ์ของสารหนูในพระวรกายของสมด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่ ซึ่งผลจากการทดสอบได้ว่าพระองค์มีสารหนูอยู่ในพระวรกายมากกว่าคนปกติถึง 2000 เท่า หนังสือพิมพ์ ไชน่าเดลี่ ได้กล่าวอ้างคำของนักประวัติศาสตร์ "ไต้ยี่" ซึ่งได้คาดว่าพระนางซูสีไทเฮาจะต้องรู้เรื่องการสวรรคตของพระจักรพรรดิอย่างแน่นอน พระนางกลัวว่าพระจักรพรรดิจะมาดำเนินการปฏิรูปต่อหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว[9]

และหลังจากที่สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่สวรรคต พระนางซูสีไทเฮาก็ได้เลือกทายาทที่จะมาสืบราชบัลลังก์ต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิคือ ผู่อี๋ ซึ่งได้ใช้ศักราช เซวียนถ่ง (สมเด็จพระจักรพรรดิเซวียนถ่ง) พระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระพันปีหลวงหรงยู่ ซึ่งเป็นผู้ลงพระบรมนามาภิไธยสละราชสมบัติของสมเด็จพระจักรพรรดิเซวียนถ่งในปี พ.ศ. 2455 เป็นการสิ้นสุดปกครองระบอบจักรพรรดิของจีนที่ดำเนินมาอย่างยาวนานกว่า 2000 ปี และในปี พ.ศ. 2456 พระพันปีหลวงหลงยู่ก็ได้สิ้นพระชนม์เนื่องจากพระอาการประชวร

มุมมองด้านประวัติศาสตร์ แก้

 
พระบรมฉายาลักษณ์จักรพรรดิกวังซวี่ เมื่อ พ.ศ. 2446 ขณะพระชนม์มายุ 32 พรรษา

ในปี พ.ศ. 2455 ดร.ซุน ยัดเซ็น ได้กล่าวยกย่องสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่ จากการปฏิรูปการศึกษาของพระองค์ ซึ่งได้ยิมยอมและสนับสนุนที่จะให้ชาวจีนเรียนรู้วัฒนธรรมตะวันตก ภายหลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน นักประวัติศาสตร์ ฟาน เวิ่นหลัน (范文澜) ได้กล่าวถึงจักรพรรดิกวังซฺวี่ว่า "เป็นชาวแมนจูชั้นสูงผู้ยอมรับแนวคิดของชาวตะวันตก" นักประวัติศาสตร์บางคนคิดว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำของประเทศจีนคนแรกที่มีพระบรมราโชบายในทางที่ทันสมัยและเป็นทุนนิยม และพระองค์เองก็ยังเป็นจักรพรรดิที่มีพระราชอำนาจน้อยที่สุดนับตั้งแต่สถาปนาราชวงศ์ชิงมา และพระองค์ยังเป็นจักรพรรดิเพียงพระองค์เดียวที่ถูกคุมขังอีกด้วยในระหว่างรัชสมัยของพระองค์

พระบรมวงศานุวงศ์ แก้

ราชตระกูล แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Arsenic killed Chinese emperor, reports say". www.cnn.com. สืบค้นเมื่อ 2019-11-11.
  2. "Qing Emperor Guangxu". www.travelchinaguide.com. สืบค้นเมื่อ 2019-11-11.
  3. "Guangxu | emperor of Qing dynasty". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-11-11.
  4. http://th.wiktionary.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B8%A2
  5. Ann Heylen (2004). Chronique du Toumet-Ortos: looking through the lens of Joseph Van Oost, missionary in Inner Mongolia (1915–1921). Leuven, Belgium: Leuven University Press. p. 203. ISBN 90-5867-418-5. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
  6. Patrick Taveirne (2004). Han-Mongol encounters and missionary endeavors: a history of Scheut in Ordos (Hetao) 1874–1911. Leuven, Belgium: Leuven University Press. p. 514. ISBN 90-5867-365-0. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
  7. Lei Chia-sheng, Liwan kuanglan: Wuxu zhengbian xintan 力挽狂瀾:戊戌政變新探 [Containing the furious waves: a new view of the 1898 coup], Taipei: Wanjuan lou 萬卷樓, 2004.
  8. Mu, Eric. Reformist Emperor Guangxu was Poisoned, Study Confirms" เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Danwei. November 3 2008. Retrieved November 2 2011.
  9. "Arsenic killed Chinese emperor, reports say". CNN. November 4, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-08. สืบค้นเมื่อ 2012-04-13.
ก่อนหน้า จักรพรรดิกวังซฺวี่ ถัดไป
จักรพรรดิถงจื้อ    
จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 2418 - พ.ศ. 2451)
  จักรพรรดิผู่อี๋ (เซวียนถ่ง)