เทียนจิน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เทียนจิน หรือ เทียนสิน (จีน: 天津; พินอิน: Tiānjīn; พินอินระบบไปรษณีย์: Tientsin) เป็นหนึ่งในสี่นครปกครองโดยตรงของประเทศจีน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ติดชายฝั่งทะเลปั๋วไห่ เป็นหนึ่งในนครศูนย์กลางแห่งชาติทั้งเก้าแห่งของประเทศจีน มีประชากรในปี ค.ศ. 2016 ประมาณ 15,621,200 คน[5] ใจกลางเมืองของเทียนจินมีผู้อาศัยในปี ค.ศ. 2016 อยู่ราว 12,491,300 คน เป็นกลุ่มประชากรที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 29 ของโลก (อยู่ระหว่างเฉิงตูและรีโอเดจาเนโร) และเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก[6]
เทียนจิน 天津市 เทียนสิน | |
---|---|
ที่ตั้งของเทศบาลนครเทียนจินภายในประเทศจีน | |
พิกัด (Tianjin Century Clock Plaza): 39°08′01″N 117°12′19″E / 39.1336°N 117.2054°E | |
ประเทศ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
ตั้งถิ่นฐาน | ประมาณ 340 ปีก่อนคริสตกาล |
ที่ตั้งที่ทำการ | เขตเหอซี |
เขตการปกครอง | - ระดับอำเภอ: 16 เขต - ระดับตำบล: 240 เมืองและตำบล |
การปกครอง | |
• ประเภท | นครปกครองโดยตรง |
• เลขาธิการพรรค | หลี่ หงจง (李鸿忠) |
• นายกเทศมนตรี | จาง กั๋วชิง (张国清) |
พื้นที่ | |
• เทศบาลนคร | 11,946 ตร.กม. (4,612 ตร.ไมล์) |
• พื้นดิน | 11,609.91 ตร.กม. (4,482.61 ตร.ไมล์) |
• พื้นน้ำ | 186 ตร.กม. (72 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 11,609.91 ตร.กม. (4,482.61 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 5,609.9 ตร.กม. (2,166.0 ตร.ไมล์) |
ประชากร (ประมาณการ ค.ศ. 2016) | |
• เทศบาลนคร | 15,621,200 คน |
• ความหนาแน่น | 1,300 คน/ตร.กม. (3,400 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง (ค.ศ. 2018)[1] | 15,621,200 คน |
• รวมปริมณฑล[2] | 12,491,300 คน |
เขตเวลา | UTC+8 (CST) |
รหัสไปรษณีย์ | 300000 – 301900 |
รหัสพื้นที่ | 22 |
รหัส ISO 3166 | CN-TJ |
GDP | ค.ศ. 2019[3] |
- ทั้งหมด | 1.41 ล้านล้านเหรินหมินปี้ 204.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 23) |
- ต่อหัว | 112,823 เหรินหมินปี้ 16,355 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 3) |
HDI (ค.ศ. 2018) | 0.850[4] (อันดับที่ 3) – สูงมาก |
รหัสป้ายทะเบียนรถ | 津A, B, C, D, F, G, H, J, K, L, M 津E (แท็กซี่) |
อักษรย่อ | TJ / จิน (津; jīn) |
ดอกไม้ประจำนคร | Chinese rose (Rosa chinensis) |
เว็บไซต์ | www |
เทียนจินปกครองแบบนครที่อยู่ภายใต้การบริหารโดยตรงของรัฐบาลกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเทศบาลนครเป็นเขตการปกครองที่มีระดับเทียบเท่ากับมณฑล อาณาเขตของเทียนจินถูกล้อมรอบโดยมณฑลเหอเป่ย์ทั้งทางทิศเหนือ ทิศตะวันตก และทิศใต้ ติดต่อกับปักกิ่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และติดต่อกับทะเลปั๋วไห่ทางทิศตะวันออก ในแง่ของจำนวนประชากรเฉพาะในเขตเมือง เทียนจินเป็นนครที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศจีน รองจากเซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง และกว่างโจว ส่วนในแง่จำนวนประชากรตามเขตเทศบาลนคร จะอยู่ในอันดับที่ 5 ของประเทศ[7] เทียนจินเป็นส่วนหนึ่งของขอบเศรษฐกิจปั๋วไห่ (Bohai Economic Rim)
เมืองเทียนจินและกำแพงเมืองสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1404 ต่อมาหลังจากที่เปิดให้มีการค้าต่างประเทศในปี ค.ศ. 1860 เทียนจินได้กลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญและเป็นประตูสู่ปักกิ่ง ในเวลานั้น มีการก่อสร้างอาคารและคฤหาสน์ที่มีสถาปัตยกรรมแบบยุโรปจำนวนมาก ซึ่งหลายแห่งก็ได้รับการบำรุงรักษามาจนถึงปัจจุบัน หลังจากก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เทียนจินประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอันเนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาลกลาง อีกทั้งมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในถังชาน ซึ่งเป็นเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของเทียนจิน แต่ก็ได้รับการฟื้นฟูในทศวรรษ 1990[8] ปัจจุบัน เทียนจินเป็นนครที่มีศูนย์กลางสองแห่ง ได้แก่ ศูนย์กลางแห่งที่หนึ่งอยู่ในเขตเมือง (รวมถึงเมืองเก่าด้วย) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำไห่ ซึ่งเป็นแม่น้ำที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำหวงและแม่น้ำแยงซีผ่านทางคลองใหญ่ และศูนย์กลางแห่งที่สองคือ เขตปินไห่ เป็นพื้นที่เมืองใหม่ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลปั๋วไห่ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเมืองเก่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 ย่านการเงินยฺหวีเจียพู่ของเทียนจินกลายเป็นที่รู้จักในนาม แมนฮัตตันของจีน[9][10]
ภูมิศาสตร์
แก้เทียนจิน ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปักกิ่ง ด้านตะวันออกติดกับอ่าวป๋อไห่ (Bohai Bay) มีสถานภาพเป็น "เทศบาลเมือง" (Special Municipality) ซึ่งการปกครองขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง ห่างจากเมืองปักกิ่งซึ่งเป็นเมืองหลวง ประมาณ 120 กิโลเมตร
พื้นที่เมืองของเทียนจินตั้งอยู่ตามแม่น้ำไห่เหอ (Hai He River) ท่าเรือที่อยู่ห่างไกลตั้งอยู่บนอ่าวป๋อไห่ (Bohai Gulf) บนมหาสมุทรแปซิฟิก เทศบาลนครเมียนจินมีพรมแดนติดต่อกับเหอเป่ย ไปทางเหนือ ใต้ และ ตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลนครปักกิ่งในส่วนเล็ก ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือ และติดต่อกับอ่าวป๋อไห่ไปทางตะวันออก
เศรษฐกิจ
แก้เทียนจิน นอกจากจัดเป็นเมืองท่าที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศจีนท่าเรือเทียนจินมีสินค้าเข้าออกราว 160 ล้านตัน โดยสินค้าที่ผ่านท่าเรือแห่งนี้กว่า 80% เป็นถ่านหิน แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์น้ำมัน จึงนับเป็นศูนย์ท่าเรือใหญ่ริมทะเลป๋อไห่ทางภาคเหนือของประเทศ ยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางทางการค้า การขนส่งการสื่อสารที่สำคัญของจีนตอนเหนือ มีชายฝั่งทะเลยาว 133 กม.ทางฝั่งตะวันออก อุดมด้วยทรัพยากรทางทะเล และยังเป็นเขตเมืองท่าและฐานอุตสาหกรรมทางทะเลที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในมหาสมุทร[11]
วัฒนธรรม
แก้สภาพภายในเมืองยังมีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งตกค้างมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 ในยุคล่าอาณานิคม
-
นครเทียนจิน
-
เขตHexi Qu ของเทียนจิน
-
Le premier tram en 1906
-
Rue de Tianjin, Heping lu.
-
La tour du tambour
-
Paifang (Gate Monument)
-
L'université des langues étrangères
-
Une banque
อ้างอิง
แก้- ↑ Cox, W (2018). Demographia World Urban Areas. 14th Annual Edition (PDF). St. Louis: Demographia. p. 22. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ May 3, 2018. สืบค้นเมื่อ June 15, 2018.
- ↑ OECD Urban Policy Reviews: China 2015, OECD READ edition. OECD iLibrary. OECD Urban Policy Reviews (ภาษาอังกฤษ). OECD. April 18, 2015. p. 37. doi:10.1787/9789264230040-en. ISBN 9789264230033. ISSN 2306-9341. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 27, 2017. สืบค้นเมื่อ December 8, 2017.Linked from the OECD here เก็บถาวร ธันวาคม 9, 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 天津市2017年国民经济和社会发展统计公报 (ภาษาChinese (China)). Statistical Bureau of Tianjin. March 11, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2018. สืบค้นเมื่อ June 22, 2018.
- ↑ "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 29, 2018. สืบค้นเมื่อ December 29, 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ 2015年天津市国民经济和社会发展统计公报-新闻中心-北方网. news.enorth.com.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 2, 2016. สืบค้นเมื่อ March 6, 2016.
- ↑ 最新中国城市人口数量排名(根据2010年第六次人口普查). www.elivecity.cn. 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2015. สืบค้นเมื่อ May 28, 2014.
- ↑ 河北人才被空吸 本地发展缓慢世界罕见. Sohu. February 26, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2014. สืบค้นเมื่อ August 20, 2010.
- ↑ Alexandra Stenson and Cao Li (April 10, 2019). "'China's Manhattan' Borrowed Heavily. The People Have Yet to Arrive". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2019. สืบค้นเมื่อ April 11, 2019.
- ↑ Hille, Kathrin (November 4, 2012). "China's 'Manhattan' becomes censorship capital". Financial Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-03. สืบค้นเมื่อ January 29, 2016.
- ↑ "'จิงจินจี้' ศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งที่ 3 (1) โดย ผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-08. สืบค้นเมื่อ 2007-06-05.