ปักกิ่ง
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ปักกิ่ง ในภาษากวางตุ้ง (จีน: 北京; ยฺหวิดเพ็ง: Bākgìng) หรือ เป่ย์จิง[หมายเหตุ 2] ในภาษาจีนกลาง (พินอิน: Běijīng (วิธีใช้·ข้อมูล) ) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อแรกเริ่มคือ จี้ (薊) สมัยวสันตสารท (春秋) และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ [9] เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี ค.ศ. 2017 ทั่วกรุงเปย์จิงมีประชากร 21,107,000 คน[10] กรุงปักกิ่งเป็นศูนย์การเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การศึกษาและเขตชุมทางการคมนาคมทั่วประเทศจีนและก็เป็นเมืองท่อง เที่ยวที่มีชื่อดังทั้งในประเทศจีนและในโลก แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมีกำแพงเมืองจีน พระราชวังโบราณ หอสักการะฟ้าเทียนถัน สุสานหลวงราชวงศ์หมิง วังพักร้อนอี๋เหอหยวนและภูเขาเซียงซาน เป็นต้น ปัจจุบันปักกิ่งเป็นเขตการปกครองพิเศษแบบมหานคร 1 ใน 4 แห่งของจีน ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับมณฑลหลังจากปักกิ่งได้รับการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 โดยเฉพาะหลังจากสมัย 80 ศตวรรษที่ 20 เมืองปักกิ่งได้พัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ มีการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ ปัจจุบันนี้ปักกิ่งมีถนนที่สลับกัน ตึกสูง ๆ โดยไม่เพียงแต่รักษาสภาพเมืองโบราณ และยังแสดงถึงสภาพเมืองที่ทันสมัย กลายเป็นเมืองใหญ่ของโลก
ปักกิ่ง 北京 เป่ย์จิง | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เทศบาลปักกิ่ง | |||||||||||
![]() | |||||||||||
![]() ที่ตั้งของนครปกครองโดยตรงในประเทศจีน | |||||||||||
พิกัด (เสาธง จัตุรัสเทียนอันเหมิน): 39°54′24″N 116°23′51″E / 39.90667°N 116.39750°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 39°54′24″N 116°23′51″E / 39.90667°N 116.39750°E | |||||||||||
ประเทศ | ![]() | ||||||||||
ก่อตั้ง | 1045 ปีก่อนคริสต์ศักราช | ||||||||||
ผู้ก่อตั้ง | ราชวงศ์โจว (ราชวงศ์โจวตะวันตก) | ||||||||||
ที่ตั้งนคร | ทงโจว | ||||||||||
เขต[1] – County-level – ระดับนคร | 16 เขต 289 เมืองและหมู่บ้าน | ||||||||||
การปกครอง | |||||||||||
• ประเภท | นครปกครองโดยตรง | ||||||||||
• องค์กร | สภาประชาชนแห่งเทศบาลนครปักกิ่ง | ||||||||||
• CPC Secretary | Yin Li | ||||||||||
• ประธานสภา | Li Wei | ||||||||||
• นายกเทศมนตรี | ยิน หย่ง | ||||||||||
• ประธาน CPPCC | Wei Xiaodong | ||||||||||
• ตัวแทนสภาประชาชนแห่งชาติ | 54 เขต | ||||||||||
พื้นที่[2] | |||||||||||
• เทศบาลนคร | 16,410.5 ตร.กม. (6,336.1 ตร.ไมล์) | ||||||||||
• พื้นดิน | 16,410.5 ตร.กม. (6,336.1 ตร.ไมล์) | ||||||||||
• เขตเมือง | 16,410.5 ตร.กม. (6,336.1 ตร.ไมล์) | ||||||||||
• รวมปริมณฑล | 12,796.5 ตร.กม. (4,940.8 ตร.ไมล์) | ||||||||||
ความสูง | 43.5 เมตร (142.7 ฟุต) | ||||||||||
ความสูงจุดสูงสุด (หลิงชาน) | 2,303 เมตร (7,556 ฟุต) | ||||||||||
ประชากร (2020 census)[3] | |||||||||||
• เทศบาลนคร | 21,893,095 คน | ||||||||||
• ความหนาแน่น | 1,300 คน/ตร.กม. (3,500 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||
• เขตเมือง | 21,893,095 คน | ||||||||||
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 1,300 คน/ตร.กม. (3,500 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||
• รวมปริมณฑล | 22,366,547 คน | ||||||||||
• ความหนาแน่นรวมปริมณฑล | 1,700 คน/ตร.กม. (4,500 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||
• อันดับในประเทศจีน | ประชากร: ที่ 27; ความหนาแน่น: ที่ 4 คน | ||||||||||
กลุ่มชาติพันธุ์หลัก | |||||||||||
• ฮั่น | 95% | ||||||||||
• แมนจู | 2% | ||||||||||
• หุย | 2% | ||||||||||
• มองโกล | 0.3% | ||||||||||
• อื่น ๆ | 0.7% | ||||||||||
เขตเวลา | UTC+08:00 (เวลามาตรฐานจีน) | ||||||||||
รหัสไปรษณีย์ | 100000–102629 | ||||||||||
รหัสพื้นที่ | 10 | ||||||||||
รหัส ISO 3166 | CN-BJ | ||||||||||
GDP[4] | 2021 | ||||||||||
- เฉลี่ย | 4.03 ล้านล้านเหรินหมินปี้ 634.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เฉลี่ย) [5] 965.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (หุ้นส่วนมหาชน-เอกชน)[6] | ||||||||||
– ต่อหัว | 184,075 เหรินหมินปี้ 28,975 ดอลลาร์สหรัฐ (เฉลี่ย)[5] 44,110 ดอลลาร์สหรัฐ (หุ้นส่วนมหาชน-เอกชน)[7] | ||||||||||
– การเติบโต | ![]() | ||||||||||
เอชดีไอ (2019) | 0.904[8] (ที่ 1) – สูงมาก | ||||||||||
ตัวอักษรหน้าป้ายทะเบียน | 京A, C, E, F, H, J, K, L, M, N, P, Q, Y 京B (แท็กซี่) 京G (นอกเขตนคร) 京O, D (ตำรวจและเจ้าหน้าที่) | ||||||||||
อักษรย่อ | BJ / 京 (jīng) | ||||||||||
ภูมิอากาศ | Dwa | ||||||||||
เว็บไซต์ | beijing.gov.cn english.beijing.gov.cn | ||||||||||
|
ปักกิ่ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() "ปักกิ่ง" ในอักษรจีนแบบทั่วไป | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 北京 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Běijīng | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไปรษณีย์ | Peking[หมายเหตุ 1] Peiping (1368–1403; 1928–1937; 1945–1949) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "เมืองหลวงทางทิศเหนือ" | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ปักกิ่งเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ ปักกิ่งเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศึกษา การขนส่ง และวัฒนธรรมจีน ในขณะที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจนั้นจะอยู่ที่เซี่ยงไฮ้และฮ่องกง
ปักกิ่งเป็น 1 ใน 4 เมืองหลวงเก่าของจีน และได้รับเลือกให้จัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 อีกด้วย มหานครปักกิ่งเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน นับแต่ สมัยราชวงศ์หยวน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของจีน ปักกิ่งมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น จัตุรัสเทียนอันเหมิน กำแพงเมืองจีน พระราชวังฤดูร้อน พระราชวังต้องห้าม เป็นต้น มีประวัติความเป็นมา เริ่ม ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งมี การขุดค้นพบกะโหลก มนุษย์ปักกิ่งตามหลักฐานที่พิสูจน์ได้ปักกิ่งมีความเจริญ รุ่งเรืองมานับแต่ คริสศตวรรษที่ 13 ในปี พ.ศ. 1964 (ค.ศ. 1421) จักรพรรดิหย่งเล่อ ได้ทำการก่อสร้างและออกแบบผังเมืองใหม่และย้ายฐานราชการชั่วคราวในขณะนั้นจาก เมืองหนานจิงมายัง เป่ย์จิง หรือปักกิ่งในปัจจุบัน
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาปักกิ่งถูกยกสถานะเป็นเมืองสำคัญระดับโลกเป็นศูนย์กลางทางการปกครองการค้า การลงทุนที่สำคัญที่สุดของประเทศจีนในแต่ละปีมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาติดต่อการค้าท่องเที่ยว ศึกษาเป็นจำนวนมากประชาชนชาวปักกิ่งมีสภาพความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากตะวันตกมากขึ้นด้วย
ที่มาของชื่อแก้ไข
กรุงปักกิ่ง มีชื่อเมืองหลายชื่อ คำว่า ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิงหมายถึง เมืองหลวงทางทิศเหนือ (มาจากอักษรจีน 北 ที่แปลว่าเหนือ และ 京 ที่แปลว่าเมืองหลวง) กรุงปักกิ่ง ใช้ตัวย่อภาษาอังกฤษคือ BJ
ประวัติศาสตร์แก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ปักกิ่ง มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี เป็นเมืองหลวงโบราณของจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์จิน ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง รวม 5 ราชวงศ์ และเมื่อสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 2492 (ค.ศ. 1949) ก็ได้ตั้งให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ
ตาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์ พื้นที่กรุงปักกิ่งในปัจจุบัน เมื่อ 110 ปีก่อนคริสตกาลเป็นที่ตั้งของอาณาจักรจี้กั๋ว ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซีโจว ต่อมาเมื่อถึงกลางของราชวงศ์ชุนชิว (770 – 476 ปีก่อนคริสตกาล) อาณาจักรเยียนกั๋วได้รวมอาณาจักรจี้กั๋วเข้าไว้ด้วยกัน หลังจากนั้นอาณาจักรฉินกั๋วก็ได้ตีเอาจี้กั๋วมาเป็นของตนเมื่อ 226 ปีก่อนคริสตกาล ถึงปี 2024 (ค.ศ. 1481) อาณาจักรจี้กั๋วกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวงของแคว้นเหลียวซึ่งก่อตั้ง ขึ้นโดยชนชาติชี่ตัน และตั้งชื่อใหม่ว่าหนานจิง หรือเยียนจิง
ในเวลาต่อมาได้มีการสถาปนาราชวงศ์จิน และได้ย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่แย่นจิงในปี 2239 (ค.ศ. 1696) โดยเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น จงตู ต่อมาราชวงศ์จินถูกรุกรานโดยชาวมองโกล จึงได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เปี้ยนจิง (เมืองไคฟง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) หลังจากนั้น ราชวงศ์หยวนก็ได้สถาปนาขึ้นภายใต้การปกครองของชาวมองโกล และตั้งให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงในปี 2353 (ค.ศ. 1810) จากนั้นปักกิ่งก็ถูกตั้งให้เป็นเมืองหลวงเรื่อยมาในสมัยราชวงศ์หมิง และชิง จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2492 เมื่อจีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้กำหนดให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศจนถึงปัจจุบัน โบราณสถานในปักกิ่งที่ตกทอดสืบต่อมาและมีปรากฏให้เห็นจนถึงทุกวันนี้มีมาก มาย เช่น พระราชวังต้องห้าม กำแพงเมืองจีน หอบูชาฟ้า พระราชวังฤดูร้อน สุสานสิบสามกษัตริย์ เป็นต้น สถานที่เหล่านี้ล้วนเป็นมรดกทางประศาสตร์อันสำคัญทั้งของจีนและของโลก
ที่ตั้งและอาณาเขตแก้ไข
มหานครปักกิ่งมีพื้นที่ติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ทิศใต้ และ ทิศตะวันตก ถูกล้อมรอบด้วย มณฑลเหอเป่ย์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ นครเทียนสิน
ภูมิอากาศแก้ไข
ข้อมูลภูมิอากาศของปักกิ่ง | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 12.9 (55.2) |
19.8 (67.6) |
26.4 (79.5) |
33.0 (91.4) |
38.3 (100.9) |
40.6 (105.1) |
41.9 (107.4) |
36.1 (97) |
34.4 (93.9) |
29.8 (85.6) |
22.0 (71.6) |
19.5 (67.1) |
42.6 (108.7) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 1.8 (35.2) |
5.0 (41) |
11.6 (52.9) |
20.3 (68.5) |
26.0 (78.8) |
30.2 (86.4) |
30.9 (87.6) |
29.7 (85.5) |
25.8 (78.4) |
19.1 (66.4) |
10.1 (50.2) |
3.7 (38.7) |
17.9 (64.2) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | −8.4 (16.9) |
−5.6 (21.9) |
0.4 (32.7) |
7.9 (46.2) |
13.6 (56.5) |
18.8 (65.8) |
22.0 (71.6) |
20.8 (69.4) |
14.8 (58.6) |
7.9 (46.2) |
0.0 (32) |
−5.8 (21.6) |
7.2 (45) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | −18.3 (-0.9) |
−27.4 (-17.3) |
−15.0 (5) |
−3.2 (26.2) |
2.5 (36.5) |
9.8 (49.6) |
15.3 (59.5) |
11.4 (52.5) |
3.7 (38.7) |
-3.5 (25.7) |
-12.5 (9.5) |
-18.5 (-1.3) |
−27.4 (−17.3) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 2.7 (0.106) |
4.9 (0.193) |
8.3 (0.327) |
21.2 (0.835) |
34.2 (1.346) |
78.1 (3.075) |
185.2 (7.291) |
159.7 (6.287) |
45.5 (1.791) |
21.8 (0.858) |
7.4 (0.291) |
2.8 (0.11) |
571.8 (22.512) |
ความชื้นร้อยละ | 44 | 44 | 46 | 46 | 53 | 61 | 75 | 77 | 68 | 61 | 57 | 49 | 56.8 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) | 1.8 | 2.3 | 3.3 | 4.3 | 5.8 | 9.7 | 13.6 | 12.0 | 7.6 | 5.0 | 3.5 | 1.7 | 70.6 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 194.1 | 194.7 | 231.8 | 251.9 | 283.4 | 261.4 | 212.4 | 220.9 | 232.1 | 222.1 | 185.3 | 180.7 | 2,670.8 |
แหล่งที่มา: China Meteorological Administration [11], all-time extreme temperature[12] |
ประชากรแก้ไข
กรุงปักกิ่งมีประชากรทั้งสิ้น 21,707,000 คน[13](ข้อมูลเมื่อเดือน มกราคม ค.ศ.2021)
การขนส่งแก้ไข
กรุงปักกิ่ง มีการจัดการขนส่งมวลชน เช่น รถไฟใต้ดินปักกิ่ง เริ่มก่อสร้างทางรถไฟใต้ดินเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1965 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1969 และเปิดบริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1971 โดยมีสถานีรถไฟทั้งหมด 370 แห่งและมีระยะทางทั้งหมด 608 กิโลเมตร (ข้อมูลจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.2017 )
การศึกษาแก้ไข
ปักกิ่ง ถือว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศจีน โดยมีสถาบันการศึกษาชั้นนำกว่า 70 แห่ง และสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์กว่า 4,000 แห่ง[14]
ห้องแสดงภาพแก้ไข
หมายเหตุแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Township divisions". ebeijing.gov.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2009. สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- ↑ "Doing Business in China – Survey". Ministry of Commerce of the People's Republic of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2014. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
- ↑ "Communiqué of the Seventh National Population Census (No. 3)". National Bureau of Statistics of China. 11 May 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2021. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
- ↑ "政府工作报告-2022年1月6日在北京市第十五届人民代表大会第五次会议上-政府工作报告解读-北京市发展和改革委员会". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2022. สืบค้นเมื่อ 23 January 2022.
- ↑ 5.0 5.1 "CN¥6.3527 per dollar (according to International Monetary Fund on January 2022 publication)". IMF. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
- ↑ "World Economic Outlook (WEO) database". International Monetary Fund. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2 April 2022.
- ↑ "CN¥4.173 per Int'l. dollar (according to International Monetary Fund in October 2021 publication)". IMF. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2020. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
- ↑ "Subnational Human Development Index". Global Data Lab China. 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
- ↑ รู้ไหม ปักกิ่งเป็นเมืองที่มีหลายชื่อที่สุดในโลก (CRI)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-08. สืบค้นเมื่อ 2018-02-13.
- ↑ "中国地面国际交换站气候标准值月值数据集(1971-2000年)" (ภาษาจีน). China Meteorological Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-16. สืบค้นเมื่อ 2010-05-04.
- ↑ "Extreme Temperatures Around the World". สืบค้นเมื่อ 2013-02-21.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-23. สืบค้นเมื่อ 2018-02-21.
- ↑ อักษรศรี (อติสุธาโภชน์) พานิชสาส์น ,เศรษฐกิจจีน หน้า 291
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- www.beijing.gov.cn เว็บไซต์ทางการ (อักษรจีนตัวย่อ)
- เว็บไซต์ทางการ เก็บถาวร 2010-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ภาษาอังกฤษ)
- กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เก็บถาวร 2005-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สาระน่ารู้ก่อนเดินทาง โดยกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย
- Beijing คู่มือการท่องเที่ยวจากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
บทความเกี่ยวกับเกี่ยวกับสถานที่ในประเทศจีนนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |