สภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน
สภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน (จีน: 中国人民政治协商会议; อังกฤษ: Chinese People's Political Consultative Conference; CPPCC) เป็นองค์กรที่ปรึกษาทางการเมืองในสาธารณรัฐประชาชนจีนและเป็นส่วนสำคัญของระบบแนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน สมาชิกมีหน้าที่ให้คำแนะนำและเสนอข้อเสนอเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองและสังคมต่อหน่วยงานรัฐบาล[1] อย่างไรก็ตาม สภาฯ เป็นองค์กรที่ไม่มีอำนาจนิติบัญญัติแท้จริง[2] แม้จะมีการปรึกษาหารือเกิดขึ้น แต่ก็อยู่ภายใต้การกำกับดูแลและสั่งการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[2]
สภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน 中国人民政治协商会议 จงกั๋วเหรินหมินเจิ้งจื้อเสียชางฮุ่ยอี้ | |
---|---|
![]() | |
ประเภท | |
ประเภท | |
ประวัติ | |
ก่อตั้ง | 21 กันยายน ค.ศ. 1949 |
ก่อนหน้า | สมัชชาแห่งชาติ |
ผู้บริหาร | |
องค์กรแห่งชาติ | |
เว็บไซต์ | |
en |
สภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 中国人民政治协商会议 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 中國人民政治協商會議 | ||||||
| |||||||
ย่อ | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 人民政协 | ||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 人民政協 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | การปรึกษาหารือการเมืองของประชาชน | ||||||
| |||||||
ย่อที่สุด | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 政协 | ||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 政協 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | การปรึกษาหารือการเมือง | ||||||
| |||||||
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (3) | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 新政协 | ||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 新政協 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | การปรึกษาหารือการเมืองใหม่ | ||||||
|
ลำดับชั้นการจัดองค์กรของสภาฯ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการแห่งชาติและคณะกรรมการภูมิภาค คณะกรรมาธิการภูมิภาคขยายไปถึงระดับมณฑล จังหวัด และอำเภอ ตามกฎบัตรของสภาฯ ความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมาธิการแห่งชาติกับคณะกรรมการภูมิภาคเป็นความสัมพันธ์แบบการให้คำแนะนำ ไม่ใช่การนำโดยตรง อย่างไรก็ตาม มีการนำทางทางอ้อมผ่านกรมงานแนวร่วมในแต่ละระดับ[3][4] คณะกรรมาธิการแห่งชาติประจำสภาฯ โดยทั่วไปจะจัดการประชุมประจำปีในเวลาเดียวกับการประชุมเต็มสภาของสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) การประชุมเต็มคณะของคณะกรรมาธิการแห่งชาติประจำสภาฯ และสภาประชาชนแห่งชาติ ถูกเรียกรวมกันว่า เฉฺวียนกั๋วเหลี่ยงฮุ่ย ("การประชุมสองสภาแห่งชาติ")
โดยธรรมเนียมแล้ว องค์กรนี้ประกอบด้วยผู้แทนจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน องค์กรประชาชน และแปดพรรคการเมืองที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์จีน รวมถึงสมาชิกที่ดูเหมือนเป็นอิสระแต่ในนาม[5][6][7] คณะกรรมาธิการแห่งชาติประจำสภาฯ มีประธานเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อรักษาไว้ซึ่งยุทธศาสตร์แนวร่วม สมาชิกที่โดดเด่นซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ถูกรวมเข้ามาในตำแหน่งรองประธาน โดยมีตัวอย่างเช่น เฉิน ชูทง, หลี่ จี้เชิน และซ่ง ชิ่งหลิง[8]
สภาฯ มีเจตนาที่จะเป็นตัวแทนของประชาชนในวงกว้างมากกว่าที่พบได้ทั่วไปในสำนักงานรัฐบาลในสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงตัวแทนจากหลากหลายกลุ่มทั้งภายในและนอกพรรคคอมมิวนิสต์จีน องค์ประกอบของสมาชิกสภาฯ เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาโดยสอดคล้องกับลำดับความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของชาติ[9] ก่อนหน้านี้ สภาฯ ถูกครอบงำโดยบุคคลอาวุโสในภาคอสังหาริมทรัพย์ รัฐวิสาหกิจ และ "บุตรหลานชนชั้นนำ" แต่ใน ค.ศ. 2018 องค์ประกอบหลักของสภาฯ กลับเป็นบุคคลจากภาคเทคโนโลยีของจีน[10]
ประวัติศาสตร์
แก้จุดเริ่มต้นของสภานี้มีมาตั้งแต่ก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในระหว่างการเจรจาระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนและก๊กมินตั๋งใน ค.ศ. 1945 ทั้งสองฝ่ายตกลงเปิดการเจรจาแบบหลายพรรคเกี่ยวกับปฏิรูปการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สองผ่านการประชุมปรึกษาการเมือง สิ่งนี้ถูกรวมอยู่ในความตกลงสิบสิบ ความตกลงนี้ถูกดำเนินการโดยรัฐบาลแห่งชาติสาธารณรัฐจีน ซึ่งจัดสมัชชาที่ปรึกษาการเมืองครั้งแรกขึ้นระหว่างวันที่ 10 ถึง 31 มกราคม ค.ศ. 1946 ผู้แทนจากก๊กมินตั๋ง พรรคคอมมิวนิสต์จีน พรรคเยาวชนจีน สันนิบาตประชาธิปไตยจีน และผู้แทนอิสระ เข้าร่วมการประชุมในฉงชิ่ง[ต้องการอ้างอิง]
หลังประสบความสำเร็จครั้งใหญ่ในสงครามกลางเมือง พรรคคอมมิวนิสต์จีนเชิญพรรคการเมืองอื่น องค์กรประชาชน และผู้นำชุมชนในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 เพื่อจัดการประชุมปรึกษาการเมืองครั้งใหม่เพื่อหารือเกี่ยวกับรัฐใหม่และรัฐบาลผสมชุดใหม่[11]
ใน ค.ศ. 1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของจีนแผ่นดินใหญ่ได้แล้ว พวกเขาได้จัดการประชุมปรึกษาการเมือง "ใหม่" ในเดือนกันยายน โดยเชิญผู้แทนจากพรรคพันธมิตรต่าง ๆ เข้าร่วมและหารือเกี่ยวกับการก่อตั้งรัฐใหม่[2] การประชุมนี้ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนแห่งชาติ วันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1949 สภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีนลงมติเป็นเอกฉันท์รับรองโครงการร่วมเป็นโครงการทางการเมืองพื้นฐานของประเทศ[12]: 25 การประชุมอนุมัติเพลงชาติ ธงชาติ เมืองหลวง และชื่อประเทศใหม่ รวมถึงเลือกตั้งรัฐบาลชุดแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน[2]
ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 ถึง 1954 สภานี้กลายเป็นสภานิติบัญญัติโดยพฤตินัยของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงเวลานี้ มีการออกกฎหมายเกือบ 3,500 ฉบับ เพื่อวางรากฐานของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น ใน ค.ศ. 1954 รัฐธรรมนูญได้โอนอำนาจนิติบัญญัติไปยังสภาประชาชนแห่งชาติ[13]
ในช่วงการรณรงค์ร้อยบุปผาระหว่าง ค.ศ. 1956 ถึง 1957 เหมา เจ๋อตงสนับสนุนให้สมาชิกสภาฯ พูดถึงข้อบกพร่องของพรรคคอมมิวนิสต์จีน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ทำเช่นนั้นต้องเผชิญกับผลกระทบรุนแรง เช่น การถูกวิจารณ์อย่างหนักและ/หรือถูกส่งไปค่ายแรงงานในการรณรงค์ต่อต้านฝ่ายขวาในเวลาต่อมา[2]
เช่นเดียวกับสถาบันส่วนใหญ่ สภาฯ ถูกทำลายล้างแทบจะหมดสิ้นในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม[13] มันถูกฟื้นฟูในช่วงการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมาธิการแห่งชาติชุดที่ 5 ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ถึง 8 มีนาคม ค.ศ. 1974 ซึ่งเติ้ง เสี่ยวผิงได้รับเลือกเป็นประธาน[2] มีการออกกฎใหม่สำหรับสภาฯ ใน ค.ศ. 1983 ซึ่งจำกัดสัดส่วนของสมาชิกพรรคคอมิวนิสต์จีนให้อยู่ที่ร้อยละ 40[13]
นับตั้งแต่เริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจ สภาฯ ได้มุ่งเน้นมากขึ้นในการรองรับชนชั้นนำของฮ่องกงและมาเก๊าและดึงดูดการลงทุนจากชุมชนชาวจีนโพ้นทะเล[13] ใน ค.ศ. 1993 มีการจัดตั้ง "ภาคเศรษฐกิจ" ใหม่ขึ้นภายในสภาฯ และในคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้เห็นการเพิ่มขึ้นของจำนวนสมาชิกสภาฯ ที่มีแนวโน้มทางธุรกิจ ซึ่งหลายคนมองว่าสภาฯ เป็นช่องทางสร้างเครือข่ายและสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ในกลไกพรรค-รัฐ[13]
เมื่อแผนการสร้างเขื่อนซานเสีย (เขื่อนสามผา) ถูกรื้อฟื้นโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนในช่วงที่เน้นนโยบายสี่ทันสมัยในระยะแรกของการปฏิรูปและเปิดประเทศ สภาฯ กลายเป็นศูนย์กลางของการคัดค้านโครงการนี้[14]: 204 มันได้เรียกประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญซึ่งแนะนำให้เลื่อนโครงการออกไป[14]: 204
บทบาทในปัจจุบัน
แก้สภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีนเป็นองค์กรที่มีลำดับสูงสุดในระบบแนวร่วม[3] คือ "เวทีแนวร่วมสูงสุดที่รวบรวมเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนและชนชั้นนำชาวจีนเข้าไว้ด้วยกัน"[15] ตามที่ปีเตอร์ แมตทิส นักจีนวิทยากล่าวไว้ สภาฯ เป็น "สถานที่เดียวที่ผู้มีบทบาทสำคัญทั้งหมดทั้งภายในและนอกพรรคมารวมตัวกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้อาวุโสของพรรค เจ้าหน้าที่ข่าวกรอง นักการทูต นักโฆษณาชวนเชื่อ ทหารและกรรมาธิการการเมือง เจ้าหน้าที่แนวร่วม นักวิชาการ และนักธุรกิจ"[16] ในทางปฏิบัติ สภาฯ ทำหน้าที่เป็น "สถานที่ซึ่งข้อความต่าง ๆ ถูกพัฒนาและเผยแพร่ในหมู่สมาชิกพรรคและผู้ศรัทธาที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคซึ่งมีอิทธิพลต่อการรับรู้เกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนและประเทศจีน"[16]
สภาฯ ประกอบด้วยผู้แทนที่ได้รับเลือกจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน องค์กรประชาชน และแปดพรรค พรรคการเมืองที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายที่อยู่ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์จีน ตลอดจนผู้แทนที่เป็นอิสระในนาม[17] กรมองค์การของพรรคมีหน้าที่รับผิดชอบการเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน[18]: 61
สภาฯ จัดสรร "ที่นั่ง" รองให้กับ 8 พรรคที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์และที่เรียกกันว่า "นักประชาธิปไตยผู้รักชาติ"[17] สภาฯ ยังสงวนที่นั่งสำหรับผู้แทนชาวโพ้นทะเล[19] รวมถึงผู้แทนระดับภูมิภาคจากฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวันด้วย[1] กรมงานแนวร่วมของพรรคเสนอชื่อบุคคลที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อแต่งตั้งหรือเลือกตั้งเข้าสู่สภาฯ[18]: 61
แนวคิดที่ว่าพรรคการเมืองที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์เป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายค้านนั้นแสดงออกมาในหลักการตามรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ว่า "การปรึกษาหารือการเมืองและความร่วมมือแบบหลายพรรค"[17] ตามหลักการแล้ว พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีพันธะที่จะต้องปรึกษาหารือกับฝ่ายอื่น ๆ ในประเด็นนโยบายหลักทั้งหมด[17] ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 สมาชิกสภาฯ ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนบ่อยครั้งเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจและสังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม[17]
—คำปรารภของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน[20]
ตามสำนักข่าวซินหัวของรัฐ สภาฯ ถูกอธิบายว่าเป็น "องค์กรแนวร่วมรักชาติของประชาชนจีน" มีการอธิบายเพิ่มเติมว่า สภาฯ ไม่ใช่องค์กรอำนาจรัฐหรือกำหนดนโยบาย แต่เป็นเวทีสำหรับ "พรรคการเมืองต่าง ๆ องค์กรประชาชน และประชาชนจากทุกกลุ่มชาติพันธุ์และจากทุกภาคส่วนของสังคม" เพื่อเข้าร่วมในกิจการแห่งรัฐ[21]
ในฐานะองค์กรแนวร่วม สภาฯ ทำงานร่วมกับกรมงานแนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตามที่แมตทิสกล่าวไว้ สภาฯ รวบรวมชนชั้นนำของสังคม ขณะที่กรมงานแนวร่วม "ดำเนินตามนโยบายและจัดการรายละเอียดปลีกย่อยของงานแนวร่วม" กรมงานแนวร่วมดูแลผู้แทนขององค์กรประชาชน ซึ่งเป็นสมาชิกของสภาฯ และจัดการงานเสนอชื่อผู้แทนที่อาจได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภาจากองค์กรเหล่านี้[16]
คณะกรรมาธิการแห่งชาติ
แก้คณะกรรมาธิการแห่งชาติประจำสภาฯ เป็นองค์กรระดับชาติที่แสดงถึงสภาฯ ในระดับประเทศและประกอบด้วยผู้แทนจากภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม ผู้แทนคณะกรรมาธิการแห่งชาติได้รับการเลือกตั้งสำหรับวาระ 5 ปี แต่สามารถขยายวาระได้ในกรณีพิเศษโดยการลงคะแนนเสียงด้วยจำนวนสองในสามของผู้แทนคณะกรรมาธิการสามัญทั้งหมด[22]
คณะกรรมาธิการแห่งชาติจัดการประชุมเต็มคณะเป็นประจำทุกปี แม้คณะกรรมาธิการสามัญของคณะกรรมาธิการแห่งชาติจะสามารถเรียกประชุมได้หากจำเป็น[22] การประชุมเต็มคณะโดยทั่วไปจะจัดขึ้นในเดือนมีนาคม ในช่วงเวลาเดียวกันกับการประชุมประจำปีของสภาประชาชนแห่งชาติ ซึ่งการประชุมทั้งสองนี้รวมกันเรียกว่าการประชุมสองสภา[23] ในช่วงการประชุมสองสภา สภาฯ และสภาประชาชนแห่งชาติจะรับฟังและอภิปรายรายงานจากนายกรัฐมนตรี อัยการสูงสุด และประธานศาลสูงสุด[18]: 61–62
การประชุมเต็มคณะของสภาฯ ทุกครั้งจะมีการแก้ไขกฎบัตรของสภาฯ ในการประชุมเต็มคณะครั้งแรกของแต่ละสมัยจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ ซึ่งมีหน้าที่จัดการกิจการประจำของสภา และจะมีการรับรองมติเกี่ยวกับ "หลักการและภารกิจการทำงานหลัก" ของคณะกรรมาธิการแห่งชาติ[22] คณะกรรมาธิการสามัญมีหน้าที่รับผิดชอบการคัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมการประชุม ดำเนินการตามมติของสภาฯ และตีความกฎบัตรอย่างเป็นทางการของสภา[22]
คณะกรรมาธิการแห่งชาติมีประธานเป็นผู้นำ ปัจจุบันคือหวัง ฮู่หนิง หนึ่งในเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดของประเทศ นับตั้งแต่ก่อตั้ง ประธานสภาฯ ทุกคนล้วนเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนยกเว้นในช่วงเปลี่ยนผ่าน มีตำแหน่งอย่างน้อยที่สุดคือสมาชิกที่มีอันดับที่สี่[16][15]
ประธานได้รับการช่วยเหลือจากรองประธานหลายคนและเลขาธิการ ซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานทั่วไปของคณะกรรมาธิการแห่งชาติ ทั้งหมดนี้รวมกันเป็นคณะประธาน ซึ่งจัดการกิจการประจำวันของคณะกรรมาธิการสามัญและเรียกประชุมคณะกรรมาธิการโดยเฉลี่ยอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อเดือน ต่างจากคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติที่จัดประชุมทุกสองเดือน[16][22] การประชุมเป็นการประสานงานรายงานผลการปฏิบัติงานที่ส่งไปยังคณะกรรมาธิการสามัญและคณะกรรมาธิการแห่งชาติในวงกว้าง ทบทวนงานแนวร่วม ระบุประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญระหว่างการประชุมร่วมกันของคณะกรรมาธิการ และการประชุมเต็มคณะประจำปี และเน้นย้ำทิศทางอุดมการณ์ที่สำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[16] และยังทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมเตรียมการของการประชุมเต็มคณะครั้งแรกของคณะกรรมาธิการแห่งชาติชุดต่อไป[22]
คณะกรรมาธิการภูมิภาค
แก้นอกเหนือจากคณะกรรมาธิการแห่งชาติหลักแล้ว สภาฯ ยังมีคณะกรรมาธิการภูมิภาคจำนวนมากในระดับมณฑล จังหวัด และอำเภอ[22] จากข้อมูลในโพสต์เก่าบนเว็บไซต์ของสภาฯ พบว่า ณ สิ้น ค.ศ. 2006 มีคณะกรรมาธิการท้องถิ่น 3,164 คณะในทุกระดับ โดยมีผู้แทนประมาณ 615,164 คนที่ได้รับการเลือกตั้งในลักษณะเดียวกับคณะกรรมาธิการแห่งชาติ[16] "เช่นเดียวกับคณะกรรมาธิการแห่งชาติ คณะกรรมาธิการภูมิภาคมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีประธาน รองประธาน และเลขาธิการ จัดการประชุมเต็มคณะอย่างน้อยปีละครั้ง และมีคณะกรรมาธิการสามัญที่มีหน้าที่คล้ายกัน[22] ตามกฎบัตรของสภาฯ ความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมาธิการแห่งชาติกับคณะกรรมาธิการท้องถิ่น รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมาธิการท้องถิ่นกับคณะกรรมาธิการระดับล่างเป็น "การให้คำแนะนำ"[24]
คณะกรรมาธิการภูมิภาคต่อไปนี้ถูกจัดตั้งขึ้นตามแบบคณะกรรมาธิการแห่งชาติโดยมีองค์ประกอบของสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งเหมือนกันและแต่ละคณะกรรมาธิการอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมาธิการสามัญภูมิภาค[2][22]
- คณะกรรมาธิการระดับมณฑลของสภาฯ
- รวมถึงคณะกรรมาธิการภูมิภาคของเขตปกครองตนเองและคณะกรรมาธิการเมืองของรัฐบาลเทศบาลที่ปกครองโดยตรง (ปักกิ่ง เทียนจิน ฉงชิ่ง และเซี่ยงไฮ้)
- คณะกรรมาธิการระดับจังหวัดของสภาฯ
- รวมถึงคณะกรรมาธิการจังหวัดปกครองตนเองและคณะกรรมาธิการเมืองของจังหวัดย่อยและเมืองระดับจังหวัด
- คณะกรรมาธิการระดับอำเภอของสภาฯ
- รวมถึงคณะกรรมาธิการอำเภอและเมืองระดับอำเภอ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Tiezzi, Shannon (4 March 2021). "What Is the CPPCC Anyway?". The Diplomat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2024. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Colin Mackerras; Donald Hugh McMillen; Andrew Watson (2001). Dictionary of the Politics of the People's Republic of China. London: Routledge. p. 70. ISBN 0-203-45072-8. OCLC 57241932.
- ↑ 3.0 3.1 Bowe, Alexander (August 24, 2018). "China's Overseas United Front Work: Background and Implications for the United States" (PDF). United States-China Economic and Security Review Commission. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ September 9, 2018. สืบค้นเมื่อ May 12, 2019.
- ↑ Dotson, John (May 29, 2020). "Themes from the CPPCC Signal the End of Hong Kong Autonomy—and the Effective End of the "One Country, Two Systems" Framework". Jamestown Foundation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-07. สืบค้นเมื่อ 2020-06-03.
- ↑ Pauw, Alan Donald (1981). "Chinese Democratic Parties as a Mass Organization". Asian Affairs. 8 (6): 372–390. doi:10.1080/00927678.1981.10553834. ISSN 0092-7678. JSTOR 30171852.
- ↑ Rees-Bloor, Natasha (2016-03-15). "China's largest political conference – in pictures". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.
- ↑ "The United Front in Communist China" (PDF). Central Intelligence Agency. May 1957. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ January 23, 2017. สืบค้นเมื่อ June 10, 2020.
- ↑ Shih, Wen (1963-03-01). "Political Parties in Communist China". Asian Survey (ภาษาอังกฤษ). 3 (3): 157–164. doi:10.2307/3023623. ISSN 0004-4687. JSTOR 3023623.
- ↑ Tatlow, Didi Kirsten (2016-03-03). "Advisory Body's Delegates Offer Glimpse Into China's Worries". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.
- ↑ Yu, Xie; Leng, Sidney (2018-03-04). "Tech entrepreneurs dominate as China's political advisers in IT push". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-03-06.
- ↑ China's Political Development: Chinese and American Perspectives. Brookings Institution Press. 2014. p. 142. ISBN 978-0-8157-2535-0. JSTOR 10.7864/j.ctt6wpcbw.
- ↑ Zheng, Qian (2020). Zheng, Qian (บ.ก.). An Ideological History of the Communist Party of China. Vol. 2. แปลโดย Sun, Li; Bryant, Shelly. Montreal, Quebec: Royal Collins Publishing Group. ISBN 978-1-4878-0391-9.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 Grzywacz, Jarek (31 March 2023). "China's 'Two Sessions': More Control, Less Networking". The Diplomat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 25, 2024. สืบค้นเมื่อ 21 January 2024.
- ↑ 14.0 14.1 Harrell, Stevan (2023). An Ecological History of Modern China. Seattle: University of Washington Press. ISBN 9780295751719.
- ↑ 15.0 15.1 Joske, Alex (June 9, 2020). "The party speaks for you: Foreign interference and the Chinese Communist Party's united front system" (ภาษาอังกฤษ). Australian Strategic Policy Institute. JSTOR resrep25132. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 9, 2020. สืบค้นเมื่อ June 9, 2020.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 16.6 Cole, J. Michael; Hsu, Szu-chien (2020-07-30). Insidious Power: How China Undermines Global Democracy (ภาษาอังกฤษ). Eastbridge Books. pp. 3–39. ISBN 978-1-78869-213-7.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 Lin, Chun (2006). The Transformation of Chinese Socialism. Durham [N.C.]: Duke University Press. pp. 150–151. doi:10.2307/j.ctv113199n. ISBN 978-0-8223-3785-0. JSTOR j.ctv113199n. OCLC 63178961.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 Li, David Daokui (2024). China's World View: Demystifying China to Prevent Global Conflict. New York, NY: W. W. Norton & Company. ISBN 978-0393292398.
- ↑ Allen-Ebrahimian, Bethany (11 February 2020). "China's 'overseas delegates' connect Beijing to the Chinese diaspora". The Strategist. Australian Strategic Policy Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2023. สืบค้นเมื่อ 14 August 2023.
These overseas delegates are a way for Beijing to draw on the talent and connections of overseas Chinese to help expand the party’s influence and popularity abroad.
- ↑ "The National People's Congress of the People's Republic of China". www.npc.gov.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-06. สืบค้นเมื่อ 2018-01-05.
- ↑ "Q&A: Roles and functions of Chinese People's Political Consultative Conference". Xinhua News Agency. 3 March 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2018. สืบค้นเมื่อ 13 September 2023.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 22.6 22.7 22.8 "Charter of the Chinese People's Political Consultative Conference (CPPCC), Chapter IV: National Committee". Chinese People's Political Consultative Conference. 27 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2023. สืบค้นเมื่อ 11 January 2023.
- ↑ Davidson, Helen (2023-03-01). "Explainer: what is China's 'two sessions' gathering, and why does it matter?". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 31, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-03-04.
- ↑ "Charter of the Chinese People's Political Consultative Conference (CPPCC), Chapter II: General Organizational Principles". Chinese People's Political Consultative Conference. 27 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2023. สืบค้นเมื่อ 14 September 2023.