ซ่ง ชิ่งหลิง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ซ่ง ชิ่งหลิง (จีน: 宋庆龄; พินอิน: Sòng Qìnglíng; เวด-ไจลส์: Sung4 Ch'ing4-ling3) (27 มกราคม ค.ศ. 1893 – 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1981) เป็นบุคคลสำคัญในวงการเมืองจีน เป็นภรรยาคนที่สามของซุน ยัตเซ็น หนึ่งในผู้นำของการปฏิวัติซินไฮ่ที่ได้ก่อตั้งสาธารณรัฐจีน เธอมักจะถูกเรียกกันว่า มาดามซุน ยัตเซ็น เธอเป็นสมาชิกของตระกูลซ่ง ได้มีบทบาทสำคัญในวงการเมืองจีนร่วมกับพี่น้องของเธอก่อนปี ค.ศ. 1949
คุณนาย โรซามอนด์ ซ่ง ชิ่งหลิง | |
---|---|
宋庆龄 | |
ประธานกิติมศักดิ์สาธารณรัฐประชาชนจีน | |
แต่งตั้งโดย | คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติชุดที่ 5 |
หัวหน้ารัฐบาล | จ้าว จื่อหยาง |
ผู้นำ | เติ้ง เสี่ยวผิง กับเฉิน ยฺหวิน |
รองประธานสาธารณรัฐประชาชนจีน | |
ดำรงตำแหน่ง 27 เมษายน 1959 – 17 มกราคม 1975 ทำหน้าที่คู่กับ ต่ง ปี้อู่ | |
ประธานาธิบดี | หลิว เช่าฉี ต่ง ปี้อู่ (รักษาการ) |
ก่อนหน้า | จู เต๋อ |
ถัดไป | โอลางฮู (1983) |
ประธานสาธารณรัฐประชาชนจีน | |
ดำรงตำแหน่ง 31 ตุลาคม 1968 – 24 กุมภาพันธ์ 1972 รักษาการร่วมกับ ต่ง ปี้อู่ | |
หัวหน้ารัฐบาล | โจว เอินไหล |
ผู้นำ | เหมา เจ๋อตง |
ก่อนหน้า | หลิว เช่าฉี (ในตำแหน่งประธาน) |
ถัดไป | ต่ง ปี้อู่ (ในตำแหน่งรักษาการประธาน) |
ดำรงตำแหน่ง 6 กรกฎาคม 1976 – 5 มีนาคม 1978 ในตำแหน่งรักษาการประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ | |
หัวหน้ารัฐบาล | ฮฺว่า กั๋วเฟิง |
ผู้นำ | ฮฺว่า กั๋วเฟิง |
ก่อนหน้า | จู เต๋อ |
ถัดไป | เย่ เจี้ยนอิง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 มกราคม ค.ศ. 1893 นิคมนานาชาติเซี่ยงไฮ้ |
เสียชีวิต | 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 ปักกิ่ง ประเทศจีน | (88 ปี)
พรรคการเมือง | ก๊กมินตั๋ง (1919–47) องค์การคอมมิวนิสต์สากล (1931–43) คณะปฏิวัติแห่งก๊กมินตั๋ง (1948–81) พรรคคอมมิวนิสต์จีน (1981) |
คู่สมรส | ซุน ยัตเซ็น |
บุพการี | ชาร์ลี ซ่ง และ หนี กุ้ยเจิน |
ภายหลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949 เธอได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญหลายตำแหน่งในรัฐบาลใหม่ เช่น รองประธานาธิบดีจีน (1949–1954; 1959–1975) และรองประธานของคณะกรรมการสภาประชาชนแห่งชาติ (1954–1959; 1975–1981) ได้เดินทางไปต่างประเทศในช่วงต้นปี ค.ศ. 1950 ในฐานะตัวแทนของประเทศ ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม เธอได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักภายหลังที่ประธานาธิบดีหลิว เช่าฉีถูกกำจัด เธอและต่ง ปี้อู่ ในฐานะรองประธานได้กลายเป็นประมุขแห่งรัฐจีนโดยพฤตินัยจนกระทั่งปี ค.ศ. 1972 เมื่อต่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการตำแหน่งประธานาธิบดี ซ่งได้รอดชีวิตจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรม แต่ก็ได้ปรากฏตัวได้น้อยครั้งหลังจากปี ค.ศ. 1976 ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำของสภาประชาชนแห่งชาติจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972–1978 ซ่งได้เป็นประมุขแห่งรัฐ ในช่วงวาระสุดท้ายจาการอาการป่วยของเธอในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1981 เธอได้รับตำแหน่งพิเศษเป็น "ประธานาธิบดีกิตติมศักดิ์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน"
แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
แก้- สุรางค์ศรี ตันเสียงสม. “ซ่งชิงหลิง อัญมณีของจีน.” ใน สุวดี เจริญพงศ์ และปิยนาถ บุนนาค (บก.), สตรีแถวหน้าในประวัติศาสตร์เอเชีย. หน้า 79-120. กรุงเทพฯ: บ้านพิทักษ์อักษร, 2550.