ราชวงศ์ชิง
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ โดยแก้ศักราชคืนเป็น ค.ศ. ตามเดิม เพราะก่อนเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ ปีเหลื่อมกันอยู่ ไม่อาจเอา 543 บวกลบตามปกติได้ คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ราชวงศ์ชิง (ภาษาแมนจู: daicing gurun; ภาษาจีน:清朝 ; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา ; ) หรือบ้างเรียก ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต่ ค.ศ. 1636 ถึง ค.ศ. 1912
จักรวรรดิต้าชิง 大清 | |||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1636–1912 | |||||||||||||||||||||||
อาณาเขตของจักรวรรดิชิงในช่วงที่แผ่อำนาจกว้างที่สุดในปี ค.ศ. 1760 ดินแดนภายใต้การควบคุมของราชสำนักแสดงด้วยสีเขียวเข้ม และดินแดนที่อ้างสิทธิ์แต่มิได้ควบคุมแสดงด้วยสีเขียวอ่อน | |||||||||||||||||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ | ||||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | เฉิ่นหยาง (ค.ศ. 1636–1644) ปักกิ่ง (ค.ศ. 1644–1912) | ||||||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาจีน ภาษาแมนจู ภาษามองโกล | ||||||||||||||||||||||
ศาสนา | เต๋า, ขงจื๊อ, พุทธ, คริสต์, อิสลาม, อื่นๆ | ||||||||||||||||||||||
เดมะนิม | ชาวจีน | ||||||||||||||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ค.ศ.1636–1911) ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (ค.ศ.1911–1912) | ||||||||||||||||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1636-1643 | จักรพรรดิฉงเต๋อ (พระองค์แรก) | ||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1661-1722 | จักรพรรดิคังซี | ||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1908-1912 | จักรพรรดิเซฺวียนถ่ง (พระองค์สุดท้าย) | ||||||||||||||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1911 | ยี่กวัง เจ้าแห่งชิง | ||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1911-1912 | ยฺเหวียน ชื่อไข่ | ||||||||||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | สภาพิจารณา (ค.ศ. 1636–1733) สภาที่ปรึกษา (ค.ศ. 1910–1912) | ||||||||||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||||
• การก่อตั้งจินยุคหลัง | ค.ศ. 1616 | ||||||||||||||||||||||
• เปลี่ยนชื่อจาก "จิน" เป็น "ชิง" | เมษายน ค.ศ. 1636 | ||||||||||||||||||||||
6 มิถุนายน ค.ศ. 1644 | |||||||||||||||||||||||
ค.ศ. 1755-1792 | |||||||||||||||||||||||
ค.ศ. 1850-1864 | |||||||||||||||||||||||
ค.ศ. 1898 | |||||||||||||||||||||||
• การปฏิวัติซินไฮ่และจักรพรรดิเซฺวียนถ่งสละพระราชสมบัติ | 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 | ||||||||||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||||||||||
140,000,000 | |||||||||||||||||||||||
301,000,000 | |||||||||||||||||||||||
395,918,000 | |||||||||||||||||||||||
|
จักรวรรดิชิง | |||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาจีน | 清朝 | ||||||||
| |||||||||
มหาจักรวรรดิชิง | |||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 大清帝國 | ||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 大清帝国 | ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์จินยุคหลัง | |||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 後金朝 | ||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 后金朝 | ||||||||
| |||||||||
ชื่อภาษาแมนจู | |||||||||
อักษรแมนจู | | ||||||||
อักษรโรมัน | Daiqing gurun ไดชิง กูรุง อมากา ไอซิง กูรุง |
ราชวงศ์ชิงไม่ได้ก่อตั้งโดยชาวฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน แต่เป็นชาวแมนจูซึ่งอาศัยอยู่ในเขตแมนจูเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ในสมัยนั้น ชาวแมนจูเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยเร่ร่อนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งยังไม่มีคนรู้จักมากนั้น ในช่วงที่ราชวงศ์หมิงของชาวจีนฮั่นอยู่ในสภาพอ่อนแอ เกิดจลาจลและการเมืองไร้เสถียรภาพ
ราชวงศ์ชิงนั้นได้ก่อตั้งโดยชนเผ่าหนู่เจิน โดยตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัวเป็นผู้นำ ตั้งอยู่ในดินแดนแมนจูเรีย ในปลายศตวรรษที่สิบหก นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ผู้นำเผ่าหนู่เจินได้แข็งข้อไม่ยอมขึ้นกับราชวงศ์หมิงและได้เริ่มจัดตั้งกองทัพแปดกองธงขึ้น ซึ่งเป็นกองทัพที่รวมเผ่าต่าง ๆ เข้าด้วยกัน อันได้แก่ ชาวหนู่เจิน, ชาวจีนฮั่นและ ชาวมองโกล นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ได้รวมเผ่าหนู่เจินเป็นปึกแผ่นและเปลี่ยนชื่อเป็น แมนจู นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ถือได้ว่าเป็นผู้นำชาวแมนจูคนแรกที่ได้ถือโอกาสรวบรวมกำลังพล ในปี ค.ศ. 1637 หฺวัง ไถจี๋ โอรสของนู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ได้นำกองทัพขับไล่กองทัพราชวงศ์หมิงออกจากคาบสมุทรเหลียวตง และก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ ชื่อว่า ราชวงศ์ชิง
ในปี ค.ศ. 1636 ได้เกิดกบฎชาวนานำโดย หลี่ จื้อเฉิง นำกำลังเข้ายึดกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของราชวงศ์หมิง นำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์หมิง หลี่ จื้อเฉิงได้ตั้งตนเองเป็นจักรพรรดิก่อตั้งราชวงศ์ชุนขึ้นมาแทน ในขณะเดียวกันผู้นำราชวงศ์ชิง จักรพรรดิซุ่นจื้อ ได้เริ่มนำกองทัพรุกรานแผ่นดินจีนและล้อมกรุงปักกิ่ง อู๋ ซานกุ้ย แม่ทัพราชวงศ์หมิงผู้ทรยศ ได้แอบติดต่อกับกองทัพแมนจูลับ ๆ และเปิดประตูป้อมด่านซันไห่ ทำให้กองทัพแมนจูแปดกองธง นำโดยตัวเอ่อร์กุ่น เข้ายึดกรุงปักกิ่งได้สำเร็จ ราชวงศ์ชุนล่มสลาย
เมื่อกองทัพแมนจูนำเข้าบุกยึดกรุงปักกิ่งซึ่งเป็นอดีตราชธานีของราชวงศ์หมิงได้ จักรพรรดิซุ่นจื้อได้สถาปนา จักรวรรดิต้าชิง (ภาษาจีน: 大清帝國, พินอิน: dàqīngdìguó) แต่ในระยะแรกของปกครองของราชวงศ์ชิง ชาวแมนจูได้เรียกตำแหน่งจักรพรรดิของตนว่า ข่าน ตามแบบมองโกล จักรพรรดิแมนจูยังทรงให้การอุปถัมภ์ศาสนาพุทธแบบทิเบต ราชวงศ์ชิงปกครองโดยใช้รูปแบบขงจื๊อ แต่ในการปกครองนั้นยังมีชาวจีนฮั่นที่ต่อต้านการปกครองของชาวแมนจูอยู่ และได้รวมตัวกันเป็นอาณาจักรหมิงใต้และได้เกิดกบฏสามเจ้าศักดินา ของอู๋ ซานกุ้ย แต่ก่อกบฎของชาวฮั่นได้ถูกทางการราชวงศ์ชิงปราบปรามได้สำเร็จ ในรัชสมัยของจักรพรรดิคังซี (พ.ศ. 2204–2265) ภายหลังการต่อต้านของชาวฮั่นนั้นทำให้ราชวงศ์ชิงหันมาใช้นโยบายประนีประนอมและผ่อนปรน โดยอนุญาตให้ชาวฮั่นมีสิทธิ์สอบจอหงวนเข้ารับราชการ และมีสิทธิ์เท่าเทียมกับชาวแมนจูได้บางอย่าง
ในรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงถือเป็นยุคทองที่รุ่งเรืองของราชวงศ์ชิง พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะขยายอาณาเขตของจักรวรรดิต้าชิงโดยรวมเอเชียกลางและบางส่วนของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่าและเวียดนาม สิ่งนำไปสู่การรบครั้งใหญ่หรือที่เรียกว่า สิบการทัพใหญ่ ตลอดรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงมีการใช้ระบบรัฐบรรณาการหรือจิ้มก้อง โดยจะมีการเรียกเครื่องราชบรรณาการจากบรรดาประเทศเพื่อนบ้าน
ในปลายสมัยของราชวงศ์ชิง ถือว่าได้เป็นยุคตกต่ำของราชวงศ์ การปกครองของราชวงศ์เป็นไปด้วยความล้มเหลว เกิดการฉ้อโกง สังคมเสื่อมโทรม ภาวะอดอยาก อีกทั้งต้องประสบกับการถูกรุกรานจากบรรดาชาตินักล่าอาณานิคมเนื่องจากในขณะนั้นเกิดจักรวรรดินิยมและลัทธิล่าอาณานิคมขึ้น ประเทศตะวันตกในยุโรป ได้เริ่มล่าอาณานิคมในเมืองจีน โดยมีจักรวรรดิอังกฤษเป็นชาติแรก อังกฤษได้นำฝิ่นมามอมเมาชาวจีนทำให้ราชสำนักชิงอ่อนแอ นำไปสู่สงครามฝิ่นถึง 2 ครั้ง ซึ่งราชวงศ์ชิงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทำให้ต้องสูญเสียเกาะฮ่องกงแก่อังกฤษ อีกทั้งต้องทำสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมจำนวนมากกับชาติตะวันตก และจีนต้องเสียเกาะมาเก๊าให้โปรตุเกส รวมถึงเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ราชวงศ์ชิงยังพ่ายแพ้สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ซึ่งทำให้จีนสูญเสียเกาหลีและเกาะไต้หวัน แก่ญี่ปุ่น อีกทั้งการเกิดกบฎนักมวย ในปี พ.ศ. 2442 ทำให้ชาวจีนรู้สึกอัปยศอดสูเป็นอย่างมาก จักรพรรดิกวางสูได้ทรงพยายามทำการปฏิรูปพัฒนาประเทศให้ทันสมัยแต่แผนการของพระองค์กลับถูกทำลายลงโดย พระนางซูสีไทเฮา ซึ่งถือเป็นผู้ขัดขวางการพัฒนาสู่สมัยใหม่ของจักรวรรดิต้าชิง
ตลอดระยะเวลาที่ราชวงศ์ชิงระส่ำระส่าย เป็นประเทศล้าหลังและวุ่นวาย ชาวจีนถูกชาวตะวันตกและญี่ปุ่น ขนานนามว่าเป็น ขี้โรคแห่งเอเชีย ทำให้ชาวจีนบางส่วนต้องการกอบกู้ศักดิ์ศรีของประเทศ โดยมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศให้เจริญและเป็นประชาธิปไตย โดยมีขบวนการถงเหมิงฮุ่ย มี ดร. ซุน ยัตเซ็น เป็นผู้นำ ราชวงศ์ชิงครองแผ่นดินจีนจนถึงปี พ.ศ. 2454 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ซึ่งเป็นการลุกฮือต่อต้านราชวงศ์ชิง ราชวงศ์ชิงถูกยึดอำนาจในปีนั้น และใน พ.ศ. 2455 จักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์ชิง และการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นเวลานับ 5,000 ปีของประวัติศาสตร์จีน ถงเหมิงฮุ่ยได้เปลี่ยนแปลงประเทศนำไปสู่การปกครองแบบประชาธิปไตย และมีชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐจีน
ชื่อ
แก้นู่เอ๋อร์ฮาชื่อตั้งตนเป็น "ข่านแห่งแสงสว่าง" แห่ง จิน ที่แปลว่า ทอง เพื่อเป็นเกียรติแก่อาณาจักรโบราณ ในศตวรรษที่ 12-13 ของชาวหนี่เจินโดยมีราชวงศ์จินปกครอง และเพื่อเป็นเกียรติแด่ ตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว (อ้ายซิน เป็น ภาษาแมนจู สำหรับทับศัพท์ภาษาจีน คำว่า 金 (จิน, ที่แปลว่า "ทองคำ") ต่อมาในรัชสมัยหฺวัง ไถจี๋ ได้ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "จักรวรรดิต้าชิง" ในปี พ.ศ. 2179[1] โดยคำว่า "ชิง" แปลว่า บริสุทธิ์ หรือ ใหม่ ชื่อของคำว่าชิงนั้น มีการสันนิษฐานในยุคหลังว่าอาจจะเป็นการแทนที่คำว่า "หมิง" (明) ของราชวงศ์หมิง ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษรจีน คำว่า "ดวงอาทิตย์" (日) และ "ดวงจันทร์" (月) ซึ่งทั้งสองคำเกี่ยวข้องกับธาตุไฟของธาตุทั้งห้าในศาสตร์ฮวงจุ้ย ในขณะที่คำว่า ชิง (清) เกิดจากการรวมอักษรของคำว่า น้ำ (氵) และอักษรคำว่า สีฟ้า (青) ซึ่งทั้งสองคำเกี่ยวข้องกับธาตุน้ำ ซึ่งพรรณนาแสดงให้เห็นถึงการที่ราชวงศ์ชิงชนะ ไฟ ด้วย น้ำ
หลังจากที่ชาวแมนจูยึดครองแผ่นดินจีนได้ทั้งหมด ชาวแมนจูก็ได้รับเอาอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน มาปรับใช้ มีการใช้ชื่อเรียกจักรวรรดิของตนว่า จีน (中國, จงกั๋ว; ที่แปลว่า อาณาจักรศูนย์กลางของโลก) ซึ่งตรงกับภาษาแมนจู ดูลิมไบ กูรุง (ดูลิมไบ แปลว่า "ศูนย์กลาง" หรือ "ตรงกลาง," กูรุง แปลว่า "ชาติ" หรือ "รัฐ") ราชสำนักชิงมีการพรรณนาถึงจักรวรรดิของตนโดยเปรียบเสมือน กับศูนย์กลางโลกและจักรวาล เหมือนในสมัยราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล
จักรพรรดิราชวงศ์ชิงทุกพระองค์ตั้งแต่ หฺวัง ไถจี๋ เป็นต้นมาจะใช้ คำว่า "จีน" กับ "ชิง" เป็นชื่อเรียกจักรวรรดิ สลับกันไปมา มีการใช้ภาษาจีน (ดูลิมไบ กูรุง อี บิเตอ) เป็นภาษากลางในการสื่อสารของจักรวรรดิ และเรียกราษฎรในจักรวรรดิว่า ชาวจีน (中國之人 จงกั๋ว จื้อ เริน; ภาษาแมนจู: ดูลิมไบ กูรุง อี นียัลมา) เพื่อความเป็นเอกภาพและหนึ่งเดียว[2] ในเอกสารสำคัญเกี่ยวกับราชสำนักและเอกสาร สนธิสัญญาระหว่างประเทศ ราชวงศ์ชิง เป็นที่รู้จักกันในการติดต่อระหว่างประเทศในชื่อ จีน[3] หรือ จักรวรรดิจีน[4])
ประวัติ
แก้ก่อตั้งรัฐแมนจู
แก้ราชวงศ์ชิงนั้นเป็นราชวงศ์ที่ไม่ได้ถูกก่อตั้งโดยชาวจีนฮั่น ซึ่งเป็นชนชาติส่วนใหญ่ของประเทศจีน แต่ถูกก่อตั้งโดยชาวแมนจู หรือ ชาวหนี่เจิน (女眞; Jurchen) ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อน ชาวหนี่เจินมีลักษณะการแต่งกายต่างจากชาวจีนฮั่นโดยนิยมไว้ทรงผมแบบ โกนครึ่งหัว และไว้ผมหางเปียข้างหลัง ชาวหนี่เจินใช้ชีวิตโดยการ ล่าสัตว์ ทำการเกษตร ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของดินแดนจักรวรรดิราชวงศ์หมิง ในแรกเริ่มรัฐแมนจูเป็นดินแดนของชนเผ่าที่เรียกตัวเองว่า ชาวหนี่เจิน อาศัยอยู่บริเวณ มณฑลจี๋หลิน มณฑลเฮย์หลงเจียงของประเทศจีน และบางส่วนในประเทศรัสเซียอันได้แก่ ดินแดนปรีมอร์สกี บางส่วนของดินแดนฮาบารอฟสค์และแคว้นอามูร์
ดินแดนของชาวหนี่เจินได้เริ่มเป็นหนึ่งเดียวเมื่อมีผู้นำชื่อ นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ จากตระกูล อ้ายซินเจว๋หลัว มีอำนาจอยู่ในบริเวณเจี้ยนโจว ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์หมิง ชาวหนี่เจินถูกทางการที่เป็นชาวจีนฮั่นจากราชสำนักหมิงมองว่าเป็นคนป่าเถื่อนนอกกำแพงเมืองจีน มีการกดขี่และเก็บภาษีชาวหนี่เจินอย่างมหาศาล สร้างความเกลียดชังให้กับชาวหนี่เจิน ในต้นพุทธศตวรรษที่ 22 โดยเริ่มแรก นู่เอ๋อร์ฮาชื่อได้ยอมสวามิภักดิ์กับราชวงศ์หมิง และรับตำแหน่งเป็นขุนนางของราชวงศ์หมิง ครองที่ดินทางตะวันออกเฉียงเหนือ หรือมณฑลแมนจูเรีย เมื่อราชวงศ์หมิงอ่อนแอลง นู่เอ๋อร์ฮาได้ถือโอกาสตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นกับอำนาจจากราชสำนักหมิง ได้รวบรวมชนเผ่าหนู่เจินรอบข้างเป็นหนึ่งเดียว และเปลี่ยนชื่อเป็น แมนจู ทั้งยังตั้งตนเป็น ข่าน แห่งราชวงศ์จินขึ้นใน พ.ศ. 2152[5]
สองปีต่อมานู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ได้ประกาศความแค้นเจ็ดประการเป็นการประกาศสงครามกับหมิง นู่เอ๋อร์ฮาชื่อได้หยุดส่งเครื่องราชบรรณาการให้ราชวงศ์หมิง เท่ากับเป็นการประกาศไม่ขึ้นต่ออำนาจราชวงศ์หมิง ทั้งยังได้ยุยงให้เผ่าหนี่เจินที่เหลือแข็งข้อไม่อยู่ใต้อาณัติของหมิง และให้หันมาร่วมกำลังเป็นเผ่าแมนจู ในที่ขณะที่ราชสำนักหมิงกำลังอ่อนแอจากปัญหาการเมืองภายใน ทำให้กองทัพของหมิงอ่อนแอพ่ายแพ้แก่กองทัพแมนจูของนู่เอ๋อร์ฮาชื่อเรื่อยมา การได้รับชัยชนะอย่างต่อเนื่องของกองทัพแมนจู ทำให้นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ยึดเมืองสำคัญ ๆ ของหมิงแถบคาบสมุทรเหลียวตง ได้เป็นจำนวนมาก เขาย้ายเมืองหลวงมาที่เหลียวหยาง ในปี พ.ศ. 2164 และ เฉิ่นหยาง (沈阳/瀋陽 Shěnyáng) ในปี พ.ศ. 2168 ตามลำดับ
การที่นู่เอ๋อร์ฮาชื่อได้ย้ายเมืองหลวงจากเจี้ยนโจวมาที่เหลียวตงทำให้แมนจูได้ครอบครองแหล่งทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังทำให้เขาได้ติดต่อกับเผ่ามองโกล ที่มีอาณาจักรคอร์ชินตั้งอยู่บนที่ราบของมองโกเลีย ได้สะดวกขึ้น ซึ่งราชสำนักหมิงมองชาวมองโกลเป็นภัยต่อจักรวรรดิพอ ๆ กับพวกแมนจู นู่เอ๋อร์ฮาชื่อได้ทำการผูกมิตรและทำสัญญาพันธมิตรกับคอร์ชินแห่งมองโกลร่วมกับต่อต้านราชวงศ์หมิง นอกจากนี้พวกมองโกลคอร์ชินยังเป็นพันธมิตรที่ดีของแมนจูในการรบ ทำให้ชาวหนี่เจินได้เรียนรู้ทักษะความชำนาญในการยิงธนูขี่ม้า เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับมองโกล นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ได้ริเริ่มนโยบายการแต่งงานดองญาติระหว่างเผ่าแมนจูกับเผ่ามองโกล ทำให้ความสัมพันธ์กับมองโกลแนบแน่นขึ้นไปอีก เป็นเหตุให้ชาวมองโกลได้ร่วมรบและช่วยเหลือชาวแมนจูตลอดสมัยของราชวงศ์ชิง[6]
ในขณะเดียวกันนู่เอ๋อร์ฮาชื่อได้เร่งสร้างเศรษฐกิจ แรงงาน และเทคโนโลยีของรัฐ โดยการจับชาวจีนที่อาศัยในแมนจูเรียมาเป็นทาส นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ สถาปนาเมืองเฉิ่นหยาง ให้เข้มแข็งและมั่นคงยิ่งขึ้นไปอีก แต่ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2169 เขาได้รับบาดเจ็บจากการรบกับแม่ทัพเอกของหมิง หยวน ชงหวน ผู้เก่งกาจ ในขณะนำกองทัพเข้าล้อมเมืองหนิงหยวน ในการรบหนิงหยวน นู่เอ๋อร์ฮาชื่อสวรรคตในปีเดียวกัน ความสำเร็จที่สำคัญสิ่งหนึ่งของนู่เอ๋อร์ฮาชื่อคือการตั้งระบบกองธง ซึ่งเป็นระบบในการแบ่งสายการปกครองออกเป็นส่วน ๆ มีประโยชน์ทั้งทางด้านการปกครองและการทหาร โดยแรกเริ่มนั้นมี 8 กองธง หรือ กองทัพแปดกองธง
ผู้สืบบัลลังก์จากนู่เอ๋อร์ฮาชื่อ คือ หวงไท่จี๋ ผู้ซึ่งขึ้นมามีอำนาจสืบต่อจากนู่เอ๋อร์ฮาชื่อ หลังจากการช่วงชิงราชสมบัติในราชวงศ์และขึ้นเป็นข่านองค์ใหม่ แม้ว่าหวงไท่จี๋จะเคยมีประสบการณ์ในการร่วมรบในแปดกองทัพของกองทัพแมนจู แต่ในรัชสมัยแรกของหวงไท่จี๋นั้นการทหารยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร ในปี พ.ศ. 2170 กองทัพแมนจูก็ได้พ่ายแพ้ให้กับกองทัพหมิงอีกครั้งนำโดย หยวน ชงหวน การรบครั้งก่อนหน้านี้นั้น การที่กองทัพแมนจูประสบกับความปราชัยเนื่องมาจากการที่กองทัพหมิงได้ใช้อาวุธปืนใหญ่และปืนคาบศิลาจากโปรตุเกส เพื่อแก้ไขปัญหาความด้อยกว่าทางด้านเทคโนโลยีอาวุธ ในปี พ.ศ. 2177 หวงไท่จี๋ สร้างกองปืนใหญ่ของตนเองขึ้น หรือ (ภาษาแมนจู: อูเจ็น ชูฮา, ภาษาจีน: 重軍) กองปืนใหญ่ดังกล่าวได้มาจากการยึดอาวุธปืนใหญ่ของหมิง และเชลยศึกชาวจีนฮั่นผู้มีความรู้ด้านการหล่อปืนใหญ่แบบตะวันตก ในปี พ.ศ. 2178 หวงไท่จี๋ ได้ปรับปรุงระบบกองธงโดยรวมชาวมองโกล ซึ่งเป็นพันธมิตรให้อยู่ในกองธงด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2179 หวงไท่จี๋ได้เริ่มโจมตีอาณาจักรโชซอนหรือเกาหลี ซึ่งชาวแมนจูถือว่าเป็นศัตรูของตน เนื่องจากอาณาจักรโชซอนเป็นประเทศราชอยู่ใต้อาณัติของราชวงศ์หมิง และได้ช่วยเหลือราชวงศ์หมิงทำกับสงครามกับแมนจูอยู่ตลอด
หลังการรุกรานเกาหลีของแมนจูครั้งที่สอง อาณาจักรโชซอนได้พ่ายแพ้ให้แก่กองทัพแมนจู เกาหลีถูกยึดครอง กษัตริย์แห่งโชซอนได้ถูกบังคับให้ยกเจ้าหญิงให้เป็นนางสนมของเจ้าชายแมนจูหรือผู้สำเร็จราชการตัวเอ่อร์กุ่น[7]
หวงไท่จี๋ยังคงพัฒนากองธงอย่างต่อเนื่อง เขาได้ตั้งกองธงแรกที่เป็นชาวฮั่นขึ้น และได้มีการนำระบบธรรมเนียมการปกครองแบบราชวงศ์หมิงมาปรับใช้บางส่วน แต่ก็ยังให้สิทธิพิเศษกับหน่วยปกครองของแมนจูเองโดยระบบโควตา การปฏิรูปทางทหารเหล่านี้ทำให้หวงไท่จี๋สามารถเอาชนะกับกองทัพหมิงได้อย่างรวดเร็วในการต่อสู้ระหว่างปี พ.ศ. 2183 ถึงปี พ.ศ. 2185 ทำให้ได้ดินแดนซ่งฉาน และ จิ่นโจว ทำให้แมนจูครอบครองดินแดนแมนจูเรีย บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนได้ทั้งหมด ชัยชนะครั้งสุดท้ายนี้ส่งผลให้กองทัพราชวงศ์หมิงแทบเสื่อมสภาพในการสู้รบ มีทหารกองทัพราชวงศ์หมิงหันมายอมสวามิภักดิ์จำนนต่อแมนจูเป็นจำนวนมาก การตายของหยวน ชงหวน แม่ทัพหมิง โดยคำสั่งประหารชีวิตจากพระเจ้าหมิงซือจง เนื่องจากเชื่อคำพูดของเหล่าขันทีในราชสำนักว่า หยวน ชงหวน คิดทรยศและตั้งตนเป็นใหญ่ ทำให้หยวน ชงหวน ถูกประหาร และนำไปสู่การถอยทัพกองทัพของหมิงบริเวณทางตอนเหนือของกำแพงเมืองจีน
เมื่อลิงตันข่าน มหาข่านองค์สุดท้ายของมองโกลสิ้นพระชนม์ลงระหว่างเดินทางไปทิเบตในพ.ศ. 2177 บุตรของเขานาม เอเจยข่าน ได้สวามิภักดิ์ต่อกองทัพแมนจูและมอบตราประจำพระองค์ของอดีตจักรพรรดิหยวนให้หวงไท่จี๋ ใน พ.ศ. 2179 หวงไท่จี๋เปลี่ยนชื่อรัฐแมนจู ที่ชื่อ "อาณาจักรจิน" เป็น อาณาจักรต้าชิง (แปลว่า บริสุทธิ์) และสถาปนาตนเป็น จักรพรรดิไท่จง พระองค์ทรงรวมมองโกเลีย, เกาหลี และครอบครองพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอาร์มู หรือมณฑลเฮหลงเจียงในปัจจุบัน นอกจากนี้พระองค์ได้มีพระราชประสงค์หมายที่จะขยายอาณาเขตไปนอกแมนจูเรีย ซึ่งก็คือทางตอนใต้หรือดินแดนจีนที่ถูกป้องกันด้วยป้อมซานไฮ่กวาน (山海关/山海關: Shānhǎi Guān) ซึ่งเป็น ด่านป้องกันสุดท้ายของราชวงศ์หมิง
การประกาศอาณัติแห่งสวรรค์
แก้จักรพรรดิไท่จงสวรรคตอย่างกะทันหันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2186 โดยไม่มีการแต่งตั้งรัชทายาท โดยปกติชาวแมนจูจะคัดเลือกผู้นำของพวกเขาผ่านสภาขุนนาง ราชวงศ์ชิงไม่มีระบบการสืบทอดตำแหน่งรัชทายาทจนกระทั่งถึงรัชสมัยจักรพรรดิคังซี ผู้ที่กุมอำนาจมากที่สุดในเวลานั้นโอรสชายที่อายุมากที่สุด เหาเก๋อ และ พระเชษฐาของพระองค์ คือ ตัวเอ่อร์กุ่น ตัวเอ่อร์กุ่นได้เจรจาประนีประนอมเพื่อไม่ต้องการให้เกิดการแย่งชิงบัลลังก์รัชทายาทจึงอัญเชิญ "ฝูหลิน" โอรสวัยห้าชันษาขึ้นครองราชย์เป็น จักรพรรดิซุ่นจื้อ โดยมีตัวเอ่อร์กุ่นเป็นผู้สำเร็จราชการ และเป็นผู้นำโดยพฤตินัยของแมนจู
รัฐบาลราชสำนักหมิงนอกจากจะต้องทำสงครามอย่างต่อเนื่องกับแมนจู ยังต้องเผชิญกับปัญหาภายใน เช่น ปัญหาทางด้านการเงินการคลัง และการปราบปรามกบฎชาวนา
การยึดครองประเทศจีน
แก้ในสมัยพระเจ้าหมิงซือจง (明思宗) แห่งราชวงศ์หมิง เกิดเหตุการณ์สำคัญหลายครั้ง ได้แก่ การผนวกที่ดิน การเก็บภาษีเบ็ดเตล็ด ความไม่พอใจของทหาร และภัยแล้งครั้งใหญ่ ทั้งหมดทำให้ประชาชนและทหารไม่พอใจราชวงศ์หมิงอย่างมาก และรวมตัวเป็นกลุ่มย่อยก่อจลาจลในหลายพื้นที่ กินเวลาหลายปี ในที่สุดก็รวมตัวกันก่อจลาจลครั้งใหญ่ ซึ่งนำโดย หลี่จื้อเฉิง (李自成: Lǐ Zìchéng) อดีตขุนนางชั้นผู้น้อยของราชวงศ์หมิง ได้นำกำลังเข้ายึดครองกรุงปักกิ่ง ราชธานีของราชวงศ์หมิง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2187 จนพระเจ้าหมิงซือจงต้องผูกพระศอปลงพระชนม์ตัวเองที่ต้นไม้บนเนินเขาที่มองเห็นพระราชวังต้องห้ามได้ชัด ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์หมิง
หลังจากที่ยึดครองกรุงปักกิ่งแล้ว หลี่จื้อเฉิงได้ตั้งปราบดาภิเษกเป็นจักรพรรดิก่อตั้งราชวงศ์ชุนขึ้นมาแทน และได้นำกำลังพล 60,000 นาย บุกเผชิญหน้ากับอู๋ซานกุ้ย (吳三桂: Wú Sānguì) นายพลหมิงที่คุมกองกำลังกว่า 100,000 นาย ที่ประจำอยู่ในป้อมซานไฮ่กวาน ป้อมซานไฮ่กวานเป็นประตูของกำแพงเมืองจีนผ่านไปสู่ตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงปักกิ่ง ป้อมซานไฮ่กวานถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่คอยกั้นพวกแมนจูอยู่ที่อ่าวไม่ให้เข้ามาสู่แผ่นดินจีนทางใต้ได้ และป้องกันไม่ให้ราชธานีปักกิ่งของหมิงถูกแมนจูเข้ายึดครอง นายพลอู๋จนมุมศัตรูทั้ง 2 ทาง ทั้งกลุ่มกบฏของหลี่จื้อเฉิงและกองทัพแมนจู เป็นที่สันนิษฐานว่า นายพลอู๋ อาจจะได้รับการปฏิบัติไม่ดีโดยหลี่จื้อเฉิง โดยหลังจากที่หลี่จื้อเฉิงยึดกรุงปักกิ่งแล้วบรรดาครอบครัว ทรัพย์สินของนายพลอู๋ ถูกยึดไปหมด รวมทั้งได้มีตำนานบอกเล่าว่า หลี่จื้อเฉิงยังลักพาเอานาง เฉิน หยวนหยวน ภรรยาโปรดของนายพลอู๋ไปเป็นของตนด้วย ทำให้นายพลอู๋โกรธแค้นเป็นอย่างมาก จึงตัดสินใจที่จะสวามิภักดิ์ต่อแมนจูซึ่งมีองค์ชายตัวเอ่อร์กุ่น ผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิซุ่นจื้อ และได้เปิดประตูป้อมด่านซานไฮ่กวานให้กองทัพแมนจูเข้ามาได้สำเร็จ
วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2187 ทั้งกองทัพของนายพลอู๋และกองทัพแมนจูเข้าล้อมกลุ่มกบฏหลี่จื้อเฉิงไว้ กลุ่มกบฏมีกำลังไม่เพียงพอจะรักษาเมืองไว้ได้ จึงต้องตีฝ่าวงล้อมออกไปตั้งมั่นที่อื่น ฝ่ายกองทัพนายพลอู๋ก็ปล่อยให้กลุ่มกบฏตีฝ่าไปได้เพราะอ่อนแรงหลังจากต้องต่อสู้กับกองทัพแมนจูก่อนจะสวามิภักดิ์ กองทัพแมนจูได้เข้ายึดกรุงปักกิ่งได้ในวันที่ 6 มิถุนายน ในปีเดียวกัน
ตัวเอ่อร์กุ่นแม่ทัพแมนจูผู้ยึดกรุงปักกิ่งได้เชิญพระราชวงศ์อ้ายซินเจว๋หลัวมาประทับที่พระราชวังต้องห้ามซึ่งเป็นที่ประทับของของอดีตฮ่องเต้ราชวงศ์หมิงที่กรุงปักกิ่ง จักรพรรดิซุ่นจื้อ เป็นจักรพรรดิแมนจูพระองค์แรกที่เข้าประทับในพระราชวังต้องห้าม อีกทั้งได้ตั้งราชวงศ์ขึ้นแบบจีนและเข้าปกครองแผ่นดินจีน
สมัยต้นราชวงศ์ชิง
แก้เนื่องจากต้นราชวงศ์มีกบฏเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากทำให้ราชวงศ์ชิงต้องร่วมมือกับขุนนางราชวงศ์หมิงที่ทรยศชาติปราบกบฏหมิงใต้ หลังจากกบฏหมิงใต้สิ้นสุดเมื่อปี 1662 ปี 1673 เกิดกบฏสามเจ้าศักดินา ราชวงศ์ชิงใช้เวลาปราบกบฏทางใต้ 8 ปี 1673-1681
ปราบหมิงใต้
แก้นับจากปี ค.ศ. 1644 หลังอู๋ซันกุ้ยเปิดด่านซันไห่กวนให้กองทัพชิงบุกเข้ายึดครองแผ่นดินจีน จนฮ่องเต้หมิงซือจงต้องปลงพระชนม์ตนเอง ยังให้ราชวงศ์หมิงอันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของชนชาวฮั่นต้องอวสานลง ในปีเดียวกันตัวเอ่อกุ่น แม่ทัพใหญ่ของแมนจูก็ได้ทูลเชิญซุ่นจื้อ ให้เสด็จมาประทับยังบัลลังก์ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ชิงในกรุงปักกิ่ง
ทว่าในยามนั้น ยังคงมีกองกำลังทหารของต้าหมิง และกองทัพประชาชนที่ต่อต้านแมนจูอยู่ทั่วไป ทำให้ราชสำนักชิง ต้องร่วมมือกับอดีตขุนนางราชวงศ์หมิงที่แปรพักตร์อย่างอู๋ซันกุ้ย เกิ่งจ้งหมิง(耿仲明) ซั่งเขอสี่ (尚可喜) ขงโหย่วเต๋อ(孔有德) ระดมกำลังปราบกองกำลังทางใต้อย่างฝูอ๋อง หลู่อ๋อง ถังอ๋อง กุ้ยอ๋องและกองกำลังต่างๆที่เหลืออยู่
หลังจากกองทัพแมนจูแห่งราชวงศ์ชิงสามารถเข้าด่านมายึดครองปักกิ่ง ก่อตั้งราชวงศ์ชิงบนแผ่นดินจีนได้ในปี ค.ศ.1644 นั้นสถานการณ์โดยรวมในเวลานั้น แผ่นดินจีนถูกแบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือฝั่งเหนือกับฝั่งใต้ โดยฝั่งเหนืออยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ชิง มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ปักกิ่ง ภายใต้พระราชอำนาจของจักรพรรดิซุ่นจื้อ ส่วนฝั่งใต้อยู่ภายใต้อิทธิพลของราชวงศ์หนานหมิง หรือ หมิงใต้ (ก่อตั้งโดยอดีตเชื้อพระวงศ์และขุนนางราชวงศ์หมิงจำนวนหนึ่งที่รอดตายหนีมาจากปักกิ่งตั้งแต่คราวที่ปักกิ่งถูกกบฎหลี่จื้อเฉิงตีแตก) มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองนานกิง
จากการสู้รบกันหลายครั้งครา กองทัพแมนจูแห่งราชวงศ์ชิงภายใต้การบัญชาการหลักของรุ่ยชินอ๋องตัวเอ่อกุ๋น ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนองค์จักรพรรดิซุ่นจื้อ มีแม่ทัพที่เป็นหัวหอกหลัก ๆ คือ ตัวตั๋ว หงเฉิงโฉว หวูลิ่วอี รบชนะต่อเนื่อง ฝ่ายหมิงใต้ต้องถอยร่นไปเรื่อย ๆ
ในปี ค.ศ. 1645 ในขณะที่กองกำลังแมนจูบุกตีเหมือนหยางโจว สื่อ เขอฝ่า (史可法) แม่ทัพชาวฮั่นผู้รักษาเมืองได้นำทหารจีนเพียงน้อยนิดต้านยันไว้ 7 วัน 7 คืน จนกระทั่งเมืองถูกตีแตก สื่อเขอฝ่าปฏิเสธที่จะยอมจำนนต่อกองทัพแมนจูและถูกประหาร ตัวเอ่อร์กุ่น ก็ได้ออกคำสั่งให้ฆ่าล้างเมืองหยางโจว โดยใน “บันทึกสิบวันในหยางโจว” ของหวังซิ่วฉู่ ผู้โชคดีรอดชีวิต ได้ระบุว่าว่าการเข่นฆ่าล้างเมืองดำเนินไปโดยไม่หยุดตลอด 10 วัน เป็นที่รู้จักในเหตุการณ์การสังหารหมู่หยางโจว
กองทัพแมนจูมีชัยชนะต่อเนื่องและฮึกเหิมไล่สังหารชาวจีนฮั่นอย่างโหดเหี้ยม ฮ่องเต้หมิงใต้พระองค์แล้วพระองค์เล่า ตั้งแต่ฮ่องเต้หงกวงจนถึงหลงอู่ ล้วนถูกพวกแมนจูจับฆ่าเสียหมด
กระทั่งมาถึงฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของหมิงใต้ คือฮ่องเต้หย่งลี่ หรือกุ้ยอ๋องจูโหย่วหลาง สถาปนาตนเป็นฮ่องเต้ที่ยูนนานได้ไม่นาน ก็ถูกกองทัพของหงเฉิงโฉวคุกคามอย่างหนัก จนกระทั่งในปี ค.ศ.1658 หลี่ติ้งกั๋ว นายพลผู้ภักดีต่อหมิงใต้ จึงคุ้มครองฮ่องเต้หย่งลี่พาหนีแมนจูเข้าแดนพม่า ไปขอความคุ้มครองจากพระเจ้าพินดาเลแห่งราชวงศ์ตองอูของพม่า พระเจ้าพินดาเลก็ทรงรับไมตรีของฝ่ายหมิงใต้ ยอมให้การคุ้มครองฮ่องเต้หย่งลี่
ลุถึงปี ค.ศ.1661 อู๋ซานกุ้ยนำกำลังผสมฮั่น-แมนจู 2หมื่นคนบุกประชิดเมืองตองอู เรียกร้องให้พระเจ้าพินดาเลส่งตัวฮ่องเต้หย่งลี่ให้แก่ราชวงศ์ชิง เพื่อแลกกับสันติภาพระหว่างต้าชิงกับตองอู หาไม่แล้วแมนจูกับพม่าคงต้องตายกันไปข้าง การมาของอู๋ซานกุ้ยในครั้งนี้ทำให้ภายในราชสำนักตองอูเกิดความขัดแย้งอย่างหนักว่า จะจัดการกับฮ่องเต้หย่งลี่อย่างไร จะรับมือกับอู๋ซานกุ้ยและพวกแมนจูอย่างไร ในขณะที่พระเจ้าพินดาเลเองก็ทรงยืนกรานไม่ยอมมอบฮ่องเต้หย่งลี่ให้แก่ต้าชิง สถานการณ์ระหว่างต้าชิงกับตองอูตึงเครียดหนัก
กระทั่งถึงปี ค.ศ.1662 องค์ชายพเยมิน อนุชาของพระเจ้าพินดาเล ซึ่งมีตำแหน่งผู้บัญชาการทหารแห่งตองอู ก็ตัดสินใจกระทำรัฐประหาร ชิงอำนาจจากพระเชษฐา ตั้งตนเป็นกษัตริย์องค์ใหม่แห่งราชวงศ์ตองอู และเปิดการเจรจากับอู๋ซานกุ้ยอีกครั้ง ในที่สุดพระเจ้าพเยมินก็ยอมขับฮ่องเต้หย่งลี่และหลี่ติ้งกั๋วออกนอกแดนพม่า เปิดทางให้อู๋ซานกุ้ยจัดการกับฮ่องเต้หย่งลี่ได้โดยสะดวก เป็นการปิดฉากราชวงศ์หมิงใต้โดยสมบูรณ์
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
แก้เมื่อกองทัพแมนจูยึดภาคกลางของจีนได้ จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการกลืนกินข่มวัฒนธรรมฮั่นอย่างเข้มงวด ในรัชสมัยของจักรพรรดิซุ่นจื้อ ทรงมีคำสั่งให้ชาวฮั่นใช้ผมเปียชาวแมนจูอย่างเป็นทางการ จักรพรรดิชิงทรงออกกฎหมายบังคับให้ชาวฮั่นทุกคนต้องไว้ผมเปียและสวมเสื้อผ้าอย่างชาวแมนจู เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและภักดีต่อราชวงศ์ชิง ชายชาวฮั่นทุกคนต้องโกนผมครึ่งศีรษะและหนวดเครา และผูกผมด้านท้ายเป็นหางเปียยาว กฎนี้ขัดแย้งกับประเพณีปฏิบัติเดิมของชาวฮั่นที่ห้ามตัดผม เพราะถือว่า เส้นผม ตามหลักลัทธิขงจื้อแล้วเป็นสิ่งที่พ่อแม่บรรพบุรุษให้มา หากตัดทิ้งเท่ากับไม่เคารพบรรพชน ชาวจีนทั่วประเทศต้องปฏิบัติตามโดยไม่มีทางเลือก มิฉะนั้นจะถูกตัดหัว กว่า 258 ปีที่ราชวงศ์ชิงครองประเทศ ชาวจีนได้ก่อกบฏขึ้นหลายครั้งเนื่องจากกฎดังกล่าวนี้ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินตัวเอ่อร์กุ่นมีคำสั่งให้ชาวฮั่นโกนผมไว้เปียทั้งหมด หากไม่ไว้มีแต่ตายสถานเดียว จนมีคำกล่าวว่า
“ไว้ผมไม่ไว้หัว ไว้หัวไม่ไว้ผม” หมายความว่า หากคิดรักษาหัวให้โกนผมไว้เปีย หากไม่คิดไว้เปียก็เตรียมถูกบั่นศีรษะได้ ครั้งนั้นมีคนตายจากการขัดคำสั่งหลายแสนคน ทั่วแผ่นดินเต็มไปด้วยเสียงร่ำไห้ระงมผสมเคียดแค้นเพราะคำสั่งนี้
ยุคทองของราชวงศ์ชิง
แก้ยุครุ่งเรืองแห่งราชวงศ์ชิง เริ่มจากช่วงรัชกาลจักรพรรดิคังซีถึงจักรพรรดิเฉียนหลง จัดเป็นยุครุ่งเรืองสุดท้ายในประวัติศาสตร์ราชวงศ์จีน โดยกล่าวถึงรัชกาลของจักรพรรดิต้าชิง 3 พระองค์ ได้แก่ จักรพรรดิคังซี จักรพรรดิยงเจิ้ง และจักรพรรดิเฉียนหลง รวมเป็นระยะเวลากว่า 130 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากการปกครองเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สามารถลดความขัดแย้งระหว่างชนชาติและชนชั้น ดำเนินนโยบายหนึ่งประเทศหลายเผ่าพันธุ์ทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้สังคมมีความสงบสุขเป็นระยะเวลาที่ยาวนานนับร้อยปี
ความเป็นปึกแผ่นในรัชสมัยจักรพรรคังซี
แก้ตลอดระยะหกสิบเอ็ดปีของการครองราชยของจักรพรรดิคังซี ถือได้ว่าเป็นยุคที่ราชวงศ์ปราบกบฎชาวจีนฮั่นได้หมดสิ้นสำเร็จ จักรวรรดิต้าชิงสงบสุขและมั่นคง เป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ยุคทองของราชวงศ์ชิงที่รุ่งเรือง การปกครองที่ยาวนานของจักรพรรดิคังซีเริ่มต้นจากการที่พระองค์มีพระชันษาแปดชันษาเมื่อพระราชบิดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ เพื่อป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอยในในรัชสมัยของจักรพรรดิซุ่นจื้อ ที่มีตัวเอ่อร์กุ่น เป็นผู้สำเร็จราชการ ในยุคนั้นผู้สำเร็จราชการมีอำนาจมากและมีลักษณะเผด็จการ จักรพรรดิแทบไม่มีพระราชอำนาจ จักรพรรดิคังซีจึงได้ทรงริบอำนาจจากเหล่าขุนนางเข้าสู่ศูนย์กลาง
โดยหลังจากที่คังซีได้รับอำนาจเต็มในการปกครอง นอกจากจะมีการหยุดการเวนคืนที่ดิน ผ่อนปรนภาษีแล้ว เพื่อป้องกันมิให้ขุนนางทั้งหลายปิดบังหลอกลวง อ้าวซินเจี๋ยว์หลอเสวียนเยี่ย หรือคังซีจึงมักเสด็จออกประพาส เพื่อทำความเข้าใจกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และรับทราบถึงผลจากนโยบายการปกครองในรูปแบบต่าง ๆ โดยที่ทราบกับทั่วไปก็คือประพาสทางใต้ 6 ครั้ง ตะวันออก 3 ครั้ง ตะวันตก 1 ครั้ง ประพาสในเขตเมืองหลวงและมองโกลหลายร้อยครั้ง นอกจากนั้นยังมีการเดินทางประพาสเพื่อสำรวจเส้นทางน้ำของแม่น้ำฮวงโห และตรวจงานก่อสร้างอีกด้วย
คังซียังให้ความสำคัญกับชนชั้นปัญญาชนของชาวฮั่นเป็นอย่างยิ่ง ให้ความยกย่องความรู้ของหยูเจีย (ลัทธิขงจื้อ) โดยเฉพาะ หลี่เสียว์ (理学) ของปราชญ์จูซี (朱熹) พระองค์ยังเคยเสด็จไปยังชีว์ฟู่ เพื่อไปสักการะยังอารามขงจื้อที่นั่นด้วย
อีกหนึ่งผลงานที่ถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้ก็คือ “พจนานุกรมคังซี” (康熙字典) มีราชบัณฑิตจากตำหนักเหวินหัวอย่างจางอี้ว์ซู กับราชบัณฑิตจากตำหนักเหวินยวน นามเฉินถิงจิ้ง เป็นแกนนำในการจัดทำ โดยได้ทำการตรวจทาน ตรวจสอบอักษรจีนที่ใช้ในราชวงศ์หมิง และเป็นตำราที่ถูกจัดพิมพ์ยาวนานตั้งแต่รัชกาลคังซีปีที่ 55 หรือ ค.ศ.1716 มาตราบจนปัจจุบัน
ฮ่องเต้คังซีได้มีรับสั่งให้จัดเรียบเรียงพจนานุกรมดังกล่าวในเดือน 3 ปีค.ศ.1710 ใช้เวลาในการจัดทำถึง 6 ปี มีทั้งสิ้น 47,035 อักษร แบ่งเป็น 12 ชุด แต่ละชุดมี 3 พับ โดยมีคำอธิบายถึงอักษรพ้องเสียง แต่ต่างความหมาย หรืออักษรพ้องรูปที่ต่างความหมาย ซึ่งภายหลังได้ถูกนำมาใช้เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการสอบรับราชการในราชวงศ์ชิง และเป็นที่แพร่หลายแม้ในเวลาต่อมา
รัชทายาทอิ้นเหริง (胤礽) ออกจากตำแหน่งเป็นครั้งแรก เนื่องจากทรงทราบว่ามีพฤติกรรมที่นิยมในเพศชายด้วยกัน และชอบทำร้ายขุนนาง โดยในขั้นตอนการคัดเลือกรัชทายาทคนใหม่ อิ้นเจิน (胤禛) ในเวลาต่อมาได้ให้การสนับสนุนให้คืนตำแหน่งให้กับอิ้นเหริงใหม่ กระทั่งในปีต่อมา จึงมีการคืนตำแหน่งให้กับรัชทายาทคนเดิม ทว่าเมื่อมาถึงปีค.ศ. 1712 คังซีก็ทรงปลดอิ้นเหริงออกจากตำแหน่งรัชทายาทอีกครั้ง และไม่มีการแต่งตั้งหรือคัดสรรรัชทายาทต่อ ทำให้ในหมู่พระโอรสมีการแก่งแย่งช่วงชิงทั้งในที่ลับและที่แจ้งอย่างดุเดือด
ในขณะนั้นอิ้นเจิน ภายนอกแสดงให้เห็นว่าตนเองไม่สนใจแก่แย่งชิงดี ทุ่มเทให้กับพุทธศาสนา โดยขนานนามตนเองว่าเป็น “คนว่างอันดับหนึ่งแห่งแผ่นดิน” พยายามปรองดองกับพระโอรสองค์อื่น ๆ ทว่าเบื้องหลังก็ได้คบหากับเกิงเหยา และลู่เคอตัวบ่มเพาะเป็นขุมกำลังอันเข้มแข็งของตนขึ้น นอกจากนั้น จากการที่มีผลงานในการแก้ปัญหาอุทกภัยของแม่น้ำฮวงโหที่ได้ผลมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปลายราชวงศ์หมิงเป็นตนมา ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากคังซีเป็นอย่างยิ่ง
ทว่าในช่วงปลายรัชกาล ฮ่องเต้คังซีให้ความชื่นชมกับองค์ชาย 14 อิ้นถี (胤禵) อีกทั้งแต่งตั้งเป็นแม่ทัพใหญ่ให้เดินทางไปยังภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ในขณะนั้นมีการคาดเดาว่า อิ้นถี อาจจะเป็นทายาทที่คังซีคิดจะให้สืบทอดบัลลังก์อย่างถูกต้องชอบธรรม
กระทั่งรัชกาลคังซีปีที่ 61 หรือค.ศ.1722 เมื่อคังซีเสด็จสวรรคต ประจวบกับเป็นช่วงเวลาที่อิ้นเจิน ได้รับพระบัญชาให้ไปทำพิธีสักการะฟ้า ทำให้กลับมาไม่ทัน ช่วงเวลาที่หลงเคอตัวกำลังประกาศผู้สืบทอดตำแหน่ง ซึ่งในระบุให้อิ้นเจินขึ้นเป็นฮ่องเต้ต้าชิงพระองค์ต่อไป
ความมั่นคงในรัชสมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง
แก้อิ้นเจิ้งขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้ยงเจิ้ง (雍正皇帝) ด้วยพระชนมายุ 45 พรรษา กระนั้นขั้นตอนการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ยังคงเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้ มีการสันนิษฐานว่ายงเจิ้งคิดชิงบัลลังก์อาจจะปลอมพินัยกรรมของจักรพรรดิคังซีเพื่อที่จะขึ้นเป็นฮ่องเต้เสียเอง โดยมีการเล่าขานเอาไว้หลากหลาย โดยบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชิงได้บันทึกว่า ในปีค.ศ. 1722 ฮ่องเต้คังซีทรงพระประชวรจนเสด็จสวรรคต ณ กรุงปักกิ่ง โดยก่อนนั้นได้มีรับสั่งเชิญพระโอรส 7 พระองค์เข้าเฝ้า จากนั้นก็มีรับสั่งให้ผู้บัญชาการทหารบกลู่เคอตัวเป็นผู้ถ่ายทอดราชโองการ ให้กับพระโอรสองค์ที่สี่นามอิ้นเจิน อันเป็นผู้ที่มีความประพฤติดีงาม เหมาะสมที่จะเป็นผู้สืบสานบัลลังก์สืบไป”
ทว่าในบันทึกของชาวบ้าน กลับมีคำเล่าลือว่าเดิมพระราชโองการฉบับดังกล่าวเป็นการถ่ายทอดตำแหน่งให้พระโอรสองค์ที่ 14 แต่แล้วมีการแก้อักษรเลขสิบ (十) ให้เป็นคำว่า “ให้กับ” (于) จึงออกมาเป็นคำว่าถ่ายถอดให้กับพระโอรสองค์ที่ 4 แทน อย่างไรก็ตาม ในภายหลังมีการระบุว่า พระพินัยกรรมของคังซี จะต้องมีฉบับที่เป็นภาษาแมนจูด้วย ฉะนั้นต่อให้สามารถแก้ไขในภาษาฮั่นได้ ก็ไม่สามารถแก้ไขในฉบับภาษาแมนจูด้วยวิธีการเดียวกันนี้ได้ ผนวกกับในสมัยนั้นยังไม่มีอักษรย่อ ดังนั้นคำว่า “ให้กับ” ที่ถูกต้องจึงควรเป็นตัวอักษร (於) ไม่ใช่ตัวอักษร (于)
ในช่วงการครองราชย์ของยงเจิ้ง แม้จะทรงโหดเหี้ยมกับบรรดาพี่น้องของตน แต่ก็เป็นฮ่องเต้ที่มีความขยันหมั่นเพียรในราชกิจเป็นอย่างยิ่ง จะทรงตื่นบรรทมแต่ก่อนเช้า และทรงงานตรวจฎีกาจนดึกดื่น ทรงรวบอำนาจ จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุคความรุ่งเรืองของราชวงศ์ที่สำคัญ จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของฮ่องเต้เฉียนหลง
หลังยงเจิ้งสวรรคตจากการทำงานที่ตรากตรำมากจนเกินไป อ้ายซินเจี๋ยว์หลอหงลี่ ก็ได้ขึ้นครองราชย์ เป็นเฉียนหลงฮ่องเต้ ซึ่งการครองราชย์ของเฉียนหลง ที่สามารถดำเนินไปอย่างราบรื่น เนื่องจากยงเจิ้งเองเกรงว่าจะมีการแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างพระโอรสเหมือนในสมัยของตน จึงได้ใช้วิธีการเขียนรายชื่อผู้ที่จะขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์แล้วประทับตราลัญจกร จากนั้นแบ่งเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งเก็บใส่หีบปิดผนึกแล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง อีกชุดหนึ่งเก็บไว้กับพระองค์เอง โดยมีรับสั่งให้นำออกมาเปิดอ่านพร้อมกันหลังจากที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์
ความรุ่งเรืองในรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง
แก้ในรัชกาลของจักรพรรดิเฉียนหลงถือเป็นยุคทองที่รุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ชิง จากความพยายามปฏิรูปนโยบายภาษี การใช้จ่าย นโยบายการเงินการคลังของยงเจิ้ง ได้ทำให้มีเงินท้องพระคลังเหลือมาถึงยุคของเฉียนหลงเป็นจำนวนมาก เมื่อผนวกกับการที่ประชาชนเมื่อไม่มีภัยสงครามมาเป็นเวลานาน จึงทุ่มเทไปกับการสร้างผลผลิต จนทำให้ยุคสมัยนี้มีความมั่งคั่ง และมีความเจริญก้าวหน้าทางศิลปะวิทยาการต่าง ๆ เป็นอันมาก
ในปีค.ศ.1772 หรือรัชกาลเฉียนหลงปีที่ 49 อีกผลงานหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบันก็คือ “ซื่อคู่เฉวียนซู” (四库全书) หรือจตุคลังคัมภีร์ ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือชุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก (รองลงมาคือสารานุกรมหย่งเล่อในราชวงศ์หมิง) โดยใช้เวลาในการชำระคัมภีร์และตำราต่าง ๆ นานถึง 9 ปี รวบรวมตำราไว้ทั้งสิ้น 3,503 ประเภท เรียบเรียงเป็น 36,304 เล่ม 79,337 บรรพ มีจำนวนเกือบ 2,300,000 หน้า มีอักษรราว 800 ล้านตัว โดยเป็นการรวบรวมคัมภีร์สำคัญตั้งแต่ยุคโบราณ ซึ่งบางเล่มเคยถูกระบุเป็นคัมภีร์ต้องห้ามในสมัยราชวงศ์ฉิน ครอบคลุมศาสตร์อันหลากหลายแทบทุกประเภทในประเทศจีน
นอกจากความสามารถอันหลากหลายจนเป็นที่ประจักษ์แล้ว ฮ่องเต้เฉียนหลงยังเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่ามีความรักประชาชน และมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติราชกิจเป็นอย่างยิ่ง ทำให้มีขุนนางที่สุจริตซื่อสัตย์ช่วยเหลือในการปกครองบ้านเมืองไม่น้อย โดยพระองค์ได้ต่อต้านและเรียกร้องไม่ให้ขุนนางใช้แต่ภาษาที่สวยหรูแต่จอมปลอมอีกด้วย
ในช่วงยุครุ่งโรจน์ จักรพรรดิ 3 รัชกาลถือเป็นยุคทองอันรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์เกือบ 300 ปีของราชวงศ์ชิง และถือเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่ดีที่สุดของจีน ไม่ว่าจะเป็นด้านพื้นที่การทำไร่ทำนา จำนวนผลผลิตการเกษตร จำนวนประชากร ที่มีอย่างยากที่จะหายุคใดเปรียบเทียบได้ จากสถิติที่มีการบันทึก ในรัชกาลคังซีปีที่ 24 ทั่วประเทศมีพื้นที่สำหรับทำการเพาะปลูกถึง 600 ล้านไร่จีน เมื่อมาถึงช่วงปลายรัชกาลของเฉียนหลง ทั่วประเทศมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มเป็น 1,050 ล้านไร่จีน ผลผลิตทางการเกษตรทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 204,000 ล้านชั่ง จนเป็นประเทศที่มีผลผลิตสูงที่สุดในโลกในสมัยนั้น ในขณะที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจากปีค.ศ. 1700 ที่มีราว 150 ล้านคนมาเป็น 313 ล้านคนในปีค.ศ. 1794 หรือคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของทั่วโลกในเวลานั้น
ยุคราชวงศ์ชิงตอนปลายและความเสื่อมถอย
แก้เริ่มระส่ำระสาย
แก้หลังจากเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงต้นราชวงศ์ สภาพทั่วไปในพุทธศตวรรษที่ 24 ราชวงศ์ชิงเริ่มอ่อนแอและความเจริญรุ่งเรืองลดลง เนื่องจากประเทศจีนประสบปัญหาความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงของกลุ่มคนในวงการต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการเมืองที่มีขุนนางฉ้อราษฎร์บังหลวง เศรษฐกิจหยุดนิ่ง เพราะจักรพรรดิเฉียนหลง กษัตริย์เจ้าสำราญโปรดความหรูหราฟุ่มเฟือยและทำสงครามบ่อยครั้ง เงินท้องพระคลังขัดสน และจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนที่ทำกิน จะเห็นได้ว่าราชวงศ์ชิงมีปัญหาความกดดันภายในประเทศที่สะสมมานาน ประกอบกับความกดดันภายนอกจากชาติมหาอำนาจในยุคล่าอาณานิคม ที่ราชวงศ์ชิงไม่อาจทานได้เพราะระบบการปกครอง และเศรษฐกิจที่ล้าสมัย
จากจักรวรรดิสู่ "ขี้โรคแห่งเอเชีย"
แก้สงครามฝิ่น
แก้แม้ราชวงศ์ชิงจะมีความยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตาม แต่ที่ผ่านมาราชสำนักชิงก็ยังคงทะนงตน ถือว่าตนเป็นอาณาจักรศูนย์กลางของโลกและจักรวาล และเลือกที่จะปิดประเทศไม่ยอมค้าขายกับชาติอื่น ไม่ยอมรับวัฒนธรรมและเทคโนโลยีจากตะวันตกมาพัฒนาประเทศ ทำให้ประเทศยังคงล้าหลังอยู่ จนกระทั่งปีค.ศ. 1757 หรือในรัชกาลเฉียนหลงปีที่ 22 ก็ได้มีการกำหนดให้เมืองกว่างโจวเป็นเมืองท่าเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการอนุญาตให้ติดต่อกับชาวต่างชาติ ซึ่งนับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา อังกฤษได้นำเข้าใบชา ถ้วยชามเครื่องเคลือบและผ้าไหมจากจีนเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีสินค้าส่งออกให้จีนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้อังกฤษเสียเปรียบดุลการค้าให้จีนอย่างมหาศาล
กระทั่งรัชกาลเฉียนหลงปีที่ 28 หรือ ค.ศ.1763 เพื่อถ่วงดุลการค้าที่เสียเปรียบ อังกฤษได้เริ่มนโยบายจักรวรรดินิยมและได้ใช้ลัทธิล่าอาณานิคมในเมืองจีน อังกฤษได้วางแผนนำฝิ่นมามอมเมาชาวจีนให้อ่อนแอ โดยนำเอาฝิ่นเข้ามาจำหน่ายในเมืองจีน ซึ่งเดิมทีสำหรับคนจีน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 เป็นต้นมา ฝิ่นก็ถูกจัดและถูกใช้ในฐานะยาสมุนไพรประเภทหนึ่ง กระทั่งหลังจากที่อังกฤษได้เข้าพิชิตอินเดีย และได้มอบสิทธิผูกขาดในการจำหน่ายให้กับบริษัทอีสต์อินเดีย และนำเข้าจำหน่ายในจีนเป็นจำนวนมาก ซึ่งในเวลานั้นนอกจากอังกฤษแล้ว ยังมีอเมริกา ฝรั่งเศสและรัสเซียที่ต่างก็พยายามนำเอาฝิ่นจากตุรกี และเอเชียกลางมาจำหน่ายในจีนเช่นกัน
ในช่วงเวลานั้น ราคาของฝิ่นอยู่ชั่งละ 5 ตำลึงเงิน ในช่วงเวลา 40 ปีก่อนที่สงครามฝิ่นจะปะทุขึ้น อังกฤษได้ขนฝิ่นเข้ามาประเทศจีนมากถึง 400,000 ลัง จนดูดเอาเงินแท่งออกไปจากจีนได้ราว 300 ล้าน – 400 ล้านแท่ง จนกระทั่งเกิดปัญหาการขาดแคลนเงินแท่งภายในประเทศและทำให้ราคาของเงินแท่งพุ่งสูงขึ้นไปกว่า 1 เท่าตัว จนประชาชนและประเทศชาติต่างยากจนลงไปตาม ๆ กัน คนที่สูบฝิ่นมากขึ้นทุกขณะ ไม่เพียงแต่เป็นในวงขุนนางข้าราชการเท่านั้น แต่เลยไปถึงบรรดาเจ้าของที่ดิน พ่อค้า บัณฑิต และแม้กระทั่งชาวไร่ชาวนา ช่างแรงงาน ทหารก็ไม่เว้น
เมื่อมาถึงปีค.ศ. 1838 ทั่วประเทศมีชาวจีนที่ติดฝิ่นมากถึง 2,000,000 คน จนถึงกับมีคำกล่าวว่าฝิ่นนั้น นอกจากจะขูดเอาเงินแท่งจากจีนไปแล้ว ยังได้ทำลายสุขภาพร่างกายและจิตวิญญาณชาวจีนไปด้วย ในปีเดียวกันนี้จึงมีกลุ่มขุนนางถวายฎีกาโดยเปิดโปงบรรดาข้าราชการที่ค้าฝิ่น และผลักดันให้มีการหยุดฝิ่นด้วยการลงโทษผู้ที่สูบอย่างรุนแรง หลังจากนั้นหลินเจ๋อสีว์ (林则徐) ผู้ตรวจการหูกว่างได้ถวายฎีกาถึง 3 ครั้งต่อฮ่องเต้เต้ากวง โดยระบุว่าหากไม่ทำการหยุดฝิ่นในประเทศจีน ในระยะยาวอีกหลายสิบปีนั้น จีนจะไม่เหลือทหารไว้รบ ไม่เหลือเงินไว้ใช้อีกต่อไป จนทำให้จักรพรรดิเต้ากวงมีดำริที่จะปราบปรามฝิ่นอย่างจริงจัง นำไปสู่สงครามฝิ่นกับอังกฤษทั้ง 2 ครั้ง ซึ่งราชวงศ์ชิงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้เนื่องจากอาวุธปืนของอังกฤษมีความทันสมัยกว่ามาก ทำให้ต้องราชวงศ์ชิงต้องสูญเสียเกาะฮ่องกงแก่อังกฤษ อีกทั้งต้องทำสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมจำนวนมากกับชาติตะวันตกและเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
-
ชาวจีนเสพติดฝิ่น
-
กุลีแรงงานชาวจีน
-
ชาวจีนผู้ยากไร้ที่เมืองกว่างโจว
กบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว
แก้หลังจากพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่น รัฐบาลชิงต้องเสียดินแดนและชำระค่าฝิ่นกับค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนสูง จึงขูดรีดภาษีจากประชาชน การคลังขาดแคลน ประชาชนอดอยาก สังคมเริ่มวุ่นวาย ไร้ความสงบสุข ประชาชนเริ่มรวมตัวต่อต้านอำนาจรัฐกลายเป็นกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว โดยมีผู้นำคือ หงซิ่วฉวน เป็นชาวอำเภอฮัวเซี่ยน มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งได้รับอิทธิพลของคริสต์ศาสนา จึงร่วมกับ เฝิงอวิ๋นซาน ก่อตั้งสมาคมนับถือพระเจ้าที่มณฑลก่วงซี แล้วกลายสภาพเป็นกบฏไท่ผิงเทียนกั๋วในเวลาต่อมาในปี ค.ศ. 1851 รัชศกเต้ากวง ปลายรัชสมัยปีที่ 30
กองทัพของหงซิ่วฉวนกับเฝิงอวิ๋นซานบุกยึดเมืองนานกิงได้ในปีค.ศ. 1853 รัชศกเสียนฟง ปีที่ 3 ขณะนั้นกองทัพมีกำลังพลนับล้านกว่าคนและในอีก 2 ปี ต่อมา ก็ได้รับชัยชนะจากยุทธการหูโข่ว หลังจากได้ชัยชนะในหลายสมรภูมิช่วงท้ายของกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว ผู้นำทั้งสองเกิดความขัดแย้งกันเองด้วยการแยกตัวเป็นอิสระ การลอบสังหารกันด้วยความระแวงใจ ทำให้กองทัพกบฏเริ่มอ่อนแอลง กอปรกับราชสำนักชิงขอร้องกองทัพอังกฤษซึ่งมีอาวุธทันสมัยและทหารแข็งแกร่งให้ช่วยกวาดล้างกบฏแลกกับผลประโยชน์ที่เสนอให้อังกฤษ ฝ่ายกบฏเริ่มสูญเสียที่มั่นไปจนถึงปลายปีค.ศ. 1863 รัชศกถงจื้อ ปีที่ 2 ทหารชิงและทหารต่างชาติล้อมเมืองเทียนจิงได้ ปีถัดมาเมืองนั้นเกิดสภาพอดอยาก หงซิ่วฉวนฆ่าตัวตาย เมืองเทียนจิงแตก จึงถือเป็นการปิดฉากกบฏไท่ผิงเทียนกั๋วลง แต่จิตวิญญาณต่อต้านราชวงศ์ชิงยังฝังแน่นในหัวใจของชาวฮั่นซึ่งส่งผลสืบเนื่องให้เกิดการปฏิวัติต่อต้านแมนจูในเวลาข้างหน้าอีก
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง
แก้หลังการปฏิรูปเมจิในญี่ปุ่นช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นได้พัฒนาประเทศจนเจริญทัดเทียมกับตะวันตกและเริ่มขยายอำนาจออกนอกประเทศ โดยมีเป้าหมายที่แผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่ ญี่ปุ่นเริ่มการคุกคามจีนด้วยการนำกองทัพบุกยึดครองเกาหลีซึ่งเป็นประเทศราชของจีนเพื่อหวังเป็นเส้นทางเข้าสู่จีน ปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) รัชศกกวงซี่ ปีที่ 20 เกาหลีเกิดจลาจลกลุ่มภูมิปัญญาตะวันออก (ตงเสวียตั่ง) ขึ้น จึงร้องขอให้จีนช่วยเหลือ จีนส่งกองทัพไปตามคำขอ ส่วนญี่ปุ่นส่งกองทัพเรือไปยึดครองเกาหลีและโจมตีทหารจีนอันเป็นการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ กองทหารชิงพ่ายแพ้ ญี่ปุ่นยังรุกต่อเนื่องทำให้ราชสำนักชิงหวั่นเกรงความเข้มแข็งของกองทัพญี่ปุ่น ราชสำนักชิงจึงรีบขอเจรจาสงบศึกก่อน ในปี ค.ศ. 1895 ได้เกิดสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ อันเป็นสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม มีการลงนามระหว่างขุนนางราชสำนักชิง หลี่ หงจางกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น อิโต ฮิโระบุมิ ความสูญเสียของจีนคือ ยกเกาหลี ไต้หวัน, คาบสมุทรเหลียวตงให้ญี่ปุ่น ใช้เงินค่าปฏิกรรมสงครามนับสองร้อยล้านตำลึง อนุญาตให้ญี่ปุ่นตั้งโรงงานตามเมืองท่าของจีนได้
ผลจากสนธิสัญญานี้บางส่วนไปกระทบต่อความมั่นคงของรัสเซียซึ่งมีดินแดนบางส่วนติดกับจีนที่บริเวณคาบสมุทรเหลียวตง รัสเซียร่วมกับฝรั่งเศส เยอรมัน ทำการคัดค้านการยึดครองดินแดนผืนนั้นอย่างหนักหน่วง ญี่ปุ่นจำใจคืนคาบสมุทรเหลียวตงให้จีน โดยแลกกับเงินแท่งหลายล้านตำลึง การต้องใช้จ่ายเงินจำนวนสูงมากในหลายกรณีโดยราชสำนักชิง ทำให้ประชาชนเดือดร้อนหนักจากการรีดภาษี ความยากแค้นแผ่ขยายกว้างขึ้นเรื่อย ๆ แรงคับแค้นใจถูกเก็บอัดแน่นมากขึ้นในหมู่ประชาชน
การปฏิรูป / รัฐประหาร อู้ซีว์
แก้หลังการพ่ายแพ้สงครามต่อฝรั่งเศสและญี่ปุ่น รัชศกกวางสู์ ปีที่ 23 เยอรมันใช้กำลังยึดครองอ่าวเจียวโจว คังโหย่วเหวย ถานซือถง เสนอหลักเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบใหม่เพื่อความเข้มแข็งของชาติ ซึ่งเรียกกันว่า “แผนปฏิรูป อู๋ซีว์” โดยเน้นการผลิตบัณฑิตสมัยใหม่ เปิดกว้างการวิพากษ วิเคราะห์ พัฒนากิจการใหม่ ๆ ที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชาติ และความอิ่มท้องของชาวบ้าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากพระเจ้ากวางสู์ ซึ่งต้องการใช้แผนปฏิรูปนี้ยึดคืนอำนาจจากพระนางซูสีไทเฮา ข้าราชสำนักส่วนใหญ่เกิดความระแวงใจว่าแผนดังกล่าวมาจากบัณฑิตชาวฮั่น จึงร่วมมือกับพระนางซูสีทำรัฐประหาร กักขังพระเจ้ากวางสู จับถานซื่อถงกับพวกนักปฏิรูป รวมทั้งลงโทษขุนนางที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สั่งยกเลิกแผนปฏิรูปทั้งหมด เรียกว่า รัฐประหาร อู้ซีว์ ส่วนคังโหย่วเหวยกับเหลียงฉี่เชาหลบหนีไปนอกประเทศได้
หลังการปฏิรูปชาติล้มเหลว ราษฎรเริ่มตระหนักใจว่าหากไม่ล้มล้างรัฐบาลชิงซึ่งไร้ความสามารถ ราชสำนักชิงภายใต้อำนาจของพระนางซูสีเหลวแหลกและเป็นอุปสรรคในการปฏิรูปไปสู่ความเข้มแข็งของชาติ คนจำนวนมากจึงเข้าร่วมขบวนการปฏิวัติของดร.ซุนยัดเซน ในเวลาต่อไป
ขบวนการอี้เหอถวน / ศึกพันธมิตรแปดชาติ
แก้ตอนปลายราชวงศ์ชิงการรุกรานของต่างชาติทั้งด้านกองทหารและศาสนาคริสต์สร้างความไม่พอใจแก่ราษฎรอันเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันที่ราชสำนักกลัวเกรงต่างชาติโดยไม่คุ้มครองชาวบ้านที่ถูกรังแกเหยียดหยาม จึงสั่งสมความแค้นกลายเป็นพลังต่อต้านต่างชาติอย่างเร็ว กอปรกับภัยพิบัติของแม่น้ำฮวงโหแล้งติดต่อกันหลายปี ทำให้เกิดความยากแค้นจึงมีกลุ่มความเชื่อลัทธิต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มอี้เหอถวนในมณฑลซานตุงกับเหอเป่ย ซึ่งนอกจากสอนมวยแล้ว ยังฝังความเชื่อเกี่ยวกับเวทมนตร์ให้ชาวบ้านด้วยพร้อมกับแนวคิดสนับสนุนราชวงศ์ชิง กำจัดต่างชาติ ทำให้มีผู้ร่วมกลุ่มเพิ่มทวีขึ้น นอกจากนั้นราชสำนักชิงโดยพระนางซูสีต้องการใช้กลุ่มนี้ต่อต้านต่างชาติซึ่งคัดค้านพระนางกักขังพระเจ้ากวางสู กลุ่มนี้จึงกลายเป็นเครื่องมือทำลายต่างชาติของและได้รับการสนับสนุนจากพระนางซูสีซึ่งคอยบงการอยู่เบื้องหลัง อันสร้างความไม่พอใจแก่ชาวต่างชาติอย่างมาก
พระนางซูสีไทเฮาหนีภัยสงครามของตนเอง
แก้ปี พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) รัชศก กวางสู์ ปีที่ 26 พระนางซูสีไทเฮาสั่งกลุ่มอี้เหอถวนโจมตีเขตสถานทูตของต่างชาติในปักกิ่ง ทำให้ชาติต่าง ๆ ซึ่งได้รับความเสียหายรวมตัวกันเป็นกองทัพพันธมิตรแปดชาติตอบโต้จีน ทหารชิงแตกพ่าย ทหารพันธมิตรบุกเข้ากรุงปักกิ่งและยึดพระราชวังต้องห้ามไว้ พระนางซูสีพาพระเจ้ากวางสูลี้ภัยหนีไปเมืองซีอาน ส่วนกองทัพพันธมิตรปล้นสะดมวังต้องห้ามและบ้านเรือนของชาวบ้าน อันสร้างความเสียหายอย่างมากทั้งสถานที่หรือสมบัติมีค่าของจีน ปีต่อมาราชสำนักชิงส่งตัวแทนเจรจาสันติภาพโดยยอมใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนสูงมาก ยอมให้ต่างชาติตั้งกองทหารในเขตที่ต้องการอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ของชาติ รวมทั้งกำหนดขอบเขตที่ห้ามคนจีนเข้าไปทั้งที่เป็นดินแดนจีน การสูญเสียอธิปไตยเพิ่มเติมจากสัญญาต่าง ๆ ที่เคยทำไว้โดยมาจากความอ่อนแอของราชสำนักชิงสร้างความคับแค้นใจแก่คนจีนซึ่งเชื่อมั่นมากขึ้นว่า ชาติจะรอดพ้นภัยพิบัติได้ด้วยการล้มล้างราชวงศ์ชิงเท่านั้น แนวคิดนี้ลุกลามไปทั่วแผ่นดิน ขบวนการปฏิวัติจึงรวมตัวและเคลื่อนไหวเข้มข้นมากขึ้น อันสั่นคลอนต่ออำนาจของพระนางซูสีไทเฮาและราชสำนักชิงในเงื้อมเงาของพระนางหนักขึ้นทุกขณะ
รัฐธรรมนูญของราชสำนักชิง
แก้ช่วงปลายลมหายใจของพระนางซูสีไทเฮา ฝ่ายต่อต้านราชสำนักชิงมีพลังมากขึ้นและแยกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนให้มีรัฐธรรมนูญโดยยังมีฮ่องเต้ของคังโหย่วเหวย กับ ฝ่ายล้มล้างราชวงศ์ชิงของดร.ซุนยัดเซน เพื่อเป็นการลดความร้อนแรงของประชาชน ราชสำนักชิงเลือกจะร่างรัฐธรรมนูญตามที่ประชาชนต้องการ ทำให้ฝ่ายล้มล้างราชวงศ์ชิงไม่เป็นที่สนใจเพราะความหวังใหม่ในท่าทีอ่อนลงของราชสำนัก พระนางซูสีไทเฮาคัดเลือกรัชทายาทใหม่และถือเป็นคนสุดท้ายของราชวงศ์ชิงก่อนสิ้นลมหายใจ คือ จักรพรรดิผู่อี๋หรือผู่อี๋ ตอนนั้นมีพระชนมายุไม่ถึง 3 ขวบ และเปลี่ยนเป็นรัชศกเซียนถ่ง โดยมีพระบิดา คือ เจ้าชายฉุน (ไจ้เฟิง) เป็นผู้สำเร็จราชการบริหารแผ่นดินแทน พระบิดาร่างรัฐธรรมนูญต่อไปเมื่อประกาศใช้ในแผ่นดินกลับสร้างความผิดหวังแก่ประชาชนอย่างมาก เมื่อกำหนดให้กลุ่มผู้บริหารประเทศเป็นเชื้อพระวงศ์ชิงส่วนใหญ่ คนจีนตระหนักใจแล้วว่าความหวังเดียวของชาติ คือ ต้องใช้กำลังล้มล้างราชวงศ์ชิงเท่านั้น ฝ่ายที่เคยเรียกร้องรัฐธรรมนูญของคังโหย่วเหวยผันตัวเองไปสนับสนุนกลุ่มดร.ซุนยัดเซนมากขึ้น หลังจากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับของราชสำนักชิงแล้ว ประชาชนเปลี่ยนไปเข้าร่วมแนวคิดของดร.ซุนยัดเซนเพิ่มทวีขึ้นและถือว่าทรงอิทธิพลมาก ชะตากรรมของราชสำนักชิงเข้าสู่จุดวิกฤติ
การปฏิวัติซินไฮ่
แก้ราชวงศ์ชิงล่มสลาย
แก้ในช่วงต้นของพุทธศตวรรษที่ 25 ความไม่พอใจของประชาชนต่อการปกครองที่เหลวแหลกของราชสำนักชิงพวยพุ่งขึ้นเรื่อยๆ เริ่มมีการรวมกลุ่มกันประท้วงมากขึ้นและขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งพระนางซูสีไทเฮาและจักรพรรดิกวางสูสวรรคตใน ค.ศ. 1908 ทิ้งให้สมาชิกราชวงศ์ที่ไร้บารมีและสถานภาพทางการเมืองไม่แน่นอนยังอยู่ในพระราชวังต้องห้าม ผู่อี๋ โอรสขององค์ชายชุนที่ 2 ได้รับการอภิเษกให้เป็นจักรพรรดิองค์ต่อไปตั้งแต่พระชนมายุเพียง 2 ชันษา โดยให้พระราชบิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ต่อมา นายพลหยวน ซื่อไข่ ถูกปลดออกจากตำแหน่งทางทหาร ในกลางปี ค.ศ. 1911 องค์ชายชุนที่ 2 ทรงตั้งคณะรัฐมนตรีหลวง โดยสมาชิกเกือบทั้งหมดเป็นพระญาติสกุลอ้ายซินเจว๋หลัว มีหน้าที่บริหารประเทศจีนในเรื่องทั่วไป การตั้งคณะรัฐมนตรีหลวงครั้งนี้ได้สร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้กับข้าราชการชั้นสูงทั้งหลาย ซึ่งรวมทั้ง จางจื่อตง ด้วย
ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 1911 ได้เกิดจลาจลอู่จางขึ้น และต่อมา ดร.ซุน ยัดเซ็น ได้ประกาศก่อตั้งรัฐบาลของตนขึ้นใหม่ ในนามสาธารณรัฐจีน ที่เมืองนานกิง หัวเมืองหลายแห่งเริ่มตีตัวแยกจากรัฐบาลราชวงศ์ชิง เมื่อสถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจเช่นนี้ รัฐบาลราชวงศ์ชิงจึงเรียกตัวนายพลหยวน ซื่อไข่รู้สึกไม่พอใจราชวงศ์อยู่แล้วกลับเข้ามาควบคุมกองทัพเป่ย์หยาง เพื่อปราบปรามกลุ่มผู้แข็งข้อทั้งหลาย หลังจากที่ได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลของตนแล้ว นายพลหยวนก็ได้เรียกร้องให้องค์ชายชุนลงจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ โดยการเรียกร้องครั้งนี้ได้รับคำแนะนำจาก สมเด็จพระพันปีหลวงหรงยู่
หลังจากองค์ชายชุนออกจากตำแหน่งแล้ว หยวน ซื่อไข่และนายพลจากกองทัพเป่ย์หยางก็ครอบงำราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ ประเทศจีนในครั้งนั้นก็มี รัฐบาล 2 ฝ่าย รัฐบาลหยวน ซื่อไข่ปฏิเสธการทำสงครามกับรัฐบาลสาธารณรัฐของซุน ยัดเซ็น โดยให้เหตุผลว่าเสียค่าใช้จ่ายสูงและไม่มีเหตุผล คำเรียกร้องของราชวงศ์ชิงคืออยากใประเทศจีนปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และซุนยัดเซ็นอยากให้ประเทศปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ หลังจากที่ได้รับการอนุญาตจากหลงหยูไทเฮาแล้ว นายพลหยวนก็ได้เปิดการเจรจากับซุนยัดเซ็น โดยที่ซุนยัดเซ็นมีเป้าหมายว่าถ้าก่อตั้งสาธารณรัฐจีนสำเร็จแล้ว อาจจะให้นายพลหยวนขึ้นเป็นประธานาธิบดี ใน ค.ศ. 1912 หลังจากการเจรจา หลงหยูไทเฮาก็ได้ออกพระราชเสาวนีย์ประกาศให้จักรพรรดิผู่อี๋ผู้เป็นพระโอรสบุญธรรมสละราชบัลลังก์
การล่มสลายของราชวงศ์ชิงใน ค.ศ. 1912 ถือเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในจีนที่มีมายาวนานกว่า 5,000 ปี
การเมือง
แก้ในสมัยจักรพรรดิราชวงศ์ชิงตอนต้นนำระบบโครงสร้างและสถาบันของข้าราชการของราชวงศ์หมิงมาปรับใช้ แต่มีแบ่งแยกการปกครองและตำแหน่งของข้าราชการระหว่างชาวฮั่นกับชาวแมนจู ตำแหน่งราชการบางตำแหน่งยังคงเป็นของชาวมองโกล[8] เช่นเดียวกับราชวงศ์ในอดีตก่อนหน้านี้ ข้าราชการของราชวงศ์ชิงได้รับคัดเลือกผ่านทางสอบจอหงวนเข้ารับราชการ จนกระทั่งระบบถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1905 ราชวงศ์ชิงได้แบ่งตำแหน่งออกเป็นตำแหน่งพลเรือนและทหาร แต่ละหมวดย่อยแบ่งเป็น 2 แผนก แผนกแรก การแต่งตั้งตำแหน่งพลเรือนมีตำแหน่งตั้งแต่ข้าราชบริพารในจักรพรรดิ (ฮ่องเต้) ไปจนถึงตำแหน่งศาลาในที่ประจำอยู่ในพระราชวังต้องห้าม (ตำแหน่งสูงสุด) เป็นผู้จัดเก็บภาษีประจำจังหวัด, ผู้ช่วยผู้คุมในเรือนจำรอง, ผู้บัญชาการตำรวจหรือผู้ตรวจสอบภาษี แผนกที่ 2 การแต่งตั้งตำแหน่งทางทหารนั้นมีตั้งแต่การเป็นแม่ทัพใหญ่หรือมหาดเล็กกรมวังของราชองครักษ์ไปจนถึงจ่าสิบเอก,ชั้นสิบโทหรือตำแหน่งพลทหารชั้นหนึ่งหรือชั้นสอง[9]
หน่วยงานราชการกลาง
แก้โครงสร้างที่เป็นทางการของราชสำนักชิงมีศูนย์กลางที่จักรพรรดิในฐานะผู้ปกครองที่เป็นศูนย์รวมอำนาจสมบูรณ์ซึ่งเป็นประธานในคณะกรรมการหกคณะ หรือ หกกรม (จีน: 六部; พินอิน: lìubù) แต่ละกรมมีเสนาบดีสองคน (จีนตัวย่อ: 尚书; จีนตัวเต็ม: 尚書; พินอิน: shàngshū) และมีตำแหน่งผู้ช่วยรองลงมาอีก 4 คน (จีน: 侍郎; พินอิน: shìláng) อย่างไรก็ตามระบบของราชวงศ์ชิงตรงกันข้ามกับระบบของราชวงศ์หมิงที่นโยบายชาติพันธุ์ของชิงระบุว่าการแต่งตั้งบรรจุข้าราชการจะถูกแบ่งระหว่างข้าราชการชาวแมนจูและข้าราชการชาวฮั่นที่ผ่านระดับสูงสุดของการสอบจอหงวนเข้ารับราชการ ส่วนตำแหน่ง ศาลาใน (จีนตัวย่อ: 内阁; จีนตัวเต็ม: 內閣; พินอิน: nèigé) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายที่สำคัญในยุคสมัยราชวงศ์หมิงได้สูญเสียความสำคัญลงในช่วงราชวงศ์ชิงและกลายมาเป็นกรมบริหารระดับสูง องค์กรที่ได้รับการสืบทอดมาจากราชวงศ์หมิงเป็นแกนกลางของ "พระตำหนักชั้นนอก" ซึ่งทำหน้าที่จัดการเรื่องประจำและตั้งอยู่ทางตอนใต้ของพระราชวังต้องห้าม
เพื่อไม่ให้การบริหารกิจวัตรประจำวันเข้ามามีอิทธิพลครอบงำในราชสำนักมากเกินไป จักรพรรดิชิงจึงทรงทำให้แน่ใจว่าเรื่องสำคัญทั้งหมดต้องได้รับการตัดสินใจจากใน "พระตำหนักชั้นใน" ซึ่งปกครองโดยบรรดาสมาชิกของราชวงศ์ที่เป็นเชื้อพระวงศ์และขุนนางแมนจูซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณตอนเหนือของพระราชวังต้องห้าม
กรมความลับทหาร
แก้องค์กรหลักของพระตำหนักชั้นในคือ กรมความลับทหาร (จีนตัวย่อ: 军机处; จีนตัวเต็ม: 軍機處; พินอิน: jūnjī chù) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1720 ภายใต้รัชสมัยของจักรพรรดิหย่งเจิ้ง ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดการกับความขัดแย้งแตกแยกทางทหารระหว่างราชสำนักชิงกับชาวมองโกล แต่ในไม่ช้าหน่วยงานดังกล่าวก็ได้เข้ามาดูแลราชการทหารและการบริหารอื่น ๆ และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางอำนาจภายใต้ราชสำนัก[10]
นโยบายปกครองประเทศ
แก้การปกครองสมัยต้นราชวงศ์ชิง
แก้พุทธศตวรรษที่ 23 ในต้นราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นยุคที่ทางราชวงศ์ต้องผจญกับขบวนการกู้หมิงต้านชิง ของชาวฮั่นทั้งหลายที่โกรธแค้นที่ชนต่างเชื้อสายมาเป็นใหญ่ประเทศจีน ดังนั้นในสมัยของ จักรพรรดิคังซี, จักรพรรดิหย่งเจิ้ง และจักรพรรดิเฉียนหลง จึงต้องใช้ทั้งนโยบายประนีประนอมเพื่อให้อยู่กับชาวฮั่นได้อย่างเป็นสุข และนโยบายแข็งกร้าวเพื่อควบคุมชาวฮั่นไว้ไม่ให้คิดต่อต้าน ซึ่งนโยบายเหล่านี้กลายเป็นแนวปฏิบัติของจักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มา เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับอำนาจรัฐ
ในประวัติศาสตร์จีนได้ปรากฏว่ามีชนกลุ่มน้อยขึ้นตั้งราชวงศ์ปกครองแผ่นดินจีน 2 ราชวงศ์ นั่นคือ ราชวงศ์หยวนของเผ่ามองโกล และราชวงศ์ชิงของเผ่าแมนจู ราชวงศ์หยวนถึงแม้จะเก่งกาจ มีกำลังทหารและอาวุธที่น่าเกรงขาม แต่ไม่มีความรู้ด้านการปกครอง จึงปกครองแผ่นดินจีนได้เพียงแค่ 90 ปีเศษก็ล่มสลายไป ส่วนราชวงศ์ชิงใช้นโยบายประนีประนอมและแข็งกร้าวได้อย่างแยบยล จึงประสบความสำเร็จทั้งทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และสังคม จนสามารถปกครองแผ่นดินจีนได้นานถึง 260 ปี
นโยบายประนีประนอม
แก้นโยบายประนีประนอมถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการผูกมิตรเอาอกเอาใจชาวฮั่นซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ราชวงศ์ชิงเข้าปกครองแผ่นดินจีนใหม่ๆ เพื่อสร้างบารมีให้กับราชวงศ์ชิง และขจัดความคิดต่อต้านแมนจู โดยนโยบายสำคัญ ๆ มีดังนี้
- จัดพระราชพิธีปลงพระศพของพระเจ้าหมิงซือจง จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์หมิงและพระมเหสี และสร้างสุสานถวายให้อย่างสมพระเกียรติ
- ยกย่องขุนนางราชวงศ์หมิงที่สละชีพเพื่อปกป้องเยี่ยงวีรบุรุษ และเกลี้ยกล่อมขุนนางหมิงให้สวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ชิงและดูแลเป็นพิเศษ
- ยังคงใช้วิธีคัดเลือกข้าราชการโดยวิธีการสอบจอหงวนตามแบบของราชวงศ์หมิง และเปิดโอกาสให้ชาวจีนฮั่นเข้าสอบรับราชการได้
- จักรพรรดิคังซี ทรงจัดทำ พจนานุกรมคังซี ซึ่งรวบรวมตัวอักษรจีนได้ครบถ้วนที่สุดสมัยนั้น และในสมัย จักรพรรดิเฉียนหลง ได้มีการรวบรวมงานวิชาการครั้งยิ่งใหญ่ทั่วประเทศจีนมาเป็น ประมวลสาส์นสี่ภาค (四庫全書 ซื่อคู่เฉวีนซู) มีการส่งเสริมบัณฑิตที่มีผลงานทางวิชาการให้ได้รับบำเหน็จ อย่างไรก็ตาม ในขณะรวบรวมผลงานทางวิชาการ หนังสือหลายเล่มถูกทำลายเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง
- ยกเลิกหรือลดอัตราภาษีที่ขูดรีดในท้องที่ต่าง ๆ และล้มแนวการปกครองที่โหดร้ายของราชวงศ์หมิง
นโยบายแข็งกร้าว
แก้ในขณะเดียวกัน ราชวงศ์ชิงก็ดำเนินนโยบายแข็งกร้าวเพื่อสยบชาวฮั่นที่คิดจะต่อต้านไว้ด้วย โดยนโยบายสำคัญมีดังนี้
- สังหารประชาชนที่รวมตัวก่อจลาจลต่อต้านราชสำนักตามท้องที่ต่าง ๆ อย่างโหดเหี้ยม
- ห้ามการรวมกลุ่มกันจัดตั้งสมาคมอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันการรวมพลังมวลชน
- บังคับให้ชายชาวฮั่นทั่วประเทศต้องไว้ผมแบบชาวแมนจู คือ ไว้หางเปียยาวด้านหลัง และโกนผมครึ่งศีรษะ อย่างที่ชาวไทยคุ้นเคยกันดีจากภาพยนตร์ ใครฝ่าฝืนจะต้องโทษประหารชีวิต
- นำกฎหมายอาชญาทางภาษา (เหวินจื้ออวี้) มาใช้หลายครั้ง เพื่อควบคุมความคิดของชาวฮั่นให้อยู่ในกรอบ ในสมัยจักรพรรดิคังซี หย่งเจิ้ง และเฉียนหลง มีปรากฏว่ามีมากถึง 70-80 คดี แต่ละคดีจะมีผู้รับเคราะห์ 10 คน จนถึงหมื่นคนก็มี ตัวอย่างคดีที่สำคัญ เช่น คดีหนังสือประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิง (หมิงสื่อ) ในสมัยคังซี ที่จวนถิงหลง จัดพิมพ์ไปกล่าวกระทบประวัติศาสตร์แมนจู ราชวงศ์ชิงถึงกับขุดศพจวนถิงหลงมาแยกร่าง ผู้เขียน ตรวจอักษร ขายหนังสือ และแม้แต่ผู้มีหนังสือในครอบครองถูกประหาร 72 คน และถูกขับไล่ให้เป็นทหารแถบชายแดนอีกนับร้อยคน
การทหาร
แก้กองทัพแบบเก่า
แก้จุดเริ่มต้นและการพัฒนาในช่วงต้น
แก้การทหารชิงในช่วงต้นราชวงศ์มีรากฐานมาจากกองทัพแปดกองธงที่พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดยปฐมจักรพรรดิหนูเอ่อร์ฮาชื่อเพื่อจัดระเบียบชาวหนี่เจินด้วยกันเองและสังคมที่อยู่นอกเหนือความผูกพันของเผ่าเดียวกัน มีธงเป็นสัญลักษณ์ทั้งหมดแปดธงแยกตามสี สีเหลืองมีขอบสีเหลืองและสีขาวเป็นที่รู้จักในนาม "สามกองธงระดับสูง" และอยู่ภายใต้คำสั่งโดยตรงของจักรพรรดิ มีเพียงชาวแมนจูเท่านั้นที่เป็นสมาชิกของธงชั้นสูงสามธง และชาวจีนฮั่นที่ผ่านการสอบระดับสูงสุดมาแล้วเท่านั้นที่สามารถทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มกันส่วนตัวของจักรพรรดิได้ ธงที่เหลือเป็นที่รู้จักในนาม "ห้ากองธงระดับล่าง" ซึ่งได้รับคำสั่งบัญชาการจากบรรดาเชื้อพระวงศ์แมนจูที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว ซึ่งรู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการว่าอ๋องพระมาลาเหล็ก พร้อมกันนั้นได้มีการก่อตั้งสภาผู้ปกครองแห่งราชวงศ์แมนจู รวมถึงผู้บังคับบัญชากองทัพ พระโอรสของหนูเอ่อร์ฮาชื่อ หฺวัง ไถจี๋ ได้นำทัพบุกดินแดนประเทศจีนของราชวงศ์หมิง ได้ขยายระบบเพื่อรวมกองธงที่เป็นเผ่าชาวมองโกล และชาวฮั่น หลังจากการยึดครองกรุงปักกิ่งได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1644 กองทัพธงขนาดค่อนข้างเล็กนั้นถูกเสริมโดย กองทัพมาตรฐานสีเขียว ซึ่งประกอบด้วยกองทหารหมิงที่ยอมจำนนต่อราชวงศ์ชิงซึ่งในที่สุดมีจำนวนมากกว่าสามต่อหนึ่งกองทัพ พวกเขายังคงรักษาระบบการบริหารกองทัพยุคราชวงศ์หมิงของพวกเขาและนำมาผสมกับบรูปแบบการปกครองกองธงและเจ้าหน้าที่กองทัพมาตรฐานสีเขียว
กองทัพแปดกองธงได้มีการจัดเรียงตามกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ แมนจูและมองโกล แต่รวมถึงทาสที่ไม่ใช่แมนจูที่ลงทะเบียนสังกัดมูลนายภายใต้ครัวเรือนของเจ้านายของแมนจู ในภายต่อมาเมื่อราชวงศ์ชิงพิชิตดินแดนจีนมากขึ้น ทำให้มีการเพิ่มจำนวน ของชาวฮั่น ภายใต้การปกครองของแมนจูทำให้หฺวัง ไถจี๋สร้างแปดกองธงฮั่น ขึ้น เมื่อแม่ทัพอู๋ซานกุ้ยแปรพักตร์เปิดด่านให้กองทัพแปดธงเข้าจงหยวน แมนจูก็สามารถยึดแผ่นดินจีนได้สำเร็จ และในช่วงเวลาที่ราชวงศ์ชิงยึดกรุงปักกิ่ง ตัวเลขของกองธงก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[11] กองธงชาวฮั่นมีสถานะและอำนาจในช่วงต้นราชวงศ์ชิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการพิชิตในช่วงจักรพรรดิซุ่นจื้อและจักรพรรดิคังซีที่พวกเขาครองตำแหน่งผู้ว่าการ-นายพลและผู้ว่าการทั่วประเทศจีน ในช่วงการขยายตัวของพลเรือนแมนจูและฮั่นในกองธง ชาวฮั่นยังมีครองอิทธิพลในกองธงเป็นจำนวนมากจนถึงกลางศตวรรษที่ 18 ผู้มาเยือนชาวยุโรปในปักกิ่งเรียกพวกเขาว่า "จีนแมนจู" หรือ "ชาวจีนแมนจู"
ในรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงทรงกังวลเกี่ยวกับการมีอิทธิพลมากเกินไปของชาวฮั่นในระบบกองธง และทรงตระหนักถึงการรักษาอัตลักษณ์ของเผ่าพันธุ์แมนจูที่เน้นภาษาเผ่าพันธุ์และวัฒนธรรมในแปดกองธง พระองค์จึงทรงเริ่มต้นการปลดทหารจำนวนกองธงชาวฮั่นจากแปดกองธงโดยสมัครใจหรือขอให้พวกเขาลาออกจากกองธงโดยสมัครใจหรือประกาศชื่อถอดถอนพวกเขาออก โดยทรงมอบทรัพย์สินปลอบใจตอบแทนเพื่อประนีประนอมกับชาวฮั่นอีกที สิ่งนี้นำไปสู่การเปลี่ยนจากเสียงส่วนใหญ่ของชาวฮั่นมาเป็นชาวแมนจูเสียส่วนใหญ่ภายในระบบกองธง[12] และก่อนหน้านี้ทหารรักษาการณ์ที่เป็นกองธงชาวฮั่นในภาคใต้ของจีนเช่นที่ ฝูเจี้ยน, เจียงซู, กวางตุ้ง ถูกแทนที่ด้วยกองธงชาวแมนจู ในการสับเปลี่ยนกองธงซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1754 การหมุนเวียนของจักรพรรดิเฉียนหลงส่งผลกระทบอย่างมากต่อการประจำการของทหารรักษาการณ์กองธงประจำจังหวัดต่าง ๆ ในขณะที่มีผลกระทบต่อกองธงชาวฮั่น ในกรุงปักกิ่งน้อยมาก ทำให้สัดส่วนของกองธงชาวฮั่นที่เหลืออยู่ในกรุงปักกิ่งมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ[13] สถานะของกองธงชาวฮั่นลดลงจากจุดนั้นด้วยการที่กองธงชาวแมนจูได้รับสถานะที่สูงขึ้น กองธงชาวฮั่นที่แต่เดิมมีจำนวนครองตำแหน่งในกองธงถึง 75% ในปี ค.ศ. 1648 รัชสมัยจักรพรรดิซุ่นจื้อ ในปี ค.ศ. 1723 ในช่วงจักรพรรดิยงเจิ้งครองราชย์ ลดเหลือ 72% ในปี ค.ศ. 1796 ในช่วงปีแรกของการครองราชย์ของจักรพรรดิเจียชิ่ง ลดลงเหลือ 43% ซึ่งเกิดภายหลังจากการลดจำนวนของจักรพรรดิเฉียนหลง
หลังจากศตวรรษแห่งสันติภาพกองทหารกองธงชาวแมนจูเริ่มอ่อนแอ พ่ายแพ้การต่อสู้หลายครั้ง ก่อนการพิชิตหมิงของชิง กองธงแมนจูนั้นเป็นกองทัพ "พลเมือง" ที่มีสมาชิกเป็นชาวนาและผู้เลี้ยงสัตว์มีหน้าที่ให้การรับราชการทหารในยามสงคราม การตัดสินใจเปลี่ยนกองธงให้กลายเป็นกองกำลังมืออาชีพที่รัฐต้องการทุกประการนำมาซึ่งการเต็มไปด้วยการคอร์รัปชั่นและความเสื่อมถอยในฐานะกำลังต่อสู้ กองทัพมาตรฐานสีเขียวลดลงในทำนองเดียวกัน
กองทัพแบบใหม่
แก้ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ราชสำนักชิงเสื่อมถอยเนื่องจากไม่ยอมปฏิรูปกองทัพให้ทันสมัยและมักพ่ายแพ้สงครามเรื่อยมา อีกทั้งต้องประสบจากภัยคุกคามจากเหล่าประเทศล่าอาณานิคม ฝ่ายที่อนุรักษ์นิยมที่สุดในราชสำนักชิงไม่สามารถเพิกเฉยต่อความอ่อนแอทางทหารของจีนได้อีกต่อไป ในปี ค.ศ. 1860 ในระหว่างสงครามฝิ่นครั้งที่สอง ราชวงศ์ชิงพ่ายแพ้อย่างยับเยินเมืองหลวงของกรุงปักกิ่งถูกยึดครองและพระราชวังฤดูร้อนถูกปล้นสะดมจากกองกำลังผสมของอังกฤษ-ฝรั่งเศสที่มีขนาดค่อนข้างเล็กจำนวน 25,000 คน เนื่องจากอังกฤษและฝรั่งเศสมีอาวุธที่ทันสมัยกว่า เนื่องจากการถือกำเนิดของอาวุธสมัยใหม่อันเป็นผลมาจากยุโรปมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนกองทัพบกและกองทัพเรือของจีนได้รับการฝึกฝนไม่เพียงพอและล้าสมัย ราชสำนักชิงพยายามที่จะทำให้กองทัพและประเทศทันสมัยในช่วงขบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งในตนเองโดยพัฒนาประเทศยึดแบบตะวันตก แม้ประสบความสำเร็จในขั้นต้น แต่ให้ผลที่ยั่งยืนเพียงเล็กน้อยเนื่องจากราชสำนักขาดเงินทุนอีกทั้งยังขาดเจตจำนงทางการเมืองและไม่มีเต็มใจปฏิรูปประเทศเนื่องจากยังยึดแนวคิดแบบโบราณตามราชประเพณีที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงประเทศแบบตะวันตก
หลังราชวงศ์ชิงพ่ายแพ้ในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1894–1895 เป็นการตอกย้ำถึงความอ่อนด่อยและล้าหลังของกองทัพราชสำนักชิง เพราะการที่ราชวงศ์ชิงพ่ายแพ้ให้กับญี่ปุ่นซึ่งราชสำนักมักดูถูกว่าเป็นพวกโจรสลัดและมองว่าเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่ต้อยต่ำกว่า แต่ญี่ปุ่นกลับเอาชนะราชวงศ์ชิงได้และทำลายล้างกองทัพเรือเป่ย์หยางที่ทันสมัยและดีที่สุดของราชสำนักชิงได้อย่างราบคาบ ชัยชนะของญี่ปุ่นเกิดขึ้นเพียงสามทศวรรษหลังจากการปฏิรูปเมจิ โดยจักรพรรดิเมจิได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงประเทศญี่ปุ่นขึ้นให้ทันสมัยตามแบบชาติตะวันตกในความสำเร็จทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ในที่สุดในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 1894 หลังพ่ายแพ้สงครามและถูกประชาชนกดดันอย่างหนัก ราชสำนักชิงใช้ขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมในการปฏิรูปสถาบันทางทหารและฝึกอบรมหน่วยที่เลือกในการฝึกซ้อมยุทธวิธีและอาวุธแบบตะวันตก หน่วยเหล่านี้เรียกว่า กองทัพใหม่ ความสำเร็จที่สุดของสิ่งเหล่านี้คือ กองทัพเป่ย์หยาง ภายใต้การควบคุมและการควบคุมโดยรวมของผู้บัญชาการกองทัพอดีตนายพลยฺเหวียน ชื่อไข่ ผู้ใช้ตำแหน่งของเขาในการสร้างเครือข่ายเจ้าหน้าที่ที่ซื่อสัตย์และในที่สุดเขาก็กลายเป็น ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีนในภายหลัง[14]
เศรษฐกิจ
แก้ในตอนท้ายของศตวรรษที่ 17 ในช่วงที่ราชวงศ์ชิงปกครองประเทศจีนนั้นเศรษฐกิจจีนได้ฟื้นจากความเสียหายที่เกิดจากสงครามที่ราชวงศ์หมิงถูกโค่นล้มและการตกต่ำทางการค้าขายขนส่งสินค้าที่เกิดขึ้น[15] ในศตวรรษต่อมาตลาดยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ในช่วงปลายราชวงศ์หมิง แต่ด้วยการค้าระหว่างภูมิภาคมากขึ้นการพึ่งพาตลาดต่างประเทศและประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก[16] ในตอนท้ายของศตวรรษที่ 18 ประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 300 ล้านจากประมาณ 150 ล้านในช่วงปลายราชวงศ์หมิง จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเป็นผลมาจากหลายสาเหตุรวมถึงช่วงเวลาแห่งสันติภาพและความมั่นคงในศตวรรษที่ 18 และการนำเข้าพืชใหม่ที่จีนได้รับจากอเมริการวมถึงถั่วลิสงมันฝรั่งหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสายพันธุ์ใหม่จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นอย่างมากในการผลิต สมาคมผู้ค้าแพร่กระจายไปทั่วเมืองจีนที่กำลังเติบโตและมักได้รับอิทธิพลทางสังคมและการเมืองที่ยอดเยี่ยม พ่อค้าที่ร่ำรวยด้วยการติดต่อกับทางการสร้างความมั่งคั่งมหาศาล และการผลิตสิ่งทอและงานฝีมือก็มืความเจริญรุ่งเรือง[17]
ราชสำนักชิงได้มีนโยบายขยายความเป็นเจ้าของที่ดินโดยการคืนที่ดินที่ขายให้กับเจ้าของที่ดินรายใหญ่ในช่วงต้นราชวงศ์โดยครอบครัวไม่สามารถจ่ายภาษีที่ดินได้[18] เพื่อให้ผู้คนมีแรงจูงใจมากขึ้นที่จะเข้าร่วมในตลาดพวกเขาลดภาระภาษีเมื่อเปรียบเทียบกับหมิงตอนปลายและแทนที่ระบบแรงงานเกณฑ์ ด้วยการจ่ายภาษีต่อหัวที่ใช้ในการจ้างแรงงาน[19] การบริหารคลองต้า-ยฺวิ่นเหอ นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นและการขนส่งเปิดทางให้พ่อค้าเอกชนส่วนตัว[20] ระบบการตรวจสอบราคาข้าวช่วยลดปัญหาการขาดแคลนอย่างรุนแรงและทำให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นอย่างช้า ๆ และราบรื่นตลอดศตวรรษที่ 18[21] ราชสำนักชิงยังมีนโยบายจำกัดอิทธิพลของนายทุนพ่อค้า โดยคอยสอดส่องระมัดระวังอำนาจของพ่อค้าผู้มั่งคั่ง ราชสำนักได้จำกัดใบอนุญาตการค้าและมักจะปฏิเสธพวกพ่อค้าที่จะอนุญาตให้เปิดเหมืองใหม่ยกเว้นในพื้นที่ที่ยากจน[22] ข้อจำกัดเหล่านี้เกี่ยวกับการสำรวจทรัพยากรในประเทศรวมถึงการค้าต่างประเทศเป็นทฤษฎีการพิชิตชิงโดยนักวิชาการบางคน ซึ่งเป็นสาเหตุที่เปิดช่องให้การค้าเสรีซึ่งโลกตะวันตกได้เข้ามายังประเทศจีนเพื่อเข้ามามีอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีน
ในช่วงระยะเวลาราชวงศ์หมิง-ชิง (ค.ศ. 1368–1911) การพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในเศรษฐกิจจีนคือการเปลี่ยนจากคำสั่งไปสู่เศรษฐกิจตลาด เศรษฐกิจตลาดภายหลังได้กลายเป็นแพร่หลายมากขึ้นตลอดทั่วการปกครองของราชวงศ์ชิง[23] จากประมาณปี ค.ศ. 1550 ถึงปี ค.ศ. 1800 ประเทศจีนมีประสบการณ์การปฏิวัติเชิงพาณิชย์ครั้งที่สองการพัฒนาตามธรรมชาติจากการปฏิวัติเชิงพาณิชย์ครั้งแรกของช่วงราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเห็นการเกิดขึ้นของการค้าระหว่างประเทศทางไกลของสินค้าฟุ่มเฟือย ในช่วงการปฏิวัติเชิงพาณิชย์ครั้งที่สองเป็นครั้งแรกผู้ประกอบการทำการเกษตรส่วนใหญ่เริ่มผลิตพืชผลเพื่อจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นและระดับชาติมากกว่าเพื่อการบริโภคหรือแลกเปลี่ยนในเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม พืชส่วนเกินถูกนำไปวางขายในตลาดระดับชาติเพื่อรวมเกษตรกรเข้ากับเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ต้นจนจบ สิ่งนี้นำไปสู่ภูมิภาคที่มีความเชี่ยวชาญด้านพืชผลเพื่อการส่งออกเนื่องจากเศรษฐกิจของจีนพึ่งพาการค้าสินค้าหลักเช่น ผ้า,ฝ้าย ธัญพืช,ถั่ว,น้ำมันพืช,ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าและปุ๋ย
สังคม
แก้จากข้อมูลในสมัยราชวงศืชิงตอนต้นและตอนกลาง พัฒนาการทางด้านสังคมมีการเจริญเติบโตสูง ประชากรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงศตวรรษที่ 18 มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าประชากรที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วของจักรวรรดิ ในขณะเดียวกันราชสำนักชิงก็จะมักระมัดระวังจับตาพฤติกรรมความเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันของชาวฮั่นตลอด เนื่องจากมีกลุ่มชาวฮั่นได้รวมตัวกันต่อต้านราชสำนักชิงที่มีชาวแมนจูมาปกครอง มีสมาคมลับผู้เป็นแกนนำชูอุดมการณ์ “โค่นชิงฟื้นหมิง” คือ พวกหงเหมิน (洪门) แต้จิ๋วว่า “อั่งมึ้ง” ในเมืองไทยเรียก “อั้งยี่” คำว่า อั้งหรือหง (洪) ในที่นี้เป็นคนละคำกับ อั้งหรือหง (红) ที่แปลว่า สีแดง อักษร 洪 (หง,อั้ง) ตัวนี้หมายถึง น้ำหลาก,ไหลหลาก และใช้เป็นแซ่คือ แซ่อั้ง ในภาษาแต้จิ๋ว หรือแซ่หงในภาษาจีนกลาง[24]
มหาพจนานุกรมจีน (汉语大词典) อธิบายคำหงเหมิน ในแง่องค์กรลับไว้ว่า “หงเหมิน : สมาคมลับพื้นบ้านสมาคมหนึ่งในยุคราชวงศ์ชิง เรียกอีกอย่างว่า หงปัง (พรรคหง) เป็นขบวนการที่พัฒนามาจากเทียนตี้ฮุย (สมาคมฟ้าดิน) มุ่งโค่นชิงฟื้นหมิงเป็นจุดหมายหลัก ว่ากันว่าใช้คำว่า หง จากชื่อรัชศกหงอู่ของพระเจ้าหมิงไท่จู่เป็นคำเรียกขาน (จึงได้นามว่าหงเหมิน ชาวหง) สมาชิกของสมาคมเรียกกันว่า พี่น้องชาวหง แพร่หลายอยู่แถบลุ่มแม่น้ำแยงซีและลุ่มแม่น้ำจูเจียง ทั้งยังมีองค์กรสาขาที่จัดตั้งในโพ้นทะเลอีกด้วย[24]
เมื่อแรกก่อตั้ง ขบวนการหงเหมินแพร่อยู่ในมณฑลฮกเกี้ยน กวางตุ้งและเจ้อเจียง แล้วค่อย ๆ ขยายกว้างออกไป ถึงยุคสงครามฝิ่น (พ.ศ. 2383) แพร่ไปหลายมณฑลตลอดจนโพ้นทะเลถึงอเมริกา มีสมาคมสาขาใช้ชื่อต่างกันมากมายทั้งในและนอกประเทศจีน[24]
ขบวนการหงเหมินและเครือข่ายเป็นกบฏและก่อจลาจลหลายครั้ง บางส่วนเข้าร่วมกับกบฏไท่ผิง การโค่นล้มราชวงศ์ชิงของซุนยัตเซนได้รับความช่วยเหลือจากขบวนการหงเหมิน (อั้งยี่) ทั้งในและนอกประเทศจีนรวมทั้งประเทศไทยด้วย[24]
มีความเห็นกันว่าพวกหงเหมิน (อั้งยี่) คงจะใช้เทศกาลกินเจบังหน้าหาพวกพ้องร่วมขบวนการต่อต้านราชวงศ์ชิง ศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฮกเกี้ยน ต่อมาถูกปราบ พลอยให้เทศกาลกินเจเสื่อมไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฮกเกี้ยน พวกหงเหมินเป็นอันมากหนีไปดำเนินการต่อในโพ้นทะเล กิจกรรมสำคัญประการหนึ่งคือสร้างโรงเจ ทำให้เทศกาลกินเจในโพ้นทะเลโดยเฉพาะอย่างยิ่งไทยกับมาเลเซียคึกคักยิ่งกว่าในจีน โรงเจเหล่านี้ส่วนมากมีกลอนคู่ (ตุ้ยเหลียน-ตุ้ยเลี้ยง) สื่อความหมาย “โค่นชิงฟื้น หมิง” อยู่ด้วย[24]
-
วิถีชีวิตประจำวันสมัยราชวงศ์ชิง
-
กลุ่มวิถีของชาวจีน
-
รูปปั้นครอบครัวชาวจีนสมัยราชวงศ์ชิงนั่งวงกำลังรับประทานอาหาร
การแต่งกาย
แก้สมัยราชวงศ์ชิง ผู้หญิงชาวแมนจูจะสวมชุดคลุมยาวทรงกว้างที่มีความยาวถึงเท้า ด้านนอกจะสวมเสื้อกั๊กไม่มีแขนที่เรียกว่า “ขั่นเจียน” หรือ “หม่าเจี่ย” ทับเอาไว้ เนื่องจากชาวแมนจูมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “ฉีเหริน (ชาวกองธง)” ดังนั้นชุดคลุมยาวของสตรีจึงเรียกว่า “ชุดฉีผาว (กี่เพ้า)” แต่ชุดนี้ไม่เหมือนกับชุดกี่เพ้าที่เป็นสัญลักษณ์การแต่งกายของผู้หญิงจีนที่สืบต่อกันมาในภายหลัง ชุดกี่เพ้าของชาวแมนจูในสมัยราชวงศ์ชิงนั้นมีความกว้างและหลวม ต่อมา มีการเปลี่ยนเป็นเข้ารูปช่วงเอว และผ่านการปรับปรุงอีกมากมาย อีกทั้งยังเพิ่มเติมความเป็นกระโปรงแบบตะวันตกเข้าไป จึงกลายเป็นชุดกี่เพ้าในปัจจุบัน การแต่งกายของสตรีชาวฮั่นในสมัยราชวงศ์ชิงก็มีรูปแบบพื้นฐานมาจากสมัยราชวงศ์หมิง นั่นคือ ด้านบนสวมเสื้อ “เอ๋า” หรือเสื้อ “ซัน” ด้านล่างสวมกระโปรงหรือกางเกง
สำหรับการแต่งกายของบุรุษนั้น ชุดยาวและเสื้อกั๊กตัวสั้น “หม่ากว้า” เป็นการแต่งกายที่ผู้ชายในสมัยราชวงศ์ชิงทั้งชาวแมนจูและชาวฮั่นนิยมใส่ เสื้อหม่ากว้าเป็นเสื้อกั๊กตัวสั้นที่สวมทับชุดคลุมยาว ความยาวระดับเอว เดิมเป็นชุดที่คนทางเหนือใส่สำหรับขี่ม้า หลังจากชาวแมนจูรวบรวมแผ่นดินจีน ก็ค่อย ๆ เป็นที่นิยมไปทั่วประเทศ
-
การไว้ผมเปียแบบแมนจู
-
การแต่งกายของสตรีใส่ชุด กี่เพ้าในยุคราชวงศ์
รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ชิง
แก้พระนามที่รู้จักกันดี | พระบรมสาทิสลักษณ์/ฉายาลักษณ์ | ระยะเวลาครองราชย์ | พระนามเดิม | รัชศก | พระนามเรียกขาน (ภาษาจีน– ภาษาแมนจู) |
พระนามแต่งตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ (21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1559– 30 กันยายน ค.ศ. 1626) |
ค.ศ. 1616 ↓ ค.ศ. 1626 |
นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ 努爾哈赤 (พินอิน: Nǔ'ěrhāchì) |
เทียนมิ่ง 天命 Abkai fulingga |
เกาตี้ 高帝 Dergi |
ไท่จู่ 太祖 | |
หวงไท่จี๋ (28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1592– 21 กันยายน ค.ศ. 1643) |
ค.ศ. 1626 ↓ ค.ศ. 1643 |
หวงไท่จี๋ | เทียนฉง 天聰 Abkai sure (1627–1636) ฉงเต๋อ |
เหวินตี้ 文帝 Genggiyen Su |
ไท่จง 太宗 | |
จักรพรรดิซุ่นจื้อ (15 มีนาคม ค.ศ. 1638– 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1661) |
(8 กุมภาพันธ์) ค.ศ. 1644 ↓ ค.ศ. 1661 (18 ปี) |
ฟูหลิน 福臨 |
ซุ่นจื้อ 順治 Ijishūn dasan |
จางตี้ 章帝 Eldembure |
ซื่อจู่ 世祖 | |
จักรพรรดิคังซี (4 พฤษภาคม ค.ศ. 1654– 20 ธันวาคม ค.ศ. 1722) |
(18 กุมภาพันธ์) ค.ศ. 1662 ↓ ค.ศ. 1722 (61 ปี) |
เสวียนเย่ 玄燁 |
คังซี 康熙 Elhe taifin |
เหรินตี้ 仁帝 Gosin |
เซิ่งจู่ 聖祖 | |
จักรพรรดิยงเจิ้ง (13 ธันวาคม ค.ศ. 1678– 8 ตุลาคม ค.ศ. 1735) |
(5 กุมภาพันธ์) ค.ศ. 1723 ↓ ค.ศ. 1735 (13 ปี) |
อิ้นเจิน 胤禛 |
ยงเจิ้ง 雍正 Hūwaliyasun tob |
เซี่ยนตี้ 憲帝 Temgetulehe |
ซื่อจง 世宗 | |
จักรพรรดิเฉียนหลง (25 กันยายน ค.ศ. 1711– 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1799) |
(12 กุมภาพันธ์) ค.ศ. 1736 ↓ ค.ศ. 1796 (60 ปี) |
หงลี่ 弘曆 |
เฉียนตี้ 乾隆 Abkai wehiyehe |
ฉุนตี้ 純帝 Yongkiyangga |
เกาจง 高宗 | |
จักรพรรดิเจียชิ่ง (13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1760– 2 กันยายน ค.ศ. 1820) |
(9 กุมภาพันธ์) ค.ศ. 1796 ↓ ค.ศ. 1820 (25 ปี) |
หย่งเหยี่ยน 顒琰 |
เจียชิ่ง 嘉慶 Saicungga fengšen |
รุ่ยตี้ 睿帝 Sunggiyen |
เหรินจง 仁宗 | |
จักรพรรดิเต้ากวง (16 กันยายน ค.ศ. 1782– 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1850) |
(3 กุมภาพันธ์) ค.ศ. 1821 ↓ ค.ศ. 1850 (30 ปี) |
หมินหนิง 旻寧 |
เต้ากวง 道光 Doro eldengge |
เฉิงตี้ 成帝 Šanggan |
เซวียนจง 宣宗 | |
จักรพรรดิเสียนเฟิง (17 กรกฎาคม ค.ศ. 1831– 22 สิงหาคม ค.ศ. 1861) |
(1 กุมภาพันธ์) ค.ศ. 1851 ↓ ค.ศ. 1861 (11 ปี) |
อี้จู่ 奕詝 |
เสียนเฟิง 咸豐 Gubci elgiyengge |
เสี่ยนตี้ 顯帝 Iletu |
เหวินจง 文宗 | |
จักรพรรดิถงจื้อ (27 เมษายน ค.ศ. 1856– 12 มกราคม ค.ศ. 1875) |
(30 มกราคม) ค.ศ. 1862 ↓ ค.ศ. 1875 (13 ปี) |
ไจ้ฉุน 載淳 |
ถงจื้อ 同治 Yooningga dasan |
อี้ตี้ 毅帝 Filingga |
มู่จง 穆宗 | |
จักรพรรดิกวังซวี่ (14 สิงหาคม ค.ศ. 1871– 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908) |
(6 มกราคม) ค.ศ. 1875 ↓ ค.ศ. 1908 (34 ปี) |
ไจ้ถียน 載湉 |
กวังซวี่ 光緒 Badarangga doro |
จิ่งตี้ 景帝 Ambalinggū |
เต๋อจง 德宗 | |
จักรพรรดิผู่อี๋ (7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1906– 17 ตุลาคม ค.ศ. 1967) |
(22 มกราคม) ค.ศ. 1909 ↓ (17 กุมภาพันธ์) ค.ศ. 1912 (3 ปี) |
ผู่อี๋ 溥儀 |
เซวียนถ่ง 宣統 Gehungge yoso |
หมิงตี้ 明帝 |
ชุนจง 询宗 |
วัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้- 13 ฮ่องเต้ตำนานจักรพรรดิราชวงศ์ชิง ภาพยนตร์ซีรีส์ของฮ่องกง เกี่ยวกับเรื่องราวของของประวัติศาสตร์จีนยุคราชวงศ์ชิง ตั้งแต่ยุคบุกเบิกและก่อตั้งราชวงศ์ไปจนกระทั่งมาถึงการล่มสลาย
- ภาพยนตร์ซีรีส์ชุด หวงเฟยหง ภาพยนตร์กำลังภายในสมัยยุคราชวงศ์ชิงตอนปลาย ซึ่งถือเป็นยุคที่ตกต่ำ บ้านเมืองอ่อนแอ เกิดศึกสงครามจากเหล่าผู้รุกรานจากชาติตะวันตก และภายในจากการฉ้อราษฎร์บังหลวงของเหล่าขุนนางในราชสำนักในปี ค.ศ. 1875 หวงเฟยหง ต้องต่อสู้เพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีของจีนกลับมาและช่วยชาวจีนไม่ให้ตกเป็นทาสนักล่าอาณานิคมตะวันตก
อ้างอิง
แก้- ↑ Yamamuro, Shin'ichi (2006). Manchuria Under Japanese Domination. แปลโดย J. A. Fogel. University of Pennsylvania Press. p. 246. ISBN 9780812239126.
- ↑ Zhao (2006), pp. n 4, 7–10, and 12–14.
- ↑ Treaty of Nanking. 1842.
- ↑ McKinley, William. "Second State of the Union Address". 5 Dec. 1898.
- ↑ Ebrey (2010), pp. 220–224.
- ↑ Bernard Hung-Kay Luk, Amir Harrak-Contacts between cultures, Volume 4, p.25
- ↑ Wakeman, Jr, Frederic (1985). The great enterprise : the Manchu reconstruction of imperial order in seventeenth-century China (Book on demand. ed.). Berkeley: University of California Press. p. 892. ISBN 9780520048041.
- ↑ Spence (2012), p. 39.
- ↑ Beverly Jackson and David Hugus Ladder to the Clouds: Intrigue and Tradition in Chinese Rank (Ten Speed Press, 1999) pp. 134–135.
- ↑ Bartlett (1991).
- ↑ Naquin (2000), p. 372.
- ↑ Naquin (2000), p. 380.
- ↑ CrossleySiuSutton (2006), p. 50.
- ↑ Liu & Smith (1980), pp. 251–273.
- ↑ Myers & Wang (2002), pp. 564, 566.
- ↑ Myers & Wang (2002), p. 564.
- ↑ Murphey (2007), p. 151.
- ↑ Myers & Wang (2002), p. 593.
- ↑ Myers & Wang (2002), pp. 593, 595.
- ↑ Myers & Wang (2002), p. 598.
- ↑ Myers & Wang (2002), pp. 572–573, 599–600.
- ↑ Myers & Wang (2002), pp. 606, 609.
- ↑ Jonathan, Porter. Imperial China, 1350–1900. Lanham. ISBN 9781442222915. OCLC 920818520.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 24.4 เทศกาลกินเจ กับ สมาคมลับเพื่อโค่นชิงฟื้นหมิง ศิลปวัฒนธรรม. 16 พฤษภาคม 2560
- โจวจยาหรง. ประวัติศาสตร์จีน. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546.
ดูเพิ่ม
แก้- Bickers, Robert (2011). The Scramble for China: Foreign Devils in the Qing Empire, 1832–1914. Penguin. ISBN 978-0-7139-9749-1.
- Cotterell, Arthur (2007). The Imperial Capitals of China – An Inside View of the Celestial Empire. London: Pimlico. ISBN 978-1-84595-009-5.
- Dunnell, Ruth W.; Elliott, Mark C.; Foret, Philippe; และคณะ, บ.ก. (2004). New Qing Imperial History: The Making of Inner Asian Empire at Qing Chengde. Routledge. ISBN 978-1-134-36222-6.
- Esherick, Joseph; Kayalı, Hasan; Van Young, Eric, บ.ก. (2006). Empire to Nation: Historical Perspectives on the Making of the Modern World. Rowman & Littlefield. ISBN 978-0-7425-4031-6.
- Fairbank, John K.; Liu, Kwang-Ching, บ.ก. (1980). Late Ch'ing 1800–1911, Part 2. The Cambridge History of China. Vol. 11. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-22029-3.
- Hummel, Arthur W (1944). Eminent Chinese Of The Ching Period 1644-1912. (2 vol) Vol. 2.
- Leung, Edwin Pak-wah (1992). Historical dictionary of revolutionary China, 1839–1976.
- Leung, Edwin Pak-wah (2002). Political Leaders of Modern China: A Biographical Dictionary.
- Morse, Hosea Ballou. The international relations of the Chinese empire
- Owen, Stephen (1997). "The Qing Dynasty: Period Introduction" (PDF). ใน Owen, Stephen (บ.ก.). An Anthology of Chinese Literature: Beginnings to 1911. New York: W. W. Norton. pp. 909–914. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03.
- Paludan, Ann (1998). Chronicle of the Chinese Emperors. London: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-05090-3.
- Peterson, Willard, บ.ก. (2003). The Ch'ing Empire to 1800. The Cambridge History of China. Vol. 11. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-24334-6.
- Setzekorn, Eric (2015). "Chinese Imperialism, Ethnic Cleansing, and Military History, 1850-1877". Journal of Chinese Military History. 4 (1): 80–100. doi:10.1163/22127453-12341278.
- Smith, Richard Joseph (2015). The Qing Dynasty and Traditional Chinese Culture. Rowman and Littlefield. ISBN 978-1-4422-2193-2.
- Spence, Jonathan (1997). God's Chinese Son: The Taiping Heavenly Kingdom of Hong Xiuquan. New York: W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-31556-1.
- Stanford, Edward (1917). Atlas of the Chinese Empire, containing separate maps of the eighteen provinces of China (2nd ed.). Legible color maps.
- Struve, Lynn A. (2004). The Qing Formation in World-Historical Time. Harvard University Asia Center. ISBN 978-0-674-01399-5.
- Waley-Cohen, Joanna (2006). The culture of war in China: empire and the military under the Qing dynasty. I.B. Tauris. ISBN 978-1-84511-159-5.
- Woo, X.L. (2002). Empress dowager Cixi: China's last dynasty and the long reign of a formidable concubine: legends and lives during the declining days of the Qing dynasty. Algora Publishing. ISBN 978-1-892941-88-6.
- Zhao, Gang (2013). The Qing Opening to the Ocean: Chinese Maritime Policies, 1684–1757. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-3643-6.
Primary source collections and reference
แก้- Brunnert, I. S.; Gagelstrom, V. V. (1912). Present Day Political Organization of China. แปลโดย Edward Eugene Moran. Shanghai: Kelly and Walsh. Lists bureaucratic structure and offices, with standard translations.
- MacNair, Harley Farnsworth, บ.ก. (1923). Modern Chinese History Selected Readings. Shanghai: Commercial Press; starts in 1842
{{cite book}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - The China year book. 1914.
Historiography
แก้- Newby, L.J. (2011). "China: Pax Manjurica". Journal for Eighteenth-Century Studies. 34 (4): 557–563. doi:10.1111/j.1754-0208.2011.00454.x.
- Ho, Ping-Ti (1967). "The Significance of the Ch'ing Period in Chinese History". The Journal of Asian Studies. 26 (2): 189–195. doi:10.2307/2051924. JSTOR 2051924. S2CID 162396785.
- —— (1998). "In Defense of Sinicization: A Rebuttal of Evelyn Rawski's 'Reenvisioning the Qing'". The Journal of Asian Studies. 57 (1): 123–155. doi:10.2307/2659026. JSTOR 2659026.
- Miller, H. Lyman (2000). "The Late Imperial Chinese State". ใน Shambaugh, David L. (บ.ก.). The Modern Chinese State. New York: Cambridge University Press. pp. 15–36. ISBN 0521772346.
- Rawski, Evelyn S. (1996). "Reenvisioning the Qing: The Significance of the Qing Period in Chinese History". The Journal of Asian Studies. 55 (4): 829–850. doi:10.2307/2646525. JSTOR 2646525.
- Sivin, Nathan (1988). "Science and medicine in imperial China—The state of the field". Journal of Asian Studies. 47 (1): 41–90. doi:10.2307/2056359. JSTOR 2056359. PMID 11617269.
- Wu, Guo (May 2016). "New Qing History: Dispute, Dialog, and Influence". Chinese Historical Review. 23 (1): 47–69. doi:10.1080/1547402X.2016.1168180. S2CID 148110389. Covers the New Qing History approach that arose in the U.S. in the 1980s and the responses to it.
- Yu, George T. (1991). "The 1911 Revolution: Past, Present, and Future". Asian Survey. 31 (10): 895–904. doi:10.2307/2645062. JSTOR 2645062.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ปิยดา ชลวร. “เมื่อแมนจูเข้ามาปกครองฮั่น: การก่อตั้งและปกครองครองจีนในช่วงแรกของราชวงศ์ชิง” ใน ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ (บก.), เหตุเกิดในราชวงศ์ชิง. น. 14-45. กรุงเทพฯ: ชวนอ่าน, 2555.
- ประวัติราชวงศ์ชิง[ลิงก์เสีย] จากเว็บสถานีวิทยุ ซี.อาร์.ไอ. ปักกิ่ง ภาคภาษาไทย
- อัญมณีในราชวงศ์ชิง เก็บถาวร 2006-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บสถานีวิจัยอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ
ก่อนหน้า | ราชวงศ์ชิง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ราชวงศ์หมิง | ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีน (ค.ศ. 1644–1912) |
สาธารณรัฐจีน |