ขี้โรคแห่งเอเชีย

วลีคำเปรียบเทียบที่ดูถูกคนเอเชีย

วลีคำว่า "ขี้โรคแห่งเอเชีย" หรือ "คนป่วยแห่งเอเชีย" (อังกฤษ: Sick man of Asia) เป็นคำใช้เรียกประเทศจีนอย่างดูถูกดูแคลนในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อประเทศจีนได้ตกอยู่ในสภาพอ่อนแอถูกรุกรานและถูกขูดรีดเอาเปรียบจากเหล่าประเทศมหาอำนาจชาติตะวันตกและญี่ปุ่น ที่ใช้ลัทธิล่าอาณานิคมหรือจักรวรรดินิยมมาคุกคาม เริ่มตั้งแต่เหตุการณ์สงครามฝิ่นกับจักรวรรดิอังกฤษทำให้ประเทศจีนต้องถูกบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ความรู้สึกต่ำต้อยและอัปยศอดสูของชาวจีนปิดท้ายจนถึงขีดสุดเมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นได้รุกรานประเทศจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[1]

คำวลีดังกล่าวได้เป็นที่ดูถูกเหยียดหยามชาวจีนโดยเฉพาะของชาวตะวันตกและชาวญี่ปุ่น จนกระทั่งปัจจุบันคนจีนจำนวนมากยังไม่ลืมประวัติศาสตร์ในยุคดังกล่าว มีการเรียนรู้สั่งสอนถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อให้คนจีนรุ่นใหม่ไม่ลืมช่วงเวลาอันแสนอัปยศขมขื่น ถือเป็นบทเรียนที่ชาวจีนทั่วโลกมักจะตระหนักจดจำอยู่เสมอ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Scott, David (2008). China and the international system, 1840-1949: power, presence, and perceptions in a century of humiliation. State University of New York Press. p. 9. ISBN 978-0-7914-7627-7.