จักรพรรดิเฉียนหลง

(เปลี่ยนทางจาก เฉียนหลง)

จักรพรรดิเฉียนหลง (จีน: 乾隆皇帝; พินอิน: Qiánlóng huángdì) ฮกเกี้ยนว่า เขียนหลง[1] (หมิ่นหนาน: Kiân-liông) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 5 ของราชวงศ์ชิง เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 2254 (ค.ศ. 1711) มีพระนามเดิมว่าหงลี่ (弘曆) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิยงเจิ้ง และเป็นพระราชนัดดาองค์โปรดของจักรพรรดิคังซี เพราะมีความเฉลียวฉลาดมาแต่ยังเด็ก จักรพรรดิเฉียนหลงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2278 (ค.ศ. 1735) ขณะมีพระชนมายุได้ 24 พรรษา และใช้ชื่อศักราชว่า เฉียนหลง

เฉียนหลง
จักรพรรดิราชวงศ์ชิง
ครองราชย์18 ตุลาคม ค.ศ. 1735 - 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1796
(60 ปี 124 วัน)
ก่อนหน้าจักรพรรดิยงเจิ้ง
ถัดไปจักรพรรดิเจียชิ่ง
พระราชสมภพ25 กันยายน ค.ศ. 1711(1711-09-25)
พระราชวังต้องห้าม
หงลี่
สวรรคต7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1799(1799-02-07) (87 ปี)
พระราชวังต้องห้าม
อัครมเหสีจักรพรรดินีเซี่ยวเสียนฉุน
จักรพรรดินีจี้
จักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน
พระนามเต็ม
จักรพรรดิฉุนเกาจง
(高宗純皇帝)
รัชศก
เฉียนหลง (Qianlong , 1736 - 1796)
พระสมัญญานาม
Fǎ tiān lóngyùn zhìchéng xiānjué tǐ yuán lì jí fū wén fèn wǔ qīnmíng xiàocí shénshèng chún huángdì
法天隆運至誠先覺體元立極敷文奮武欽明孝慈神聖純皇帝
พระอารามนาม
ชิงเกาจง (清高宗)
ราชวงศ์ชิง
พระราชบิดาจักรพรรดิยงเจิ้ง
พระราชมารดาจักรพรรดินีเซี่ยวเชิ่งเซี่ยน
ช่วงเวลา
เหตุการณ์สำคัญจัดทำสารานุกรม คู่เฉวียนซู่

จักรพรรดิเฉียนหลงได้สร้างความเจริญมากมายให้กับประเทศจีน โดยเฉพาะการจัดทำสารานุกรม ซื่อคู่เฉวียนซู ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) - พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) ถือเป็นมรดกโลกที่สำคัญชิ้นหนึ่ง

รัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงมีเรื่องราวที่เป็นสีสัน เล่าขาน เป็นตำนานต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องที่ลือกันว่าแท้ที่จริงแล้วมิได้เป็นพระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น หรือเรื่องราวที่ชอบแปลงตนเองเป็นสามัญชนท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ จนได้ฉายาว่า "จักรพรรดิเจ้าสำราญ" ส่วนเรื่องคำกล่าวที่ว่าจักรพรรดินีเซี่ยวเชิ่งเซี่ยนซึ่งเป็นพระราชมารดาของจักรพรรดิเฉียนหลงไม่โปรดเซียงเฟย์ ถึงขั้นสั่งประหาร ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน เพราะสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสู่สวรรคาลัยไปก่อนเซียงเฟย์ถึง 11 ปี ฉะนั้น สมเด็จพระพันปีหลวงจึงมาสั่งประหารไม่ได้แน่นอน

จักรพรรดิเฉียนหลงมีคนสนิทที่ทรงใกล้ชิดอยู่คนหนึ่งชื่อเหอเชิน ที่มักคอยเอาอกเอาใจอยู่ตลอด และมักชวนจักรพรรดิเฉียนหลงเสเพลอยู่เสมอ ๆ จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดเหอเชินมากถึงขนาดยกพระธิดาองค์หนึ่งคือ เจ้าหญิงกู้หลุนเหอเซี่ยว ให้เป็นคู่หมั้นของลูกชายเหอเชินตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้เหอเชินเหิมเกริม กระทำการทุจริตต่าง ๆ นานา ยิ่งโดยเฉพาะในปลายรัชสมัยมีการจับจ่ายใช้เงินทองจำนวนมากเพื่อความสำราญของคนในพระราชวัง กล่าวว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของความอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ของราชวงศ์ชิงด้วย หลังจากรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว

จักรพรรดิเฉียนหลงมีพระโอรสที่ปรีชาสามารถมากคือเจ้าชายหย่งฉี พระราชโอรสองค์ที่ 5 ซึ่งประสูติแต่ยฺหวีกุ้ยเฟย์ (愉貴妃) เจ้าชายหย่งฉีเป็นผู้ที่ปรีชาสามารถทั้งบุ๋นและบู๊ เป็นความหวังว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ แต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อนตั้งแต่ยังหนุ่ม

ในปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) ปีที่ 60 ที่ทรงครองราชย์จักรพรรดิเฉียนหลงได้สละราชสมบัติให้พระโอรสที่ชื่อ หย่งเยี๋ยน พระราชโอรสลำดับที่ 15 ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ด้วยไม่ปรารถนาจะครองราชย์ยาวนานเกินกว่าจักรพรรดิคังซีผู้เป็นพระอัยกา (ปู่) อย่างไรก็ตามแม้จะสละราชบัลลังก์แล้วแต่อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับพระองค์ โดยทรงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นพระเจ้าหลวง (太上皇帝)

ในปี พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จสวรรคตจักรพรรดิเจี่ยชิ่งจึงได้ครองราชย์อย่างแท้จริงและพระองค์ก็เริ่มกำจัดเหอเชินทันทีและบังคับให้เขาฆ่าตัวตายหลังสิ้นสุดยุคของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้วจักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาของราชวงศ์ชิงต่างไม่มีองค์ไหนมีความสามารถโดดเด่น ทำให้ราชวงศ์ชิงอ่อนแอลงเรื่อย ๆ และประเทศจีนเริ่มถูกต่างชาติเข้าแทรกแซงยึดครอง

ตลอดยุคสมัยที่ยาวนานกว่า 60 ปี ของจักรพรรดิเฉียนหลงเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มีสีสันจนเลื่องลือมาถึงปัจจุบันมีวรรณกรรมมากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยของพระองค์ รวมทั้งภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ ที่จัดสร้างหลายครั้งหลายหนกล่าวถึงเนื้อหาต่าง ๆ เช่น เรื่องที่เล่าลือกันว่า พระองค์แท้ที่จริงมิใช่พระโอรสของจักรพรรดิยงเจิ้ง แต่เป็นบุตรชายของอำมาตย์คนหนึ่ง เมื่อพระมเหสีของจักรพรรดิยงเจิ้งให้ประสูติกาลบุตรออกมาเป็นบุตรสาว จึงสลับลูกกันกับอำมาตย์ผู้นี้ ดังที่ปรากฏในเรื่อง จอมใจจอมยุทธ์ แต่เรื่องนี้คงเป็นได้แค่เรื่องแต่งเพราะจักรพรรดิเฉียนหลงเองก็ทรงมีหน้าตาที่คล้ายคลึงกับจักรพรรดิยงเจิ้งมาก จึงไม่ควรยึดเป็นความจริงและ เรื่องราวในรัชสมัยพระองค์ยังถูกนำมาแสดงเป็นภาพยนตร์เรื่อง องค์หญิงกำมะลอ ซึ่งเป็นเรื่องขององค์หญิงหวนจู ซึ่งดัดแปลงมาจากพระธิดาบุญธรรมขององค์จักรพรรดิมาเป็นองค์หญิงหวนจู

พระบรมวงศานุวงศ์

แก้
  • เฟย (妃)
    • ซูเฟย (舒妃) จากสกุลเย่เฮ่อน่าลา (葉赫那拉)
    • อวี้เฟย (豫妃) จากสกุลปั๋วเอ่อร์จี้จี๋เท่อ (博爾濟吉特)
    • หรงเฟย์ (香妃) หรือเซียงเฟย์ (容妃) (พระมเหสีเสาวคนธ์) จากสกุลเหอจัว (和卓)
    • จิ้นเฟย (晉妃) จากสกุลฟู่ฉา (富察)
    • ตุนเฟย (惇妃) จากสกุลหวาง (汪)
    • ฟางเฟย (芳妃) จากสกุลเฉิน (陳)
  • พระราชโอรส
    • องค์ชายใหญ่หย่งหวง (永璜,1728-1750) ติ้งอันชินอ๋อง (定安親王) สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์ ; พระโอรสของเจ๋อหมิ่นหวงกุ้ยเฟย สกุลฟู่ฉา
    • องค์ชายรองหย่งเหลียน (永璉,1730–1738) รัชทายาทตวนฮุ้ย (端慧皇太子) พระโอรสของจักรพรรดินีเซี่ยวเซี่ยนชุน สกุลฟู่ฉา
    • องค์ชายสามหย่งจาง (永璋,1735-1760) สุนจุ้นอ๋อง(循郡王) สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์ ; พระโอรสของฉุนฮุ่ยหวงกุ้ยเฟย สกุลซู
    • องคชายสี่หย่งเฉิง (永珹,1739–1777) หลิ่วตวนชินอ๋อง (履端親王,1763-1777) พระโอรสของซูเจียหวงกุ้ยเฟย สกุลจินเจีย
    • องค์ชายห้าหย่งฉี (永琪,1741–1766) หรงฉุนชินอ๋อง (榮純親王,1765-1766) พระโอรสของอวี๋กุ้ยเฟย สกุลเคอหลี่เย่เท่อ
    • องค์ชายหกหย่งหรง (永瑢,1744–1790) จื้อจวงชินอ๋อง (質莊親王,1759-1790) พระโอรสของฉุนฮุ่ยหวงกุ้ยเฟย สกุลซู
    • องค์ชายเจ็ดหย่งสง (永琮,1746–1747) เจ๋อชินอ๋อง (哲親王) สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์ ; พระโอรสของจักรพรรดินีเซี่ยวเซี่ยนฉุน สกุลฟู่ฉ่า
    • องค์ชายแปดหย่งเสวียน (永璇,1746–1832) อี๋เซิ่นชินอ๋อง (儀慎親王,1779-1832) พระโอรสของซูเจียหวงกุ้ยเฟย สกุลจินเจีย
    • องค์ชายเก้าหย่งหยู (1748–1749) พระโอรสของซูเจียหวงกุ้ยเฟย สกุลจินเจีย
    • องค์ชายสิบ (ไม่ปรากฏพระนาม) (1751–1753) พระโอรสของซูเฟย สกุลเย่เฮ่อน่าลา
    • องค์ชายสิบเอ็ดหย่งซิง (永瑆,1752–1823) เฉิงเจ๋อชินอ๋อง (成哲親王,1789-1823) พระโอรสของซูเจียหวงกุ้ยเฟย สกุลจินเจีย
    • องค์ชายสิบสองหย่งจี (永璂,1752-1776) เป้ยเล่อ (貝勒) พระโอรสของจักรพรรดินีอูลาน่าลาหรือจี้ฮองเฮา สกุลอูลาน่าลา
    • องค์ชายสิบสามหย่งจิ่ง (永璟,1755–1757) พระโอรสของจักรพรรดินีอูลาน่าลาหรือจี้ฮองเฮา สกุลอูลาน่าลา
    • องค์ชายสิบสี่หย่งลู่ (永璐,1757–1760) พระโอรสของจักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน สกุลเว่ยเจีย
    • องคชายสิบห้าหย่งเหยี๋ยน (永琰,1760–1820) เจียชินอ๋อง (嘉親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิเจียชิ่ง  ; พระโอรสของจักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน สกุลเว่ยเจีย
    • องค์ชายสิบหก (ไม่ปรากฏพระนาม) (1763–1765) พระโอรสของจักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน สกุลเว่ยเจีย
    • องค์ชายสิบเจ็ดหย่งหลิน (永璘,1766–1820) ชิ่งซีชินอ๋อง (慶僖親王,1789-1820) พระโอรสของจักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน สกุลเว่ยเจีย
  • พระราชธิดา
    • องค์หญิงใหญ่ (ไม่ปรากฏพระนาม) (1728–1729) พระธิดาของจักรพรรดินีเซี่ยวเซี่ยนฉุน สกุลฟู่ฉา
    • องค์หญิงรอง (ไม่ปรากฏพระนาม) (1731) พระธิดาของเจ๋อหมิ่นหวงกุ้ยเฟย สกุลฟู่ฉา
    • องค์หญิงสามกู้หลุนเหอจิ้ง (固倫和敬公主,1731–1792) พระธิดาของจักรพรรดินีเซี่ยวเซี่ยนฉุน สกุลฟู่ฉา
    • องค์หญิงสี่เหอโซ่วเหอเจีย (和碩和嘉公主,1745–1767) พระธิดาของฉุนฮุ่ยหวงกุ้ยเฟย สกุลซู
    • องค์หญิงห้ากู้หลุนเหออี้ (1753-1755) พระธิดาของจักรพรรดินีอูลาน่าลา สกุลอูลาน่าลา
    • องค์หญิงหก (ไม่ปรากฏพระนาม) (1755-1758) พระธิดาของซินกุ้ยเฟย สกุลไต้เจีย
    • องค์หญิงเจ็ดกู้หลุนเหอชิ่ง (固倫和靜公主,1756–1775) พระธิดาของจักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน สกุลเว่ยเจีย
    • องค์หญิงแปด (ไม่ปรากฏพระนาม) (1758–1767) พระธิดาของซินกุ้ยเฟย สกุลไต้เจีย
    • องค์หญิงเก้าเหอโซ่วเหอเค่อ (和碩和恪公主,1758–1780) พระธิดาของจักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน สกุลเว่ยเจีย
    • องค์หญิงสิบกู้หลุนเหอเซี่ยว (固倫和孝公主,1775–1823) พระธิดาของตุนเฟย สกุลหวัง
  • พระราชธิดาบุญธรรม

พงศาวลี

แก้

พระสาทิสลักษณ์ที่ยังคงเหลืออยู่

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี, หน้า 68
บรรณานุกรม
  • จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระพระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2552. 576 หน้า. ISBN 978-611-7146-02-2
ก่อนหน้า จักรพรรดิเฉียนหลง ถัดไป
จักรพรรดิยงเจิ้ง    
จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 2278 - 2339)
  จักรพรรดิเจียชิ่ง