พระเจ้าหลวง หมายถึง พระเจ้าแผ่นดินที่สละราชสมบัติให้รัชทายาทเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน[1] และเป็นพระนามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติไว้สำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่สละราชสมบัติและยังดำรงพระชนม์อยู่ว่าพระเจ้าหลวง[2]

เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร รวมทั้งทรงเครียดและเหน็ดเหนื่อยกับสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 จนถึงกับประชวรพระวาโยไป พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) เคยได้ยินว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริเรื่องสละราชสมบัติขณะยังมีพระชนม์ชีพ เพราะทรงคาดการณ์ไว้แล้วว่าพระองค์มิอาจทรงงานหนักได้อีกต่อไปเพราะทรงทุพพลภาพมากขึ้น ดังปรากฏความว่า[2]

"ในปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจริญพระชนมายุ 58 พรรษา ทรงพระราชปรารภว่า เมื่อพระชนมายุครบ 60 พรรษาแล้วจะทรงสละราชสมบัติพระราชทานแก่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ รับราชภาระสืบสนองพระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนพระองค์ท่านจะเสด็จออกจากราชสมบัติเป็นพระเจ้าหลวง..."

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุแห่งกัมพูชา ทรงได้รับการขนานพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระมหาวีรกษัตริย์ พระวรราชบิดา หลังทรงสละราชสมบัติแก่พระราชโอรส[3] หลังจากที่สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียมทรงประกาศสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 พระองค์ยังคงพระราชอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2" อยู่ (ซึ่งเหมือนกับในสมัยของพระราชบิดาของพระองค์ภายหลังจากทรงสละราชสมบัติ ซึ่งยังคงเป็น สมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม)

"พระเจ้าหลวง" จึงเป็นบทบาทและสถานะมากกว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในพระนาม

ประเทศไทย แก้

สยาม แก้

พระนาม ราชวงศ์ รัชกาล สวรรคต หมายเหตุ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ พ.ศ. 1991–2006 พ.ศ. 2031​ สละราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ พ.ศ. 2091–2108 พ.ศ. 2111​ สละราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาให้สมเด็จพระมหินทราธิราช

หัวเมืองเหนือ แก้

พระนาม ราชวงศ์ ดินแดน รัชกาล สวรรคต หมายเหตุ
พระนางจามเทวี ราชวงศ์หริภุญชัย อาณาจักรหริภุญชัย พ.ศ. 1205–1212 พ.ศ. 1258 (92 พรรษา)​ สละราชสมบัติให้พระเจ้ามหันตยศ
พระราเมศวร ราชวงศ์สุพรรณภูมิ แคว้นสุโขทัย พ.ศ. 1981–1991 พ.ศ. 2031 (57 พรรษา)​ กลับไปครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยา

พระเจ้าหลวงที่ยังมีพระชนม์ชีพ แก้

รัฐเอกราช แก้

พระนาม พระฉายาลักษณ์ ประเทศ รัชกาล พระราชสมภพ หมายเหตุ
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก     ราชอาณาจักรภูฏาน พ.ศ. 2515–2549

(34 ปี)

11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 (68 ปี) สละราชสมบัติให้เจ้าชายจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์     ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2523–2556

(33 ปี)

31 มกราคม พ.ศ. 2481 (86 ปี) สละราชสมบัติให้เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ เจ้าชายแห่งออเรนจ์
ฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อาล ษานี     รัฐกาตาร์ พ.ศ. 2538–2556

(18 ปี)

1 มกราคม พ.ศ. 2495 (72 ปี) สละราชสมบัติให้เชคตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี มกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2     ราชอาณาจักรเบลเยียม พ.ศ. 2536–2556

(20 ปี)

6 มิถุนายน พ.ศ. 2477 (89 ปี) สละราชสมบัติให้เจ้าชายฟีลิป ดยุกแห่งบราบันต์
สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1     ราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 2518–2557

(39 ปี)

5 มกราคม พ.ศ. 2481 (86 ปี) สละราชสมบัติให้เจ้าชายเฟลิเป เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส
สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ     ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2532–2562

(30 ปี)

23 ธันวาคม พ.ศ. 2476 (90 ปี) สละราชสมบัติให้เจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2     ประเทศเดนมาร์ก พ.ศ. 2515–2567

(52 ปี)

16 เมษายน พ.ศ. 2483 (84 ปี) สละราชสมบัติให้เจ้าชายเฟรเดอริกที่ มกุฎราชกุมาร

อ้างอิง แก้

  1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
  2. 2.0 2.1 ไกรฤกษ์ นานา. ค้นหารัตนโกสินทร์ 3 : สิ่งที่เรารู้ อาจไม่ใช่ทั้งหมด. สมุทรปราการ : ออฟเซ็ทพลัส, 2553, หน้า 217-227
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2017-06-12.