ประเทศกาตาร์

ประเทศในตะวันออกกลาง
(เปลี่ยนทางจาก รัฐกาตาร์)

25°30′N 51°15′E / 25.500°N 51.250°E / 25.500; 51.250

รัฐกาตาร์

دولة قطر (อาหรับ)
Dawlat Qaṭar
สถานที่ตั้งและขอบเขตของประเทศกาตาร์ (สีเขียวเข้ม) ในคาบสมุทรอาหรับ
สถานที่ตั้งและขอบเขตของประเทศกาตาร์ (สีเขียวเข้ม) ในคาบสมุทรอาหรับ
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
โดฮา
25°18′N 51°31′E / 25.300°N 51.517°E / 25.300; 51.517
ภาษาราชการอาหรับ[1]
ภาษาทั่วไปอังกฤษ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2015)[2]
ศาสนา
(ค.ศ. 2020)[3]
เดมะนิมชาวกาตาร์
การปกครองรัฐเดี่ยว สมบูรณาญาสิทธิราชย์[4]
ตะมีม บิน ฮะมัด
โมฮัมเหม็ด บิน อับดุลราห์มาน บิน จัสซิม อัล ธานี
สภานิติบัญญัติสภาที่ปรึกษา
ก่อตั้ง
18 ธันวาคม ค.ศ. 1878
• ประกาศเอกราช

1 กันยายน ค.ศ. 1971
• เป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักร

3 กันยายน ค.ศ. 1971
พื้นที่
• รวม
11,581 ตารางกิโลเมตร (4,471 ตารางไมล์) (อันดับที่ 158)
0.8
ประชากร
• ค.ศ. 2020 ประมาณ
2,795,484[5] (อันดับที่ 139)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2010
1,699,435[6]
176 ต่อตารางกิโลเมตร (455.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 76)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
357.338 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 51)
138,910 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 4)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2018 (ประมาณ)
• รวม
183.807 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 56)
66,202 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 6)
จีนี (ค.ศ. 2007)41.1[8]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)Steady 0.848[9]
สูงมาก · อันดับที่ 45
สกุลเงินริยาลกาตาร์ (QAR)
เขตเวลาUTC+3 (เวลามาตรฐานอาหรับ)
ขับรถด้านขวา[10]
รหัสโทรศัพท์+974
โดเมนบนสุด

กาตาร์ (อาหรับ: قطر‎ [ˈqɑtˁɑr]; สำเนียงพื้นเมือง: [ˈɡɪtˤɑr])[11][12] หรือชื่อทางการคือ รัฐกาตาร์ (อาหรับ: دولة قطر) เป็นประเทศที่ปกครองโดยเจ้าผู้ครองรัฐในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนคาบสมุทรขนาดเล็กที่แตกมาจากคาบสมุทรอาหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้[13][14][15][16][17] มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย และมีชายฝั่งริมอ่าวเปอร์เซีย

ใน ค.ศ. 2017 ประชากรทั้งหมดของกาตาร์อยู่ที่ประมาณ 2.6 ล้านคน โดยเป็นพลเมืองกาตาร์เพียง 313,000 คน และเป็นชาวต่างชาติ มากถึง 2.3 ล้านคน[18] ศาสนาประจำชาติของกาตาร์คือศาสนาอิสลาม กาตาร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก[19][20] โดยในแง่ของรายได้ กาตาร์มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ต่อหัวสูงที่สุดเป็นอันดับสามของโลก[21] และมีรายได้ประชาชาติ (GNI) ต่อหัวสูงที่สุดเป็นอันดับหก[22] องค์การสหประชาชาติจัดอันดับให้กาตาร์เป็นประเทศที่มีอัตราการพัฒนาคุณภาพประชากรในระดับสูง[23] โดยมี ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) สูงเป็นอันดับสามในบรรดากลุ่มประเทศตะวันออกกลาง รองจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดีอาระเบีย กาตาร์เป็นประเทศเศรษฐกิจที่มีรายได้สูงและเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก โดยมีแหล่งสำรองแก๊สธรรมชาติและปริมาณน้ำมันสำรองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และยังเป็นประเทศที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดชาติหนึ่งในโลก[24]

กาตาร์ถูกปกครองโดยราชวงศ์อัษษานีนับตั้งแต่มุฮัมมัด บิน อัษษานี ลงนามในสนธิสัญญากับอังกฤษใน ค.ศ. 1868 ภายหลังการปกครองของตุรกีโดยจักรวรรดิออตโตมัน กาตาร์อยู่ภายใต้ความคุ้มครองอังกฤษในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จนกระทั่งได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1971 ประมุขของกาตาร์เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากการปกครองระบอบเผด็จการ (ปัจจุบันคือตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี) และมีอำนาจบริหารและนิติบัญญัติทั้งหมด รวมทั้งควบคุมระบบตุลาการ เขายังทำการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีด้วยตนเอง การเลือกตั้งและสิทธิทางการเมืองรวมถึงเสรีภาพของสื่อภายในประเทศยังถูกจำกัดสิทธิ์[25][26][27]

นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 กาตาร์กลายเป็นชาติมหาอำนาจที่สำคัญในโลกอาหรับในด้านทรัพยากรและความมั่งคั่ง เช่นเดียวกับการมีอิทธิพลทางสื่อที่ขยายตัวไปทั่วโลก โดยเครือข่ายที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคืออัลญะซีเราะฮ์หรือแอลจาซีรา ซึ่งมีรายงานว่าให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มกบฏหลายกลุ่ม กาตาร์ถูกมองว่าเป็นชาติมหาอำนาจระดับกลาง กาตาร์จะได้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับโลกสองรายการในอนาคตได้แก่ ฟุตบอลโลก 2022 โดยพวกเขาจะถือเป็นประเทศมุสลิมและประเทศตะวันออกกลางชาติแรกที่ได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก[28] และการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2030 จะจัดขึ้นที่กาตาร์เช่นกัน[29]

ประวัติศาสตร์

แก้
 
ป้อมปราการซูบารา

กาตาร์เคยอยู่ภายใต้การปกครองของตุรกีจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลโดยได้ทำสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) กับกาตาร์มีผลทำให้กาตาร์อยู่ภายใต้การคุ้มครองของอังกฤษ โดยอังกฤษดูแลกิจการระหว่างประเทศของกาตาร์และต้องป้องกันกาตาร์จากการถูกรุกรานจากภายนอก และต่อมาสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) ได้ขยายการคุ้มครองของอังกฤษออกไปทุก ๆ ด้าน

ในปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) รัฐบาลอังกฤษประกาศจะถอนตัวออกจากภูมิภาค อ่าวเปอร์เซียภายในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) กาตาร์จึงพยายามรวมตัวเป็นสหพันธรัฐกับบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ กาตาร์เป็นเอกราชเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) โดยอังกฤษได้ยกเลิกสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) และได้มีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพระหว่างกันแทน

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) Shaikh Khalifa Bin Hamad Al – Thani ได้ทำรัฐประหารสำเร็จโดยปราศจากการนองเลือด และต่อมา เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) Shaikh Hamad Bin Khalifa Al – Thani พระโอรส ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารของกาตาร์ ก็ได้ยึดอำนาจการปกครองและตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองรัฐองค์ใหม่

การเมือง

แก้

ระบบการเมืองของกาตาร์เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่มีประมุขของกาตาร์เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ภายใต้การลงประชามติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2003 กลายเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 Emir Hamad bin Khalifa Al Thani ประกาศให้มีการเลือกตั้งสภาที่ปรึกษาแห่งกาตาร์เป็นครั้งแรก โดยมีแผนจะเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2013 แต่ภายหลังเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด[30]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 
แผนที่แสดงเทศบาลของประเทศกาตาร์นับตั้งแต่ ค.ศ. 2014

นับตั้งแต่ ค.ศ. 2014 กาตาร์ถูกแบ่งออกเป็น 8 เทศบาล (บะละดียะฮ์)[31]

  1. อัชชะมาล
  2. อัลเคาร์
  3. อัชชะฮานียะฮ์
  4. อุมม์เศาะลาล
  5. อัฎเฎาะอายิน
  6. โดฮา
  7. อัรร็อยยาน
  8. อัลวักเราะฮ์

ในด้านสถิติ เทศบาลแบ่งออกเป็น 98 เขต (ใน ค.ศ. 2015)[32] ซึ่งแบ่งออกเป็นแขวงและบล็อก[33]

อดีตเทศบาล

แก้

ภูมิศาสตร์

แก้
 
ทะเลทรายในประเทศกาตาร์

กาตาร์มีภูมิประเทศแบบแหลมที่ยื่นออกไปในอ่าวเปอร์เซีย เรียกกันว่า ไข่มุกแห่งเปอร์เซีย ด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศตะวันตก ล้อมรอบด้วยทะเล ด้านทิศใต้ ติดประเทศซาอุดีอาระเบีย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย อยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 24 °และ 27 ° N, และลองจิจูด 50 °และ 52 °E จุดที่สูงที่สุดในกาตาร์เป็น Qurayn Abu al Bawl สูง 103 เมตร (338 ฟุต)[36] ใน Jebel Dukhan ทางทิศตะวันตก

ภูมิอากาศ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของประเทศกาตาร์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 22
(72)
23
(73)
27
(81)
33
(91)
39
(102)
42
(108)
42
(108)
42
(108)
39
(102)
35
(95)
30
(86)
25
(77)
33.3
(91.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 14
(57)
15
(59)
17
(63)
21
(70)
27
(81)
29
(84)
31
(88)
31
(88)
29
(84)
25
(77)
21
(70)
16
(61)
23
(73.4)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 12.7
(0.5)
17.8
(0.701)
15.2
(0.598)
7.6
(0.299)
2.5
(0.098)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
2.5
(0.098)
12.7
(0.5)
71
(2.795)
แหล่งที่มา: http://us.worldweatheronline.com/doha-weather-averages/ad-dawhah/qa.aspx
ข้อมูลภูมิอากาศทะเลในโดฮา
เดือน มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม ทั้งปี
อุณหภูมิทะเลโดยเฉลี่ย °C (°F) 21.0
(69.8)
19.4
(66.9)
20.9
(69.6)
23.3
(73.9)
27.8
(82)
30.5
(86.9)
32.4
(90.3)
33.6
(92.5)
32.8
(91)
30.8
(87.4)
27.5
(81.5)
23.5
(74.3)
26.9
(80.5)
ข้อมูล:[37]

เศรษฐกิจ

แก้
 
โดฮา เมืองหลวงของกาตาร์
  • อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 3.64 ริยัล หรือประมาณ 9 บาท
  • GDP ประมาณ 20.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2004)
  • รายได้ต่อหัว 30,410 ดอลลาร์สหรัฐ (2003) สูงสุดในกลุ่มประเทศอาหรับ
  • ผลิตน้ำมันได้วันละ 928,055 บาร์เรลต่อวัน (2003)
  • ปริมาณน้ำมันดิบสำรอง 15.2 พันล้านบาร์เรล (2003)
  • ปริมาณแก๊สธรรมชาติสำรอง 509 ล้านล้านลูกบาศ์กฟุต (2003)
  • ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และทรัพยากรประมง
  • สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ปุ๋ย เหล็ก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
  • สินค้าเข้าที่สำคัญ เชื้อเพลิง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เคมีภัณฑ์ อาหารและเสื้อผ้า
  • ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา อิตาลี เยอรมนี ฝรั่งเศส เกาหลีใต้

การคมนาคม

แก้
 
เรือเฟอร์รี่ในกาตาร์

การคมนาคมหลักในกาตาร์คือถนน เนื่องจากราคาที่ถูกมากจากปิโตรเลียม ประเทศที่มีระบบถนนที่ทันสมัย​​ด้วยการอัพเกรดมากมายเป็นผลในการตอบสนองต่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประเทศ กับทางหลวงหลายกระบวนการอัพเกรดและทางด่วนใหม่ที่กำลังทำการก่อสร้าง เครือข่ายรถบัสขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อโดฮากับเมืองอื่น ๆ ในประเทศ และยังเป็นการคมนาคมหลักในกาตาร์อีกด้วย

ขณะนี้ยังไม่มีเครือข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ในประเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ลงสัญญารับจ้างสร้างทางรถไฟกับประเทศเยอรมนีแล้ว

ท่าอากศยานหลักของกาตาร์คือ ท่าอากาศยานนานาชาติโดฮา มีผู้โดยสารเกือบ 15,000,000 คน ใน ค.ศ. 2007

สิ่งก่อสร้าง

แก้

มีสิ่งก่อสร้างมากมายในกรุงโดฮา สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในในโดฮา คือ แอสไพร์ทาวเวอร์ สูง 300 เมตร

วัฒนธรรม

แก้

วัฒนธรรมกาตาร์มีความคล้ายกับประเทศอื่น ๆ ในอาระเบียตะวันออก วันชาติกาตาร์ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอัตลักษณ์ของชาติ[38] โดยเป็นการรำลึกการครองราชย์ของกอซิม บิน มุฮัมมัด อัษษานีและการรวมชนเผ่าต่าง ๆ ให้เป็นหนึ่ง[39][40]

ประชากร

แก้
ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
195025,000—    
196047,000+88.0%
1970110,000+134.0%
1980224,000+103.6%
1990476,000+112.5%
2000592,000+24.4%
20101,856,000+213.5%
20192,832,000+52.6%
source:[41]

ปัจจุบัน กาตาร์มีประชากรประมาณ 1.7 ล้านคน เชื้อชาติต่าง ๆ ในประเทศกาตาร์มีดังนี้: กาตาร์ 20%, อาหรับ 20%, อินเดีย 20%, ฟิลิปปินส์ 10%, เนปาล 13%, ปากีสถาน 7%, ศรีลังกา 5% และอื่น ๆ 5%[42]

ศาสนา

แก้
ศาสนาในกาตาร์[43]
ศาสนา %
อิสลาม
  
77.5%
คริสต์
  
8.5%
อื่น ๆ
  
14%
ไม่ระบุ
  
10%

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาหลักของกาตาร์และมีสถานะเป็นทางการ แม้ว่าจะไม่ใช่ศาสนาเดียวที่มีผู้ปฏิบัติในประเทศ[44] พลเมืองกาตาร์ส่วนใหญ่ร่วมในขบวนการมุสลิมซาลาฟีของลัทธิวะฮาบีย์[45][46][47] และระหว่าง 5–15% ของชาวมุสลิมในกาตาร์นับถือนิกายชีอะห์ สำหรับมุสลิมนิกายอื่น ๆ มีจำนวนน้อยมาก[48] ในปี 2553 ประชากรของกาตาร์เป็นมุสลิม 67.7%, คริสเตียน 13.8%, ฮินดู 13.8% และพุทธ 3.1% ที่เหลือเป็นผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ และคนที่ไม่ระบุศาสนา คิดเป็น 1.6%[49] กฎหมายชารีอะห์เป็นแหล่งที่มาหลักของการออกกฎหมายกาตาร์ตามรัฐธรรมนูญของกาตาร์[50][51]

วิสัยทัศน์ของกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการศาสนาอิสลาม (กาตาร์) คือ "การสร้างสังคมอิสลามร่วมสมัยควบคู่ไปกับการส่งเสริมชารีอะห์ และมรดกทางวัฒนธรรม"[52]

อ้างอิง

แก้
  1. "The Constitution" (PDF). Government Communications Office. Government Communications Office. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  2. "Qatar". CIA World Factbook. Central Intelligence Agency. 8 February 2012. สืบค้นเมื่อ 4 March 2012.
  3. "Population By Religion, Gender And Municipality March 2020". Qatar Statistics Authority.
  4. "Qatar - The World Factbook". The CIA World Factbook. U.S. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 24 September 2021.
  5. "Population structure". Ministry of Development Planning and Statistics. 31 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-26. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
  6. "Populations". Qsa.gov.qa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2010. สืบค้นเมื่อ 2 October 2010.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "World Economic Outlook Database, April 2018 – Report for Selected Countries and Subjects". International Monetary Fund (IMF). April 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2018.
  8. "GINI index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 22 January 2013.
  9. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  10. "List of left- & right-driving countries – World Standards". สืบค้นเมื่อ 5 June 2017.
  11. Johnstone, T. M. (2008). "Encyclopaedia of Islam". Ķaṭar. Brill Online. สืบค้นเมื่อ 22 January 2013. (ต้องรับบริการ)
  12. "How do you say 'Qatar'? Senate hearing has the answer". Washington Post. 12 June 2014. สืบค้นเมื่อ 12 March 2015.
  13. BBC News, How democratic is the Middle East?, 9 September 2005.
  14. United States Department of State Country Reports on Human Rights Practices for 2011: Qatar, 2011.
  15. ""US State Dept's Country Political Profile – Qatar"" (PDF). 2009-2017.state.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
  16. Gardener, David. "Qatar shows how to manage a modern monarchy". Financial Times.
  17. "The World Factbook". CIA Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-07. สืบค้นเมื่อ 2021-10-22.
  18. "Population of Qatar by nationality in 2019". Priya DSouza Communications (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-08-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  19. "Has wealth made Qatar happy?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2014-04-28. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  20. Suneson, Grant. "These are the 25 richest countries in the world". USA TODAY (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  21. "GDP per capita, PPP (current international $) | Data". data.worldbank.org.
  22. "GNI per capita, Atlas method (current US$) | Data". data.worldbank.org.
  23. "2019 Human Development Index Ranking | Human Development Reports". web.archive.org. 2020-04-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-30. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  24. "Where in the world do people emit the most CO2?". Our World in Data.
  25. "Qatar: 5-Year Prison Sentence Set for 'Fake News'". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). 2020-01-22.
  26. "Qatar: Freedom in the World 2020 Country Report". Freedom House (ภาษาอังกฤษ).
  27. "Everything you need to know about human rights in Qatar 2020". Amnesty International (ภาษาอังกฤษ).
  28. "Amir: 2022 World Cup Qatar a tournament for all Arabs". Gulf-Times (ภาษาอาหรับ). 2018-07-15.
  29. "Doha to host 2030 Asian Games as Riyadh gets 2034 edition - SportsPro Media". www.sportspromedia.com.
  30. Legislative elections in Qatar postponed until at least 2019 เก็บถาวร 2017-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Doha News, 17 June 2016
  31. "Qatar Municipalities". Qatar Ministry of Municipality and Environment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-15. สืบค้นเมื่อ 8 August 2017.
  32. "2015 Population census" (PDF). Ministry of Development Planning and Statistics. April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-07-17. สืบค้นเมื่อ 8 August 2017.
  33. "Population By Gender, Municipality And Zone, March 2004". General Secretariat for Development Planning. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2006.
  34. 34.0 34.1 34.2 "Population By Gender, Municipality And Zone". Ministry of Development Planning and Statistics. March 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-18. สืบค้นเมื่อ 9 August 2017.
  35. "Law No. 12 of 2006 concerning the Cancelled Municipality of Mesaieed". almeezan.qa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-09. สืบค้นเมื่อ 9 August 2017.
  36. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 2012-05-07.
  37. "Doha Sea Temperature". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-08. สืบค้นเมื่อ 2021-10-22.
  38. Kamrava, Mehran (2013). Qatar: Small State, Big Politics. Cornell University Press. ISBN 978-0801452093.
  39. "Qatar National Day 2011". Time Out Doha. 29 November 2011. สืบค้นเมื่อ 12 March 2015.
  40. "Everything you need to know about Qatar National Day 2012". Doha News. 10 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2015. สืบค้นเมื่อ 18 February 2015.
  41. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  42. http://www.state.gov/r/pa/ei/bgn/5437.htm
  43. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-30. สืบค้นเมื่อ 2012-05-07.
  44. "Report on International Religious Freedom – Qatar". US Department of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2014. The official state religion follows the conservative Wahhabi tradition of the Hanbali school of Islam
  45. "Tiny Qatar's growing global clout". BBC. 30 April 2011. สืบค้นเมื่อ 12 March 2015.
  46. "Qatar's modern future rubs up against conservative traditions". Reuters. 27 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2021-02-08.
  47. "Rising power Qatar stirs unease among some Mideast neighbors". Reuters. 12 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 13 June 2013.
  48. "2011 Report on International Religious Freedom – Qatar". US Department of State.
  49. "Religious Composition by Country" (PDF). Global Religious Landscape. Pew Forum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013.
  50. "The Permanent Constitution of the State of Qatar". Government of Qatar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2014.
  51. "Constitution of Qatar". According to Article 1: Qatar is an independent Arab country. Islam is its religion and Sharia law is the main source of its legislation.
  52. "The Ministry of Awqaf and Islamic Affairs". Afreno. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้