ศาสนาในประเทศกาตาร์

ประเทศกาตาร์เป็นประเทศอิสลามที่มีชนกลุ่มน้อยหลายศาสนาเช่นเดียวกับประเทศแถบอ่าวเปอร์เซียส่วนใหญ่ที่เผชิญกับคลื่นผู้อพยพในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ศาสนาประจำชาติคือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี ชุมชนในประเทศประกอบด้วยมุสลิมนิกายซุนนีกับชีอะฮ์, ชาวคริสต์, ชาวฮินดู และชาวพุทธและบาไฮขนาดเล็ก[3] มุสลิมมีจำนวน 65.5% ของประชากรทั้งหมด รองลงมาคือฮินดูที่ 15.4%, คริสต์ที่ 14.2%, พุทธที่ 3.3% และอื่น ๆ กับไม่นับถือที่ 1.9% กาตาร์ยังเป็นที่ตั้งของศาสนาอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งส่วนใหญ่มาจากตะวันออกกลางและเอเชีย[4]

ศาสนาในประเทศกาตาร์ (2022)[1][2]

  ฮินดู (15.4%)
  พุทธ (3%)
  อื่น ๆ/ไม่มี (2%)

ประเทศนี้ยังเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสนทนาระหว่างศาสนาหลายครั้ง

อิสลาม แก้

ศาสนาประจำชาติในประเทศกาตาร์คือศาสนาอิสลาม[5] ชาวกาตาร์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี[6][7][8] ส่วนนิกายชีอะฮ์มีประมาณ 10% ของประชากรมุสลิมในกาตาร์ทั้งหมด[9]

ฮินดู แก้

ชาวฮินดูในกาตาร์มี 15.1% โดยประมาณการว่ามีผู้นับถือศาสนานี้ประมาณ 422,118 คน[1][10] ชาวฮินดูส่วนใหญ่มาจากเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[11][12]

คริสต์ แก้

ชุมชนชาวคริสต์ในกาตาร์นั้นผสมกันระหว่างชาวต่างชาติจากยุโรป อเมริกาเหนือและใต้ เอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ใน ค.ศ. 2023 มีประชากรในกลุ่มนี้ประมาณ 13.7% ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติจากฟิลิปปินส์ ยุโรป และอินเดีย[13][1]

ไม่มีกลุ่มมิชชันนารีต่างชาติดำเนินการเผยแผ่อย่างเปิดเผยในประเทศ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2005 รัฐบาลกาตาร์ได้ให้เช่าทรัพย์สินในเขตชานเมืองโดฮาให้กับตัวแทนของชาวคริสต์ในประเทศเพื่อสร้างอาคารแบบโบสถ์[14] งานวิจัยใน ค.ศ. 2015 ประมาณว่าว่ามีชาวคริสต์ประมาณ 200 คนมีพื้นเพจากมุสลิม แม้ว่าไม่ใช่ทั้งหมดที่เป็นพลเมืองในประเทศก็ตาม[15]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Global Religious Landscape เก็บถาวร 2013-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Pew Forum.
  2. "Population By Religion, Gender And Municipality March 2020". Qatar Statistics Authority.
  3. "Qatar". rpl.hds.harvard.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-05-25.
  4. "Religious Composition by Country" (PDF). Global Religious Landscape. Pew Forum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-09. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
  5. "Qatar". State. 2006-06-29. สืบค้นเมื่อ 2012-09-04.
  6. "Tiny Qatar's growing global clout". BBC. 30 April 2011. สืบค้นเมื่อ 12 March 2015.
  7. "Qatar's modern future rubs up against conservative traditions". Reuters. 27 September 2012.
  8. "Rising power Qatar stirs unease among some Mideast neighbors". Reuters. 12 February 2013. สืบค้นเมื่อ 13 June 2013.
  9. "Mapping the Global Muslim Population" (PDF). Pew Forum on Religion & Public Life. October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-15. สืบค้นเมื่อ 9 August 2017.
  10. "Population By Religion, Gender And Municipality March 2004". Qatar Statistics Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-18.
  11. "Population structure". Ministry of Development Planning and Statistics. 31 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-26. สืบค้นเมื่อ 2023-08-08.
  12. "Population By Religion, Gender And Municipality March 2020". Qatar Statistics Authority.
  13. US State Dept 2022 report
  14. "International Religious Freedom Report 2006". U.S. Department of State. สืบค้นเมื่อ 6 April 2014.
  15. Johnstone, Patrick; Miller, Duane Alexander (2015). "Believers in Christ from a Muslim Background: A Global Census". Interdisciplinary Journal of Research on Religion. 11: 17. สืบค้นเมื่อ 28 October 2015.