อำนาจบริหาร (อังกฤษ: Executive) มีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย โดยยึดตามอำนาจนิติบัญญัติ โดยหากปราศจากตัวบทกฎหมายที่นิติบัญญัติได้กำหนดไว้ ฝ่ายบริหารจะไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น

ฝ่ายบริหารสามารถเป็นบ่อเกิดของกฎหมายบางประเภทได้ เช่น กฤษฎีกาหรือคำสั่งของฝ่ายบริหาร ระบบข้าราชการประจำบริหารมักเป็นที่มาของระเบียบ หากฝ่ายบริหารทำหน้าที่เกินขอบเขตหรือไม่ตรงตามเจตนารมย์ของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายนิติบัญญัติก็สามารถควบคุมฝ่ายบริหารได้ เช่น การตั้งกระทู้คำถาม การเสนอญัตติด่วน การอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารหรือรายบุคคลหรือทั้งคณะ เป็นต้น[1]

การใช้อำนาจ

แก้

อำนาจในการบริหารจะใช้ในการปกครอง จะต้องเป็นอำนาจที่ได้รับมอบหมายหรือได้รับการระบุ หรือบัญญัติผ่านทางฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เท่ากับว่าฝ่ายบริหารใช้อำนาจในการบริหารได้ต่อเมื่อมีกฎหมายมอบอำนาจและกำหนดขอบเขตหน้าที่ให้เท่านั้น

อ้างอิง

แก้
  1. หนังสือกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง หน้า 56[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]

ดูเพิ่ม

แก้