เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

มองโกเลียใน หรือ เน่ย์เหมิงกู่[a] หรือชื่ออย่างเป็นทางการ เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน[b] เป็นเขตปกครองตนเองแห่งหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศมองโกเลีย ซึ่งเป็นระยะทางส่วนใหญ่ของพรมแดนของจีนที่ติดกับมองโกเลีย (ติดกับจังหวัดดอร์โนโกวิ จังหวัดซือบาตาร์ จังหวัดเอิมเนอโกวิ จังหวัดบายันฮองกอร์ จังหวัดโกวิ-อัลไต และจังหวัดดอร์นอดของมองโกเลีย) ระยะทางของพรมแดนจีน–มองโกเลียที่เหลือเป็นอาณาเขตทางทิศเหนือของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์และมณฑลกานซู่ นอกจากนี้ มองโกเลียในยังติดต่อกับประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นระยะทางส่วนน้อยของพรมแดนของจีนที่ติดกับประเทศรัสเซีย (ติดกับดินแดนซาไบคัลสกีของรัสเซีย) เมืองหลวงของมองโกเลียใน คือ โฮฮอต

เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน
การถอดเสียงอักษรต่าง ๆ
 • จีน内蒙古自治区
(Nèi Měnggǔ Zìzhìqū)
 • มองโกเลียᠥᠪᠥᠷ ᠮᠣᠩᠭᠣᠯ ᠤᠨᠥᠪᠡᠷᠲᠡᠭᠨ ᠵᠠᠰᠠᠬᠤ ᠣᠷᠣᠨ
(Öbür mongγol-un öbertegen jasaqu orun)
 • อักษรย่อNM / (Měng)
แผนที่แสดงที่ตั้งของมองโกเลียใน
แผนที่แสดงที่ตั้งของมองโกเลียใน
พิกัด: 44°N 113°E / 44°N 113°E / 44; 113
ตั้งชื่อจากเน่ย์ (, nèi) - "ใน"
เหมิงกู่ (蒙古, ménggǔ) - "มองโกเลีย"
เมืองหลวงโฮฮอต
เมืองใหญ่สุดเปาโถว
เขตการปกครอง12 จังหวัด, 101 เทศมณฑล, 1425 ตำบล
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคฉือ ไท่เฟิง (石泰峰)
 • ผู้ว่าการปู้ เสี่ยวหลิน (布小林)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด1,183,000 ตร.กม. (457,000 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 3
ความสูงจุดสูงสุด3,556 เมตร (11,667 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2010)[2]
 • ทั้งหมด24,706,321 คน
 • ประมาณ 
(31 ธันวาคม ค.ศ. 2014)[3]
25,050,000 คน
 • อันดับอันดับที่ 23
 • ความหนาแน่น20.2 คน/ตร.กม. (52 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 28
ประชากรศาสตร์
 • กลุ่มชาติพันธุ์ฮั่น - 79%
มองโกล - 17%
แมนจู - 2%
หุย - 0.9%
ดาอูร์ - 0.3%
 • ภาษาและภาษาถิ่นจีนกลาง (ทางการ),[4] มองโกเลีย (ทางการ), Oirat, บูร์ยัต, Dagur, เอเวนค์, จิ้น
รหัส ISO 3166CN-NM
GDP (ค.ศ. 2018[5])1.78 ล้านล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 21)
 - ต่อหัว68,302 เหรินหมินปี้ (อันดับที่ 9)
HDI (ค.ศ. 2018)เพิ่มขึ้น 0.774[6]
สูง · อันดับที่ 8
เว็บไซต์http://www.nmg.gov.cn
(อักษรจีนตัวย่อ)

เขตปกครองตนเองมองโกเลียในก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1947 โดยรวมมณฑลของสาธารณรัฐจีนในอดีต ได้แก่ มณฑลซุยหย่วน มณฑลชาร์ฮาร์ มณฑลเร่อเหอ มณฑลเหลียวเป่ย์ และมณฑลซิงอาน รวมถึงส่วนเหนือของมณฑลกานซู่ และเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย

พื้นที่ของมองโกเลียในใหญ่เป็นอันดับที่ 3 เมื่อเทียบกับทุก ๆ เขตปกครองระดับมณฑลของจีน โดยมีพื้นที่ประมาณ 1,183,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 12 ของพื้นที่พื้นดินทั้งหมดของจีน เนื่องจากมองโกเลียในมีลักษณะพื้นที่แคบยาวพาดตามชายแดนภาคเหนือของจีน จึงแบ่งเขตทางภูมิศาสตร์ออกเป็นเขตตะวันออกและเขตตะวันตก เขตตะวันออกมักจะรวมอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน (แมนจูเรียในอดีต) ส่วนเขตตะวันตกจะรวมอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน จากข้อมูลสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2010 ของจีน มองโกเลียในมีประชากร 24,706,321 คน คิดเป็นร้อยละ 1.84 ของประชากรทั้งหมดของจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นเขตปกครองระดับมณฑลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 23 ของจีน[8] ประชากรส่วนใหญ่ของมองโกเลียในเป็นชาวฮั่น ตามด้วยชาวมองโกลซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า แต่ก็มีมากถึง 5 ล้านคน (ค.ศ. 2019) ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรมองโกลที่ใหญ่ที่สุดในโลก และใหญ่กว่าชาวมองโกลในประเทศมองโกเลีย

มองโกเลียในเป็นหนึ่งในเขตปกครองระดับมณฑลของจีนที่ได้รับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวต่อปีใกล้เคียง 13,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2019) ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 5 ของประเทศ ภาษาทางการที่ใช้ ได้แก่ ภาษาจีนกลาง และภาษามองโกเลีย โดยตัวอักษรที่ใช้เขียนภาษามองโกเลีย คือ อักษรมองโกเลียดั้งเดิม แต่ในประเทศมองโกเลียจะใช้อักษรซีริลลิกมองโกเลียในการเขียน

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

เขตปกครองตนเองมองโกเลียในมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ภูมิประเทศ

แก้

เป็นที่ราบสูงโดยมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร พื้นที่ราบสูงในมองโกเลียในกว้างใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ ทรัพยากร ทั้งเขตมีพื้นที่แหล่งน้ำ 9,843 ตร.กม. ในจำนวนนี้เป็นแหล่งน้ำจืดที่ใช้สอยได้รวม 6,550 ตร.กม.เป็น 10.68% ของทั่วประเทศ

ภูมิอากาศ

แก้

รับอิทธิพลมรสุม ภาคพื้นทวีปเขตอบอุ่นทำให้มีลักษณะภูมิอากาศแบบซับซ้อนหลากหลาย ฤดูใบไม้ผลิอุณหภูมิแปรปรวนและมีลมพายุ ฤดูร้อนมีระยะเวลาสั้นและฝนตกชุก ฤดูใบไม้ร่วงอุณหภูมิลดต่ำมากมีฤดูหนาวยาวนาน

ประชากร

แก้

มีประชากร (2004) 23,840,000 (อันดับที่ 23) ความหนาแน่น 20.2/ก.ม. (อันดับที่ 28) GDP (2004) 271.2 พันล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 23) ต่อประชากร 11,400 (อันดับที่ 12) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น

เชื้อชาติส่วนใหญ่ของมองโกเลียในเมื่อปี 2543
ชนชาติ จำนวน ร้อยละ
ฮั่น 18,465,586 79.17%
มองโกล 3,995,349 17.13%
แมนจู 499,911 2.14%
หุย 209,850 0.900%
ดาอูร์ 77,188 0.331%
อีเวนค์ 26,201 0.112%
เกาหลี 21,859 0.094%
รัสเซีย 5,020 0.022%

เศรษฐกิจ

แก้

การคมนาคม

แก้

เส้นทางขนส่งระบบรางทั่วเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน มีเส้นทางขนส่งระบบรางถึง 14 สายหลักแยกเป็น 12 เส้นทางรถไฟใต้ดิน 5 สาย รวมเส้นทางยาวกว่า 7,083 กิโลเมตร ทางหลวงทั่วเขตมีเส้นทางหลวงรวม 63,000 กิโลเมตร ความหนาแน่น 532.6 กิโลเมตร การขนส่งทางอากาศ มีสนามบิน 7 แห่ง เปิดเส้นทางการบินพลเรือนภายในประเทศ 20 เส้นทาง ระหว่างประเทศ 2 เส้นทาง

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Doing Business in China - Survey". Ministry Of Commerce - People's Republic Of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2013. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  2. "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census" (ภาษาจีน). National Bureau of Statistics of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-27.
  3. "National Data". National Bureau of Statistics of China. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-19. สืบค้นเมื่อ 19 December 2015.
  4. "China". Ethnologue.
  5. 内蒙古自治区2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Inner Mongolia on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Inner Mongolia. 2018-04-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
  6. "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  7. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  8. "TABULATION ON THE 2010 POPULATION CENSUS OF THE PEOPLE'S REPUBLIC OF CHINA". stats.gov.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-07. สืบค้นเมื่อ 2013-05-07.
  9. อุตสาหกรรมประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในมองโกเลียใน