ชุดตัวอักษรแมนจู
ชุดตัวอักษรแมนจู (แมนจู: ᠮᠠᠨ᠋ᠵᡠ
ᡥᡝᡵᡤᡝᠨ; จีน: 满文; พินอิน: mǎn wén หม่าน เหวิน, อังกฤษ: Manchu alphabet) เริ่มปรากฏเมื่อ พ.ศ. 2142 ประดิษฐ์โดยผู้นำชาวแมนจู นูร์ฮาจี ผู้สถาปนารัฐแมนจู พัฒนามาจากอักษรมองโกเลียโบราณ มีการปรับปรุงเล็กน้อยเมื่อ พ.ศ. 2175 เมื่อชาวแมนจูสถาปนาราชวงศ์ชิงเมื่อ พ.ศ. 2187 ช่วง 200 ปีแรก ภาษาแมนจูเป็นภาษาราชการหลักและใช้เป็นภาษากลาง เมื่อราว พ.ศ. 2393 ชาวแมนจูจำนวนมากหันมาใช้ภาษาจีนและเขียนภาษาแมนจูด้วยอักษรจีนจนกระทั่งสิ้นสุดราชวงศ์ชิง
ชุดตัวอักษรแมนจู ᠮᠠᠨᠵᡠ ᡥᡝᡵᡤᡝᠨ, manju hergen | |
---|---|
ตราที่มีอักษรแมนจู | |
ชนิด | |
ภาษาพูด | ภาษาแมนจู ภาษาซิเบ |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Mong (145), Mongolian |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Mongolian |
อักษรในชุดนี้เขียนในแนวตั้งจากบนลงล่าง และจากซ้ายไปขวา อักษรแต่ละตัวมีรูปต้นคำ กลางคำและท้ายคำ สระมีรูปแยกต่างหาก อักษรบางตัวมีรูปร่างต่างไปขึ้นกับว่าสระมาก่อนหรือตามหลังอักษรนั้น
ใช้เขียน
แก้- ภาษาแมนจูซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาตุงกูซิก มีชาวแมนจูราว 9 ล้านคนอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้จะพูดภาษาจีนกลาง ในมณฑลซินเจียงมีชาวซิโบราว 27,000 คน พูดภาษาใกล้เคียงกับภาษาแมนจู ชาวซิโบเข้ามาอยู่ในซินเกียงตั้งแต่ พ.ศ. 2307
อ้างอิง
แก้- อักษรแมนจู (อังกฤษ)