ภาษาแมนจู (แมนจู:ᠮᠠᠨᠵᡠ
ᡤᡳᠰᡠᠨ
; อักษรโรมัน: manju gisun; จีน: 满语; พินอิน: mǎn yǔ, หมาน อวี่) เป็นภาษากลุ่มตังกูสิตใกล้สูญพันธุ์ซึ่งมีผู้พูดทางภาคเหนือของประเทศจีน เป็นภาษาแม่ของชาวแมนจู แต่ปัจจุบัน ชาวแมนจูส่วนมากพูดภาษาจีนกลาง และมีผู้พูดเป็นภาษาแม่และพูดได้บ้างน้อยกว่า 70 คน จากผู้มีเชื้อสายแมนจูรวมเกือบ 10 ล้านคน แม้ภาษาซิเบที่มีผู้พูด 40,000 คน แทบเหมือนกับภาษาแมนจูในทุกด้าน แต่ผู้พูดภาษาซิเบ ซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียงทางตะวันตกไกล มีเชื้อสายแตกต่างจากชาวแมนจู ปัจจุบัน มีผู้พูดภาษาแมนจูเป็นภาษาที่สองประมาณพันกว่าคนผ่านการศึกษาระดับประถมศึกษาของรัฐบาลหรือชั้นเรียนฟรีสำหรับผู้ใหญ่ในห้องเรียนหรือทางออนไลน์[4][5][6]

ภาษาแมนจู
ᠮᠠᠨᠵᡠ
ᡤᡳᠰᡠᠨ
วลี Manju gisun ในอักษรแมนจู
ประเทศที่มีการพูดประเทศจีน
ภูมิภาคแมนจูเรีย
ชาติพันธุ์ชาวแมนจู 10.7 ล้านคน
จำนวนผู้พูดภาษาแม่ 20 คน[1][2]  (2007)[3]
มีผู้พูดภาษาที่สองประมาณพันกว่าคน[4][5][6]
ตระกูลภาษา
ตุงกูซิก
  • ใต้
    • กลุ่มแมนจู
      • ภาษาแมนจู
ระบบการเขียนอักษรแมนจู
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศจีน จีน
พื้นที่ปกครองตนเองของชาวแมนจู
รหัสภาษา
ISO 639-2mnc
ISO 639-3mnc
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาแมนจูเป็นภาษารูปคำติดต่อ เขียนจากบนลงล่าง คาดว่าพัฒนามาจากภาษาจูร์เชน มีคำยืมจากภาษามองโกเลียและภาษาจีนจำนวนมาก มีอักษรเป็นของตนเองเรียกว่าอักษรแมนจู ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรมองโกเลีย โครงสร้างประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา

ระบบการเขียน

แก้

ภาษาแมนจูเขียนด้วยอักษรแมนจูที่พัฒนามาจากอักษรมองโกล ซึ่งเป็นรูปแบบการเขียนในแนวตั้งของ อักษรอุยกูร์ในยุคก่อนได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม, ภาษาแมนจูมีการเขียนด้วยอักษรโรมัน ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Paul Georg von Möllendorff, บรรพบุรุษของชาวแมนจูคือชาวจูร์เชนประดิษฐ์อักษรจูร์เชนขึ้นใช้ โดยพัฒนามาจากอักษรคีตัน ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างอักษรแมนจูกับอักษรจูร์เชน

ชื่อ

แก้

ราชวงศ์ชิงเรียกภาษาแมนจูว่า "ชิงเหวิน" 清文[7] หรือ "ชิงอวี่" 清語 ("ภาษาชิง") และ "กว๋ออวี่" 國語 ("ภาษาแห่งชาติ")[8] ซึ่งเป็นชื่อที่ราชวงศ์ก่อน ๆ ที่ไม่ใช่ราชวงศ์ฮั่นใช้เรียกภาษาของตัวเอง คำว่า "กว๋อ" ("ชาติ") มักใช้เรียกภาษาในเอกสารแมนจูว่า "กว๋อเหวิน" 國文 หรือ "กว๋ออวี่" 國語[9] ในสนธิสัญญาเนียร์ชินสก์ฉบับภาษาแมนจู คำว่า "ภาษาจีน" (Dulimbai gurun i bithe) ใช้กล่าวถึงสามภาษาคือ ภาษาจีน ภาษาแมนจู และภาษามองโกล โดยไม่ได้ใช้เรียกแค่ภาษาเดียว[10] ปัจจุบัน คำว่า "กว๋ออวี่" หมายถึงภาษาจีนกลาง

ประวัติและความสำคัญ

แก้
 
สัญลักษณ์ของชาวแมนจู
 
ชื่อที่เป็นทางการสำหรับจีนในภาษาแมนจู อ่านว่า Dulimbai gurun

ภาษาแมนจูเป็นภาษาสำคัญในสมัยราชวงศ์ชิง แต่ชาวแมนจูกลับหันมาใช้ภาษาจีนมากขึ้น และเริ่มสูญเสียภาษาของตนเอง และต้องมีการอนุรักษ์ภาษา ใน พ.ศ. 2315[11] จักพรรดิเฉียนหลงพบว่าข้าราชการชาวแมนจูจำนวนมากไม่เข้าใจภาษาแมนจู จักรพรรดิเจียกิง (พ.ศ. 2325 – 2363) กล่าวเช่นกันว่าข้าราชการไม่เข้าใจและเขียนภาษาแมนจูไม่ได้ เมื่อราว พ.ศ. 2442 – 2443 พบว่าในเฮย์หลงเจียงมีชายชาวแมนจูที่อ่านภาษาแมนจูได้เพียง 1% และพูดได้เพียง 0.2% ในราว พ.ศ. 2449 – 2450 ราชวงศ์ชิงได้จัดให้มีการศึกษาภาษาแมนจู และใช้ภาษาแมนจูเป็นคำสั่งทางทหาร

การใช้ภาษาแมนจูในสถานะภาษาราชการในสมัยราชวงศ์ชิงลดลงเรื่อย ๆ ในช่วงต้นของราชวงศ์ เอกสารที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองหรือเป็นหัวข้อทางการจะเขียนเป็นภาษาแมนจูไม่ใช้ภาษาจีน[12] บันทึกลักษณะนี้ยังคงเขียนต่อมาจนถึงปีท้าย ๆ ของราชวงศ์ที่สิ้นสุดใน พ.ศ. 2455 เอกสารภาษาแมนจูยังถูกเก็บรักษาในฐานะเอกสารสำคัญสมัยราชวงศ์ชิง ในปัจจุบัน ตัวเขียนภาษาแมนจูยังเห็นได้ในสถาปัตยกรรมของนครต้องห้าม สัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์จะเขียนทั้งในภาษาแมนจูและภาษาจีน ภาษานี้ใช้ในการออกคำสั่งทางทหารจนถึง พ.ศ. 2421

 
แผ่นป้ายเหนือประตูเฉียนชิงในนครต้องห้าม กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ทั้งในภาษาจีน (ซ้าย, qián qīng mén) และภาษาแมนจู (ขวา, kiyan cing men)

นักวิชาการชาวยุโรป

แก้

นักวิชาการชาวยุโรปในพุทธศตวรรษที่ 23 ที่ไม่สามารถอ่านภาษาจีนเพราะระบบการเขียนที่ซับซ้อนเลือกที่จะแปลจากภาษาแมนจูหรือใช้รูปแบบที่มีภาษาแมนจูคู่ขนานอยู่ด้วย โดยกล่าวว่าภาษาแมนจูเป็นหน้าต่างในการเข้าไปศึกษาวรรณคดีจีน นักวิชาการด้านจีนชาวรัสเซียได้ศึกษาภาษาแมนจูเช่นกัน หลังจากที่มาจัดตั้งนิกายรัสเซียนออร์ธอดอกซ์ในปักกิ่ง มีการแปลเอกสารจากภาษาแมนจู และทำพจนานุกรมภาษาแมนจู-จีน มีการสอนการแปลภาษาแมนจูในอินกุตส์ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 และสอนต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ชาวยุโรปได้ใช้การถอดคำในภาษาจีนด้วยอักษรแมนจู เพื่อช่วยในการออกเสียงภาษาจีนซึ่งนิยมใช้มากกว่าระบบที่ใช้อักษรโรมัน

สถานการณ์ปัจจุบัน

แก้

ในปัจจุบันมีผู้พูดภาษาแมนจูเหลือน้อยมาก โดยในแมนจูเรียไม่มีผู้พูดภาษานี้แล้ว หันมาพูดภาษาจีนกันทั้งสิ้น กลุ่มผู้ใช้ภาษาแมนจูเป็นภาษาแม่เหลืออยู่ในหมู่บ้าน Sanjiazi ในเฮย์หลงเจียง[13] และมีผู้พูดภาษานี้อีกเล็กน้อยในตำบลไอฮุย ในเขตปกครองตนเอง Heihe

จริง ๆ แล้วรูปแบบสมัยใหม่ของภาษานี้คือภาษาซิเบของชาวซิเบที่อาศัยในซินเจียง และอพยพมาอยู่ในจักรวรรดิชิง เมื่อ พ.ศ. 2307 ภาษาซิเบสมัยใหม่ใกล้เคียงกับภาษาแมนจู แม้ว่าจะมีความแตกต่างบ้างในการเขียนและการออกเสียง ภาษาซิเบมีการสอนเป็นภาษาที่สองในวิทยาลัยครูอีลีในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติคาซัคอีหลี มณฑลซินเจียง[14] มีการออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นครั้งคราวด้วยภาษาซิเบ ประมาณสองครั้งต่อสัปดาห์ มีหลายแห่งในประเทศจีนที่สอนภาษาแมนจู หลายโรงเรียนในเฮย์หลงเจียงเริ่มมีการสอนวิชาภาษาแมนจู[15][16][17]ในมหาวิทยาลัยเฮย์หลงเจียงมีศูนย์วิจัยภาษาแมนจู[18] และมีความพยายามฟื้นฟูภาษาแมนจู

สัทวิทยา

แก้

ภาษาเขียนของภาษาแมนจูจัดเป็นภาษาพยางค์เปิด เพราะมีเสียงตัวสะกดได้เสียงเดียวคือ /n/ ซึ่งคล้ายกับภาษาจีนกลางในปักกิ่ง และภาษาญี่ปุ่น คำดั้งเดิมในภาษาจึงลงท้ายด้วยเสียงสระทั้งหมด ลักษณะเช่นนี้พบได้ในทุกสำเนียง แต่พบมากที่สุดในสำเนียงใต้ที่กลายมาเป็นภาษาเขียน

สระ

แก้

ระบบสระของภาษาแมนจูมีสระเป็นกลาง (([i] และ [u]) ที่มีอิสระที่จะปรากฏกับสระใด ๆ ก็ได้ สระหน้า [e] จะไม่ปรากฏร่วมกับสระหลัง ([o] และ [a]) สระ [ū] จัดเป็นสระหลัง แต่บางครั้งก็ปรากฏร่วมกับสระ [e] ได้ ส่วนในภาษาซิเบจะออกเสียงเป็น [u]

การเปลี่ยนเสียงสระ

แก้

การเปลี่ยนเสียงสระในภาษาแมนจูอธิบายได้ด้วยหลักของอี้จิง โดยสระหน้าเป็นพยางค์หยิน ส่วนสระหลังเป็นพยางค์หยาง ซึ่งเป็นเพราะคำที่ใช้สระหน้ามักเป็นเพศหญิง และคำที่ใช้สระหลังมักเป็นเพศชาย จึงมีคู่ของคำในภาษาที่เมื่อเปลี่ยนสระจะเปลี่ยนเพศของคำด้วย เช่น hehe (ผู้หญิง) และ haha (ผู้ชาย) หรือ eme (แม่) และ ama (พ่อ)

คำยืม

แก้

ภาษาแมนจูมีคำยืมจำนวนมากจากภาษาจีน มีสัญลักษณ์พิเศษที่ใช้แสดงสระของคำยืมจากภาษาจีน และสัญลักษณ์สำหรับพยัญชนะที่ใช้เฉพาะในคำยืมจากภาษาจีน นอกจากนั้นยังมีคำยืมจากภาษามองโกเลียด้วย

ไวยากรณ์

แก้

ประโยค

แก้

คำคุณศัพท์นำหน้าด้วยคำนามที่ขยาย การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา มีการใช้สัญลักณ์การกควบคู่กับปรบท เช่น

bi tere niyalma+i emgi gene+he

ฉัน คนนั้น+GEN กับ ไป+PAST

ฉันไปกับคนนั้น

สองประโยคต่อไปนี้สามารถรวมเข้าด้วยกันด้วย converb ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงการกระทำรองเข้ากับการกระทำหลัก เช่น

tere sargan boo ci tuci+ke

นั้น ผู้หญิง บ้าน ABL ไป.ออก+PAST.FINITE

ผู้หญิงคนนั้นออกมาจากบ้าน

tere sargan hoton de gene+he

นั้น ผู้หญิง เมือง DAT ไป+PAST.FINITE

ผู้หญิงคนนั้นไปในเมือง

tere sargan boo ci tuci+fi, hoton de gene+he

นั้น ผู้หญิง บ้าน ABL ไป.ออก+PAST.CONVERB, เมือง DAT ไป+PAST.FINITE

ผู้หญิงคนนั้นที่ออกจากบ้าน ไปในเมือง

คำนาม

แก้

คำนามในภาษาแมนจูแบ่งเป็นการกจำนวนมากดังนี้

  • การกพื้นฐาน
    • การกประธาน - ใช้สำหรับประธาน ไม่มีปัจจัย
    • การกกรรมตรง ใช้สำหรับกรรมตรงของประโยค ใช้ปัจจัย -be.
    • การกแสดงความเป็นเจ้าของ ใช้บ่งชี้ความเป็นเจ้าของ ใช้ปัจจัย -i หรืออนุภาค ni ถ้าตามหลังคำที่ลงท้ายด้วย -ng ตัวอย่างเช่น wangni moo (ต้นไม้ของพระราชา)
    • การกสถานที่และเวลา ใช้บ่งชี้ตำแหน่ง เวลา สถานที่ หรือกรรมรอง ใช้ปัจจัย -de.
    • ablative – ใช้บ่งชี้กำเนิดของการกระทำ หรือพื้นฐานสำหรับการเปรียบเทียบ ใช้ปัจจัย -ci.
    • การกเครื่องมือ ใช้บ่งชี้จุดกำเนิดของการกระทำ แสดงโดยอนุภาค deri ใช้มากในภาษาแมนจูคลาสสิก
  • การกใช้น้อย:
    • initiative – แสดงจุดเริ่มต้นของการกระทำ ใช้ปัจจัย - deri
    • terminative – ใช้แสดงจุดสิ้นสุดของการกระทำ ใช้ปัจจัย - tala/tele/tolo
    • indef. allative - ใช้แสดงสถานที่ เหตุการณ์ที่ไม่รู้เมื่อการกระทำนั้นมาถึงสถานที่นั้น ใช้ปัจจัย- si
    • indef. locative - ใช้แสดงสถานที่ เหตุการณ์ที่ไม่รู้เมื่อการกระทำนั้นเกิดขึ้นที่สถานที่นั้น ใช้ปัจจัย - la/le/lo
    • indef. ablative – ใช้ระบุ มาจากที่ มาจาเหตุการณ์ที่ไม่รู้เมื่อการกระทำมาจากสถานที่ที่แน่นอนใกล้ ๆ กันนั้น ใช้ปัจจัย - tin
    • distributive – ใช้แสดงสิ่งหนึ่งในบางอย่าง ใช้ปัจจัย - dari
    • formal – ใช้แสดงความคล้ายคลึง ใช้ปัจจัย - gese
    • identical – ใช่แสดงความเหมือน ใช้ปจจัย- ali/eli/oli
    • orientative – ใช้แสดงการเข้าไปสู่ แสดงตำแหน่งและแนวโน้ม ใช้ปัจจัย - ru
    • revertive – ใช้แสดงการกลับหรือต่อต้าน ใช้ปัจจัย - ca/ce/co
    • translative – ใช้แสดงการเปลี่ยนรูปแบบหรือคุณสมบัติ ใช้ปัจจัย - ri
    • in. accusative – แสดงว่าการสัมผัสของการกระทำนั้นยังมาสมบูรณ์ ใช้ปัจจัย - a/e/o/ya/ye/yo

อ่านเพิ่ม

แก้

เรียนรู้ตำราทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ

  • Paul Georg von Möllendorff (1892). A Manchu grammar: with analysed texts. Printed at the American Presbyterian mission press. pp. 52. สืบค้นเมื่อ 1 March 2012.
  • A. Wylie (1855). Translation of the Ts'ing wan k'e mung, a Chinese Grammar of the Manchu Tartar Language; with introductory notes on Manchu Literature: (translated by A. Wylie.). Mission Press. สืบค้นเมื่อ 1 March 2012.
  • Thomas Taylor Meadows (1849). Translations from the Manchu: with the original texts, prefaced by an essay on the language. Canton: Press of S.W. Williams. pp. 54http://www.endangeredlanguages.com/lang/1205/guide/6302. สืบค้นเมื่อ 10 February 2012.

สำหรับผู้อ่านภาษาจีน

วรรณกรรม

อ้างอิง

แก้
  1. https://web.archive.org/web/20170930050650
  2. "Redirected". 19 November 2019.
  3. ภาษาแมนจู ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  4. 4.0 4.1 抢救满语振兴满族文化 (ภาษาจีน). 26 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2017. สืบค้นเมื่อ 14 May 2020.
  5. 5.0 5.1 China News (originally Beijing Morning Post): Manchu Classes in Remin University (Simplified Chinese)
  6. 6.0 6.1 "Phoenix Television: Jinbiao's 10-year Manchu Dreams". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.
  7. Saarela, Måten Söderblom (2014). Benjamin A Elman (บ.ก.). The Manchu Script and Information Management: Some Aspects of Qing China's Great Encounter with Alphabetic Literacy. Rethinking East Asian Languages, Vernaculars, and Literacies, 1000–1919. BRILL. p. 169. ISBN 9789004279278.
  8. Elliot, Mark C. (19 January 2006). Pamela Kyle Crossley; และคณะ (บ.ก.). Empire at the Margins: Culture, Ethnicity, and Frontier in Early Modern China. University of California Press. p. 38. ISBN 9780520230156.
  9. Rhoads, Edward J. M. (2000). Manchus and Han: Ethnic Relations and Political Power in Late Qing and Early Republican China, 1861–1928. University of Washington Press. p. 109. ISBN 9780295980409.
  10. Zhao, Gang (January 2006). "Reinventing China: Imperial Qing Ideology and the Rise of Modern Chinese National Identity in the Early Twentieth Century" (PDF). Modern China. Sage Publications. 32 (1): 12. doi:10.1177/0097700405282349. JSTOR 20062627. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2014. สืบค้นเมื่อ 23 May 2014.
  11. Yu, Hsiao-jung. "Manchu Rule over China and the Attriion of the Manchu Language" (PDF). University of California, Santa Barbara. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-24.
  12. Lague, David (17 March 2007). "Manchu Language Lives Mostly in Archives". The New York Times.
  13. Lague, David (18 March 2007). "Chinese Village Struggles to Save Dying Language". The New York Times.
  14. "Welcome to Ili Teacher's College". Study In China.org. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2016.
  15. "29 Manchu Teachers of Huanren, Benxi Are Now On Duty" (ภาษาจีน). Liaoning News. 20 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2013. สืบค้นเมื่อ 1 June 2013.
  16. "A High School Opens Manchu Class in Liaoning" (ภาษาจีน). China News.com. 29 October 2011.
  17. "Manchu Class Comes Into A Middle School Class of Jilin For the First Time" (ภาษาจีน). Sina Education. 22 March 2012.
  18. Johnson, Ian (5 October 2009). "In China, the Forgotten Manchu Seek to Rekindle Their Glory". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 5 October 2009.

ข้อมูล

แก้
  • Gorelova M., Liliya (2002). Manchu Grammar (PDF). Leiden; Boston; Köln.: Brill Academic Publishers. ISBN 90-04-12307-5.
  • Elliott, Mark (2013). "Why Study Manchu?". Manchu Studies Group.
  • Fletcher, Joseph (1973), "Manchu Sources", ใน Leslie Donald, Colin Mackerras and Wang Gungwu (บ.ก.), Essays on the Sources for Chinese History, Canberra: ANU Press
  • Haenisch, Erich. 1961. Mandschu-Grammatik. Leipzig: VEB Verlag Enzyklopädie (ในภาษาเยอรมัน)
  • Hauer, Erich (1930). "Why the Sinologue Should Study Manchu" (PDF). Journal of the North China Branch of the Royal Asiatic Society. 61: 156–164.
  • Li, Gertraude Roth (2000). Manchu: A Textbook for Reading Documents. Honolulu, Hawaii: University of Hawai`i Press. ISBN 0824822064.
  • Erling von Mende. 2015. "In Defence of Nian Gengyao, Or: What to Do About Sources on Manchu Language Incompetence?". Central Asiatic Journal 58 (1-2). Harrassowitz Verlag: 59–87. https://www.jstor.org/stable/10.13173/centasiaj.58.1-2.0059.
  • Möllendorff, Paul Georg von. 1892. Paul Georg von Möllendorff (1892). A Manchu Grammar: With Analysed Texts. Printed at the American Presbyterian mission Press. Shanghai.   ข้อความเต็มของ A Manchu Grammar ที่วิกิซอร์ซ
  • Norman, Jerry. 1974. "Structure of Sibe Morphology", Central Asian Journal.
  • Norman, Jerry. 1978. A Concise Manchu–English Lexicon, University of Washington Press, Seattle.
  • Norman, Jerry. 2013. A Comprehensive Manchu–English Dictionary, Harvard University Press (Asia Center), Cambridge ISBN 9780674072138.
  • Ramsey, S. Robert. 1987. The Languages of China. Princeton University Press, Princeton New Jersey ISBN 0-691-06694-9
  • Tulisow, Jerzy. 2000. Język mandżurski (« The Manchu language »), coll. « Języki Azjii i Afryki » (« The languages of Asia and Africa »), Dialog, Warsaw, 192 p. ISBN 83-88238-53-1 (ในภาษาโปแลนด์)
  • Kane, Daniel. 1997. "Language Death and Language Revivalism the Case of Manchu". Central Asiatic Journal 41 (2). Harrassowitz Verlag: 231–49. https://www.jstor.org/stable/41928113.
  • Aiyar, Pallavi (26 April 2007). "Lament for a dying language". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2007.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้