พิธีสารนักมวย (อังกฤษ: Boxer Protocol) หรือชื่ออย่างเป็นทางการในโลกตะวันตกว่า พิธีสารสุดท้ายว่าด้วยการระงับความวุ่นวายระหว่างออสเตรีย-ฮังการี เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี บริเตนใหญ่ อิตาลี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย สเปน สหรัฐ กับจีน ค.ศ. 1900 (Austria-Hungary, Belgium, France, Germany, Great Britain, Italy, Japan, Netherland, Russia, Spain, United States and China—Final Protocol for the Settlement of the Disturbances of 1900) และชื่ออย่างเป็นทางการในประเทศจีนว่า พิธีสารซินโฉ่ว (จีน: 辛丑条约; พินอิน: xīn chǒu tiáo yuē) เป็นพิธีสารซึ่งลงลายมือชื่อกัน ณ วันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1901 ระหว่างจักรวรรดิชิง ในสมัยพระพันปีฉือสี่ ฝ่ายหนึ่ง กับพันธมิตรแปดชาติ (ออสเตรีย-ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐ) เบลเยียม สเปน และเนเธอร์แลนด์ อีกฝ่ายหนึ่ง ภายหลังกองทัพฝ่ายพันธมิตรแปดชาติปราบกบฏนักมวยในประเทศจีนได้สำเร็จ ประเทศจีนถือว่า พิธีสารนี้เป็นหนึ่งในบรรดาสนธิสัญญาเอารัดเอาเปรียบ (unequal treaties)

พิธีสารนักมวย
พิธีสารสุดท้ายว่าด้วยการระงับความวุ่นวายระหว่างออสเตรีย-ฮังการี เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี บริเตนใหญ่ อิตาลี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย สเปน สหรัฐ กับจีน ค.ศ. 1900
ประเภทพิธีสาร
วันลงนาม7 กันยายน 1901
ที่ลงนามกรุงปักกิ่ง
ผู้ลงนาม ราชวงศ์ชิง

พันธมิตรแปดชาติ

ออสเตรีย-ฮังการี ออสเตรีย-ฮังการี
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
เยอรมนี เยอรมนี
ราชอาณาจักรอิตาลี อิตาลี
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
รัสเซีย รัสเซีย
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
สหรัฐ สหรัฐ

เบลเยียม เบลเยียม
สเปน สเปน

เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์

พระพันปีฉือสี่มีพระราชเสาวนีย์ตั้งเจ้าชายชิง ซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดี (Prime Minister) และหลี่ หงจาง ซึ่งเป็นราชครู (Grand Tutor) ให้เป็นผู้มีอำนาจเต็มในการลงลายมือชื่อในพิธีสารนี้สำหรับจักรวรรดิชิง ส่วนฝ่ายพันธมิตรแปดชาติและพวกนั้นมี Bernardo de Cólogan y Cólogan และ Alfons Mumm von Schwarzenstein ลงลายมือชื่อในนามของสเปน เออร์เนสต์ แซโทว (Ernest Satow) ในนามของบริเตนใหญ่ และ โคะมุระ จุตะโร (Komura Jutarō) ในนามของญี่ปุ่น ตามลำดับ[1]

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-10. สืบค้นเมื่อ 2011-02-05.