รถไฟใต้ดินปักกิ่ง
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
รถไฟใต้ดินปักกิ่ง (จีนตัวย่อ: 北京地铁; จีนตัวเต็ม: 北京地鐵) เป็นเครือข่ายรางรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งเชื่อมต่อเขตเมืองและชานเมืองของมหานครปักกิ่ง ประเทศจีน
รถไฟใต้ดินปักกิ่ง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
โลโก้รถไฟใต้ดินปักกิ่ง | |||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||
ชื่อพื้นเมือง | |||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 北京地铁 | ||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 北京地鐵 | ||||||
| |||||||
เจ้าของ | Beijing Municipal Government | ||||||
ที่ตั้ง | ปักกิ่ง และ หลางฟาง, มณฑลเหอเป่ย์ | ||||||
ประเภท | ระบบขนส่งมวลชนเร็ว | ||||||
จำนวนสาย | 27 | ||||||
จำนวนสถานี | 490[1] | ||||||
ผู้โดยสารต่อวัน | 10.544 ล้าน (2018 เฉลี่ยต่อวัน)[2] 13.7538 ล้าน (สถิติ 12 ก.ค. 2019)[3] | ||||||
ผู้โดยสารต่อปี | 3.8484 พันล้าน (2018)[2] | ||||||
เว็บไซต์ | bjsubway.com mtr.bj.cn bjmoa.cn | ||||||
การให้บริการ | |||||||
เริ่มดำเนินงาน | 15 มกราคม 1971 | ||||||
ผู้ดำเนินงาน |
| ||||||
ลักษณะ | ใต้ดิน ระดับดิน และยกระดับ | ||||||
จำนวนขบวน | 6,173 (2019)[4] | ||||||
ข้อมูลทางเทคนิค | |||||||
ระยะทาง | 836 km (519 mi)[1] | ||||||
รางกว้าง | 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) สแตนดาร์ดเกจ | ||||||
การจ่ายไฟฟ้า |
| ||||||
|
การเปิดใช้งาน
แก้รถไฟใต้ดินสายแรกเปิดทำการใน พ.ศ. 2514 จนกระทั่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 13 เส้นทาง มีจำนวนทั้งสิ้น 172 สถานี และมีรางรถไฟทำการกว่า 336 กิโลเมตร รถไฟใต้ดินปักกิ่งเป็นรถไฟใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่ มีความยาวและมีผู้ใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับที่สองรองจากรถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553 รถไฟใต้ดินดังกล่าวทำสถิติรับส่งผู้โดยสารกว่า 6.4 ล้านคน[5] เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553 สาย 15, สายชางผิง, สายฟางซาน, สายอี้จวง, และสายตาซิง ได้เปิดให้บริการ แต่ถึงแม้ว่าจะมีการขยายรถไฟใต้ดินดังกล่าว เครือข่ายที่มีอยู่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับความต้องการระบบขนส่งมวลชนของนครและแผนการขยายรถไฟใต้ดินอย่างกว้างขวางอีกมากกว่า 700 กิโลเมตร มีกำหนดเสร็จสิ้นภายใน พ.ศ. 2558 และอีก 1,000 กิโลเมตร ภายใน พ.ศ. 2563[6] แผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 4 ล้านล้านหยวนของรัฐบาลจีนได้เร่งให้เกิดการก่อสร้างรถไฟใต้ดินดังกล่าว เครือข่ายรถไฟใต้ดินมีกำหนดจะถึง 420 กิโลเมตร ภายใน พ.ศ. 2555[7]
ค่าโดยสาร
แก้ค่าโดยสารของรถไฟใต้ดินปักกิ่งคิดอัตราเดียวตลอดทาง คือ 2 หยวน โดยไม่จำกัดการเปลี่ยนสาย ซึ่งมีผลบังคับใช้กับทุกสายยกเว้นรถไฟด่วนสายสนามบิน ซึ่งคิดค่าโดยสาร 25 หยวน[8] เด็กที่มีความสูงต่ำกว่า 1.2 เมตร สามารถโดยสารไม่เสียค่าใช้จ่ายเมื่อมีผู้ใหญ่ที่จ่ายเงินแล้ว[9]
วิธีการจำหน่ายตั๋ว
แก้รถไฟใต้ดินทุกสายเก็บค่าโดยสารผ่านเครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ (AFC) ซึ่งยอมรับตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวและอี้ข่าทง ซึ่งเป็นรูปแบบสมาร์ตการ์ดที่สามารถสะสมเครดิตในการโดยสารหลายเที่ยวได้[10] ผู้โดยสารสามารถซื้อบัตรและเพิ่มเครดิตให้กับอี้ข่าทง ณ จุดจำหน่ายตั๋วและเครื่องจำหน่ายตั๋วในทุกสถานี อี้ข่าทงยังได้รับการยอมรับในรถโดยสารประจำทางปักกิ่งส่วนใหญ่ และสามารถใช้เป็นเงินอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการซื้อสินค้าและบริการอื่น ๆ
การใช้ตั๋วที่ได้รับการตรวจด้วยมือของเสมียนถูกยกเลิกไปเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551[11] ก่อนหน้าการคิดค่าโดยสารอัตราเดียวตลอดทางเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ค่าโดยสารอยู่ระหว่าง 3-7 หยวน ขึ้นอยู่กับเส้นทางและจำนวนการเปลี่ยนสาย
เส้นทางในปัจจุบัน
แก้เส้นทาง | สถานีปลายทาง (เขต) |
เปิดให้บริการ | ส่วนต่อขยาย | ระยะทาง กิโลเมตร |
จำนวนสถานี (ในวงเล็บ สถานียกระดับ) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผิงกว่อหยวน (Shijingshan) |
ซื่อฮุ่ยตะวันออก (Chaoyang) |
1969 | 1999 | 30.4 | 23 (2) |
2 วงกลม |
ซีจื๋อเหมิน (Xicheng) |
สถานีรถไฟปักกิ่ง (Dongcheng) | 1971 | 1987 | 23.1 | 18 |
4 | อันเหอเฉียวเป่ย (Haidian) |
กงยี่ซีเฉียว (Fengtai) |
2009 | 2010 | 28.2 | 24 (1) |
5 | เทียนทงหยวนเหนือ (Changping) |
ซ่งเจียจวง (Fengtai) |
2007 | — | 27.6 | 23 (7) |
6 | ไห่เตี้ยน อู่ลู่จวี (Haidian) |
ลู่เฉิง (Tongzhou) |
2012 | — | 30.4 | 20 |
7 | สถานีรถไฟปักกิ่งตะวันตก (Fengtai) |
เจียวฮว่าฉั่ง (Chaoyang) |
2014 | — | 23.7 | 21 |
8 | หุยหลงก่วนตงต้าเจี๋ย (Changping) |
กู่โหลวต้าเจี๋ย (Dongcheng/Xicheng) |
2008 | 2012 | 22.0 | 12 |
9 | หอสมุดแห่งชาติ (Haidian) |
กวอกงจวง (Fengtai) |
2011 | 2012 | 16.5 | 12 |
10 วงกลม |
ซีจวี๋ (Fengtai) |
โส่วจิงเม่า (Fengtai) |
2008 | 2013 | 57.1 | 45 |
13 | ซีจื๋อเหมิน (Xicheng) |
ตงจื๋อเหมิน (Dongcheng) |
2002 | 2003 | 40.9 | 16 (15) |
14 | จางกวอจวง (Fengtai) |
ซีจวี๋ (Fengtai) |
2013 | — | 12.4 | 6 (2) |
15 | วั่งจิงตะวันตก (Chaoyang) |
เฟิ่งปั๋ว (Shunyi) |
2010 | 2011 | 30.2 | 12 (4) |
สายบาตง | ซื่อฮุ่ย (Chaoyang) |
ถู่เฉียว (Tongzhou) |
2003 | — | 18.9 | 13 (13) |
สายชางปิง | ชางผิงซีซานโข่ว (Changping) |
ซีเอ้อร์ฉี (Haidian) |
2010 | — | 21.24 | 7 (6) |
สายดาซิง | กงยี่ซีเฉียว (Fengtai) |
เทียนกงเยวี่ยน (Daxing) |
2010 | — | 21.7 | 12 (1) |
สายฝังซาน | กวอกงจวง (Fengtai) |
ซวีจวง (Fangshan) |
2010 | 2011 | 24.79 | 11 (9) |
สายยีจวง | ซ่งเจียจวง (Fengtai) |
ชื่อฉฺวี (Tongzhou) |
2010 | — | 23.3 | 13 (8) |
AE | ตงจื๋อเหมิน (Dongcheng) |
เทอร์มินัล 2 (Chaoyang) เทอร์มินัล 3 (Shunyi) |
2008 | — | 28.1 | 4 (1) |
ทั้งหมด | 457 | 270 |
เวลาในการให้บริการ
แก้รถไฟฟ้าจะปิดบริการหลังเที่ยงคืน[12] รถไฟฟ้าจะให้บริการตั้งแต่เวลา 5.00-23.00 น. (ยกเว้นสายแอร์พอร์ตที่จะให้บริการตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา)
ระบบรถไฟฟ้า
แก้รถไฟฟ้าทุกขบวนวิ่งบนราง 1,435 มิลลิเมตร (56.5 นิ้ว) และรับกระแสไฟฟ้า 750 โวลต์ โดยใช้รางที่สาม ยกเว้นสาย 6 และ 14 ที่ใช้ลวดเหนือหัว รถไฟฟ้าทุกสายให้บริการ 6 คันต่อขบวน ความเร็วเฉลี่ย 80 km/h (50 mph) ยกเว้นสาย 6 ที่ใช้ 8 คันต่อขบวน และสายแอร์พอร์ตที่ใช้ 4 คันต่อขบวน ซึ่งทำความเร็วได้ 100 km/h (62 mph) และ 110 km/h (68 mph) ตามลำดับ[13][14]
รถไฟชานเมืองปักกิ่ง
แก้รถไฟชานเมืองปักกิ่ง สายที่ให้บริการในปัจจุบันคือ สายเอส 2 เปิดให้บริการ 6 สิงหาคม ค.ศ. 2008[15]
สวนรถไฟฟ้า
แก้สวนรถไฟฟ้าในเขตต้าซิง เปิดใช้งานในปี ค.ศ. 2010 เพื่อเป็นอนุสรณ์ของรถไฟใต้ดินปักกิ่ง[16] โดยสวนแห่งนี้สามารถเข้าชมได้โดไม่เสียค่าใช้จ่าย
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbjd202207
- ↑ 2.0 2.1 "2018年统计报告". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2020. สืบค้นเมื่อ April 9, 2019.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbjnews12July2019
- ↑ "北京市2019年国民经济和社会发展统计公报".
- ↑ 北京地铁4月30日客流超过640万人次居全国之首" May 1, 2010
- ↑ "北京2020年轨道交通线路预计将达1000公里左右" www.chinanews.com.cn 2010.12.30
- ↑ (Chinese) Sun, Xiaosheng "北京市已规划地铁和高速路2009年将全部开工" Xinhua Jan. 5, 2009
- ↑ "Beijing airport express rail on trial run," China Daily July 15, 2008
- ↑ "New AFC system to manage subway tickets in Beijing starting June 9," Official Website of the Beijing Olympics เก็บถาวร 2012-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน June 6, 2008
- ↑ "Beijing MTR website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-11. สืบค้นเมื่อ 2011-01-03.
- ↑ "Paper tickets fade out of Beijing subway" Xinhua June 9, 2008
- ↑ The subway operated throughout the night from Aug. 8-9, 2008 to accommodate the Opening Ceremonies of the Olympic Games, and is extending evening operations of all lines by one to three hours (to 1-2 a.m.) through the duration of the Games. Bsjsubway.com เก็บถาวร 2008-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ <New Beijing subway to ease traffic congestion, Wu Wenjie, deputy director of China Railway Tunnel Group, China Daily. Reporter ZHENG Xin.[1] 2012-11-26.
- ↑ "Linear Motor Commuter for Beijing" CNR website เก็บถาวร 2010-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Accessed Mar. 27, 2010
- ↑ (Chinese) 本市首条市郊铁路8月初通车 记者体验“动车”S2线 千龙网 เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน July 22, 2008
- ↑ (Chinese) Li Zhiyong, "北京建成首座地铁主题文化公园" Xinhua เก็บถาวร 2013-10-03 ที่ archive.today 2010-10-28