เลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน

เลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรค (จีน: 党委书记; พินอิน: dǎngwěi shūjì) เป็นผู้นำขององค์กรพรรคคอมมิวนิสต์จีนในมณฑล เมือง หมู่บ้าน รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ในกรณีส่วนใหญ่ ตำแหน่งนี้จะถือเป็นตำแหน่งทางการเมืองที่สูงที่สุดในพื้นที่นั้นโดยพฤตินัย คำนี้ยังใช้เรียกตำแหน่งผู้นำองค์กรพรรคคอมมิวนิสต์จีนในองค์กรต่าง ๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน บริษัทต่างชาติ มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย โรงพยาบาล และสถาบันอื่น ๆ ของรัฐ[1][2][3]

เลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
อักษรจีนตัวย่อ党委书记
อักษรจีนตัวเต็ม黨委書記
Short form
อักษรจีนตัวย่อ书记
อักษรจีนตัวเต็ม書記

หลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรม พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย และรัฐบาลมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการตามนโยบายนั้น ในทุกระดับการปกครอง จะมีผู้นำรัฐบาลทำงานร่วมกับเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรค ตัวอย่างเช่น ในระดับมณฑล เลขาธิการพรรคประจำมณฑล คือผู้นำสูงสุดโดยพฤตินัย แต่จะบริหารงานโดย "ผู้ว่าการมณฑล" (省長) ซึ่งโดยทั่วไปถือเป็นข้าราชการที่มีอำนาจรองลงมาในคณะกรรมาธิการพรรคประจำมณฑล และจะดำรงตำแหน่ง "รองเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคประจำมณฑล" (省委副书记) ควบคู่กันไปด้วย กรณีอื่น ๆ ที่เปรียบเทียบได้ เช่น ตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำเมือง (市委书记) กับนายกเทศมนตรี (市长) หรือแม้กระทั่ง ตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน (总书记) กับนายกรัฐมนตรี (国务院总理)

แม้จะมีกรณีพิเศษบางกรณีที่บุคคลคนเดียวจะดำรงตำแหน่งทั้งเลขาธิการพรรคและผู้ว่าการมณฑล (หรือ นายกเทศมนตรี) แต่ก็ถือว่าเป็นแนวทางที่ไม่นิยมนับตั้งแต่หลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[ ต้องการอ้างอิง ] โดยทั่วไป เลขาธิการพรรคจะได้รับความช่วยเหลือจากรองเลขาธิการพรรคหลายคน

จนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษที่ 1980 ตำแหน่งผู้นำขององค์กรพรรคคอมมิวนิสต์จีนในระดับท้องถิ่นจะเรียกว่า "เลขาธิการลำดับที่หนึ่ง" (第一书记) รองลงมาคือ "เลขาธิการลำดับที่สอง" (第二书记) [ ต้องการอ้างอิง ] องค์กรพรรคคอมมิวนิสต์จีนระดับท้องถิ่นแต่ละแห่งจะมี "สำนักเลขาธิการ" ประจำอยู่ ซึ่งประกอบด้วยเลขาธิการหลายคน

อ้างอิง แก้

  1. Yan, Xiaojun; Huang, Jie (2017). "Navigating Unknown Waters: The Chinese Communist Party's New Presence in the Private Sector". China Review. 17 (2): 37–63. ISSN 1680-2012. JSTOR 44440170.
  2. Martina, Michael (2017-08-24). "In China, the Party's push for influence inside foreign firms stirs fears". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
  3. Ng, Eric (25 July 2018). "Foreign investors will need more clarity on role of Communist Party organisations in listed firms, says report". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ June 13, 2020.