ประภาส ชลศรานนท์

ประภาส ชลศรานนท์ (เกิด 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 - ) ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2561 สาขาศิลปะการแสดง ประเภทดนตรีสากลและนาฏศิลป์สากล (ผู้สร้างสรรค์งานบันเทิงและดนตรีไทยสากล) นักคิด นักเขียน นักแต่งเพลง ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

ประภาส ชลศรานนท์
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดประภาส ชลศรานนท์
เกิด18 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 (63 ปี)
อาชีพนักคิด นักเขียน นักแต่งเพลง

ประวัติ แก้

ประภาส ชลศรานนท์ เป็นชาวตำบลหนองมน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จบการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และระดับปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ประเภททั่วไป มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

ประภาสเป็นผู้ก่อตั้งและแต่งเพลงให้กับวงดนตรีเฉลียง ซึ่งเป็นกลุ่มดนตรีที่ได้รับการยอมรับกันว่าเป็นการบุกเบิกแนวเพลงใหม่ๆ ทั้งเนื้อหาและท่วงทำนองให้กับวงการเพลงไทย

ผลงานเพลงที่เขาแต่งไว้ได้รับการกล่าวขานจนถึงทุกวันนี้มากมาย ด้วยมีรูปแบบและเนื้อหาที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ไม้ขีดไฟกับดอกทานตะวัน พ่อ พี่ชายที่แสนดี คู่ทรหด เที่ยวละไม ต้นชบากับคนตาบอด นิทานหิ่งห้อย สาวลาวบ่าวไทย อื่นๆอีกมากมาย เจ้าภาพจงเจริญ เธอหมุนรอบฉันฉันหมุนรอบเธอ ฯลฯ มีนามปากกาอื่น เช่น สารภี โก๋ ลำลูกกา

ด้านงานเขียน ประภาสมีผลงานเรื่องสั้นนับสิบเรื่อง หนังสือวรรณกรรมเยาวชน นอกจากนั้นยังเป็นผู้ก่อตั้ง นิตยสารไปยาลใหญ่ นิตยสารทางเลือกที่เป็นที่นิยมของวัยรุ่นยุคหนึ่ง และมีผลงานรวมเล่มจากการเขียนบทความ ในคอลัมน์ คุยกับประภาส ใน หนังสือพิมพ์มติชน ซึ่งนับได้ว่าเป็นหนังสือชุดที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงว่าเป็นหนังสือที่มีมุมมองเกี่ยวกับชีวิตและโลกอย่างมีความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก

หนังสือรวมเล่มชุดนิทานล้านบรรทัด เป็นผลงานการเขียนที่ได้รับการพูดถึงมากอีกชุดหนึ่ง หลายเรื่องในหนังสือชุดนี้ได้รับการนำไปผลิตเป็นภาพยนตร์สั้น และหลายเรื่องยังถูกเผยแพร่ในสื่อทางอินเทอร์เน็ต

ประภาส ร่วมกับ ปัญญา นิรันดร์กุล ก่อตั้ง บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด และบริหารร่วมกัน กระทั่งบริษัทเติบโต เป็น บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในปี พ.ศ. 2547 นอกจากบริหารบริษัทแล้ว ยังสร้างสรรค์ผลงานการผลิตรายการโทรทัศน์ ก่อตั้ง กลุ่มกระดาษพ่อ ดินสอแม่ เพื่อเขียนบท ละคร แต่งเพลง และอำนวยการผลิต ละครเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙ ชุด “พ่อ” และที่สำคัญ เนื่องในโอกาสมหามงคล ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในปี พ.ศ. 2549 ประภาส ร่วมกับ บมจ.เวิร์คพอยท์ และ เครือซิเมนต์ไทย จัดทำ สารคดีในรูปแบบใหม่คือ สารคดีดนตรีเล่าเรื่อง ชื่อ "น้ำคือชีวิต" เป็นการถ่ายทอด พระราชกรณียกิจ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในเรื่องของ "น้ำ" ให้พสกนิกรชาวไทยทั่วประเทศ ได้เห็น และตระหนักถึง สิ่งที่ทรงทำ เกี่ยวกับ เรื่องของ "น้ำ" มาโดยตลอด น้ำคือชีวิตเป็นสารคดีทีเล่าด้วยเพลงที่ขับร้องและบรรเลงโดย ศิลปินสามวง คือ คาราบาว เฉลียง และโมเดิร์นด็อก รวมทั้งละครเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ “เหมือนแม่ครึ่งหนึ่งก็พึงใจ” , “ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต” , “ชัยชนะของแม่” ฯลฯ และเป็นผู้คิดค้นรายการที่เป็นต้นฉบับของคนไทย เช่น คุณพระช่วย , อัจฉริยะข้ามคืน , แฟนพันธุ์แท้ , เกมทศกัณฐ์ , สู้เพื่อแม่ , ชิงช้าสวรรค์ ฯลฯ

นอกจากสร้างสรรค์ผลงานการผลิตรายการโทรทัศน์แล้ว ยังแต่งเพลงประจำรายการคุณพระช่วย แต่งเพลงนำเสนอ ศิลปะ วัฒนธรรม ของไทย อาทิ เพลงควายไทย เพลงข้าวเหนียว เพลงรากไทยฯลฯ โดยเฉพาะเพลงประจำรายการ "คุณพระช่วยเชิดชูเมืองไทย" และยังเป็นผู้ก่อตั้ง นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์วงคุณพระช่วยออร์เคสตรา รวมทั้งก่อตั้งบริษัทในเครือขึ้นมาคือ บริษัท กราว จำกัด,บริษัทบ้านอิทธิฤทธิ์ จำกัด ,ค่ายเพลงยุ้งข้าวเรคคอร์ด และก่อตั้งสถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ (ช่องเวิร์คพอยท์) หมายเลข 23

ประภาส ได้สร้างสรรค์บทเพลงอันทรงคุณค่าอีกมากมาย เช่น เพลงประกอบละครเทิดพระเกียรติ และเพลงสำหรับกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติมากมาย เช่น เพลงพ่อ, เพลงผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต, เพลงสารคดีดนตรีเล่าเรื่องน้ำคือชีวิต,เพลงสายใยแห่งรัก,เพลงชัยชนะของแม่,เพลงปั่นจักรยาน ฯลฯ รวมไปถึงแต่งเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ อาทิ เพลงครองแผ่นดินโดยธรรม, เพลงแม่ของแผ่นดิน, เพลงสายน้ำแห่งความหวงแหนแผ่นดิน คือสายใยแห่งรัก ฯลฯ รวมทั้ง แต่งเพลงเฉพาะกิจให้สถาบันต่างๆในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สำนักอัยการสูงสุด กองทัพไทย โรงพยาบาลต่างๆ มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น อิฐก้อนหนึ่ง,ทนายแผ่นดิน,ทหารของแผ่นดิน, มีบางสิ่งบางอย่างนำเรากลับมา, ปณิธานแห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, รวมไปถึงได้แต่งเพลงให้กำลังใจและเตือนใจคนไทยเมื่อเกิดวิกฤติการณ์ขึ้นในประเทศ อาทิ เพลงบ้านเราจะเหมือนเดิม เพลงวันพรุ่งนี้ เพลงคนไทยฟื้นแผ่นดิน

ในเดือนกรกฎาคม 2551 ได้มีคอนเสิร์ตของเพลงที่ประภาสแต่ง ชื่อว่า คอนเสิร์ตเพลงแบบประภาส มีนักร้อง นักดนตรีระดับคุณภาพของเมืองไทยมาร่วมงานมากมาย อาทิ บี พีรพัฒน์ ป้าง นครินทร์ เบน ชลาทิศ เพลิน พรหมแดน เฉลียง เจนนิเฟอร์ คิ้ม เป็นต้น นอกจากใช้วงออเครสตร้าขนาดใหญ่บรรเลงเพลงทั้งคอนเสิร์ตแล้ว ยังนับเป็นคอนเสิร์ตที่ผู้คนในแวดวงดนตรีกล่าวกันว่ามีการนำเสนอเพลงแต่ละเพลงอย่างงดงามและสร้างสรรค์ที่สุดคอนเสิร์ตหนึ่ง และได้มีการจัดคอนเสิร์ตแสดงผลงานเพลงที่ประภาสแต่งขึ้นอีกครั้ง ในชื่อ 'คอนเสิร์ตเพลงประภาส 2' ที่โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ในวันที่ 9 - 11 ตุลาคม 2558 และล่าสุดก็มี "คอนเสิร์ตเพลงประภาส 3" จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2562 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์[1]

ผลงาน แก้

การประพันธ์เพลง แก้

คอนเสิร์ต แก้

บทเพลงของ ประภาส ชลศรานนท์ ถูกนำไปแสดงในคอนเสิร์ตต่างๆ มากมาย

  • คอนเสิร์ตแก้คิดถึง...ฉลองสิบกว่าปีเฉลียง วันที่ 30 เมษายน 2537 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยนำรายได้มอบเพื่อการกุศล
  • คอนเสิร์ตเรื่องราวบนแผ่นไม้ วันที่ 2-3 ธันวาคม 2543 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในครั้งนั้นวงเฉลียงได้เล่นเพลงเรื่องราวบนแผ่นไม้ เพลงประจำคอนเสิร์ตอีกครั้งหนึ่งในตอนท้าย โดยมีประภาส ชลศรานนท์ ผู้แต่ง ร่วมร้องด้วยเป็นครั้งแรก
  • คอนเสิร์ตเหตุเกิด...ที่เฉลียง วันที่ 30 มิถุนายน 2550 ณ อิมแพ็ค อารีนา เมืองทองธานี โดยมีนิยามว่า "ดนตรีบำบัด ถาปัดจัด เฉลียงโชว์" จัดขึ้นเพื่อจัดหารายได้ให้กับสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสนับสนุนด้านการศึกษาของคณะ
  • คอนเสิร์ตเพลงแบบประภาส วันที่ 4-6 กรกฎาคม 2551 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  • คุณพระช่วยสำแดงสด 1 วันที่ 22-23 สิงหาคม 2552 ณ โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์
  • มหัศจรรย์เพลงสุนทราภรณ์ โดยคุณพระช่วย วันที่ 3-4 เมษายน 2553 ณ โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์
  • คุณพระช่วย สำแดงสด 2 ตอน แผ่นดินทอง วันที่ 12-15 สิงหาคม 2553 ณ โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์
  • จำอวดคุณพระ โดยคุณพระช่วย วันที่ 8-27 มีนาคม 2554
  • คอนเสิร์ตผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต วันที่ 12-14 สิงหาคม 2554 ที่โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์
  • คุณพระช่วย สำแดงสด 3 ตอน คุณพระช่วยสำแดงสด 3 ฤดู วันที่ 19-21 ตุลาคม 2555 ที่โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์
  • คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด 4 รวมแผ่นดิน วันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2556 ที่โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์
  • งานมหกรรมโลก The Universal Exhibition Milano 2015, Italy วันที่ 24 สิงหาคม 2558 เพลงไหว้ จากบทประพันธ์ของประภาส ชลศรานนท์ ใช้เป็นบทเพลงประกอบการแสดงบนเวทีในงานซึ่งกำหนดให้เป็นวันชาติไทย
  • คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด 5 ตอน 10 ปี คุณพระช่วย กิน นอน เกิด แต่ง สำแดงวัฒนธรรม วันที่ 25-27 กันยายน 2558 ที่โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ สยามสแควร์วัน
  • คอนเสิร์ตเพลงประภาส 2 วันที่ 9-10-11 ตุลาคม 2558 ที่โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ สยามสแควร์วัน
  • คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด 6 ยกสยาม ยกคน ยกความ ยกธรรม ยกไทย วันที่ 11-14 สิงหาคม 2559 ที่โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ สยามสแควร์วัน
  • คอนเสิร์ตโตโยต้า พรีเซนท์ ปรากฏการณ์เฉลียง วันที่ 17-18 กันยายน 2559 ณ รอยัลพารากอน ฮอลล์
  • OPPO Present mini Concert 'The Mask Singer' วันที่ 2 เมษายน 2560 ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 สยามสแควร์วัน
  • คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด 7 นาคฟ้อนมังกรระบำ วันที่ 11-14 สิงหาคม 2560 ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 สยามสแควร์วัน
  • OPPO Present Concert 'The Mask Singer 2' วันที่ 2-3 กันยายน 2560 ณ ไบเทค บางนา (ฮอลล์ 98)
  • คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด 8 "ฟื้นอโยธยา" วันที่ 10-13 สิงหาคม 2561 ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 สยามสแควร์วัน
  • OPPO Present Concert 'The Mask Singer 3' วันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2561 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์
  • MAZDA PRESENTS คอนเสิร์ตเพลงประภาส 3 วันที่ 19 ตุลาคม 2562 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์

ละครเวที แก้

  • ละครเวทีชายกลาง วันที่ 21-29 กรกฎาคม 2550 ณ เมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์
  • เดอะ เลเจนด์ ออฟ เร่ขายฝัน เฉลียง เดอะ มิวสิคัล วันที่ 15-17 มกราคม 2553 ณ เอ็ม เธียเตอร์
  • โหมโรงเดอะมิวสิคัล วันที่ 4-5, 23-26 , 30 เมษายน และ วันที่ 1-3 พฤษภาคม 2558 ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ สยามสแควร์วัน
  • โหมโรง เดอะมิวสิคัล รีสเตจ วันที่ 6-22 พฤศจิกายน 2558 ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ สยามสแควร์วัน
  • นิทานหิ่งห้อย เดอะมิวสิคัล ละครเวทีร้องเพลงเฉลียง วันที่ 28-29 มกราคม ,4-5 ,11-12 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 สยามสแควร์วัน
  • รองเท้าของพ่อ วันที่ 9 ,11-12, 18-19 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ สยามสแควร์วัน
  • โหมโรง เดอะมิวสิคัล 2561 วันที่ 5-6, 12-13, 19-20, 26 พฤษภาคม และ 2-3 มิถุนายน 2561 ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 สยามสแควร์วัน
ภาพยนตร์
  • เป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ยักษ์ (YAK : The Giant King)
  • เป็นผู้กำกับภาพยนตร์สั้น เรื่อง FEED ได้รับรางวัลแอนิเมชั่นยอดเยี่ยม Best Animated 2014 ในงานเทศกาล Short. Sweet. Film Fest ที่รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา
ภาพเขียน
  • เพราะ'พ่อ' "เพราะสิ่งที่พ่อทำให้เรานั้นมากมาย" นิทรรศการงานศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากในหลวงรัชกาลที่ 9 วันที่ 18 ตุลาคม - 19 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 สยามสแควร์วัน

ผลงานเขียนที่ได้รับการรวมเล่ม แก้

รวมผลงานเรื่องสั้น
  • ขอชื่อสุธีสามสี่ชาติ, พิมพ์ครั้งแรก สำนักศิษย์สะดือ, พ.ศ. 2530
  • สุธีเสมอ , สำนักพิมพ์แม่ขมองอิ่ม, สิงหาคม 2543
  • ห้องครูวิไลตึกใหม่ชั้นสอง , สำนักศิษย์สะดือ, กันยายน 2531
  • สมุดขบ, เวิร์คพอยท์ พับลิชชิง, 2550
  • เขียนแบบถาปัด,สำนักพิมพ์มติชน, พฤษภาคม 2548
  • ใจประทับใจ, สำนักพิมพ์ มติชน 2543
  • เพลงเขียนคนดนตรีเขียนโลก, พิมพ์ครั้งที่ 1 ปีที่พิมพ์ ตุลาคม 2537 สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม , พิมพ์ครั้งที่ 2 ปีที่พิมพ์ มีนาคม 2542 สำนักพิมพ์ กระดาษพ่อดินสอแม่

พิมพ์ครั้งที่ 3 โดยเวิร์คพอยท์พับลิชชิ่ง; กรกฎาคม 2551 ใช้ชื่อ เพลงเขียนคน ดนตรีเขียนโลก ฉบับ 2551

วรรณกรรมเยาวชน
รวมบทความจากคอลัมน์ คุยกับประภาส
  • คุยกับประภาส , สำนักพิมพ์กระดาษพ่อดินสอแม่, 2542
  • ตัวหนังสือคุยกัน , สำนักพิมพ์แม่ขมองอิ่ม, มีนาคม 2543
  • กบเหลาดินสอ เก็บถาวร 2012-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , สำนักพิมพ์มติชน, สิงหาคม 2544
  • มะเฟืองรอฝาน , สำนักพิมพ์มติชน, กรกฎาคม 2545
  • เชือกกล้วยมัดต้นกล้วย , สำนักพิมพ์มติชน, กันยายน 2546
  • ยอดมนุษย์ลำลอง , เวิร์คพอยท์ พับลิชชิง, ตุลาคม 2547
  • เท่าดวงอาทิตย์ , เวิร์คพอยท์ พับลิชชิง, กันยายน 2548
  • แมงกะพรุนถนัดซ้าย เก็บถาวร 2013-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เวิร์คพอยท์ พับลิชชิง, 2549
รวมผลงานบทเพลง
  • เพลงเขียนคน ดนตรีเขียนโลก เรียบเรียงโดย สมชัยพหลกุลบุตร , ณ บ้านวรรณกรรม, ตุลาคม 2537
รวมบทสัมภาษณ์
  • เหมือนไขมัน, อะบุค พับลิชชิง, มีนาคม 2543
  • หลังตู้เย็น, เวิร์คพอยท์ พับลิชชิง, ตุลาคม 2547
บทละคร
  • วัคซีน, สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, กุมภาพันธ์ 2542
  • เหมือนแม่ครึ่งหนึ่งก็พึงใจ, สำนักพิมพ์ฤดูร้อน, ตุลาคม 2542
  • ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต, เวิร์คพอยท์ พับลิชชิง, ธันวาคม 2547
  • พ่อ - วัคซีน ,สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย 2542

รางวัล แก้

รางวัลเกียรติยศ แก้

  • รางวัลผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดีเด่นจากกระทรวงวัฒนธรรม ในงานประกาศผลรางวัล “คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่3” พ.ศ. 2549
  • รางวัลสื่อมวลชนดีเด่น รายการสารคดีดนตรีเล่าเรื่อง “น้ำคือชีวิต” พ.ศ. 2550
  • รางวัลบุคคลเบื้องหลังแห่งปี Nine Entertain Awards 2009 พ.ศ. 2552
  • รางวัลพิเศษ SEED HALL OF FAME รางวัลสำหรับศิลปินคุณภาพระดับตำนานที่สร้างผลงานต่อเนื่อง และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ฟังได้มีความหวัง สร้างฝันให้กับผู้คน ประสบความสำเร็จสูงสุดและยาวนาน จัดโดย คลื่นซี้ด 97.5 เอฟเอ็ม พ.ศ. 2554
  • รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น จากสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. 2558
  • รางวัลเกียรติยศคนทีวี ในงานประกาศรางวัลโทรทัศน์ทองคำ พ.ศ. 2559
  • รางวัล Lifetime Achievement รางวัลเกียรติยศมอบให้กับผู้คร่ำหวอดในวงการดนตรีทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง และสร้างคุณูปการให้กับวงการเพลงของไทย ในงานประกาศรางวัล The Guitar Mag Awards 2016 พ.ศ. 2559
  • ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2561 สาขาศิลปะการแสดง ประเภทดนตรีสากลและนาฏศิลป์สากล (ผู้สร้างสรรค์งานบันเทิงและดนตรีไทยสากล)

รางวัลผลงานเพลง แก้

  • รางวัลมิวสิควีดีโอดีเด่น เพลง “เร่ขายฝัน” วงเฉลียง พ.ศ. 2530
  • รางวัลสีสันอวอร์ดส์ เพลงยอดเยี่ยม “โลกา-โคม่า” พ.ศ. 2532
  • รางวัลสีสันอวอร์ดส์ รางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยม “ตะไคร่น้ำสุด ขอบฟ้า” พ.ศ. 2532
  • รางวัล B.A.D.(Bangkok Art Director)Awards ในงาน BANGKOK ART DIRECTORS’ASSOCIATION AWARDS 1992 จาก มิวสิกวิดีโอ เพลง เร่ขายฝัน
  • เครื่องหมายความสามารถในการเหินเวหากิตติมศักดิ์ กองทัพอากาศมอบให้เพื่อเป็นการขอบคุณในการแต่งและจัดทำเพลง “อัลบั้มเฉลิมฉลอง 90ปีกองทัพอากาศ” พ.ศ. 2547
  • รางวัลพิเศษ “Life Time Achievement 2005” (ไลฟ์ ไทม์ แอคชีพเมนท์) รางวัลเชิดชูเกียรติบุคคลที่ประสบความสำเร็จ และมีคุณูปการต่อวงการดนตรีไทย ในงาน“Fat Awardsครั้งที่ 3” จัดโดยคลื่น 104.5 แฟตเรดิโอ พ.ศ. 2548
  • รางวัลสีสันอวอร์ดส์ เพลงยอดเยี่ยม “นาฬิกา” พ.ศ. 2552
  • รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ในโครงการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) กระทรวงวัฒนธรรม “เพลงควายไทย” พ.ศ. 2553
  • รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ในโครงการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) กระทรวงวัฒนธรรม “เพลงบ้านเราจะเหมือนเดิม” พ.ศ. 2554
  • รางวัลชมเชยการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ในโครงการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) กระทรวงวัฒนธรรม “เพลงคนไทยฟื้นแผ่นดิน”
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ รางวัลเพลงละครดีเด่น เพลง “สิ่งลึกลับซับซ้อนในจักรวาล” เพลงประกอบซิทคอม “คัพเค้กรักล้นครีม” พ.ศ. 2558
  • รางวัลชนะเลิศ การประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ในโครงการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) กระทรวงวัฒนธรรม “เพลงวันพรุ่งนี้” พ.ศ. 2558
  • รางวัลชนะเลิศ การประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ในโครงการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) กระทรวงวัฒนธรรม “เพลงฉันรักเพลงลูกทุ่ง” พ.ศ. 2566

รางวัลผลงานโทรทัศน์ แก้

  • รางวัลเมขลา ผู้เขียนบทโทรทัศน์ดีเด่น ละครเรื่อง “เทวดาตกสวรรค์” พ.ศ. 2529
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้กำกับบทละครโทรทัศน์ดีเด่น เรื่อง “เทวดาตกสวรรค์” พ.ศ. 2529
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ละครสะท้อนสังคมชุดดีเด่น เรื่อง “เทวดาตกสวรรค์” พ.ศ. 2529
  • ASIAN TELEVISION AWARDS 1999 รางวัลละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ละครชุด “พ่อ” ละครเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พ.ศ. 2542
  • ASIAN TELEVISION AWARDS 2000 รางวัล WINNER ประเภท BEST GAME OR QUIZ PROGRAMME รายการ “เกมจารชน” พ.ศ. 2543
  • รางวัลเมขลา รายการแข่งขัน ชิงรางวัลดีเด่น รายการแฟนพันธุ์แท้ พ.ศ. 2544
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ รายการเกมโชว์ดีเด่น รายการ “แฟนพันธุ์แท้” พ.ศ. 2544
  • รางวัลเมขลา รายการแข่งขันชิงรางวัลดีเด่น รายการ “แฟนพันธุ์แท้” พ.ศ. 2545
  • ASIAN TELEVISION AWARDS 2003 รางวัล WINNER ประเภท BEST GAME OR QUIZ PROGRAMME รายการ “แฟนพันธุ์แท้” พ.ศ. 2546
  • รางวัลแมกซีมิเลี่ยนอวอร์ด ( Maximillion Awards ) รางวัลทรงเกียรติซึ่งสื่อมวลชนคาทอลิกประเทศโปแลนด์ มอบให้เป็นกรณีพิเศษครั้งแรกในระดับเอเชีย ละครเทิดพระคุณแม่ เรื่อง “ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต” พ.ศ. 2547
  • รางวัลแม่ดีเด่น โดยคุณแม่พร ชลศรานนท์ คุณแม่ของประภาส ชลศรานนท์ ได้รับรางวัลประเภทแม่ของผู้ทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ พ.ศ. 2547
  • รางวัลจากคณะกรรมมาธิการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร รายการที่มีคุณค่าต่อศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมไทย รายการ “ คุณพระช่วย” พ.ศ. 2548
  • โล่ประกาศเกียรติคุณพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รายการส่งเสริมสถาบันครอบครัวดีเด่น รายการ “สู้เพื่อแม่” พ.ศ. 2548
  • ASIAN TELEVISION AWARDS 2005 รางวัล WINNER ประเภท BEST GAME OR QUIZ PROGRAMME รายการ “กล่องดำ” พ.ศ. 2548
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ปกิณกะดีเด่น รายการ “ชิงช้าสวรรค์” พ.ศ. 2548
  • โล่เกียรติคุณจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้ให้การสนับสนุนกิจกรรมของสภาสังคมสงเคราะห์ฯ ในโอกาสวันน้อมเกล้าฯ พ.ศ. 2548
  • รางวัลสื่อมวลชนดีเด่น รายการพิเศษวันแม่ ชุด “ ชัยชนะของแม่” พ.ศ. 2549
  • รางวัลสื่อมวลชนดีเด่น รายการ “คุณพระช่วย” พ.ศ. 2549
  • ASIAN TELEVISION AWARDS 2006 รางวัล WINNER ประเภท BEST CHILDREN’S PROGRAMME รายการ “เกมทศกัณฐ์เด็ก” พ.ศ. 2549
  • รางวัลลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่ จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ พ.ศ. 2549
  • รางวัลผู้มีคุณธรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เป็นแบบอย่างของพุทธศาสนิกชนที่ดี เนื่องในวันมาฆบูชา พ.ศ. 2552
  • โล่เกียรติยศพระราชทาน บุคคลผู้เป็นตัวอย่างแก่เยาวชน ในงานวันเยาวชน วันที่ 20 กันยายน 2552
  • รางวัลเกียรติคุณ “คนดีศรีสยาม” ในโครงการเฉลิมพระเกียรติองค์ราชัน รัฐ ราษฎร์ รวมใจภักดิ์ รักสามัคคี ถวายความดี เพื่อพ่อหลวง พ.ศ. 2555
  • รางวัลเกียรติคุณ “คนดีศรีสยาม” ในโครงการเฉลิมพระเกียรติองค์ราชัน รัฐ ราษฎร์ รวมใจภักดิ์ รักสามัคคี ถวายความดี เพื่อพ่อหลวง พ.ศ. 2557

รางวัลผลงานภาพยนตร์ แก้

  • รางวัลผลงานสร้างสรรค์แห่งปี Nine Entertain Awards 2013 จากภาพยนตร์แอนนิเมชั่น “ยักษ์” พ.ศ. 2556
  • รางวัลชนะเลิศ Best Animated 2014 หรือ ภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม 2014 เรื่อง FEED จากงานเทศกาล Short. Sweet. Film Fest เทศกาลประกวดภาพยนตร์ ประเภทภาพยนตร์สั้น รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2557

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ข้อมูลผลงานที่ได้รับรางวัลในเว็บไซต์เวิร์คพอยท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-04. สืบค้นเมื่อ 2016-09-01.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒๔๐, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้