เคแบงก์สยามพิฆเนศ

โรงละครในประเทศไทย ของเวิร์คพอยท์

โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ (อังกฤษ: KBank Siam Pic-Ganesha) เป็นโรงละครที่สร้างขึ้นโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ร่วมทุนกับธนาคารกสิกรไทย สำหรับแสดงละครเวทีและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งของเวิร์คพอยท์เองและศิลปินอื่น ๆ ตั้งอยู่บริเวณชั้น 7 ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ความจุ 1,069 ที่นั่ง นับว่าเป็นโรงละครเอกชนที่มีจำนวนที่นั่งมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองจากเมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ และโรงละครกาดสวนแก้ว

โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ
สยามพิฆเนศ
ชื่อเดิมสยามพิฆเนศ
ที่อยู่ชั้น 7 ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย
ชนิดโรงละครในร่ม
เปิดใช้9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เจ้าของบริษัท สยามพิฆเนศ จำกัด (ในเครือ เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ร่วมทุนกับธนาคารกสิกรไทย)
ความจุ1,069 ที่นั่ง
เว็บไซต์เว็บไซต์โรงละคร

ประวัติ แก้

เคแบงก์สยามพิฆเนศ เป็นโรงละครที่สร้างขึ้นโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และมีธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้สนับสนุนหลัก สร้างขึ้นบนพื้นที่ชั้น 7 ของอาคารศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน เพื่อให้บุคคลที่มีความสามารถทางด้านศิลปวัฒนธรรมในประเทศไทยได้ใช้เพื่อส่งเสริมการแสดงศิลปวัฒนธรรมทั้งไทยและต่างประเทศออกมาในรูปแบบการแสดงหลากหลายประเภท

ในเบื้องต้น สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าว โดยใช้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Workpoint Center ซึ่งจะประกอบไปด้วยส่วนโรงละคร และส่วนสตูดิโอถ่ายทำรายการของช่องเวิร์คพอยท์เท่านั้น แต่ภายหลังได้ปรับปรุงรูปแบบโครงการใหม่ทั้งหมดและก่อสร้างเป็นโรงละครขนาดใหญ่รวมถึงได้กำหนดชื่ออย่างเป็นทางการว่า สยามพิฆเนศ ซึ่งมาจากคำสองคำ คือ "สยาม" อันหมายถึง นามเดิมของประเทศไทย, สยามสแควร์ ย่านที่ตั้งของศูนย์การค้า, ชื่อศูนย์การค้าที่เป็นที่ตั้งของโรงละคร และ "พิฆเนศ" ซึ่งเป็นหนึ่งในสร้อยพระนามเมื่อครั้งทรงดำรงพระยศ "กรมหมื่น" (กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ) ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ที่ตั้งของโครงการ อีกทั้งยังเป็นนามของเทพแห่งศิลปวิทยาการอีกด้วย ต่อมาในช่วงเปิดตัวโรงละครอย่างเป็นทางการได้เปลี่ยนชื่อเป็น เคแบงก์สยามพิฆเนศ ตามชื่อผู้สนับสนุนหลัก

พิธีเปิดโรงละครอย่างไม่เป็นทางการ จัดขึ้นในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 โดยใช้ตัวโรงละครเป็นสถานที่จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวละครเวที โหมโรง เดอะ มิวสิคัล และยังได้ครูเสนาะ หลวงสุนทร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ลูกศิษย์ของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ขึ้นมาบรรเลงระนาดเอกในเพลงสาธุการ และ แสนคำนึง เพื่อเป็นการทดสอบระบบเสียงภายในโรงละครเบื้องต้น ส่วนพิธีเปิดอย่างเป็นทางการมีขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ปีเดียวกัน โดยมีปัญญา นิรันดร์กุล ประธานบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทย ร่วมเป็นประธานในพิธี[1]

การจัดสรรพื้นที่ แก้

โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศมีการแบ่งพื้นที่จัดสรรดังนี้

  • โถงต้อนรับ ประกอบด้วย
    • ล็อบบี้ สเปช - ห้องโถงรับรองขนาดใหญ่ โดยรองรับการจัดกิจกรรม และนิทรรศการภายในพื้นที่ มีพื้นที่ทั้งหมด 367 ตารางเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
      • สเปช เอ (โถงเพดานสูง) - ตั้งอยู่ด้านหน้าทางขึ้น เดอะ ฟลอยเยอร์ ติดทางขึ้นจากส่วนหน้าชั้น 6 และลิฟต์แก้วของศูนย์การค้า เป็นที่ตั้งของจอ LED ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมด 204 ตารางเมตร
      • สเปช บี (โถงเพดานต่ำ) - ตั้งอยู่ด้านหน้าทางขึ้น เดอะ เพลย์เฮาส์ ติดจากส่วนสเปช เอ มีพื้นที่ทั้งหมด 163 ตารางเมตร
    • จุดบริการของไทยทิกเก็ตเมเจอร์
    • เคแบงก์เธียเตอร์คาเฟ่ โดย ไฮด์
  • โรงละคร ประกอบด้วย
    • เดอะ ฟอยเยอร์ - ห้องโถงรับรองขนาดใหญ่ก่อนเข้าสู่ตัวโรงละคร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) และยังเป็นที่ตั้งของจอ LED สำหรับแสดงรอบกิจกรรมของทั้งโรงละคร เดอะ เธียเตอร์ และ เดอะ เพลย์เฮาส์ มีพื้นที่รวมทั้งหมด 252 ตารางเมตร
    • เดอะ เธียเตอร์ - เป็นโรงละครแบบโพรซีเนียมขนาดใหญ่แบบเดียวกับเมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ความจุ 1,069 ที่นั่ง (ชั้นล่าง 698 ที่นั่ง ชั้นบน 355 ที่นั่ง รวม VIP Box อีก 16 ที่นั่ง)
    • เดอะ เพลย์เฮาส์ - เป็นโรงละครขนาดเล็กพื้นเรียบ ความจุ 200 ที่นั่ง รองรับการแสดง จัดการสัมมนา ประชุม การแสดงละคร และกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งยังสามารถดัดแปลงเป็นห้องประชุมสัมมนา และการสาธิตนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อีกด้วย
    • เดอะ สตูดิโอ - เป็นห้องเอนกประสงค์พื้นเรียบขนาด 84 ตารางเมตร ความจุ 40 ที่นั่ง รองรับการแสดงละครในรูปแบบโรงเล็กกลุ่มย่อย ห้องซ้อมละคร การประชุมสัมมนา หรือการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่จำกัดผู้เข้าร่วมงาน

กิจกรรมและการแสดงที่ผ่านมา แก้

พ.ศ. 2558 แก้

พ.ศ. 2559 แก้

หมายเหตุ: มีการยกเลิกการแสดงในวันสุดท้าย (19 มิถุนายน พ.ศ. 2559) โดยผู้จัดแสดงความรับผิดชอบกับผู้ที่จองบัตรตั้งแต่เดือนมีนาคมและชำระเงินค่าบัตรเข้าชมซึ่งมีราคาตั้งแต่ 1,500 บาทขึ้นไป ในส่วนของผู้แสดงมายากล Cyril แจ้งกับผู้รอเข้าขมการแสดงว่าเขาต้องขอระงับการแสดงเนื่องจากเห็นว่าสถานที่จัดการแสดงไม่มีความปลอดภัยเพียงพอทั้งในส่วนของผู้แสดงและผู้เข้าชม จึงตัดสินใจยกเลิกการแสดง

  • ก๊วนคานทอง Love Game the Musical (22-31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559)
  • คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด ๖ ยกสยาม (11-14 สิงหาคม พ.ศ. 2559)
  • TEDxBangkok 2016 (20 สิงหาคม พ.ศ. 2559)
  • TEDxChulalongkornU 2016 (4 กันยายน พ.ศ. 2559)
  • 10 ปีนิ้วกลม ทอล์กโชว์ไม่มีขา (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559)

พ.ศ. 2560 แก้

พ.ศ. 2561 แก้

  • Education Disruption Conference & Hackathon โดย Disrupt Thailand (30 มีนาคม - 1 เมษายน พ.ศ. 2561)
  • โหมโรง เดอะ มิวสิคัล 2561 (5 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561)
  • #ThailandforAttapeu คอนเสิร์ตการกุศลช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว. ด้วยความรัก และห่วงใยจากพี่น้องชาวไทย โดย BNK48 (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561)
  • คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด ๘ ฟื้นอโยธยา (10 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561)
  • บุปผาราตรี เกือบจะมิวสิคัล (20 ตุลาคม - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561)
  • คอนเสิร์ต BNK48 D-DAY Jiradapa Produced Concert จัดขึ้นโดยวง BNK48 (23 ตุลาคม พ.ศ. 2561)

พ.ศ. 2562 แก้

  • คอนเสิร์ต Kaew's First Solo Concert : A Passage to Fly จัดขึ้นโดยวง BNK48 (7-8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • ละครเวที ชายกลาง The Musical (25 พฤษภาคม - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2562)
  • คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด ๙ รัตนโกสินทร์เรืองรอง (9 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562)
  • ละครเวที A Message From an Emperor จัดขึ้นโดย Bangkok International Artists Guild (15-17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)
  • งาน Autumn of IDOL 2019 จัดขึ้นโดย Siamdol (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)
  • A KATANYU 2019 PRESENTS BULLY PLANET (16-17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)
  • Kyle Dixon & Michael Stein performing Stranger Things music จัดขึ้นโดย HAVE YOU HEARD? (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)
  • คอนฯ สู่เหย้าชาวคณะ Friday 22 ปี ยินดีที่ได้รู้จัก จัดขึ้นโดยวง ฟรายเดย์ (14-15 ธันวาคม พ.ศ. 2562)
  • Siamdol Christmas Live Party (ตั้งแต่ 11:30 น.) และ W. 1st One-man Live in Bangkok 2019 (ตั้งแต่ 17:30 น.) จัดขึ้นโดย Siamdol (21 ธันวาคม พ.ศ. 2562)
  • Mimigumo 1st Fanmeet "Secret of Mimigumo" จัดขึ้นโดยวง BNK48 (21-22 ธันวาคม พ.ศ. 2562)

พ.ศ. 2563 แก้

พ.ศ. 2565 แก้

  • งานประกาศผลรางวัล โทตี้มิวสิกอวอร์ดส์ 2021 (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565)
  • ละครเวที สุนทราภรณ์ เพลงรักเพลงแผ่นดิน โดย เพลงเอก (12-14 สิงหาคม พ.ศ. 2565)
  • ละครเวที สุนทราภรณ์ เพลงรักเพลงแผ่นดิน โดย เพลงเอก Restage (3-5 ธันวาคม พ.ศ. 2565)

พ.ศ. 2566 แก้

อ้างอิง แก้

  1. "เวิร์คพอยท์ร่วมกสิกรไทยได้ฤกษ์เบิกโรงละคร "สยามพิฆเนศ"". บริษัท มาร์เก็ตเทียร์ จำกัด. 2013-03-31. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°44′42″N 100°32′02″E / 13.744936°N 100.533785°E / 13.744936; 100.533785