ฟุตบอลทีมชาติอิรัก
ฟุตบอลทีมชาติอิรัก (อาหรับ: منتخب العراق لكرة القدم) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของสาธารณรัฐอิรัก อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสมาคมฟุตบอลอิรัก (IFA) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1948 และได้เข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกของฟีฟ่า ในปี 1950 จากนั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ในปี 1970 และเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก (WAFF) ในปี 2000
![]() | ||||
ฉายา | สิงโตแห่งเมโสโปเตเมีย สิงโตแห่งสองแม่น้ำ (ในภาษาไทย) | |||
---|---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลอิรัก (IFA) | |||
สมาพันธ์ย่อย | WAFF (เอเชียตะวันตก) | |||
สมาพันธ์ | เอเอฟซี (เอเชีย) | |||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | Jesús Casas | |||
กัปตัน | ซะอัด อับดุลอะมีร | |||
ติดทีมชาติสูงสุด | ยูนิส มะห์มูด (148) | |||
ทำประตูสูงสุด | ฮุสซัยน์ ซะอีด (78) | |||
สนามเหย้า | สนามกีฬานานาชาติบัสรา | |||
รหัสฟีฟ่า | IRQ | |||
| ||||
อันดับฟีฟ่า | ||||
อันดับปัจจุบัน | 68 ![]() | |||
อันดับสูงสุด | 39 (6 ตุลาคม ค.ศ. 2004) | |||
อันดับต่ำสุด | 139 (3 กรกฎาคม ค.ศ. 1996) | |||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | ||||
![]() ![]() (เบรุต ประเทศเลบานอน; 19 ตุลาคม ค.ศ. 1957) | ||||
ชนะสูงสุด | ||||
![]() ![]() (อิรบิด ประเทศจอร์แดน; 18 สิงหาคม ค.ศ. 1992) | ||||
แพ้สูงสุด | ||||
![]() ![]() (อาดานา ประเทศตุรกี; 6 ธันวาคม ค.ศ. 1959) ![]() ![]() (มัลเมอ ประเทศสวีเดน; 11 ตุลาคม ค.ศ. 2012) ![]() ![]() (โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก; 14 สิงหาคม ค.ศ. 2013) | ||||
ฟุตบอลโลก | ||||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 1986) | |||
ผลงานดีที่สุด | รอบกลุ่ม (1986) | |||
เอเชียนคัพ | ||||
เข้าร่วม | 9 (ครั้งแรกใน 1972) | |||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (2007) | |||
อาหรับคัพ | ||||
เข้าร่วม | 6 (ครั้งแรกใน 1964) | |||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1964, 1966, 1985, 1988) | |||
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันตก | ||||
เข้าร่วม | 7 (ครั้งแรกใน 2000) | |||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (2002) | |||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | ||||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 2009) | |||
ผลงานดีที่สุด | รอบกลุ่ม (2009) | |||
เกียรติยศ |
ทีมชาติอิรักถือว่าเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จอย่างมากชาติหนึ่งในกลุ่มประเทศแถบอาหรับ เคยเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก 4 ครั้ง (1980,1984,1988,2004) โดยผลงานดีที่สุดของทีมชาติอิรักในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกคือการคว้าอันดับ 4 ในโอลิมปิก 2004 ที่ประเทศกรีซ และเคยผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 1 ครั้ง ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1986 ที่ประเทศเม็กซิโก
สำหรับผลงานในระดับทวีปเอเชียนั้นทีมชาติอิรักเคยได้เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 1982 ที่กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย และสามารถสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์เอเชียนคัพ ซึ่งเป็นรายการใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียได้ 1 สมัย ในปี 2007
ส่วนในการแข่งขันในระดับภูมิภาค ทีมชาติอิรักเคยชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียตะวันตก ในปี 2002 รวมถึงคว้าแชมป์ฟุตบอลรายการ อาหรับ เนชันส์คัพ ได้ถึง 4 สมัย (ปี 1964,1966,1984,1988)
นอกจากนี้ทีมชาติอิรักยังเคยได้รับเลือกจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ให้เป็นทีมชาติยอดเยี่ยมประจำทวีปเอเชียถึง 2 ครั้ง (ปี 2003 และ 2007) โดยเป็นชาติเดียวในเอเชียตะวันตกที่เคยได้รับรางวัลนี้
ประวัติแก้ไข
ยุคแรกแก้ไข
อิรักลงแข่งขันฟุตบอลในระดับชาติครั้งแรกกับทีมชาติโมร็อกโก โดยแข่งขันกันที่ประเทศเลบานอน ในปี ค.ศ. 1957 ซึ่งเสมอกันไป 3–3 จากนั้นได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกเป็นครั้งแรก ในการคัดเลือกฟุตบอลโลก 1974
ยุค 1970–1980 ถือเป็นยุครุ่งเรืองของวงการฟุตบอลในประเทศอิรัก โดยอิรักสามารถผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ในฟุตบอลโลก 1986 ที่สหรัฐเม็กซิโก และผ่านเข้าไปเล่นในโอลิมปิก 3 ครั้งติดต่อกันในโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 ที่กรุงมอสโก สหภาพโซเวียต, โอลิมปิกฤดูร้อน 1984 ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกาและโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 ที่กรุงโซล เกาหลีใต้
นอกจากนี้อิรักยังคว้าแชมป์เอเชียนเกมส์ 1982 , แชมป์อาหรับเนชันส์คัพ 4 สมัย ,แชมป์กัลฟ์คัพ 3 สมัย และคว้าอันดับ 4 ในเอเชียนคัพ 1976
ฟุตบอลโลก 1986แก้ไข
ในฟุตบอลโลก 1986 รอบคัดเลือกรอบสุดท้าย โซนเอเชีย อิรักต้องแข่งขันกับทีมชาติซีเรีย โดยนัดแรกที่ดามัสกัสทั้งสองทีมเสมอกันไป 0–0 และนัดที่สองที่เมืองทาอิฟ อิรักสามารถเอาชนะไป 3–1 และผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ในฟุตบอลโลก 1986 อิรักลงเล่นภายใต้การคุมทีมของ เอวาริสตู เดอ มาเชดู อดีตกองหน้าทีมชาติบราซิล ที่เคยค้าแข้งกับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาและเรอัลมาดริด โดยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มบี ร่วมกับทีมชาติปารากวัย, ทีมชาติเบลเยียม และทีมชาติเม็กซิโก โดยอิรักลงเล่นฟุตบอลโลกนัดแรกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ.1986 ด้วยการแพ้ทีมชาติปารากวัย 1–0 ที่สนามเนเมซิโอ ดิเอซ เมืองโตลูกา และมายิงประตูในฟุตบอลโลกได้เป็นครั้งแรกในการแข่งขันนัดที่สองที่แพ้ให้กับทีมชาติเบลเยียม 1–2 โดย อาเหม็ด รอฎีย์ ได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้ยิงประตูแรกและประตูเดียวให้กับทีมชาติอิรักได้ในฟุตบอลโลก จากนั้นทีมชาติอิรักได้ลงแข่งนัดสุดท้ายในรอบแบ่งกลุ่มกับเจ้าภาพอย่างเม็กซิโก และแพ้ไป 1–0 ตกรอบไปในที่สุด
ยุคมืด (1990-99)แก้ไข
ในช่วงยุครัฐบาลซัดดัม ฮุสเซน นั้น ทีมชาติอิรักควบคุมโดยลูกของประธานาธิบดีซัดดัม คือ อูเดย์ ฮุสเซน โดยภายใต้การควบคุมนั้น จะมีการลงโทษและข่มขู่อย่างแรง ไม่ว่าจะโดนให้ตัดขาถ้าขาดซ้อม หรือจับขังคุก เตะลูกบอลเหล็ก รวมไปถึงถูกเฆี่ยนด้วยแส้ด้วยไฟฟ้า ซึ่งการลงโทษนี้รวมไปถึง นักฟุตบอลที่ยิงลูกจุดโทษพลาดในการแข่งขันนัดสำคัญ [2] ซึ่งภายหลังจากที่ประเทศถูกคุมคามจากสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 2546 ทีมชาติได้มีผู้จัดการคนใหม่เข้ามา คือ อัดนัน ฮามัด ซึ่งมีผลงานทำให้ทีมชาติอิรัก ผ่านรอบคัดเลือกในการแข่งขัน โอลิมปิก 2004 โดยชนะ ทีมชาติคอสตาริกา ทีมชาติโปรตุเกส และทีมชาติออสเตรเลีย โดยได้อันดับที่ 4 ในการแข่งขัน
ผู้เล่นแก้ไข
ผู้เล่นชุดปัจจุบันแก้ไข
ผู้เล่น 23 คนด้านล่างนี้ถูกเรียกตัวไปเข้าแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2022 ต่อซีเรียในวันที่ 29 มีนาคม ตามลำดับ[3]
จำนวนการลงเล่นและได้ประตูอยู่ในช่วงวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2022 หลังการแข่งขันกับซีเรีย
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
12 | GK | ญะลาล ฮะซัน | 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 | 61 | 0 | อัซเซารออ์ |
20 | GK | มุฮัมมัด ฮะมีด | 24 มกราคม ค.ศ. 1993 | 37 | 0 | อัลกะฮ์เราะบาอ์ |
2 | DF | อะห์มัด อิบรอฮีม | 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 | 118 | 5 | อัลกุวะตุลญะวียะฮ์ |
3 | DF | มุศเฏาะฟา มุฮัมมัด | 14 มกราคม ค.ศ. 1998 | 16 | 0 | อัลกุวะตุลญะวียะฮ์ |
4 | DF | อับบาส กอซิม | 15 มกราคม ค.ศ. 1991 | 3 | 0 | อัซเซารออ์ |
5 | DF | อะลี ฟาอิซ | 9 กันยายน ค.ศ. 1994 | 38 | 3 | อัลกอดิซียะฮ์ |
6 | DF | มะนาฟ ยูนิส | 24 ตุลาคม ค.ศ. 2002 | 8 | 0 | อัลกัรค์ |
15 | DF | ฎุรฆอม อิสมาอีล | 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 | 63 | 4 | อัลกุวะตุลญะวียะฮ์ |
22 | DF | ฮะซัน รออิด | 23 กันยายน ค.ศ. 2000 | 10 | 0 | อัลกุวะตุลญะวียะฮ์ |
23 | DF | มุฮะนัด ญะอาซ | 10 เมษายน ค.ศ. 1997 | 4 | 0 | ฮัมมาร์บี |
7 | MF | ชีรกู กะรีม | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1996 | 15 | 1 | อัรบีล |
8 | MF | อิบรอฮีม บายิช | 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 | 28 | 3 | อัลกุวะตุลญะวียะฮ์ |
10 | MF | ญัสติน มีรอม | 4 ธันวาคม ค.ศ. 1988 | 37 | 4 | รีลซอล์ตเลก |
11 | MF | ฮะซัน อับกุลกะรีม | 1 มกราคม ค.ศ. 1999 | 6 | 1 | อัลกัรค์ |
13 | MF | บะชาร เราะซัน | 22 ธันวาคม ค.ศ. 1996 | 52 | 3 | กาตาร์ |
14 | MF | อัมญัด อัฏวาน | 12 มีนาคม ค.ศ. 1997 | 62 | 1 | อัชชะมาล |
17 | MF | มุฮัมมัด อะลี อับบูด | 1 ตุลาคม ค.ศ. 2000 | 8 | 0 | อัลกุวะตุลญะวียะฮ์ |
19 | MF | ฮุสซัยน์ อะลี | 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996 | 42 | 5 | CS Sfaxien |
20 | MF | ซีดาน อิกบาล | 27 เมษายน ค.ศ. 2003 | 2 | 0 | ชุดสำรองของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด |
21 | MF | ซะอัด อับดุลอะมีร | 19 มกราคม ค.ศ. 1992 | 84 | 4 | อัซเซารออ์ |
9 | FW | อะลาอ์ อับบาส | 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 | 24 | 4 | อัลกุวะตุลญะวียะฮ์ |
16 | FW | มุฮันนัด อับดุรเราะฮีม | 22 กันยายน ค.ศ. 1993 | 50 | 11 | นัฟฏุลวะซัฏ |
18 | FW | อัยมัน ฮุซัยน์ | 22 มีนาคม ค.ศ. 1996 | 51 | 9 | อุมม์เศาะลาล |
ชุดแข่งขันแก้ไข
ช่วงปี | ผู้สนับสนุน |
---|---|
1984–1986 | อัมโบร |
1986–1994 | อาดิดาส |
1996 | พูมา |
2004–2005 | แจ็ค แอนด์ โจนส์ |
2006 | อาดิดาส |
2007 | อัมโบร |
2008–2014 | พีค |
2014 | อาดิดาส |
2014–2019 | จาโค |
2019–2020 | Givova |
2020–2022[4] | อัมโบร |
2022– | จาโค |
ผลงานแก้ไข
- ตัวหนา คือผลงานที่ดีที่สุดในรายการนั้นๆ
ฟุตบอลโลกแก้ไข
- 1930 ถึง 1970 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1974 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1978 - ถอนตัว
- 1982 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1986 - รอบแรก
- 1990 ถึง 2022 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
เอเชียนคัพแก้ไข
- 1956 ถึง 1968 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1972 - รอบแรก
- 1976 - อันดับ 4
- 1980 ถึง 1992 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1996 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
- 2000 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
- 2004 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
- 2007 - ชนะเลิศ
- 2011 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
- 2015 - อันดับ 4
- 2019 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
เอเชียนเกมส์แก้ไข
- 1951 ถึง 1970 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1974 - รอบแรก
- 1978 - อันดับ 4
- 1982 - เหรียญทอง
- 1986 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
- 1990 ถึง 2002 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 2006 - เหรียญเงิน
- 2010 - ถูกแบน
- 2014 - เหรียญทองแดง
- 2018 - ถูกแบน
เวสต์เอเชียนฟุตบอลเฟเดอเรชันแชมเปียนชิพแก้ไข
- 2000 - อันดับ 3
- 2002 - ชนะเลิศ
- 2004 - อันดับ 4
- 2007 - รองชนะเลิศ
- 2008 - ถอนตัว
- 2010 - รอบรองชนะเลิศ
- 2012 - รองชนะเลิศ
อาหรับเนชันส์คัพแก้ไข
อดีตผู้เล่นคนสำคัญแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 22 ธันวาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2022.
- ↑ ข่าวทีมชาติอิรัก "ฟุตบอลในอิรักเป็นเรื่องของความเป็นความตาย" (อังกฤษ)
- ↑ https://twitter.com/IraqiProPlayers/status/1505122482440835072[URL เปล่า]
- ↑ "Umbro X Iraq Football Association". umbro.com. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ฟุตบอลทีมชาติอิรัก |