สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ (อังกฤษ: Port F.C.) เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย โดยได้เข้ามาร่วมเล่นใน ไทยลีก ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งในอดีตสโมสรนี้มีชื่อว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย, การท่าเรือไทย และ สิงห์ท่าเรือ
![]() | ||||
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | สิงห์เจ้าท่า | |||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2510 | |||
สนาม | แพตสเตเดียม | |||
ความจุ | 8,000 ที่นั่ง | |||
เจ้าของ | บริษัท การท่าเรือ เอฟซี จำกัด | |||
ประธาน | นวลพรรณ ล่ำซำ | |||
ผู้จัดการ | สเป็นเซอร์ จัสติน ไพรออร์ | |||
ผู้ฝึกสอน | สระราวุฒิ ตรีพันธ์ | |||
ลีก | ไทยลีก | |||
2562 | ไทยลีก, อันดับ 3 | |||
| ||||
สโมสรกีฬาของ การท่าเรือแห่งประเทศไทย | ||
---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
ฟุตบอล | ฟุตบอลบี | ฟุตซอล |
ประวัติสโมสรแก้ไข
ยุคก่อนระบบฟุตบอลลีกแก้ไข
สโมสร ก่อตั้งเมื่อปี 2510 ในชื่อ สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมีนายกสโมสรคนแรก คือ พลตรี ประจวบ สุนทรางกูร (ยศในขณะนั้น) อดีตผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการสนับสนุนกีฬาฟุตบอลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
โดยเริ่มต้นส่งเข้าร่วมการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน ง. โดยชนะเลิศการแข่งขัน 3 สมัยติดต่อกันในปี 2510 - 2512 ทำให้ในปี 2513 จึงได้รับเชิญ เข้าร่วมการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน ก. และได้ตำแหน่งชนะเลิศ ตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าร่วมการแข่งขัน[1]
ต่อมาในช่วงปี 2519 ถึง 2522 นับว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุดของสโมสร โดยสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ถ้วยพระราชทาน ก. ได้ 3 สมัย และ ชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนสคัพ ได้ในปี 2521-2523 (โดยในปี 2520 และ 2522 ได้ตำแหน่งชนะเลิศร่วมกัน)[1] ขณะเดียวกัน ในการแข่งขันฟุตบอลกีฬาท่าเรือระหว่างประเทศ สโมสร ก็ยังสามารถทำผลงานได้ตำแหน่งชนะเลิศ การแข่งขันฟุตบอลกีฬาท่าเรืออาเซียน 4 สมัย อีกด้วย
ต่อมาในปี 2534 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีนโยบายในการที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ โดยให้สโมสรที่ลงทำการแข่งขันในระดับ ถ้วยพระราชทาน ก. เป็นทีมยืนในการแข่งขัน โดย สโมสร ต้องยกเลิกการส่งสโมสรเข้าร่วมแข่งขันใน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ทุกประเภท เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลลีกอาชีพในขณะนั้น (การแข่งขัน ไทยแลนด์เซมิโปรลีก)
ยุคระบบฟุตบอลลีกแก้ไข
ต่อมาในปี 2539 ได้มีการจัดการแข่งขัน ไทยลีก ฤดูกาล 2539/40 ขึ้น โดยเป็นหนึ่งใน 18 สโมสรแรกที่ร่วมทำการแข่งขัน และทำผลงานโดยจบอันดับที่ 11 จาก 18 สโมสร
ต่อมาในปี 2552 หลังจากที่ได้มีการปรับโครงสร้างของลีกให้เป็นมืออาชีพ สโมสร ก็ต้องทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลด้วย โดยได้มีการจดทะเบียนในนาม บจก.สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย โดยมี พิเชษฐ์ มั่นคง เป็นประธานสโมสร[2] และในปีนั้น สโมสรสามารถชนะเลิศการแข่งขัน ไทยแลนด์ เอฟเอคัพ ได้โดยเอาชนะจุดโทษ สโมสรบีอีซี เทโรศาสน 5-4 ซึ่งเป็นการได้ตำแหน่งชนะเลิศครั้งแรกในรอบ 16 ปี โดยความสำเร็จครั้งสุดท้ายคือ ชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ควีนสคัพ เมื่อปี 2536
ต่อมาในปี 2555 ได้มีการเปลื่ยนแปลงผู้บริหาร ทำให้มีการเปลื่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลสิงห์ท่าเรือ พร้อมกับเปลี่ยนทีมผู้ฝึกสอนและผู้บริหารทั้งหมด และได้ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง เป็นประธานกิตติมศักดิ์ (ในฐานะประธานคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย) และ ทรง วงศ์วานิช เป็นประธานสโมสร[3] โดยในปีนั้น สโมสร ซึ่งทำการแข่งขัน ดิวิชั่น 1 2556 ทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจ โดยจบด้วยตำแหน่งรองชนะเลิศ ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปแข่งขันไทยลีกอีกครั้ง
ต่อมาในปี 2557 ทางคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้มีมติ นำสิทธิ์การบริหารคืน หลังจากที่ผู้บริหารชุดเดิม ได้คืนสิทธิ์ให้[4] โดยได้จัดตั้ง บจก.การท่าเรือ เอฟซี เข้ามาบริหารแทน เพื่อแข่งขันใน ไทยลีก 2558 โดยมี พล.ร.อ.อภิชาติ เพ็งศรีทอง เป็นประธานสโมสร และมี สมชาย ชวยบุญชุม เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน[4] ต่อมาช่วงก่อนเปิดเลกสอง นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีม ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ได้ร่วมทำสัญญาและเข้ามาบริหารสโมสร จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เมืองไทยประกันภัย รวมไปถึงเปลี่ยนตราสัญลักษณ์และฉายาใหม่เป็น อาชาท่าเรือ[5] แต่ต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ได้ขอเปลี่ยนชื่อทีมใช้แบบเดิมในชื่อ สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ แต่ผลงานของสโมสรกลับไม่ดี โดยตกชั้นในอันดับที่ 17 ของตาราง[6]
ในฤดูกาล 2559 ที่สโมสรลงไปทำการแข่งขันในดิวิชั่น 1 สโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกอีกครั้ง โดยจบด้วยอันดับที่ 3 โดยในปีนั้นมีการเปลื่ยนแปลงตราสโมสร โดยกลับมาใช้รูปสิงห์อีกครั้ง รวมไปถึงการกลับมาใช้ฉายา สิงห์เจ้าท่า อีกครั้ง
- ประวัติสัญลักษณ์ของสโมสร
- ThaiportFC.png
2552 – 2555
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาลแก้ไข
ฤดูกาล | ลีก[7] | เอฟเอ คัพ | ควีนส คัพ | ลีกคัพ | ถ้วย ก/ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ | การแข่งขันระดับเอเชีย | ผู้ทำประตูสูงสุด | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับลีก | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | แต้ม | อันดับ | เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก | เอเอฟซีคัพ | อาเซียนคลับแชมเปียนชิพ | ชื่อ | ประตู | |||||
2539/40 | ไทยลีก | 34 | 9 | 14 | 11 | 44 | 39 | 41 | อันดับ 11 | N/A | – | – | – | – | – | – | คณิต อัจฉราโยธิน | 11 |
2540 | ไทยลีก | 22 | 9 | 5 | 8 | 36 | 35 | 32 | อันดับ 4 | N/A | – | – | – | – | – | – | N/A | N/A |
2541 | ไทยลีก | 22 | 10 | 7 | 5 | 50 | 27 | 37 | อันดับ 4 | N/A | – | – | – | – | – | – | รณชัย สยมชัย | 23 |
2542 | ไทยลีก | 22 | 12 | 3 | 7 | 31 | 16 | 39 | รองชนะเลิศ | N/A | – | – | – | – | – | – | อภิสิทธิ์ ไข่แก้ว | 8 |
2543 | ไทยลีก | 22 | 8 | 6 | 8 | 18 | 21 | 30 | อันดับ 5 | N/A | – | – | – | – | – | – | รณชัย สยมชัย | 6 |
2544/45 | ไทยลีก | 22 | 6 | 10 | 6 | 26 | 23 | 28 | อันดับ 6 | N/A | – | – | – | – | – | – | ปิติพงษ์ กุลดิลก | 12 |
2545/46 | ไทยลีก | 18 | 10 | 3 | 5 | 25 | 19 | 33 | อันดับ 3 | – | – | – | – | – | – | – | ศรายุทธ ชัยคำดี | 12 |
2546/47 | ไทยลีก | 18 | 9 | 1 | 8 | 29 | 28 | 28 | อันดับ 5 | – | – | – | – | – | – | – | N/A | N/A |
2547/48 | ไทยลีก | 18 | 7 | 5 | 6 | 26 | 27 | 26 | อันดับ 4 | – | – | – | – | – | – | – | ศรายุทธ ชัยคำดี | 10 |
2549 | ไทยลีก | 22 | 7 | 7 | 8 | 21 | 28 | 28 | อันดับ 7 | – | รองแบ่งกลุ่ม | – | – | – | – | – | นิรุตน์ คำสวัสดิ์ | 6 |
2550 | ไทยลีก | 30 | 9 | 9 | 12 | 36 | 43 | 36 | อันดับ 12 | – | – | – | – | – | – | – | ปิติพงษ์ กุลดิลก | 7 |
2551 | ไทยลีก | 30 | 7 | 9 | 14 | 30 | 47 | 30 | อันดับ 13 | – | – | – | – | – | – | – | ธีระวุฒิ สันพันธ์ | 6 |
2552 | ไทยลีก | 30 | 12 | 8 | 10 | 33 | 30 | 44 | อันดับ 6 | ชนะเลิศ | ไม่ได้เข้าร่วม | – | – | – | – | – | พิพัฒน์ ต้นกันยา | 10 |
2553 | ไทยลีก | 30 | 13 | 9 | 8 | 41 | 29 | 48 | อันดับ 4 | รอบที่ 3 | รอบแบ่งกลุ่ม | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | – | รอบก่อนรองชนะเลิศ | – | ศรายุทธ ชัยคำดี | 13 |
2554 | ไทยลีก | 34 | 12 | 9 | 13 | 33 | 38 | 45 | อันดับ 7 | รอบที่ 3 | – | รองชนะเลิศ | – | – | – | – | เอกชัย สำเร | 4 |
2555 | ไทยลีก | 34 | 8 | 9 | 17 | 32 | 48 | 33 | อันดับ 16 | รอบที่ 4 | – | รอบที่ 3 | – | – | – | – | โอลอฟ วัตสัน | 10 |
2556 | ดิวิชั่น 1 | 34 | 20 | 5 | 9 | 61 | 40 | 65 | รองชนะเลิศ | รอบที่ 4 | – | รอบที่ 2 | – | – | – | – | เลอันโดร โอลิเวียร่า | 24 |
2557 | ไทยลีก | 38 | 15 | 9 | 14 | 44 | 52 | 45 | อันดับ 13 | รอบที่ 4 | – | รอบที่ 2 | – | – | – | – | เลอันโดร โอลิเวียร่า | 10 |
2558 | ไทยลีก | 34 | 10 | 3 | 21 | 31 | 49 | 33 | อันดับ 17 | รอบที่ 4 | – | รอบที่ 2 | – | – | – | – | วุฒิชัย ทาทอง | 6 |
2559 | ดิวิชั่น 1 | 26 | 13 | 8 | 5 | 55 | 30 | 43 | อันดับ 3 | รอบที่ 2 | – | รอบที่ 3 | – | – | – | – | โรดิโก้ มารันเยา | 10 |
2560 | ไทยลีก | 34 | 14 | 8 | 12 | 60 | 63 | 50 | อันดับ 9 | รอบที่ 3 | – | รอบที่ 2 | – | – | – | – | โจซิมาร์ | 13 |
2561 | ไทยลีก | 34 | 19 | 4 | 11 | 73 | 45 | 61 | อันดับ 3 | รอบ 8 ทีม | – | รอบที่ 2 | – | – | – | – | ดราแกน บอสโควิช | 17 |
2562 | ไทยลีก | 30 | 15 | 8 | 7 | 55 | 36 | 53 | อันดับ 3 | ชนะเลิศ | – | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | – | – | – | – | เซร์ฆิโอ ซัวเรซ | 10 |
2563 | ไทยลีก | – | รองชนะเลิศ | รอบคัดเลือกรอบสอง | – | – |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 3 | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
ผลงานของ ทีม บี ในแต่ละฤดูกาลแก้ไข
ฤดูกาล | ลีก[8] | ผู้ทำประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับลีก | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | แต้ม | อันดับ | ชื่อ | ประตู | |
2549 | โปรลีก | 30 | 20 | 6 | 4 | 52 | 22 | 30 | รองชนะเลิศ | ธีระวุฒิ สันพันธ์ | 13 |
2561 | ไทยลีก 4 กรุงเทพฯ | 22 | 5 | 4 | 13 | 14 | 27 | 12 | อันดับ 12 | เชาว์วาลา ศรีอาวุธ | 4 |
เกียรติยศสโมสรแก้ไข
การแข่งขัน | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | ปีที่ชนะเลิศ | ปีที่รองชนะเลิศ |
---|---|---|---|---|
ไทยลีก | 0 | 1 | – | 2542 |
ไทยลีก 2 | 0 | 1 | – | 2556 |
ฟุตบอลควีนสคัพ | 6 | 1 | 2520, 2521, 2522, 2523, 2530, 2536 | 2527 |
ไทยแลนด์ เอฟเอคัพ | 2 | 0 | 2552, 2562 | |
ไทยลีกคัพ | 1 | 1 | 2553 | 2554 |
ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ | 0 | 1 | – | 2563 |
ถ้วย ก | 8 | 1 | 2511, 2515, 2517, 2519, 2521, 2522, 2528, 2533 | 2553 |
ถ้วย ข | 5 | 0 | 2513, 2519, 2522, 2526, 2535 | |
ถ้วย ค | 14 | 0 | 2512, 2517, 2520, 2521 | |
ถ้วย ง | 3 | 1 | 2510, 2511, 2512 |
ระดับเอเชียแก้ไข
- เอเชียนแชมเปียนส์คัพ - รอบก่อนรองชนะเลิศ (ฤดูกาล 1991/92)
- เอเอฟซีคัพ - รอบก่อนรองชนะเลิศ (ฤดูกาล 2010)
- เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก - รอบคัดเลือกรอบ 2 (ฤดูกาล 2020)
ผู้เล่นแก้ไข
ผู้เล่นชุดปัจจุบันแก้ไข
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัวแก้ไข
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นชุดเยาวชนแก้ไข
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
สโมสรพันธมิตรแก้ไข
พันธมิตรในประเทศแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 https://www.facebook.com/564147727055833/photos/a.994669950670273.1073741832.564147727055833/986815274789074/?type=3&theater พลิกแฟ้ม การท่าเรือ - ชมรมประวัติศาสตร์ฟุตบอลสิงห์ท่าเรือ
- ↑ http://www.wisewinner.com/index.aspx?ContentID=ContentID-090219112217612 งานแถลงข่าว บริษัท สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย จำกัด อย่างเป็นทางการ - บจก.ไวซ์ วินเนอร์
- ↑ https://www.thairath.co.th/content/329539 'สิงห์ท่าเรือ' ทุ่ม 70 ล้าน หวังขึ้นไทยลีกปีหน้า - ไทยรัฐ
- ↑ 4.0 4.1 "นับ 1 ใหม่! "ท่าเรือ" เปลี่ยนชื่อ ตั้ง "ฉ่วย" คุมทีม". ผู้จัดการออนไลน์. 20 November 2014. สืบค้นเมื่อ 21 November 2014.
- ↑ ""มาดามแป้ง" อุ้ม "ท่าเรือ" เปลี่ยนโลโก้เป็นม้า". ผู้จัดการออนไลน์. 12 February 2015. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
- ↑ หน้า 17 ต่อ 19 กีฬา, บีอีซีเก่งเมื่อสาย แม้ถล่มกว่างโซ้ง. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,168: วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 1 ปีมะแม
- ↑ King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 March 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 16 July 2014. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) Select link to season required from chronological list. - ↑ King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 March 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 16 July 2014. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) Select link to season required from chronological list.