ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ
ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ (อังกฤษ: Thailand Champions Cup) หรืออีกชื่อเรียกคือ ไดกิ้นไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ ตามชื่อของสปอนเซอร์ผู้สนับสนุนคือไดกิ้น[1] เป็นการแข่งขันฟุตบอลในประเทศไทยประจำปีระหว่างทีมชนะเลิศไทยลีกกับทีมชนะเลิศไทยเอฟเอคัพ โดยแข่งขันในรูปแบบเดียวกับเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ของอังกฤษ
![]() | |
ก่อตั้ง | 2560 |
---|---|
ภูมิภาค | ![]() |
จำนวนทีม | 2 |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | บีจี ปทุม ยูไนเต็ด (สมัยแรก) |
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด | เชียงราย ยูไนเต็ด (2 สมัย) |
ผู้แพร่ภาพโทรทัศน์ | ทรูวิชั่นส์ (2560–2563) เอไอเอสเพลย์ (2564) |
![]() |
การแข่งขันจัดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2560 เพื่อแทนที่ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. ที่ยุบไปเนื่องจากถ้วยพระราชทานประเภท ก. ได้ถูกนำไปใช้เป็นถ้วยรางวัลไทยลีกในฤดูกาล 2559[2] คู่แรกที่ประเดิมสนามในการแข่งขันชื่อนี้คือ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ทีมชนะเลิศไทยลีก ฤดูกาล 2559 เอาชนะสุโขทัย ทีมชนะเลิศช้าง เอฟเอคัพ 2559 ไปได้ 5–0 ที่สนามศุภชลาศัยในกรุงเทพมหานคร ส่วนคู่ล่าสุดที่ทำการแข่งขันคือ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ทีมชนะเลิศไทยลีก ฤดูกาล 2563–64 เอาชนะเชียงราย ยูไนเต็ด ทีมชนะเลิศช้าง เอฟเอคัพ 2563–64 ไปได้ 1–0 ที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีในจังหวัดเชียงใหม่
รายชื่อทีมชนะเลิศแก้ไข
2560–ปัจจุบันแก้ไข
ครั้งที่ | ปี | ชนะเลิศ | ผู้ทำประตู | ผล | ผู้ทำประตู | รองชนะเลิศ | สนามแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2560 | เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด | ซิสโก คีเมเนซ 20' เคลตัน ซิลวา 40' , 58' สารัช อยู่เย็น 56' ธีรศิลป์ แดงดา 86' |
5–0 | สุโขทัย | สนามศุภชลาศัย (กรุงเทพมหานคร) | |
2 | 2561 | เชียงราย ยูไนเต็ด | ศิวกรณ์ เตียตระกูล 45+1' วิคเตอร์ คาร์โดโซ่ 67' |
2–2 (8–7 ลูกโทษ) |
เอ็ดการ์ บรูโน ดา ซิลวา 6' ดิโอโก้ หลุยส์ ซานโต 34' |
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | สนามศุภชลาศัย (กรุงเทพมหานคร) |
3 | 2562 | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | ศุภชัย ใจเด็ด 42' , 45+1' โมดิโบ ไมกา 90' |
3–1 | บรินเนร์ เอนรีเก 2' | เชียงราย ยูไนเต็ด | สนามกีฬากองทัพบก (กรุงเทพมหานคร) |
4 | 2563 | เชียงราย ยูไนเต็ด | อี ย็อง-แร 51' ชัยวัฒน์ บุราณ 55' |
2–0 | การท่าเรือ | เอสซีจีสเตเดียม (นนทบุรี) | |
5 | 2564 | บีจี ปทุม ยูไนเต็ด | เรียว มัตสึมูระ 87' | 1–0 | เชียงราย ยูไนเต็ด | สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี (เชียงใหม่)[3] |
ผลงานแบ่งตามสโมสรแก้ไข
ทีม | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | จำนวนครั้งที่เข้าร่วม |
---|---|---|---|
สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด | 2 (2561, 2563) | 2 (2562, 2564) | 4 |
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 1 (2562) | 1 (2561) | 2 |
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด | 1 (2564) | 0 | 1 |
เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด | 1 (2560) | 0 | 1 |
สุโขทัย | 0 | 1 (2560) | 1 |
การท่าเรือ | 0 | 1 (2563) | 1 |
ผู้สนับสนุนแก้ไข
- ธนาคารออมสิน (2560–2563)
- ไดกิ้น (2564–)[1]
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 "ไทยลีก แจ้งปฏิทินการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ ฤดูกาล 2021/22". Thaileague.co.th. 14 July 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
- ↑ "ชื่อใหม่ถ้วยใหม่! Thailand Champions Cup กิเลนหวดสุโขทัย". สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2560. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ แอ่วเหนือ! ศึกแชมป์ชนแชมป์ "บีจี-เชียงราย" บู๊ถิ่นเชียงใหม่ 1 ก.ย.นี้