สนามศุภชลาศัย

สนามกีฬาในกรุงเทพมหานคร

สนามศุภชลาศัย (อังกฤษ: Suphachalasai Stadium) เป็นสนามกีฬาแห่งสำคัญในกรุงเทพมหานคร เป็นสนามกีฬาหลักของกลุ่มอาคารกรีฑาสถานแห่งชาติ ใช้สำหรับจัดการแข่งขันกีฬาหลากหลายประเภท เช่น ฟุตบอล กรีฑา รวมถึงใช้จัดคอนเสิร์ตและกิจกรรมอื่น ๆ เป็นบางครั้ง[3]

สนามศุภชลาศัย
แผนที่
ที่ตั้งแขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ขนส่งมวลชน สนามกีฬาแห่งชาติ
เจ้าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1]
ผู้ดำเนินการกรมพลศึกษา
ความจุ19,793 ที่นั่ง[2] / 35,000 ที่นั่ง (คอนเสิร์ต)
พื้นผิวหญ้า
การก่อสร้าง
ก่อสร้าง2480
เปิดใช้สนาม2481
ต่อเติม2484
สถาปนิกกรมพลศึกษา
การใช้งาน
ฟุตบอลทีมชาติไทย (พ.ศ. 2491–2541)

ประวัติ

แก้
 
สนามศุภชลาศัย เมื่อปี พ.ศ. 2486
 
ทางเข้าหลักของสนามศุภชลาศัย ออกแบบโดย พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) ด้วยสถาปัตยกรรมคณะราษฎร
 
สนามศุภชลาศัยในปี พ.ศ. 2558

การก่อสร้างสนามกีฬาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2480 ในพื้นที่เดิมของวังวินด์เซอร์ที่ถูกรื้อถอนในเมื่อสองปีก่อนหน้า[4][5][6] โดยกรมพลศึกษาได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นระยะเวลา 29 ปี การใช้สนามกีฬาครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการแข่งขันกรีฑาชาย พ.ศ. 2481 โดยเปลี่ยนสถานที่จัดการแข่งขันจากท้องสนามหลวง[7][8]

สนามกีฬาแห่งนี้ได้รับการตั้งชื่อตามหลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) ซึ่งเป็นบิดาแห่งกีฬาไทย และอธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก[9]

สนามศุภชลาศัยถูกใช้เพื่อการจัดการแข่งขันฟุตบอลเป็นส่วนใหญ่ โดยเคยถูกใช้เป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอลทีมชาติไทยมาโดยตลอดก่อนจะย้ายไปใช้สนามราชมังคลากีฬาสถานที่มีความจุมากกว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 รวมถึงสโมสรในไทยลีกบางทีมที่สนามเหย้าของตนไม่ผ่านมาตรฐานของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ก็มักใช้สนามศุภชลาศัยในรายการแข่งขันระดับเอเชียเช่นกัน นอกจากนี้ สนามศุภชลาศัยยังถูกใช้เป็นสนามกีฬาหลักในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ใน 3 ครั้งแรกที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ได้แก่ปี 1966, 1970 และ 1978 รวมถึงถูกใช้เป็นสนามแข่งขันในกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007 และซีเกมส์ 2025 และยังถูกใช้สำหรับการแข่งขันเอเชียนคัพ 2007 อีกด้วย แต่ใช้สำหรับเกมเดียวเท่านั้น (คือ โอมาน พบ อิรัก ในกลุ่ม เอ) นอกจากนี้สนามศุภชลาศัยยังใช้จัดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 5 พ.ศ. 2481 จนถึงปัจจุบัน[10] รวมถึงใช้จัดงานฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี[11] อีกด้วย

สนามกีฬาเป็นโครงสร้างชั้นเดียวซึ่งเปิดโล่งทั้งสามด้าน หลังคาเรียบง่ายแต่ทรงประสิทธิภาพครอบคลุมด้านอัฒจันทร์หลัก ถึงแม้จะมีลู่วิ่ง แต่อัฒจันทร์ก็อยู่ติดกัน ทำให้ผู้ชมอยู่ไม่ห่างจากสนามแข่งขันมากเท่ากับราชมังคลากีฬาสถาน และยังสามารถเดินทางมาได้สะดวกสำหรับผู้ชม เนื่องจากมีรถไฟฟ้าบีทีเอส จอดที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติซึ่งอยู่ติดกัน ถึงแม้จะมิได้มีทางเชื่อมตรงก็ตาม[12]

ในปี พ.ศ. 2550 มีการปรับปรุงสนามศุภชลาศัยด้วยการเพิ่มที่นั่งสีแดงบนขั้นบันไดคอนกรีตเปล่าทั้งสามด้าน[13]

รูปแบบสถาปัตยกรรม

แก้

สนามศุภชลาศัยมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอาร์ตเดโค หรือ อลังการศิลป์ ที่เน้นการออกแบบเล่นกับเส้นสายแนวตั้งที่ชัดเจน กันสาดแผ่นบาง ๆ หน้าต่างเข้ามุมอาคาร หรือการออกแบบแนวเสาอิงให้แสดงออกถึงเส้นแนวตั้ง เป็นต้น[14] มีซุ้มประตูทางเข้าใหญ่ที่มีอาคาร เป็นรูปทรงเรขาคณิตหนักแน่นเป็นมวลทึบ มีการตกแต่งอาคารด้วยองค์ประกอบของแท่งตั้งของซุ้มประตูทางเข้าใหญ่ที่มีการซอยเส้นเหมือนการย่อมุมทำให้เกิดเส้นทางตั้งถี่ ๆ และปลายของแท่งทางตั้งที่โค้งน้อย ๆ ตรงปลายที่มีการซอยเส้นตามเส้นกรอบของแต่งตั้งเป็นลักษณะของอาคาร และการใช้องค์ประกอบที่หนักแน่นแต่แฝงรายละเอียดของเส้นลดหลั่นเป็นจังหวะ[15]

กิจกรรม

แก้

การแข่งขันกีฬา

แก้

กิจกรรมอื่น

แก้

คอนเสิร์ต

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "จุฬาฯ ยังคงให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการสนามกีฬาแห่งชาติ". 19 April 2019.
  2. "สนามกีฬาศุภชลาศัย". SATC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-03. สืบค้นเมื่อ 2017-01-16.
  3. "กรมพละหมดสัญญาใช้สนามศุภชลาศัย คืนให้ จุฬาฯ อาจเป็นเวทีคอนเสิร์ตแห่งใหม่". mgronline.com. 2024-11-20. สืบค้นเมื่อ 2025-02-28.
  4. "ระบบจองสนาม กรมพลศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-09. สืบค้นเมื่อ 2025-02-28.
  5. "สนามกีฬาแห่งชาติ ศุภชลาศัย".
  6. ""อนุทิน-สาธิต" ใช้สบยช.-สนามกีฬาหัวหมาก-นิมิบุตร เป็นศูนย์แรกรับ-ส่งต่อผู้ป่วยโควิดไม่มีเตียง".
  7. "2831_2.PDF" (PDF). ratchakitcha.soc.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-11.
  8. "สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาที่อยู่คู่กับวงการกีฬาไทยมากว่า 80 ปีแล้ว".
  9. จรัสจรรยาวงศ์, นริศ (2022-10-28). "ความเป็นมาของ 'หลวงศุภชลาศัย' สมาชิกคณะราษฎรที่ถูกนำชื่อมาตั้งเป็น 'สนามศุภชลาศัย'". thepeople (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-06-22.
  10. "กำเนิดฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์". www.sanook.com/campus. 2011-01-25. สืบค้นเมื่อ 2025-02-28.
  11. "จตุรมิตรสามัคคี". www.thairath.co.th. 2017-11-06. สืบค้นเมื่อ 2025-02-28.
  12. "อาจเหลือแค่ความทรงจำ : 80 ปี ศุภชลาศัย กับอนาคตซึ่งไร้คำตอบ | FourFourTwo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-27.
  13. "ส่อง9สนามฟุตบอลหัวเมืองใหญ่ ไทยพร้อมแค่ไหนกับเจ้าภาพบอลโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-27.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  14. "งานสถาปัตยกรรมสมัยโมเดิร์นในประเทศไทย" (PDF). docomomothailand.
  15. ปัณฑารีย์ วิรยศิร. "พัฒนาการสถาปัตยกรรมสนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ ช่วงพุทธศักราช 2477-2509" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-02-21. สืบค้นเมื่อ 2025-03-05.
  16. "งานสวัสดีปีใหม่พี่น้องคนไทย สวัสดีปีใหม่ข้ามโลก 2547". www.sanook.com/travel. 2003-12-30. สืบค้นเมื่อ 2025-02-28.
  17. "สีสันบรรยากาศส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ในกทม". mgronline.com. 2006-01-01. สืบค้นเมื่อ 2025-02-28.
  18. กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม (2024-08-24). "ไมเคิล แจ็คสัน โชว์ลูบเป้ากลางสนามกีฬาแห่งชาติ 24 ส.ค. 2536". สืบค้นเมื่อ 2025-02-28.
  19. "Blackpink captivate thousands of 'Blinks' at Bangkok's National Stadium". nationthailand (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-01-08. สืบค้นเมื่อ 2024-06-22.