พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์)

พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช ร. สุขยางค์) (เกิด 12 สิงหาคม พ.ศ. 2438[1] ถึงแก่กรรม 4 เมษายน พ.ศ. 2493) เป็นสถาปนิกชาวไทย อดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร พระสาโรชฯ ถือเป็นหนึ่งในนักเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์รุ่นแรกๆ ของไทยที่จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ แล้วกลับเข้ามาออกแบบงานสถาปัตยกรรมในประเทศไทยหลายแห่ง ในช่วงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ถึงหลังยุคการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เขายังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมป์ เมือปี พ.ศ. 2477 โดยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ เป็นคนแรก[2] และยังเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม ที่ต่อมาพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร

พระสาโรชรัตนนิมมานก์
(สาโรช ร. สุขยางค์)
เกิด12 สิงหาคม พ.ศ. 2438
ท่าเตียน, จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต4 เมษายน พ.ศ. 2493 (55 ปี)
ตึกมหิดลวรานุสรณ์ โรงพยาบาลศิริราช, เขตบางกอกน้อย, จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
สัญชาติ ไทย
ศิษย์เก่า
ผลงานสำคัญ

พระสาโรชรัตนนิมมานก์ได้ออกแบบงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่และสไตล์อลังการศิลป์ (Art Deco) หลายแห่งในไทยทั้ง อาคารที่ทำการกรมไปรษณีย์โทรเลข (อาคารไปรษณีย์กลาง) บางรัก, วังวาริชเวสม์, หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรีฑาสถานแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย) กลุ่มอาคารที่ทำการกระทรวงยุติธรรม รวมไปถึงอาคารเรียนหลายหลังในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วชิราวุธวิทยาลัย, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ โรงพยาบาลศิริราช

ประวัติ แก้

พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช ร. สุขยางค์) สกุลเดิม สุภัง[1] เป็นบุตรชายคนเล็กของหลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) ผู้ประพันธ์กลอนนิราศเรื่อง นิราศหนองคาย กับนางเสงี่ยม ท่านมีพี่ชาย 1 คน คือ มหาอำมาตย์โท พระยาสารศาสตร์สิริลักษณ์ (สรรเสริญ สุขยางค์) ผู้ปฏิบัติราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์คมนาคม

พระสาโรชรัตนนิมมานก์ ศึกษาระดับชั้นประถมที่โรงเรียนกล่อมพิยาคาร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ระดับชั้นมัธยมที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และจบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2453[3] ได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงของกระทรวงธรรมการให้ออกไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ในวิชาสถาปัตยกรรม โดยเข้าศึกษาระดับเตรียมอุดมศึกษาที่โรงเรียนเอาน์เดิล เป็นเวลา 2 ปี และได้สำเร็จการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาลตร์ และการวางผังเมืองมาจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล[4] ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2463[3] ใช้เวลาในหลักสูตร 5 ปี

หลังศึกษาจบ เข้ารับราชการในกรมศิลปากร สังกัดกระทรวงธรรมการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2463 ในตำแหน่งสถาปนิก ได้มีผลงานออกแบบจำนวนมาก ตลอดช่วงการทำงาน โดยเฉพาะการออกแบบอาคารในหน่วยงานราชการหลากหลายประเภทอาคาร ทั้งอาคารเรียน อาคารที่ทำการ อาคารศาล อาคารโรงพยาบาล ไปจนถึงอาคารหอประชุม และสนามกีฬาขนาดใหญ่ ที่มีการผนวกแนวความคิดสมัยใหม่ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีความหลากหลาย การวางผังที่สอดรับกับบริบทแวดล้อม ทั้งเชิงการใช้งานอาคาร ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ รวมไปถึงการออกแบบโครงสร้างคอนกรีต พระสาโรชรัตนนิมมานก์ได้รับการแต่งตั้งเป็นสถาปนิกชั้นพิเศษ ระดับเทียบเท่าอธิบดี ในปี พ.ศ. 2485[5] ถือเป็นตำแหน่งทางราชการสูงสุดที่ได้รับ จนกระทั่งได้ลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2491 และเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2493[3]

ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม แก้

  • อาคารมานุษยนาควิทยาทาน วัดบวรนิเวศวิหาร
  • อาคารนิภานภดล โรงเรียนเทพศิรินทร์
  • อาคารมาลินี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • อาคารวชิรมงกุฎ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
  • อาคารพยาบาล โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย (ปัจจุบัน หอประวัติ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย)
  • อาคารหอประชุม โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จ (ปัจจุบัน วิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา)
  • โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช (ปัจจุบัน พิพิธบางลำพู)
  • วังวาริชเวสม์
  • อาคารที่ทำารกรมไปรษณีย์โทรเลข (ปัจจุบัน อาคารไปรษณีย์กลาง)
  • ศาลแขวงเชียงใหม่ (ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์พื้นทถิ่นล้านนา จังหวัดเชียงใหม่)
  • ศาลแขวงสงขลา
  • กรีฑาสถานแห่งชาติ (ปัจจุบัน สนามศุภชลาศัย)
  • ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • กลุ่มอาคารที่ทำการกระทรวงยุติธรรม
  • โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนิน

อาคารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แก้

  • ผังแม่บทจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ตึกวิทยาศาสตร์ (ตึกชีววิทยา 1 หรือ ตึกขาว)
  • อาคารจักรพงษ์
  • ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 1 (ตึกแดง)
  • ตึกฟิสิกส์ 1
  • อาคารเคมี 1 (ปัจจุบัน อาคารศิลปวัฒนธรรม)
  • หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 2
  • อาคารเภสัชกรรมศาสตร์ 1 (ปัจจุบัน อาคารศิลปกรรมศาสตร์ 1)

อาคารในโรงพยาบาลศิริราช แก้

  • อาคารพยาธิวิทยา
  • อาคารอำนวยการคณะแพทยศาสตร์
  • อาคารกายวิภาคและสรีรวิทยา
  • อาคารศัลยกรรมชาย (อาคารมหิดลบำเพ็ญ)
  • อาคารอายุรกรรม (อาคารอัษฎางค์)
  • อาคารนรีเวชกรรม (อาคารตรีเพชร)
  • อาคารสูติกรรม (อาคารจุฑาธุช)
  • อาคารศัลยกรรมหญิง
  • อาคารหอพักนักศึกษาแพทย์ชาย
  • อาคารอายุกรรมพิเศษ (อาคารมหิดลวรานุสรณ์)
  • อาคารหอนอนพยาบาล

ระเบียงภาพ แก้

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ 21.1/177
  2. ประวัติสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
  3. 3.0 3.1 3.2 หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช ร. สุขยางค์)
  4. พระสาโรชรัตนนิมมานก์[ลิงก์เสีย]
  5. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ0701.2.2/71
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๕๘, ๗ ตุลาคม ๒๔๘๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๘๓, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๘๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๖๕, ๑ มกราคม ๒๔๖๗