กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007
กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007 เป็นการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ราชอาณาจักรไทย ระหว่างวันที่ 8-18 สิงหาคม พ.ศ. 2550
เจ้าภาพ | ประเทศไทย |
---|---|
พิธีเปิด | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550 |
พิธีปิด | 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550 |
ประธานพิธีเปิด | สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร |
ผู้จุดคบเพลิง | พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ |
สนามกีฬาหลัก | ราชมังคลากีฬาสถาน |
โดย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ณ ราชมังคลากีฬาสถาน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม
ประเทศที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพ
แก้จากการประชุมของคณะกรรมการสหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก หรือ FISU ได้คัดเลือก ประเทศที่เสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24 เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2546 โดย FISU มีมติให้กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ซึ่งในขณะนั้น มีเมืองต่างๆ ที่ร่วมเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพ จำนวน 5 เมือง ได้แก่
- เมืองซัสคาทูน ประเทศแคนาดา
- เมืองพอซนาน ประเทศโปแลนด์
- เมืองเกาสง ประเทศไต้หวัน
- เมืองมอนเตอร์เรย์ ประเทศเม็กซิโก
- กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คำขวัญและสัญลักษณ์
แก้สัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน
แก้สัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน ถูกออกแบบโดยเป็นลักษณะของเส้นสายทั้ง 5 สี ร้อยเรียงในรูปตัว U ซึ่งมาจากคำว่า Universiade เปรียบได้ดังเส้นสายแห่งการถ่ายทอดประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนความรู้ และ วัฒนธรรม ระหว่างตัวแทนและนักกีฬาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ใน 5 ทวีป ทั่วโลก ทั้งหมดรวมกันเป็นหนึ่งเดียว พุ่งม้วนเข้าสู่สัญลักษณ์ลวดลายสีเหลืองทอง อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย เปี่ยมล้นไปด้วยความปีติยินดี และ ความภาคภูมิใจที่ได้รับเกียรติให้ เป็นศูนย์กลางแห่งการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
สัตว์นำโชค
แก้ตุ๊กตาสัญลักษณ์ (mascot) ของการแข่งขันครั้งนี้ คือ กระต่าย ชื่อ “ไมตี้ ไมตรี” (Mighty Maitri) อันหมายถึง พลังและมิตรภาพ เนื่องจาก ในปี พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสสำคัญยิ่งดังกล่าว จึงเลือก “กระต่าย” อันเป็นสัตว์ประจำนักษัตรแห่งปีพระบรมราชสมภพ เป็นสัญลักษณ์นำโชคในการแข่งขันครั้งนี้
กระต่าย เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความว่องไว เฉลียวฉลาด อ่อนโยน พร้อมต้อนรับนักกีฬาทุกชาติ ด้วยรอยยิ้มและมิตรภาพ ทั้งรูปร่างหน้าตา สีสัน และ กิริยาท่าทาง ล้วนแสดงออกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน อันเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย ที่สืบต่อกันมายาวนาน
คำขวัญ
แก้คำขวัญของการแข่งขันในครั้งนี้คือ "ALL BECOME ONE" เป็นการแสดงถึงการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวของผู้คนทุกชนชาติ ทุกศาสนา จากกว่า 150 ประเทศ เข้าร่วมมหกรรมกีฬาอันยิ่งใหญ่ของปัญญาชนที่กรุงเทพมหานคร
สัญลักษณ์กีฬา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เพลงประจำการแข่งขัน
แก้บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ได้รับเกียรติให้จัดทำแต่งเพลงที่ใช้ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 โดยได้มอบหมายให้ คุณสุทธิพงษ์ วัฒนจัง Music Content Production รับหน้าที่เป็นผู้ดูแลการผลิต มีทั้งหมด 2 เพลง คือ
- ดวงดาวเป็นหนึ่งเดียว
เพลงประจำการแข่งขันฉบับภาษาไทย ขับร้องโดย โจ-ป๊อป และ ซินเดอเรลล่า
- All Become One
เพลงประจำการแข่งขันฉบับภาษาอังกฤษ ขับร้องโดย "ลีเดีย - ศรัณญ์รัชต์ วิสุทธิธาดา"
ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน
แก้ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกในครั้งนี้มีทั้งสิ้น 156 ประเทศ จากทุกทวีปทั่วโลก มีนักกีฬาทั้งสิ้นถึง 10,205 คน ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากโอลิมปิก เมื่อเทียบกับการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน มีรางวัล 236 เหรียญทอง จาก 15 ชนิดกีฬา
สนามแข่งขัน
แก้การจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น สนามกีฬาที่ใช้จัดการแข่งขันจึงถูกจัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเป็นส่วนใหญ่ โดยเจ้าภาพในแต่ละประเทศจะต้องเสนอรายชื่อสนามกีฬาแต่ละแห่งในประเทศของตนให้กับคณะกรรมการสหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยนานาชาติ หรือ FISU ตรวจสอบมาตรฐานของสนามกีฬาให้ได้ในระดับสากล และสามารถรองรับการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติได้ ซึ่งในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกครั้งที่ 24 กรุงเทพมหานคร นี้ ได้มีสนามแข่งขันกีฬาดังนี้
- สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยรามคำแหง รับผิดชอบโดย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นศูนย์หลักในการจัดการแข่งขัน
- ศูนย์กีฬาสุรี บูรณธนิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
- ศูนย์กีฬาจอห์น ปอล ที่สอง มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตบางนา
- ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ศูนย์องครักษ์
- ศูนย์กีฬาอิมแพค เมืองทองธานี รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยรังสิต
- สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ รับผิดชอบโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สนามกีฬา นิมิบุตร ภายในสนามกีฬาแห่งชาติ รับผิดชอบด้าน SECURITY โดย นศท.จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
นอกจากนั้นยังมีสนามอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัย และใช้เป็นสนามแข่งขัน ได้แก่
- ราชมังคลากีฬาสถาน (เป็นสถานที่จัดพิธีเปิดและปิดการแข่งขัน)
- สนามกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย หัวหมาก
- สนามกีฬาศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)
- สนามกอล์ฟวอเตอร์มิลล์ กอล์ฟ คลับ จังหวัดนครนายก
- สนามกีฬากองทัพบก
การมีส่วนร่วมเป็นเจ้าภาพของมหาวิทยาลัย
แก้โดยปกติการจัดการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติส่วนใหญ่ มักอยู่ในความรับผิดชอบของการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ แต่การจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกในครั้งนี้ เป็นการจัดการแข่งขันกีฬาที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกโดยปกติแล้ว ประเทศเจ้าภาพจะให้มหาวิทยาลัยได้มีส่วนร่วมจัดการแข่งขันให้มากที่สุด เนื่องจากเป็นมหกรรมกีฬาของนิสิตนักศึกษา โดยการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ก็ได้มีมหาวิทยาลัยต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมจัดการแข่งขัน โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันไปตามศักยภาพและความพร้อมของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยต่างๆได้เข้ามามีส่วนร่วมดังนี้
- ฝ่ายสถานที่แข่งขัน ที่พัก และอาหาร โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ฝ่ายต้อนรับและพิธีการทูต โดย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โดย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- ฝ่ายพิธีเปิด-ปิด พิธีการ และการแสดง โดย มหาวิทยาลัยรังสิต
- ฝ่ายแพทย์และอนามัย โดย มหาวิทยาลัยมหิดล
- ฝ่ายศิลปกรรม การออกแบบ และตกแต่งเมือง โดย มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ฝ่ายขนส่งและจราจร โดย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ฝ่ายพิธีการมอบเหรียญรางวัล โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ฝ่ายอาสาสมัคร โดยสถาบันการศึกษาต่างๆ 26 สถาบัน
- ฝ่ายอาสาสมัคร ปฏิบัติหน้าที่พิเศษ เจ้าหน้าที่ควบคุมทางเข้าสนาม & SECURITY ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดย นศท.จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
พิธีเปิดและปิดการแข่งขัน
แก้วันพุธ ที่ 8 สิงหาคม 2550 เวลา 18.00 น. ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน กรุงเทพมหนคร พิธีเปิดเริ่มด้วยการแสดงโหมโรง โดยนิสิตนักศึกษาจากหลากหลายสถาบัน การแสดงกระโดดร่ม และการแสดงคอนเสิร์ตของศิลปินไทย หลังจากนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธี
- การแสดงชุดที่ 1 World become one : โลกหลอมรวมใจให้กลายเป็นหนึ่ง
- การแสดงชุดที่ 2 Sound of the Unity : เภรีกึกก้อง แซ่ซ้องอวยชัย
- การแสดงชุดที่ 3 Soul of the Nation : เทิดไท้องค์ราชัน มิ่งขวัญประชาไทย
- การแสดงชุดที่ 4 Sport Build the World : โลกมหัศจรรย์แห่งการกีฬา
- การแสดงชุดที่ 5 One Flame Forever : เปลวไฟในใจนิรันดร์
พิธีการจุดคบเพลิงโดย พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงจุดคบเพลิง ณ พื้นดิน ก่อนที่ไฟจะลุกโชติช่วงและพุ่งขึ้นสู่ กระถางคบเพลิงใหญ่ของสนาม
วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2550 เวลา 18.00 น. ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน กรุงเทพมหานคร พิธีปิดการแข่งขัน มี ฯพณฯ พลเอก สุรยุทธ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นประธานในพิธี เริ่มต้นด้วยการแสดงเชียร์หลีดเดอร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ จากนั้นเป็นพิธีปิดโดยมีการแสดงดังนี้
- การแสดงชุดที่ 1 All become one : ประสานเสียงเรียงร้อยจิตวิญญาณแห่งการกีฬา
- การแสดงชุดที่ 2 Young Great Power : พลังแห่งเยาวชน
- การแสดงชุดที่ 3 The Torch Light off : พิธีดับไฟโดยตัวแทนนักกีฬาจาก 5 ทวีป เปิดวาล์วน้ำจากพื้นดินให้พุ่งสู่กระถางคบเพลิง
- การแสดงชุดที่ 4 Belgrade 2009 : การแสดงของประเทศเซอร์เบีย ประเทศเจ้าภาพครั้งต่อไป
- การแสดงชุดที่ 5 Light Life and Pure Power for the world peace : ประทีปโคมทองเรืองรองเฉลิมฉลองสันติภาพ สิ้นสุดเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงเสร็จพิธี
อาสาสมัคร UNIVERSIADE VOLUNTEER
แก้การแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติทั่วโลก สิ่งสำคัญส่วนหนึ่ง ที่จะขาดไม่ได้ เพื่อให้การจัดการแข่งขัน ดำเนินไปได้อย่างลุล่วง คือ อาสาสมัครร่วมการแข่งขัน ซึ่งในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกครั้งที่ 24 กรุงเทพมหานคร มีอาสาสมัครที่ผ่านการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อเข้าร่วมทำงานในส่วนต่างๆ ของการจัดการแข่งขัน จำนวนทั้งสิ้น 7,056 คน
แม้ว่าในการแข่งขันครั้งที่ผ่านๆ มา ประเทศเจ้าภาพต่างๆ นั้น จะมีอาสาสมัครไม่ต่ำกว่า 10,000 คนขึ้นไป แต่สำหรับครั้งนี้ สาเหตุที่มีอาสาสมัครเป็นจำนวนน้อยนั้น ก็เนื่องมาจาก ความไม่พร้อมด้านงบประมาณ แต่อย่างไรก็ตาม อาสาสมัครที่มีจำนวนน้อย ก็ทำงานกันอย่างเต็มที่ เพื่อให้งานออกมาอย่างดีที่สุด
ภายหลังการจบงานได้มีหนึ่งในอาสาสมัครเขียน Pocket book เล่าเรื่องราวต่างๆ เพื่อแบ่งปันหนึ่งประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ชื่อเรื่องว่า "Attache ได้เพื่อน ได้เที่ยว เก็บเกี่ยวประสบการณ์"
เหรียญที่ระลึก
แก้- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ 24 [1]
ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทรงฉลองพระองค์สากล ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช "เบื้องล่างมีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙" โดยมีลายไทยคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง
ด้านหลัง กลางเหรียญมีรูปสัญลักษณ์การจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ ๒๔ ด้านขวาของรูปสัญลักษณ์มีข้อความบอกราคาว่า "๑๐ บาท" ด้านซ้ายมีข้อความบอกราคาว่า "10 BAHT" ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "กีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ ๒๔" เบื้องล่างมีข้อความว่า "๘ - ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ ประเทศไทย"
-
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
ด้านหน้า -
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
ด้านหลัง
สรุปเหรียญการแข่งขัน
แก้* เจ้าภาพ (ไทย)
ลำดับที่ | ประเทศ | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | จีน (CHN) | 33 | 31 | 28 | 92 |
2 | รัสเซีย (RUS) | 28 | 28 | 39 | 95 |
3 | ยูเครน (UKR) | 28 | 22 | 20 | 70 |
4 | ญี่ปุ่น (JPN) | 19 | 15 | 22 | 56 |
5 | เกาหลีใต้ (KOR) | 15 | 18 | 18 | 51 |
6 | ไทย (THA)* | 13 | 7 | 10 | 30 |
7 | เยอรมนี (GER) | 11 | 5 | 9 | 25 |
8 | สหรัฐ (USA) | 10 | 10 | 14 | 34 |
9 | จีนไทเป (TPE) | 7 | 9 | 13 | 29 |
10 | อิตาลี (ITA) | 6 | 7 | 9 | 22 |
11 | คาซัคสถาน (KAZ) | 5 | 4 | 7 | 16 |
12 | แคนาดา (CAN) | 5 | 3 | 8 | 16 |
13 | อิหร่าน (IRI) | 4 | 1 | 4 | 9 |
14 | ออสเตรเลีย (AUS) | 3 | 5 | 3 | 11 |
15 | เบลารุส (BLR) | 3 | 3 | 5 | 11 |
เม็กซิโก (MEX) | 3 | 3 | 5 | 11 | |
17 | ตุรกี (TUR) | 3 | 3 | 4 | 10 |
18 | ออสเตรีย (AUT) | 3 | 2 | 3 | 8 |
19 | โปแลนด์ (POL) | 2 | 5 | 9 | 16 |
20 | ฮังการี (HUN) | 2 | 3 | 1 | 6 |
21 | เกาหลีเหนือ (PRK) | 2 | 1 | 4 | 7 |
22 | เช็กเกีย (CZE) | 2 | 1 | 2 | 5 |
23 | โมร็อกโก (MAR) | 2 | 1 | 0 | 3 |
24 | ลิทัวเนีย (LIT) | 2 | 0 | 3 | 5 |
25 | สวิตเซอร์แลนด์ (SUI) | 2 | 0 | 2 | 4 |
26 | ฟินแลนด์ (FIN) | 2 | 0 | 0 | 2 |
27 | ฝรั่งเศส (FRA) | 1 | 6 | 7 | 14 |
28 | บริเตนใหญ่ (GBR) | 1 | 4 | 5 | 10 |
29 | บราซิล (BRA) | 1 | 3 | 6 | 10 |
30 | สโลวาเกีย (SVK) | 1 | 2 | 2 | 5 |
โรมาเนีย (ROM) | 1 | 2 | 2 | 5 | |
32 | แอฟริกาใต้ (RSA) | 1 | 2 | 1 | 4 |
33 | ไซปรัส (CYP) | 1 | 2 | 0 | 3 |
ไอร์แลนด์ (IRL) | 1 | 2 | 0 | 3 | |
35 | ลัตเวีย (LAT) | 1 | 1 | 1 | 3 |
สโลวีเนีย (SLO) | 1 | 1 | 1 | 3 | |
37 | มองโกเลีย (MGL) | 1 | 1 | 0 | 2 |
อียิปต์ (EGY) | 1 | 1 | 0 | 2 | |
โปรตุเกส (POR) | 1 | 1 | 0 | 2 | |
40 | คิวบา (CUB) | 1 | 0 | 1 | 2 |
จอร์เจีย (GEO) | 1 | 0 | 1 | 2 | |
อินเดีย (IND) | 1 | 0 | 1 | 2 | |
อุซเบกิสถาน (UZB) | 1 | 0 | 1 | 2 | |
แอลจีเรีย (ALG) | 1 | 0 | 1 | 2 | |
45 | บัลแกเรีย (BUL) | 1 | 0 | 0 | 1 |
มอนเตเนโกร (MNE) | 1 | 0 | 0 | 1 | |
อาเซอร์ไบจาน (AZE) | 1 | 0 | 0 | 1 | |
48 | สเปน (ESP) | 0 | 4 | 2 | 6 |
49 | เซอร์เบีย (SRB) | 0 | 4 | 1 | 5 |
50 | เบลเยียม (BEL) | 0 | 2 | 1 | 3 |
โครเอเชีย (CRO) | 0 | 2 | 1 | 3 | |
52 | ยูกันดา (UGA) | 0 | 1 | 1 | 2 |
เอสโตเนีย (EST) | 0 | 1 | 1 | 2 | |
54 | นิวซีแลนด์ (NZL) | 0 | 1 | 0 | 1 |
มาเลเซีย (MAS) | 0 | 1 | 0 | 1 | |
อิสราเอล (ISR) | 0 | 1 | 0 | 1 | |
เคนยา (KEN) | 0 | 1 | 0 | 1 | |
แคเมอรูน (CMR) | 0 | 1 | 0 | 1 | |
โมซัมบิก (MOZ) | 0 | 1 | 0 | 1 | |
60 | อาร์มีเนีย (ARM) | 0 | 0 | 3 | 3 |
อินโดนีเซีย (INA) | 0 | 0 | 3 | 3 | |
62 | มอลโดวา (MDA) | 0 | 0 | 2 | 2 |
63 | กรีซ (GRE) | 0 | 0 | 1 | 1 |
ปวยร์โตรีโก (PUR) | 0 | 0 | 1 | 1 | |
ฟิลิปปินส์ (PHI) | 0 | 0 | 1 | 1 | |
เนเธอร์แลนด์ (NED) | 0 | 0 | 1 | 1 | |
เวียดนาม (VIE) | 0 | 0 | 1 | 1 | |
รวม (67 ประเทศ) | 236 | 235 | 292 | 763 |
การถ่ายทอดโทรทัศน์ในประเทศไทย
แก้การถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ มีการถ่ายทอดสดถึง 3 สถานี ได้แก่ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ และสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี (ปัจจุบันคือสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) เป็นต้น
เกร็ดการแข่งขัน
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผู้สนับสนุน
แก้- ภาครัฐ
- ภาคเอกชน
- ทรู คอร์ปอเรชั่น (True Corporation)
- โอสถสภา ผู้ผลิตเครื่องดื่มเกลือแร่เอ็มสปอร์ต
- แกรนด์สปอร์ต
- โตโยต้า (Toyota)
- ทิสโซต์ (Tissot)
- เครื่องดื่มโค๊ก โคคา-โคล่า (Coca-Cola)
- ไทยเบฟเวอเรจ ผู้ผลิตเบียร์ช้าง และ คาร์ลสเบิร์ก
อ้างอิง
แก้- ↑ กรมธนารักษ์, http://ecatalog.treasury.go.th/coininfo/detail.php?id=971&gid=197[ลิงก์เสีย] บริการอิเล็กทรอนิกส์เหรียญและผลิตภัณฑ์เหรียญ